วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558

พุทธวจน faq สติ จัดอยู่ในขันธ์ใดของขันธ์ทั้ง ๕



‪#‎สติจัดอยู่ในสังขารขันธ์‬ (ในขันธ์๕).๔ พระสูตรที่สอดรับกัน
https://www.youtube.com/watch?t=140&v=4flmi6aVczU
ลําดับแห่งการดับของสังขาร
(อนุปุพพสังขารนิโรธ)
ภิกษุ ! ความดับแห่งสังขารโดยลําดับๆ เราได้กล่าวแล้ว ดังนี้ คือ :-
เมื่อเข้าสู่ ปฐมฌาน แล้ว วาจา ย่อมดับ ;
เมื่อเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้ว วิตก และ วิจาร ย่อมดับ ;
เมื่อเข้าสู่ ตติยฌาน แล้ว ปีติ ย่อมดับ ;
เมื่อเข้าสู่ จตุตถฌาน แล้ว อัสสาสะ และ ปัสสาสะ ย่อมดับ ;
เมื่อเข้าสู่ อากาสานัญจายตนะ แล้ว รูปสัญญา ย่อมดับ ;
เมื่อเข้าสู่ วิญญาณัญจายตนะ แล้ว อากาสานัญจายตนสัญญา ย่อมดับ ;
เมื่อเข้าสู่ อากิญจัญญายตนะ แล้ว วิญญาณัญจายตนสัญญา ย่อมดับ ;
เมื่อเข้าสู่ เนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้ว อากิญจัญญายตนสัญญา ย่อมดับ ;
เมื่อเข้าสู่ สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้ว สัญญา และ เวทนา ย่อมดับ ;
เมื่อภิกษุ สิ้นอาสวะ แล้ว ราคะ ก็ดับ โทสะ ก็ดับ โมหะ ก็ดับ.
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๗๖๖.
(บาลี) สฬา. สํ. ๑๘/๒๖๘/๓๙๒.
-
http://etipitaka.com/read/pali/18/268/
-
ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตร
ล่วง เนวสัญญานาสัญญายตน โดยประการทั้งปวงแล้ว
เข้า สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่
เพราะ เห็นด้วยปัญญา อาสวะของเธอจึงเป็นอันสิ้นไป
เธอย่อม
-
มีสติออกจากสมาบัตินั้น ครั้นแล้ว
ย่อมพิจารณาเห็นธรรม
ที่ล่วงแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้วว่า
ด้วยประการนี้ เป็นอัน
-
ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมีมา
ธรรมที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป
-
เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย
ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว
พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ
มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่
ย่อมรู้ชัดว่า
ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่
และมีความเห็นต่อไปว่า
ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มากก็มีอยู่ ฯ
ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้กล่าวชอบ
พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า เป็นผู้ถึงความชำนาญ
ถึงความสำเร็จ
ในอริยศีล
ในอริยสมาธิ
ในอริยปัญญา
ในอริยวิมุตติ
ภิกษุรูปนั้น คือ สารีบุตรนั่นเอง
ผู้ที่กล่าวชอบ พึงกล่าวชมว่า
เป็นผู้ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จ
ในอริยศีล ในอริยสมาธิ ในอริยปัญญา
ในอริยวิมุตติ ฯ
(ภาษาไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๙๔/๑๖๓-๑๖๔.
-
http://etipitaka.com/read/thai/14/94/
-
ปัญญา สติ กับนามรูปดับ เพราะวิญญาณดับ
“ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! ข้าพระองค์กราบทูลถามแล้ว
ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมนั้น
คือ ปัญญาและสติกับนามรูป แก่ข้าพระองค์เถิด;
ปัญญาและสติกับนามรูปนั้น จะดับไปที่ไหน ?”.
อชิตะ ! ท่านถามปัญหานั้นข้อใด
เราจะแก้ปัญหา ข้อนั้นแก่ท่าน :
นามและรูป ย่อมดับไม่เหลือในที่ใด,
ปัญญาและสติกับนามรูปนั้น ก็ย่อมดับไปในที่นั้น,
เพราะความดับไปแห่งวิญญาณ แล.
พุทธวจน ก้าวย่างอย่างพุทธะ หน้า ๑๑๘.
(บาลี) สุตฺต. ขุ. ๒๕/๕๓๐-๕๓๑/๔๒๕.
-
http://etipitaka.com/read/pali/25/530/
-
ปฏิจจสมุปบาท แห่ง ปฏิสรณาการ
อุณณาภพราหมณ์ ทูลถามว่า
" ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! อินทรีย์ ๕ อย่างเหล่านี้
มีวิสัยต่างกันมีโคจรต่างกัน
ไม่เสวยโคจรและวิสัยของกันและกัน.
ห้าอย่างคือ
-
จักขุนทรีย์
โสตินทรีย์
ฆานินทรีย์
ชิวหินทรีย์
กายินทรีย์.
-
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! อะไรเป็นปฏิสรณะ (ที่แล่นไปสู่)
ของอินทรีย์เหล่านั้น?
อะไรย่อมเสวยซึ่งโคจรและวิสัย
ของอินทรีย์เหล่านั้น? "
ดูก่อนพราหมณ์ ! ...
-
ใจ เป็นปฏิสรณะของอินทรีย์เหล่านั้น;
ใจ ย่อม เสวยซึ่งโคจรและวิสัยของอินทรีย์เหล่านั้น.
" ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! อะไรเป็นปฏิสรณะของใจ? "
ดูก่อนพราหมณ์! สติแล เป็นปฏิสรณะของใจ.
" ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! อะไรเป็นปฏิสรณะของสติ? "
ดูก่อนพราหมณ์! วิมุตติแล เป็นปฏิสรณะของสติ.
" ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! อะไรเป็นปฏิสรณะของวิมุตติ? "
ดูก่อนพราหมณ์! นิพพานแล เป็นปฏิสรณะของวิมุตติ.
" ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! อะไรเป็นปฏิสรณะของนิพพาน? "
ดูก่อนพราหมณ์! แล่นเตลิดเลยไปเสียแล้ว,
ไม่อาจถือเอาที่สุดแห่งปัญหาเสียแล้ว;
เพราะว่าพรหมจรรย์ นั้น เขาอยู่ประพฤติกัน
มีนิพพานเป็นที่หยั่งลง มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า
มีนิพพานเป็นที่สุด..
ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๖๓๕.
(บาลี) มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๘๘/๙๖๘-๙๗๑.
--
http://etipitaka.com/read?language=pali&number=288&volume=19
-

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น