วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2559
พระอาจารย์คึกฤทธิ์-สนทนาธรรมเช้าวันเสาร์_หลังฉัน_2015-06-06
นิยามศัพท์ของคำว่า..อนัตตา..โดยพระสูตร
ทุกอย่างมีเพราะเหตุปัจจัย..ความไม่เที่ยว ความเป็นทุกข์ ความเป็นอนัตตา
นั่นไม่ใช่ของเรา..ไม่เป็นเรา..ไม่ใช่ตัวตนของเรา
ลำดับเหตุของการเกิดขึ้นของธรรมทั้งหลาย
๓ พระสูตร ..อนิจจสูตร..สังขตะ..อสังขตะ..
ประมาณนาทีที่ 7.58>>>> https://www.youtube.com/watch?v=N6Gtcvn-MEA
อนิจจสูตรที่ ๔
[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
-
รูปที่เป็นอดีตไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
สิ่งใดเป็นอนัตตา
สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา
-
ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้
เสียงที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ...
กลิ่นที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ...
รสที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ...
โผฏฐัพพะที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ...
ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
สิ่งใดเป็นอนัตตา
สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา
ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
-
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๘
สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
หน้าที่ ๑๗๑ ข้อที่ ๒๗๖
-
บางส่วน..อ่านเพิ่มเติมได้จากโปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read/thai/18/171/…
-
#สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม
ภิกษุ ท.! สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่.
สามอย่างอย่างไรเล่า? สามอย่างคือ :-
๑. มีการเกิดปรากฏ (อุปฺปาโท ปญฺญายติ);
๒. มีการเสื่อมปรากฏ (วโย ปญฺญายติ) ;
๓. เมื่อตั้งอยู่ ก็มีภาวะอย่างอื่นปรากฏก (ฐิตสฺส อญ ฺญถตฺตํ ปญฺญายติ).
ภิกษุ ท.! สามอย่างเหล่านี้แล คือสังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม.
- ติก. อํ. ๒๐/๑๙๒/๔๘๖-๔๘๗.
----------------
#อสังขตลักษณะแห่งอสังขตธรรม
ภิกษุ ท.! อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่.
สามอย่างอย่างไรเล่า? สามอย่างคือ :-
๑. ไม่ปรากฏมีการเกิด (น อุปฺปาโท ปญฺญายติ) ;
๒. ไม่ปรากฏมีการเสื่อม (น วโย ปญฺญายติ) ;
๓. เมื่อตั้งอยู่ ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ (น ฐิตสฺส อญฺ ญถตฺตํ ปญฺญายติ).
ภิกษุ ท.! สามอย่างเหล่านี้แล คืออสังขตลักษณะของอสังขตธรรม.
- ติก. อํ. ๒๐/๑๙๒/๔๘๖-๔๘๗.
----------------
วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2559
มหากัมมวิภังคสูตร ว่าด้วยปริพาชกเห็นคนรักษาศีลห้าไปอบาย คนทุศีลไปสวรรค์
#ว่าด้วยปริพาชกเห็นคนรักษาศีลห้าไปอบาย คนทุศีลไปสวรรค์
คลิปบรรยายพระสูตร โดย พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
https://www.youtube.com/watch?v=a244gJxq6_0
----
๖. มหากัมมวิภังคสูตร (๑๓๖)
[๕๙๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน
อันเคยเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต
เขตพระนครราชคฤห์
สมัยนั้นแล
ท่านพระสมิทธิอยู่ในกระท่อมในป่า
ครั้งนั้นปริพาชกโปตลิบุตรเดินเล่นไป
โดยลำดับเข้าไปหาท่านพระสมิทธิยังที่อยู่แล้ว
ได้ทักทายปราศรัยกับท่านพระสมิทธิ
ครั้นผ่าน คำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว
จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
[๕๙๙] ปริพาชกโปตลิบุตร พอนั่งเรียบร้อยแล้ว
ได้กล่าวกะท่าน พระสมิทธิดังนี้ว่า
ดูกรท่านสมิทธิ
ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระสมณโคดมดังนี้ว่า
กายกรรมเป็นโมฆะ
วจีกรรมเป็นโมฆะ
มโนกรรมเท่านั้น จริง
และว่าสมาบัติที่บุคคลเข้าแล้ว
ไม่เสวยเวทนาอะไรๆ นั้น มีอยู่ ฯ
ท่านพระสมิทธิกล่าวว่า ดูกรโปตลิบุตรผู้มีอายุ
ท่านอย่ากล่าวอย่างนี้
อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค
การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย
เพราะพระผู้มีพระภาคมิได้ตรัสอย่างนี้ว่า
กายกรรมเป็นโมฆะ
วจีกรรมเป็นโมฆะ
มโนกรรมเท่านั้น จริง
และว่าสมาบัติที่บุคคลเข้าแล้ว
ไม่เสวยเวทนาอะไรๆ นั้น มีอยู่ ฯ
ป. ดูกรท่านสมิทธิ ท่านบวชมานานเท่าไรแล้ว ฯ
ส. ดูกรท่านผู้มีอายุ ไม่นาน เพียง ๓ พรรษา ฯ
ป. ในเมื่อภิกษุใหม่เข้าใจ
การระแวดระวังศาสดาถึงอย่างนี้แล้ว
คราวนี้พวกเราจัก
พูดอะไรกะภิกษุผู้เถระได้
ดูกรท่านสมิทธิ
บุคคลทำกรรมชนิดที่ประกอบด้วยความจงใจแล้ว
ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เขาจะเสวยอะไร ฯ
ส. ดูกรโปตลิบุตรผู้มีอายุ เขาจะเสวยทุกข์ ฯ
ลำดับนั้น ปริพาชกโปตลิบุตรไม่ยินดี
ไม่คัดค้านภาษิตของท่านพระสมิทธิ
แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป ฯ
-
ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
พอนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงบอกเรื่องเท่าที่ได้
สนทนา กับปริพาชกโปตลิบุตรทั้งหมด
แก่ท่านพระอานนท์
เมื่อท่านพระสมิทธิบอกแล้วอย่างนี้
ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวกะท่านพระสมิทธิดังนี้ว่า
ดูกรท่านสมิทธิ
เรื่องนี้มีเค้าพอจะเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้
มาเถิด เราทั้งสองพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ
แล้วกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์แก่เราอย่างไร
เราพึงทรงจำคำพยากรณ์นั้นไว้อย่างนั้น
ท่านพระสมิทธิรับคำท่านพระอานนท์ว่า
ชอบแล้ว ท่านผู้มีอายุ ฯ
ต่อนั้น ท่านพระสมิทธิและท่านพระอานนท์
ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ยังที่ประทับ
แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ท่านพระอานนท์
ได้กราบทูลเรื่องเท่าที่ท่านพระสมิทธิ
ได้สนทนากับปริพาชกโปตลิบุตรทั้งหมด
แด่พระผู้มีพระภาค ฯ
[๖๐๑] เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลแล้วอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคได้ตรัส กะท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า
ดูกรอานนท์ แม้ความเห็นของปริพาชกโปตลิบุตร
เรา ก็ไม่ทราบชัด ไฉนเล่า
จะทราบชัดการสนทนากันเห็นปานนี้ได้
โมฆบุรุษสมิทธิ นี้แล
ได้พยากรณ์ปัญหาที่ควรแยกแยะ
พยากรณ์ของปริพาชกโปตลิบุตรแต่แง่เดียว ฯ
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้
ท่านพระอุทายีได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ก็ถ้าท่านพระสมิทธิกล่าวหมายทุกข์ดังนี้ แล้ว
ไม่ว่าการเสวยอารมณ์ใดๆ
ต้องจัดเข้าในทุกข์ทั้งนั้น ฯ
[๖๐๒] เมื่อท่านพระอุทายีกล่าวแล้วอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอานนท์
ว่า ดูกรอานนท์
เธอจงเห็นความนอกหลู่นอกทางของโมฆบุรุษอุทายีนี้เถิด
เรารู้แล้วละ
เดี๋ยวนี้แหละ
โมฆบุรุษอุทายีนี้โพล่งขึ้นโดยไม่แยบคาย
ดูกรอานนท์ เบื้องต้นทีเดียว ปริพาชกโปตลิบุตร
ถามถึงเวทนา ๓
ถ้าโมฆบุรุษ สมิทธิผู้ถูกถามนี้
จะพึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูกรโปตลิบุตรผู้มีอายุ
บุคคลทำกรรม ชนิดที่ประกอบด้วยความจงใจแล้ว
ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
อันให้ผลเป็นสุขเขาย่อมเสวยสุข
บุคคลทำกรรมชนิดที่ประกอบด้วยความจงใจแล้ว
ด้วยกายด้วยวาจา ด้วยใจ อันให้ผลเป็นทุกข์ เขาย่อมเสวยทุกข์
บุคคลทำกรรมชนิดที่ ประกอบด้วยความจงใจแล้ว
ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
อันให้ผลไม่ทุกข์ไม่สุข เขาย่อมเสวยอทุกขมสุข
ดูกรอานนท์ โมฆบุรุษสมิทธิ
เมื่อพยากรณ์อย่างนี้แลชื่อว่าพยากรณ์โดยชอบแก่ปริพาชกโปตลิบุตร
ก็แต่ว่าพวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นนั้น
เป็นคนโง่ ไม่ฉลาด
#ใครเล่าจักรู้มหากัมมวิภังค์ของตถาคต
ถ้าพวกเธอฟังตถาคต
จำแนกมหากัมมวิภังค์อยู่ ฯ
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคต
เป็นกาลสมควรแล้ว
ที่พระผู้มีพระภาคจะทรงจำแนกมหากัมมวิภังค์
ภิกษุทั้งหลายสดับต่อพระผู้มีพระภาคแล้วจักได้
ทรงจำไว้ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ ถ้าเช่นนั้น
เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป
ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า
ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ
--
[๖๐๓] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
ดูกรอานนท์ บุคคล ๔ จำพวก นี้
มีปรากฏอยู่ ในโลก ๔ จำพวกเหล่าไหน คือ
(๑) บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง
มักถือเอา สิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้
มักประพฤติผิดในกาม
มักพูดเท็จ
มักพูดส่อเสียด
มักพูดคำหยาบ
มักเจรจาเพ้อเจ้อ
มากด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท
มีความเห็นผิด อยู่ในโลกนี้
เขาตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก ก็มี ฯ
--
(๒) บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง
มักถือเอา สิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้
มักประพฤติผิดในกาม มักพูดเท็จ มักพูดส่อเสียด
มักพูดคำหยาบ มักเจรจาเพ้อเจ้อ
มากด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท
มีความเห็นผิดอยู่ในโลกนี้
เขาตายไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติ
โลกสวรรค์ ก็มี ฯ
--
(๓) บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต
เว้นขาดจากอทินนาทาน
เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร
เว้นขาดจากมุสาวาท
เว้นขาดจากพูดส่อเสียด
เว้นขาดจากพูดคำหยาบ
เว้นขาดจากการเจรจาเพ้อเจ้อ
ไม่มากด้วยอภิชฌา มีจิตไม่พยาบาท
มีความเห็นชอบ อยู่ในโลกนี้
เขาตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ก็มี ฯ
--
(๔) บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต
เว้นขาดจากอทินนาทาน
เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร
เว้นขาดจากมุสาวาท
เว้นขาดจากพูดส่อเสียด
เว้นขาดจากพูดคำหยาบ
เว้นขาดจากการเจรจาเพ้อเจ้อ
ไม่มากด้วยอภิชฌา มีจิตไม่พยาบาท
มีความเห็นชอบ อยู่ในโลกนี้
เขาตายไปแล้ว
ย่อมเข้า ถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ก็มี ฯ
--
[๖๐๔] ดูกรอานนท์ สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้
อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความตั้งใจมั่น
ความประกอบเนืองๆ
ความไม่ประมาทความใส่ใจโดยชอบ
ย่อมถูกต้องเจโตสมาธิมีรูปทำนองที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว
ย่อมเล็งเห็นบุคคลโน้น
ผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง
มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้
มักประพฤติผิดในกาม
มักพูดเท็จ
มักพูดส่อเสียด
มักพูดคำหยาบ
มักเจรจาเพ้อเจ้อ
มากด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท
มีความเห็นผิดในโลกนี้
และเล็งเห็นผู้นั้นตายไปแล้ว
เข้าถึงอบาย ทุคติ วิบาต นรกได้
ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์อันบริสุทธิ์
ล่วงจักษุของมนุษย์
--
สมณะหรือพราหมณ์นั้นจึงกล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญเป็นอันว่ากรรมชั่วมี วิบากของทุจริตมี
ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้น ผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ
มีความเห็นผิดในโลกนี้
และผู้นั้นตายไป เข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก
ข้าพเจ้าก็เห็นแล้วกล่าวต่อไปอย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า ผู้ใดมักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ
มีความเห็นผิด
ผู้นั้นทุกคนตายไปแล้วย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้
ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ
ชนเหล่าใดรู้โดยประการอื่น
ความรู้ของชนเหล่านั้นผิด
สมณะหรือพราหมณ์นั้น
จะพูดปักลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง
โดยประการนั้นแหละ
ใน ที่นั้นๆ ตามกำลังและความแน่ใจว่า
นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า ฯ
--
[๖๐๕] ดูกรอานนท์
ส่วนสมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้
อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส
ความตั้งใจมั่น ความประกอบเนืองๆ
ความไม่ประมาท ความใส่ใจโดยชอบ
ย่อมถูกต้องเจโตสมาธิมีรูปทำนองที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว
ย่อมเล็งเห็นบุคคลโน้น
ผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ
มีความเห็นผิดในโลกนี้
และเล็งเห็นผู้นั้นตายไปแล้ว
เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ได้
ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์
อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์
สมณะหรือพราหมณ์นั้นจึงกล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่ากรรมชั่วไม่มี
วิบากของทุจริตไม่มี
ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้น
ผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ
มีความเห็นผิดในโลกนี้
และผู้นั้นตายไป เข้าถึง สุคติโลกสวรรค์
ข้าพเจ้าก็เห็น
แล้วกล่าวต่อไปอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ
เป็นอันว่าผู้ใดมักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ
มีความเห็นผิด ผู้นั้นทุกคนตายไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้
ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ
ชนเหล่าใด รู้โดยประการอื่น ความรู้ของชนเหล่านั้นผิด
สมณะหรือพราหมณ์นั้นจะพูดปักลงไปถึง
เรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง โดยประการนั้นแหละ
ในที่นั้นๆ ตาม กำลังและความแน่ใจว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า ฯ
--
[๖๐๖] ดูกรอานนท์
สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้
อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความตั้งใจมั่น
ความประกอบเนืองๆ ความไม่ประมาทความใส่ใจโดยชอบ
ย่อมถูกต้องเจโตสมาธิมีรูปทำนองที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว
ย่อมเล็งเห็นบุคคลโน้น
ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต
เว้นขาดจากอทินนาทาน
เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร
เว้นขาดจากมุสาวาท
เว้นขาดจากพูดส่อเสียด
เว้นขาดจากพูดคำหยาบ
เว้นขาดจากการเจรจาเพ้อเจ้อ
ไม่มากด้วยอภิชฌา มีจิตไม่พยาบาท
มีความเห็นชอบในโลกนี้
และเล็งเห็นผู้นั้นเมื่อตายไปแล้ว
เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ได้
ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ อันบริสุทธิ์
ล่วงจักษุของมนุษย์
สมณะหรือพราหมณ์นั้นจึงกล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า กรรมดีมี
วิบากของสุจริตมีข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้น
ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ
มีความเห็นชอบในโลก นี้
และผู้นั้นตายไปแล้ว เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ข้าพเจ้าก็เห็น แล้วกล่าวต่อไปอย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า ผู้ใดเว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ
มีความเห็นชอบ ผู้นั้นทุกคนตายไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ
ชนเหล่าใดรู้โดยประการอื่น
ความรู้ของชนเหล่านั้นผิด
สมณะหรือพราหมณ์
นั้นจะพูดปักลงไปถึง
เรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง
โดยประการนั้นแหละ ในที่นั้นๆ
ตามกำลังและความแน่ใจว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า ฯ
--
[๖๐๗] ดูกรอานนท์
ส่วนสมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้
อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความตั้งใจมั่น
ความประกอบเนืองๆ ความไม่ประมาท
ความใส่ใจโดยชอบ
ย่อมถูกต้องเจโตสมาธิมีรูปทำนองที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว
ย่อมเล็งเห็นบุคคลโน้น
ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบในโลกนี้
และ เล็งเห็นผู้นั้นตายไปแล้ว
เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกได้
ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ อันบริสุทธิ์
ล่วงจักษุของมนุษย์
สมณะหรือพราหมณ์นั้นจึงกล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า
กรรมดีไม่มี วิบากของสุจริตไม่มี
ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้น
ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ
มีความเห็นชอบในโลกนี้ และผู้นั้น ตายไป
เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ข้าพเจ้าก็เห็น
แล้วกล่าวต่อไปอย่างนี้ว่าท่านผู้เจริญ
เป็นอันว่า ผู้ใดเว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ
มีความเห็นชอบ
ผู้นั้นทุกคนตายไป
ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้
ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ
ชนเหล่าใดรู้โดยประการอื่น
ความรู้ของชนเหล่านั้น ผิด
สมณะหรือพราหมณ์นั้นจะพูดปักลงไปถึง
เรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง
โดยประการนั้นแหละ ในที่นั้นๆ
ตามกำลังและความแน่ใจว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า ฯ
--
[๖๐๘] ดูกรอานนท์
ในสมณะหรือพราหมณ์ ๔ จำพวกนั้น
เราอนุมัติ วาทะของสมณะหรือพราหมณ์
ที่กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า
กรรมชั่วมีวิบากของทุจริตมี
แม้วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้น
ผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ
มีความเห็นผิดในโลกนี้
และผู้นั้นตายไปแล้ว
เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ข้าพเจ้าก็เห็น
นี้เราก็อนุมัติ
ส่วนวาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า
ผู้ใดมักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ
มี ความเห็นผิด ผู้นั้นทุกคนตายไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
นี้เรายังไม่อนุมัติ
แม้วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า
ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ
ชนเหล่าใดรู้โดยประการอื่น
ความรู้ของชนเหล่านั้นผิด
นี้เราก็ยังไม่อนุมัติ
แม้วาทะของเขาที่พูดปักลงไปถึงเรื่อง
ที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง
นั้นแหละในที่นั้นๆ ตามกำลังและความแน่ใจว่า
นี้เท่านั้นจริงอื่นเปล่า
นี้เราก็ยังไม่อนุมัติ
นั่นเพราะเหตุไร
ดูกรอานนท์
เพราะตถาคตมีญาณในมหากัมมวิภังค์
เป็นอย่างอื่น ฯ
[๖๐๙] ดูกรอานนท์
ในสมณะหรือพราหมณ์ ๔ จำพวกนั้น
เราไม่อนุมัติ วาทะของสมณะหรือพราหมณ์ที่กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า กรรมชั่วไม่มี
วิบากของทุจริตไม่มี
แต่วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้น
ผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ
มีความเห็นผิดในโลกนี้
และผู้นั้นตายไปแล้ว
เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ข้าพเจ้าก็เห็น
นี้เราอนุมัติ
ส่วนวาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า
ผู้ใดมักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ
มี ความเห็นผิด
ผู้นั้นทุกคนตายไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
นี้เรายังไม่อนุมัติ
แม้วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า
ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้
ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ
ชนเหล่าใดรู้โดยประการอื่น
ความรู้ของชนเหล่านั้นผิด
นี้เราก็ยังไม่อนุมัติ
แม้วาทะของเขาที่พูดปักลงไปถึงเรื่อง
ที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเองนั้นแหละ
ในที่นั้นๆ ตามกำลังและความแน่ใจว่า
นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า
นี้เราก็ยัง ไม่อนุมัติ
นั่นเพราะเหตุไร
ดูกรอานนท์
เพราะตถาคตมีญาณในมหากัมมวิภังค์
เป็นอย่างอื่น ฯ
-
[๖๑๐] ดูกรอานนท์ ในสมณะหรือพราหมณ์ ๔ จำพวกนั้น
เราอนุมัติ
วาทะของสมณะหรือพราหมณ์ที่กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า
กรรมดีมีวิบากของสุจริตมี
แม้วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้าเห็นบุคคลโน้น
ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต
ฯลฯ มีความเห็นชอบในโลกนี้
และผู้นั้นตายไปแล้ว เข้าถึง
สุคติโลกสวรรค์
ข้าพเจ้าก็เห็น นี้เราก็อนุมัติ
ส่วนวาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่าท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า
ผู้ใดเว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบ
ผู้นั้นทุกคนตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
นี้เรายังไม่อนุมัติ
แม้วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า
ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ
ชนเหล่าใดรู้โดยประการอื่น
ความรู้ของชนเหล่านั้นผิด
นี้เราก็ยังไม่อนุมัติ
แม้วาทะของเขาที่พูด
ปักลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง
นั้นแหละในที่นั้นๆ
ตามกำลังและความแน่ใจว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า
นี้เราก็ยังไม่อนุมัติ
นั่นเพราะเหตุไร
ดูกรอานนท์
เพราะตถาคตมีญาณ
ในมหากัมมวิภังค์เป็นอย่างอื่น ฯ
-
[๖๑๑] ดูกรอานนท์
ในสมณะหรือพราหมณ์ ๔ จำพวกนั้น
เราไม่อนุมัติวาทะของสมณะหรือพราหมณ์ที่กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า กรรมดีไม่มี วิบากของสุจริตไม่มี
แต่วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้น
ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ
มีความเห็นชอบในโลกนี้ และผู้นั้นตายไป
แล้วเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ข้าพเจ้าก็เห็น
นี้เราอนุมัติ
ส่วนวาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า ผู้ใดเว้นขาดจากปาณาติบาต
ฯลฯ มีความเห็นชอบ
ผู้นั้นทุกคนตายไปแล้วย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
นี้เรายังไม่อนุมัติ
แม้วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า
ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้
ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ
ชนเหล่าใดรู้โดยประการอื่น
ความรู้ของชนเหล่านั้นผิด
นี้เราก็ ยังไม่อนุมัติ
แม้วาทะของเขาที่พูดปักลงไปถึงเรื่อง
ที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง นั้นแหละ
ในที่นั้นๆ ตามกำลังและความแน่ใจว่า
นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า
นี้เราก็ ยังไม่อนุมัติ
นั่นเพราะเหตุไร
ดูกรอานนท์
เพราะตถาคตมีญาณ
ในมหากัมมวิภังค์เป็นอย่างอื่น ฯ
--
[๖๑๒] ดูกรอานนท์ ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น
บุคคลที่เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ
มีความเห็นผิดในโลกนี้
ตายไปแล้ว เข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก
นี้ เป็นอันว่า เขาทำกรรมชั่วที่ให้ผลเป็นทุกข์ไว้ในกาลก่อน
หรือในกาลภายหลัง
หรือว่ามีมิจฉาทิฐิพรั่งพร้อมสมาทานแล้วในเวลาจะตาย
เพราะ ฉะนั้น เขาตายไป
จึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ก็แหละบุคคลที่เป็นผู้ มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ
มีความเห็นผิดในโลกนี้นั้น
เขาย่อมเสวยวิบากของกรรมนั้นในชาตินี้
หรือในชาติหน้า
หรือในชาติต่อไป ฯ
--
[๖๑๓] ดูกรอานนท์ ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น
บุคคลที่เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ
มีความเห็นผิดในโลกนี้ ตายไปแล้ว
เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์นี้
เป็นอันว่า เขาทำกรรมดีที่ให้ผลเป็นสุขไว้
ในกาลก่อนๆ
หรือในกาลภายหลัง
หรือว่ามีสัมมาทิฐิพรั่งพร้อม
สมาทานแล้วในเวลาจะตาย
เพราะฉะนั้น เขาตาย ไปจึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ก็แหละบุคคลที่เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง
ฯลฯมีความเห็นผิดในโลกนี้นั้น
เขาย่อมเสวยวิบากของกรรมนั้น
ในชาตินี้
หรือในชาติหน้า
หรือในชาติต่อไป ฯ
--
[๖๑๔] ดูกรอานนท์ ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น
บุคคลที่เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ
มีความเห็นชอบในโลกนี้ ตายไปแล้ว
เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์นี้
เป็นอันว่า เขาทำกรรมดีที่ให้ผลเป็นสุขไว้
ในกาลก่อนๆ
หรือในกาลภายหลัง
หรือว่ามีสัมมาทิฐิพรั่งพร้อม สมาทานแล้วในเวลาจะตาย
เพราะฉะนั้น เขาตาย ไป
จึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ก็แหละบุคคลที่เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ
มีความเห็นชอบในโลกนี้นั้น
เขาย่อมเสวยวิบากของกรรมนั้น
ในชาตินี้
หรือในชาติหน้า
หรือในชาติต่อไป ฯ
--
[๖๑๕] ดูกรอานนท์
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น
บุคคลที่เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ
มีความเห็นชอบในโลกนี้
ตายไปแล้ว
เข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก
นี้ เป็นอันว่า เขาทำกรรมชั่วที่ให้ผลเป็นทุกข์ไว้
ในกาลก่อนๆ
หรือในกาลภายหลัง
หรือว่ามีมิจฉาทิฐิพรั่งพร้อม สมาทานแล้วในเวลาจะตาย
เพราะ ฉะนั้น
เขาตายไปจึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ก็แหละบุคคลที่เว้นขาด จากปาณาติบาต ฯลฯ
มีความเห็นชอบในโลกนี้นั้น
เขาย่อมเสวยวิบาก
ของกรรมนั้น
ในชาตินี้
หรือในชาติหน้า
หรือในชาติต่อไป ฯ
--
[๖๑๖] ดูกรอานนท์ ด้วยประการนี้แล
กรรมไม่ควร
ส่องให้เห็นว่าไม่ควรก็มี
ให้เห็นว่าควรก็มี
และกรรมที่ควรแท้ๆ
ส่องให้เห็นว่าควรก็มี
ให้เห็นว่าไม่ควรก็มี ฯ
--
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว
ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระ
ผู้มีพระภาคแล ฯ
จบ มหากัมมวิภังคสูตร ที่ ๖
---
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๔
สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
หน้าที่ ๒๙๓ ข้อที่ ๕๙๘ - ๕๙๙
---
http://etipitaka.com/read/thai/14/293/…
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)