#ผู้มีสัมมาทิฏฐิเบื้องต้น #ดีกว่าผู้ที่ไม่นับถือสิ่งใดเลย คืออย่างไร
******************
[๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็
#สัมมาทิฐิ-เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว
#สัมมาทิฐิเป็น๒อย่าง คือ
#สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑
#สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระเป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
****สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์***
เป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า
-ทานที่ให้แล้ว มีผล
-ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
-สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
-ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่
-โลกนี้มี
-โลกหน้ามี
-มารดามี
-บิดามี
-สัตว์ที่ เป็นอุปปาติกะมี
-สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้า ให้แจ่มแจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่
นี้--สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
[๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็
***สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค***
เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
-ปัญญา ปัญญินทรีย์ปัญญาพละ
-ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
-ความเห็นชอบ องค์แห่งมรรค
ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก
มีจิตหาอาสวะมิได้
พรั่งพร้อมด้วย อริยมรรค
เจริญอริยมรรคอยู่นี้แล
สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ
ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละ-มิจฉาทิฐิ เพื่อบรรลุสัมมาทิฐิ
#ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ
ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาทิฐิได้ มีสติบรรลุสัมมาทิฐิอยู่
#สติของเธอนั้นเป็นสัมมาสติ ฯ ด้วยอาการนี้
ธรรม ๓ ประการนี้ คือ
-สัมมาทิฐิ
-สัมมาวายามะ
-สัมมาสติ
ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาทิฐิของภิกษุนั้น ฯ
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
หน้าที่ ๑๔๕/๔๑๓ ข้อที่ ๒๕๔-๒๕๘
--ดูกรอานนท์ ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น
บุคคลที่เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง
มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้
มักประพฤติผิดในกาม
มักพูดเท็จ มักพูดส่อเสียด มักพูดคำหยาบ
มักเจรจาเพ้อเจ้อ มากด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท
-
มีความเห็นผิดในโลกนี้
ตายไปแล้ว เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์นี้
เป็นอันว่า เขาทำกรรมดีที่ให้ผลเป็นสุขไว้ในกาลก่อนๆ
หรือในกาลภายหลัง
หรือว่ามีสัมมาทิฐิพรั่งพร้อม
สมาทานแล้วในเวลาจะตาย
-
เพราะฉะนั้น เขาตาย ไป
จึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ก็แหละบุคคลที่เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง
ฯลฯ
มีความเห็นผิดในโลกนี้นั้น
เขาย่อมเสวยวิบากของกรรมนั้นในชาตินี้
หรือในชาติหน้า
หรือในชาติต่อไป ฯ
บุคคลที่เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง
มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้
มักประพฤติผิดในกาม
มักพูดเท็จ มักพูดส่อเสียด มักพูดคำหยาบ
มักเจรจาเพ้อเจ้อ มากด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท
-
มีความเห็นผิดในโลกนี้
ตายไปแล้ว เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์นี้
เป็นอันว่า เขาทำกรรมดีที่ให้ผลเป็นสุขไว้ในกาลก่อนๆ
หรือในกาลภายหลัง
หรือว่ามีสัมมาทิฐิพรั่งพร้อม
สมาทานแล้วในเวลาจะตาย
-
เพราะฉะนั้น เขาตาย ไป
จึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ก็แหละบุคคลที่เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง
ฯลฯ
มีความเห็นผิดในโลกนี้นั้น
เขาย่อมเสวยวิบากของกรรมนั้นในชาตินี้
หรือในชาติหน้า
หรือในชาติต่อไป ฯ
(ไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๓๐๐/๖๑๓.
---
https://www.youtube.com/watch?v=2gn3hgpAHKw
---
https://www.youtube.com/watch?v=2gn3hgpAHKw
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น