พรหมจรรย์นี้ อันบุคคลย่อมประพฤติ เพื่อการละขาดซึ่งภพ
สัตว์โลกนี้ เกิดความเดือดร้อนแล้ว มีผัสสะบังหน้า
ย่อมกล่าวซึ่งโรค (ความเสียดแทง) นั้น โดยความเป็นตัวเป็นตน
เขาสำคัญสิ่งใด โดยความเป็นประการใด แต่สิ่งนั้นย่อมเป็น (ตามที่เป็นจริง)
โดยประการอื่นจากที่เขาสำคัญนั้น สัตว์โลกติดข้องอยู่ในภพ ถูกภพบังหน้าแล้ว
มีภพโดยความเป็นอย่างอื่น (จากที่มันเป็นอยู่จริง) จึงได้เพลิดเพลินยิ่งนักในภพนั้น.
เขาเพลิดเพลินยิ่งนักในสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นภัย (ที่เขาไม่รู้จัก) :
เขากลัวต่อสิ่งใด สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์.
พรหมจรรย์นี้ อันบุคคลย่อมประพฤติ ก็เพื่อการละขาดซึ่งภพ.
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด กล่าวความหลุดพ้นจากภพว่ามีได้เพราะภพ ;
เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงนั้น มิใช่ผู้หลุดพ้นจากภพ.
ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด กล่าวความออกไปได้จากภพว่า มีได้เพราะวิภพ (ไม่มีภพ) :
เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงนั้น ก็ยังสลัดภพออกไปไม่ได้.
ก็ทุกข์นี้มีขึ้น เพราะอาศัยซึ่งอุปธิทั้งปวง.
เพราะความสิ้นไปแห่งอุปาทานทั้งปวง ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์จึงไม่มี.
ท่านจงดูโลกนี้เถิด (จะเห็นว่า) สัตว์ทั้งหลายอัน
อวิชชา (ความไม่รู้) หนาแน่นบังหนาแล้ว ;
และว่าสัตว์ผู้ยินดีในภพอันเป็นแล้วนั้น ย่อมไม่เป็นผู้หลุดพ้นไป
จากภพได้ ก็ภพทั้งหลายเหล่าหนึ่งเหล่าใด อันเป็นไปในที่หรือในเวลาทั้งปวง
เพื่อความมีแห่งประโยชน์โดยประการทั้งปวง ;
ภพทั้งหลายทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา.
เมื่อบุคคลเห็นอยู่ซึ่งข้อนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริงอย่างนี้อยู่ ;
เขาย่อมละภวตัณหา(ความอยากมีอยากเป็น)ได้
และไม่เพลิดเพลินวิภวตัณหา(ความไม่อยาก) ด้วย.
ความดับเพราะความสำรอกไม่เหลือ (แห่งภพทั้งหลาย)
เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาโดยประการทั้งปวง นั้นคือนิพพาน.
ภพใหม่ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้ดับเย็นสนิทแล้วเพราะไม่มีความยึดมั่น.
ภิกษุนั้น เป็นผู้ครอบงำมารได้แล้ว ชนะสงครามแล้ว
ก้าวล่วงภพทั้งหลายทั้งปวงได้แล้วเป็นผู้คงที่ (คือไม่เปลี่ยนแปลงอีกต่อไป), ดังนี้ แล.
ย่อมกล่าวซึ่งโรค (ความเสียดแทง) นั้น โดยความเป็นตัวเป็นตน
เขาสำคัญสิ่งใด โดยความเป็นประการใด แต่สิ่งนั้นย่อมเป็น (ตามที่เป็นจริง)
โดยประการอื่นจากที่เขาสำคัญนั้น สัตว์โลกติดข้องอยู่ในภพ ถูกภพบังหน้าแล้ว
มีภพโดยความเป็นอย่างอื่น (จากที่มันเป็นอยู่จริง) จึงได้เพลิดเพลินยิ่งนักในภพนั้น.
เขาเพลิดเพลินยิ่งนักในสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นภัย (ที่เขาไม่รู้จัก) :
เขากลัวต่อสิ่งใด สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์.
พรหมจรรย์นี้ อันบุคคลย่อมประพฤติ ก็เพื่อการละขาดซึ่งภพ.
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด กล่าวความหลุดพ้นจากภพว่ามีได้เพราะภพ ;
เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงนั้น มิใช่ผู้หลุดพ้นจากภพ.
ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด กล่าวความออกไปได้จากภพว่า มีได้เพราะวิภพ (ไม่มีภพ) :
เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงนั้น ก็ยังสลัดภพออกไปไม่ได้.
ก็ทุกข์นี้มีขึ้น เพราะอาศัยซึ่งอุปธิทั้งปวง.
เพราะความสิ้นไปแห่งอุปาทานทั้งปวง ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์จึงไม่มี.
ท่านจงดูโลกนี้เถิด (จะเห็นว่า) สัตว์ทั้งหลายอัน
อวิชชา (ความไม่รู้) หนาแน่นบังหนาแล้ว ;
และว่าสัตว์ผู้ยินดีในภพอันเป็นแล้วนั้น ย่อมไม่เป็นผู้หลุดพ้นไป
จากภพได้ ก็ภพทั้งหลายเหล่าหนึ่งเหล่าใด อันเป็นไปในที่หรือในเวลาทั้งปวง
เพื่อความมีแห่งประโยชน์โดยประการทั้งปวง ;
ภพทั้งหลายทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา.
เมื่อบุคคลเห็นอยู่ซึ่งข้อนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริงอย่างนี้อยู่ ;
เขาย่อมละภวตัณหา(ความอยากมีอยากเป็น)ได้
และไม่เพลิดเพลินวิภวตัณหา(ความไม่อยาก) ด้วย.
ความดับเพราะความสำรอกไม่เหลือ (แห่งภพทั้งหลาย)
เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาโดยประการทั้งปวง นั้นคือนิพพาน.
ภพใหม่ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้ดับเย็นสนิทแล้วเพราะไม่มีความยึดมั่น.
ภิกษุนั้น เป็นผู้ครอบงำมารได้แล้ว ชนะสงครามแล้ว
ก้าวล่วงภพทั้งหลายทั้งปวงได้แล้วเป็นผู้คงที่ (คือไม่เปลี่ยนแปลงอีกต่อไป), ดังนี้ แล.
อุ.ขุ. ๒๕ / ๑๒๑ / ๘๔.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น