วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2559

สนทนาธรรมเช้าวันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน 2559 HD 1080P



#การฟังธรรมก่อนตายละสังโยชน์๕ ได้ กับ..๕ พระสูตร..ที่สอดรับกัน

(((เจริญโพชฌงค์ ๗ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ อานาปานสติ.)))

*******************************************************************************************************************************

#ทิฏฐิดับ ความสงสัยในสิ่งที่เราไม่พยากรณ์จึงไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว..

((ทิฏฐิ ก็คือ ความเห็นการที่เราคิด เรานึก เรารู้สึก ขึ้นมา นั่นคือ ภพ..นั่นเอง.รู้จัก ความดับแห่งภพ ความดับแห่งกรรม..ก็จะไม่สงสัยในสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่พยากรณ์..เพราะความเห็น.มีเกิดขึ้นแล้วก็จะดับไป..รู้หลักการ..ภาพรวม..))

กลายเป็นสงสัยในพระพุทธเจ้าอีก อยู่ในฝั่ง ฝ่ายปุถุชน

--

อัพยากตสูตร

[๕๑] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมแล้ว

นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย

เครื่องให้ความสงสัยในวัตถุที่พระองค์ไม่ทรงพยากรณ์

ไม่เกิดขึ้นแก่

อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ฯ

-

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ

เพราะทิฐิดับ ความสงสัยในวัตถุที่เราไม่พยากรณ์

จึงไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว

-

ดูกรภิกษุ ทิฐินี้ว่า

สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก

สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก

สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี

สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้

ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้

-

ดูกรภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อม

ไม่รู้ชัดทิฐิ

เหตุเกิดทิฐิ

ความดับทิฐิ

ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับทิฐิ

-

ทิฐินั้นเจริญแก่ปุถุชนนั้น

เขาย่อมไม่พ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ

ปริเทวะ ย่อมทุกข์ โทมนัสและอุปายาส

เรากล่าวว่า

ไม่พ้นไปจากทุกข์

-

ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว

ย่อมรู้ชัดทิฐิ

เหตุเกิดทิฐิ

ความดับทิฐิ

ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับทิฐิ

-

ทิฐิของอริยสาวกนั้นย่อมดับ

อริยสาวกนั้นย่อมพ้น

-

จากชาติ ชรา มรณะโสกะ ปริเทวะ ทุกข์

โทมนัสและอุปายาส

เรากล่าวว่า

ย่อมพ้นไปจากทุกข์

-

ดูกรภิกษุอริยสาวกผู้ได้สดับ

รู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่พยากรณ์ว่า

สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก ...

สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้

ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้

-

ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับ

รู้เห็นอยู่อย่างนี้

ย่อมเป็นผู้ไม่พยากรณ์

ในวัตถุที่เราไม่พยากรณ์เป็นธรรมดาอย่างนี้

-

อริยสาวกผู้ได้สดับ

รู้เห็นอยู่อย่างนี้

ย่อมไม่พรั่น ไม่หวั่น ไม่ไหว

ไม่ถึงความสะดุ้งในวัตถุที่เราไม่พยากรณ์ ฯ

-

ดูกรภิกษุ

ความทะยานอยาก

ความหมายรู้

ความสำคัญ

ความซึมซาบ

ความถือมั่น

ว่า

สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก ...

สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้

ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้

นี้เป็นความเดือดร้อน

-

ดูกรภิกษุ

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อม

ไม่รู้ชัดความเดือดร้อน

เหตุเกิดความเดือดร้อน

ความดับ ความเดือดร้อน

ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับความเดือดร้อน

-

ความเดือดร้อนย่อมเจริญแก่เขา

เขาย่อมไม่พ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ

ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส

-

เรากล่าวว่า ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์

-

ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อม

รู้ชัดความเดือดร้อน

เหตุเกิดความเดือดร้อน

ความดับความเดือดร้อน

ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับความเดือดร้อน

ความเดือดร้อนของอริยสาวกนั้นย่อมดับ ฯลฯ

-

อริยสาวกผู้ได้สดับ

รู้เห็นอยู่อย่างนี้แล ย่อม

ไม่พรั่น ไม่หวั่น ไม่ไหว

ไม่ถึงความสะดุ้งในวัตถุที่เราไม่พยากรณ์

-

ดูกรภิกษุนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัญ

เครื่องให้ถึงความสงสัยในวัตถุ

ที่เราไม่พยากรณ์

ไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้ได้สดับ ฯ

---

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๓

สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๖๑ ข้อที่ ๕๑

******************************************************************************************************************************************************************

#ฟังธรรมละสังโยชน์๕ได้

#อานิสงส์การเจริญโพชฌงค์

    [๓๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗

อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มาก

แล้วอย่างนี้ ผลานิสงส์ ๗ ประการ

อันเธอพึงหวังได้ ผลานิสงส์ ๗ ประการเป็นไฉน?

-

    [๓๘๒] คือ

(๑)

ในปัจจุบัน จะได้บรรลุอรหัตผลโดยพลัน

(๒)

ในปัจจุบันไม่ได้บรรลุ ทีนั้น

       จะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย

(๓)

ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ

ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ

ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี

เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

(๔)

ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ

ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ

และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี

เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป ทีนั้น

จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี

เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

(๕)

ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ

ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ

ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี

และไม่ได้เป็นพระอานาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ทีนั้น

จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี

เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

(๖)

ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ

ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ

ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี

ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี

และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ทีนั้น

จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี

เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

(๗)

ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ

ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ

ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี

ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี

ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี

และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ทีนั้น

จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี

เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ๕ สิ้นไป

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗

อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้

ผลานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้ อันเธอพึงหวังได้.

                   จบ สูตรที่ ๓

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๙

สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

หน้าที่ ๙๗ ข้อที่ ๓๘๑ - ๓๘๒

http://etipitaka.com/read/thai/19/96/?keywords=%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B9%8C%20%E0%B9%97

----

#เจริญอินทรีย์ ๕ ได้อานิสงส์ ๗ ประการ

[๑๐๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้

อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน? คือ

สัทธินทรีย์

ฯลฯ

ปัญญินทรีย์

อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว

พึงหวังผลานิสงส์ได้ ๗ ประการ ผลานิสงส์ ๗ ประการเป็นไฉน?

คือ

-

จะได้ชมอรหัตผลในปัจจุบันก่อน ๑

ถ้าไม่ได้ชมอรหัตผลในปัจจุบันก่อนจะได้ชมเวลาใกล้ตาย ๑

ถ้าปัจจุบันก็ไม่ได้ชม ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้ชมไซร้ ทีนั้นจะได้เป็น

พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑

ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑

ผู้อสังขารปรินิพพายี ๑

ผู้สสังขารปรินิพพายี ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑

-

เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล

อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

พึงหวัง ผลานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้.

จบ สูตรที่ ๖

---

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๙

สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

หน้าที่ ๒๕๗ ข้อที่ ๑๐๖๙

----

  #อิทธิบาท ๔  ว่าด้วยผลานิสงส์ ๗

    [๑๒๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้

อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย

ฉันทสมาธิและปธานสังขาร

...

วิริยสมาธิ

...

จิตตสมาธิ

...

วิมังสาสมาธิ

และปธานสังขาร

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล.

-

   [๑๒๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะได้เจริญ

ได้กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้

แล ภิกษุพึงหวังได้ผลานิสงส์ ๗ ประการ

ผลานิสงส์ ๗ ประการ เป็นไฉน? คือ

-

จะได้ชมอรหัตผลในปัจจุบันก่อน ๑

ถ้าไม่ได้ชมอรหัตผลในปัจจุบันก่อน จะได้ชมเวลาใกล้ตาย ๑

ถ้าในปัจจุบันไม่ได้ชม ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้ชมไซร้ เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑

ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑

ผู้อสังขารปรินิพพายี ๑

ผู้สสังขารปรินิพพายี ๑

ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะได้เจริญ

ได้กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล

ภิกษุพึงหวังได้ผลานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้.

                   จบ สูตรที่ ๕

---

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๙

สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

หน้าที่ ๒๙๕ ข้อที่ ๑๒๑๘ - ๑๒๑๙

---

http://etipitaka.com/read/thai/19/295/?keywords=%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B9%8C%20%E0%B9%97%20%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97%20%E0%B9%94

---

#อานาปานสติ

ผลานิสงส์การเจริญอานาปานสติ ๗ ประการ

    [๑๓๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ

อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

-

    [๑๓๑๕] ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก

มีอานิสงส์มาก? ภิกษุในธรรมวินัยนี้

อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี นั่งคู้บัลลังก์

ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า

เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า

(พึงขยายเนื้อความให้พิสดารตลอดถึง

ย่อมศึกษาว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ

อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล

ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

    [๑๓๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติ

อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้

พึงหวังได้ผลานิสงส์ ๗ ประการ

ผลานิสงส์ ๗ ประการเป็นไฉน? คือ

-

จะได้ชมอรหัตผลในปัจจุบันก่อน ๑

ถ้าไม่ได้ชมอรหัตผลในปัจจุบันก่อน จะได้ชมในเวลาใกล้ตาย ๑

ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้ชม ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้ชมไซร้ เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑

ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑

ผู้อสังขารปรินิพพายี ๑

ผู้สสังขารปรินิพพายี ๑

ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติ

อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล

พึงหวังได้ผลานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้.

                   จบ สูตรที่ ๕

----

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๙

สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

หน้าที่ ๓๒๑ ข้อที่ ๑๓๑๔ - ๑๓๑๕

----

https://www.youtube.com/watch?v=9GZ_LsJ5F_Y&feature=share

----

#ฟังธรรมละสังโยชน์๕ได้

ปุริสคติสูตร

[๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เราจักแสดงปุริสคติ ๗ ประการและอนุปาทาปรินิพพาน

เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย

-

ก็ปุริสคติ๗ ประการเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ

-

ได้ความวางเฉยว่า

-

ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้

อัตตภาพในปัจจุบัน ก็ไม่พึงมีแก่เรา

-

ถ้ากรรมในปัจจุบันไม่มีไซร้

อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา

เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว

เราย่อมละได้

-

เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต

ไม่ข้องในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต

ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่

ด้วยปัญญาอันชอบ

ก็บทนั้นแล

-

ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

อนุสัยคือมานะ

อนุสัยคือภวราคะ

อนุสัยคืออวิชชา

เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

-

#ภิกษุนั้นย่อมปรินิพพานในระหว่าง

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ

-

ได้ความวางเฉยว่า

ถ้ากรรมในอดีตไม่มีแล้วไซร้ ...

เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว

เราย่อมละได้

เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต

...

ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่

ด้วยปัญญาอันชอบ

ก็บทนั้นแล

-

ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

อนุสัยคือมานะ

...

อนุสัยคืออวิชชา

เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

เพราะ

โอรัมภาคิยสังโยชน์๕ สิ้นไป

-

#เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง

-

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่น

เหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนออกแล้วดับไป ฉะนั้น ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้

ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

-

#เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง

-

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็ก

ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกยังไม่ถึงพื้นก็ดับ ฉะนั้น ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้

ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

-

#เธอย่อมปรินิพพานในเมื่ออายุเลยกึ่ง

-

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็ก

ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป

ตกถึงพื้นแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพาน

โดยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตี

แผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนขึ้นไปแล้วตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้เล็กๆ

สะเก็ดนั้นพึงให้ไฟและควันเกิดขึ้นได้ที่หญ้าหรือกองไม้เล็กๆ นั้น

ครั้นให้เกิดไฟและควันเผากองหญ้าหรือกองไม้เล็กๆนั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

-

#เธอย่อมปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง

--

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไปแล้วพึงตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้

ย่อมๆ สะเก็ดนั้นพึงให้เกิดไฟและควันที่กองหญ้าหรือกองไม้ย่อมๆ นั้น ครั้นให้เกิดไฟและ ควันแล้ว

เผากองหญ้าหรือกองไม้ย่อมๆ นั้นให้หมดไป

ไม่มีเชื้อแล้วดับ ฉะนั้น ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

-

#เธอเป็นผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ

-

เปรียบเหมือนนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไปแล้วพึงตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ๆ

ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว เผากองหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ๆ นั้นให้หมดไป แล้วพึงลามไปไหม้อย่างนี้ คือ

-

ได้ความวางเฉยว่า

ถ้ากรรมในอดีตไม่มีแล้วไซร้

...

เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่

ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้

เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต

...

ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่

ด้วยปัญญาอันชอบ

ก็บทนั้นแล

ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

อนุสัยคือมานะ

...

อนุสัยคืออวิชชา

เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์๕ สิ้นไป

-

#เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง

-

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็ก

ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนออกแล้วดับไป ฉะนั้น ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

-

#เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง

-

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป

ตกยังไม่ถึงพื้นก็ดับ ฉะนั้น ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

-

#เธอย่อมปรินิพพานในเมื่ออายุเลยกึ่ง

-

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็ก

ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกถึงพื้นแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

-

#เธอย่อมปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก

-

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็ก

ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนขึ้นไปแล้วตกลงที่กองหญ้า

หรือกองไม้เล็กๆ สะเก็ดนั้นพึงให้ไฟ

และควันเกิดขึ้นได้ที่หญ้าหรือกองไม้เล็กๆ นั้น

ครั้นให้เกิดไฟและควันเผากองหญ้า

หรือกองไม้เล็กๆนั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

-

#เธอย่อมปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง

-

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็ก

ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไปแล้วพึงตกลงที่กองหญ้า

หรือกองไม้ย่อมๆ สะเก็ดนั้นพึงให้เกิดไฟ

และควันที่กองหญ้าหรือกองไม้ย่อมๆ นั้น

ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว

เผากองหญ้าหรือกองไม้ย่อมๆ นั้นให้หมดไป

ไม่มีเชื้อแล้วดับ ฉะนั้น ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

-

#เธอเป็นผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ

-

เปรียบเหมือนนายช่างตีแผ่น

เหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไปแล้วพึงตกลงที่กองหญ้า

หรือกองไม้ใหญ่ๆ ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว

เผากองหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ๆ นั้นให้หมดไป

แล้วพึงลามไปไหม้

ไม้กอและป่าไม้ครั้นไหม้ไม้กอและป่าไม้แล้ว

ลามมาถึงที่สุดหญ้าเขียว ที่สุดภูเขาที่สุดชายน้ำ

หรือภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ หมดเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสคติ ๗ ประการ

นี้แล ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ส่วน

#อนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างไร

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ

-

ย่อมได้ความวางเฉยว่า

ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้

อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา

ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมไม่มีไซร้

อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา

เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้

เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต

ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต

ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่ง

ด้วยปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล

อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว

โดยอาการทั้งปวง

อนุสัยคือมานะ

...

อนุสัยคืออวิชชา

เธอยังละ ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

เธอย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ

อันหาอาสวะมิได้

เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง

ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอนุปาทาปรินิพพาน

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสคติ ๗ ประการนี้

และอนุปาทาปรินิพพาน ฯ

จบสูตรที่ ๒

--

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๓

สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๖๒ ข้อที่ ๕๒

------

------

------

#สัตบุรุษย่อมเห็นสัตบุรุษ , อสัตบุรุษ

จูฬปุณณมสูตร (๑๑๐)

[๑๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกา

วิสาขามิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม

เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล

พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อม

ประทับนั่งกลางแจ้ง

ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ วันนั้น

เป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ฯ

-

[๑๓๑] ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเหลียวดู

ภิกษุสงฆ์ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ

จึงตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

-

อสัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า

ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษหรือไม่หนอ ฯ

-

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

-

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละ

ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ

นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัตบุรุษจะพึง

รู้จักสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นสัตบุรุษไหมเล่า ฯ

-

ภิ. ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

-

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละ

แม้ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า

ผู้นี้เป็นสัตบุรุษ นั่นก็ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ฯ

-

[๑๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

อสัตบุรุษย่อมเป็นผู้ประกอบด้วย

ธรรมของอสัตบุรุษ

ภักดีต่ออสัตบุรุษ

มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ

มีความรู้อย่างอสัตบุรุษ

มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษ

มีการงานอย่างอสัตบุรุษ

มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษ

ย่อมให้ทานอย่างอสัตบุรุษ ฯ

-

[๑๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ก็อสัตบุรุษเป็นผู้ประกอบด้วย

ธรรมของอสัตบุรุษอย่างไร คือ

อสัตบุรุษในโลกนี้

เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ

มีสุตะน้อย เกียจคร้าน มีสติหลงลืม

มีปัญญาทราม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของอสัตบุรุษ ฯ

-

[๑๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

อสัตบุรุษเป็นผู้ภักดีต่ออสัตบุรุษอย่างไร คือ

อสัตบุรุษในโลกนี้

มีสมณพราหมณ์ชนิดที่ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ

มีสุตะน้อย เกียจคร้าน มีสติหลงลืม

มีปัญญาทราม เป็นมิตร เป็นสหาย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ภักดีต่ออสัตบุรุษ ฯ

-

[๑๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

อสัตบุรุษเป็นผู้มีความคิดอย่างอสัตบุรุษอย่างไร คือ

อสัตบุรุษในโลกนี้

ย่อมคิดเบียดเบียนตนเองบ้าง

คิดเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง

คิดเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่าง

นี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ ฯ

-

[๑๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

อสัตบุรุษเป็นผู้มีความรู้อย่างอสัตบุรุษอย่างไร

คือ อสัตบุรุษในโลกนี้

ย่อมรู้เพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง

รู้เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง

รู้เพื่อเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้รู้อย่างอสัตบุรุษ ฯ

-

[๑๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

อสัตบุรุษเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษอย่างไร

คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มักพูดเท็จ พูดส่อเสียด

พูดคำหยาบ เจรจาเพ้อเจ้อ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษ ฯ

-

[๑๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

อสัตบุรุษเป็นผู้มีการงานอย่างอสัตบุรุษอย่างไร

คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ มักเป็นผู้ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง

มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้

มักประพฤติผิดในกาม

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีการงานอย่างอสัตบุรุษ ฯ

-

[๑๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

อสัตบุรุษเป็นผู้มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษอย่างไร คือ

อสัตบุรุษในโลกนี้

เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล

ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล

สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล

ผลวิบากของกรรมที่ทำดี

ทำชั่วแล้ว ไม่มี

โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี

มารดาไม่มี บิดาไม่มี

สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี

สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ

ซึ่งประกาศโลกนี้ โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง

เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี

-

ดูกรภิกษุทั้งหลายอย่างนี้แล

อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษ ฯ

-

[๑๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

อสัตบุรุษย่อมให้ทานอย่างอสัตบุรุษอย่างไร

คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมให้ทานโดยไม่เคารพ

ให้ทานไม่ใช่ด้วยมือของตน

ทำความไม่อ่อนน้อมให้ทาน

ให้ทานอย่างไม่เข้าใจ

เป็นผู้มีความเห็นว่าไร้ผล ให้ทาน

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

อสัตบุรุษชื่อว่าย่อมให้ทานอย่างอสัตบุรุษ ฯ

-

[๑๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

อสัตบุรุษนั่นแหละ

-

เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของอสัตบุรุษอย่างนี้

ภักดีต่ออสัตบุรุษอย่างนี้

มีความคิดอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้

มีความรู้อย่างอสัตบุรุษอย่างนี้

มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้

มีการงานอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้

มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้

ให้ทานอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้

-

แล้ว เมื่อตายไป ย่อมบังเกิดในคติของอสัตบุรุษ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คติของอสัตบุรุษคืออะไร

คือ นรก หรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน ฯ

-

[๑๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า

ผู้นี้เป็นสัตบุรุษหรือไม่หนอ ฯ

-

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า รู้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

-

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละ ข้อที่สัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า

ผู้นี้เป็นสัตบุรุษ นั่นเป็นฐานะที่มีได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า

ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษไหมเล่า ฯ

-

ภิ. รู้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

-

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละ แม้ข้อที่สัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า

ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ นั่นก็เป็นฐานะที่มีได้ ฯ

-

[๑๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สัตบุรุษย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ

ภักดีต่อสัตบุรุษ

มีความคิดอย่างสัตบุรุษ

มีความรู้อย่างสัตบุรุษ

มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ

มีการงานอย่างสัตบุรุษ

มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ

ย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษ ฯ

-

[๑๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สัตบุรุษเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษอย่างไร

คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ

มีสุตะมาก มีความเพียรปรารภแล้ว มีสติตั้งมั่น มีปัญญา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ ฯ

-

[๑๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สัตบุรุษเป็นผู้ภักดีต่อสัตบุรุษอย่างไร

คือสัตบุรุษในโลกนี้ มีสมณพราหมณ์ชนิดที่มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ

มีสุตะมาก มีความเพียรปรารภแล้ว มีสติตั้งมั่น มีปัญญา

เป็นมิตร เป็นสหาย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ภักดีต่อสัตบุรุษ ฯ

-

[๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สัตบุรุษเป็นผู้มีความคิดอย่างสัตบุรุษอย่างไร

คือ สัตบุรุษในโลกนี้

ย่อมไม่คิดเบียดเบียนตนเอง

ไม่คิดเบียดเบียนผู้อื่น

ไม่คิดเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความคิดอย่างสัตบุรุษ ฯ

-

[๑๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สัตบุรุษเป็นผู้มีความรู้อย่างสัตบุรุษอย่างไร

คือ สัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมไม่รู้เพื่อเบียดเบียนตนเอง

ไม่รู้เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น

ไม่รู้เพื่อเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้อย่างสัตบุรุษ ฯ

-

[๑๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สัตบุรุษเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษอย่างไร

คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากการพูดเท็จ

งดเว้นจากคำพูดส่อเสียด งดเว้นจากคำหยาบ

งดเว้นจากการเจรจาเพ้อเจ้อ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ ฯ

-

[๑๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สัตบุรุษเป็นผู้มีการงานอย่างสัตบุรุษอย่างไร

คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต

งดเว้นจากอทินนาทาน งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีการงานอย่างสัตบุรุษ ฯ

-

[๑๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สัตบุรุษเป็นผู้มีความเห็นอย่างสัตบุรุษอย่างไร

คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า

ทานที่ให้แล้ว มีผล

ยัญที่บูชาแล้ว มีผล

สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล

ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่ว มีอยู่

โลกนี้มี โลกหน้ามี

มารดามี บิดามี

สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี

สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ

ซึ่งประกาศโลกนี้ โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง

เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกมีอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ ฯ

-

[๑๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สัตบุรุษย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษอย่างไร

คือสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมให้ทานโดยเคารพ

ทำความอ่อนน้อมให้ทาน ให้ทานอย่างบริสุทธิ์

เป็นผู้มีความเห็นว่ามีผล จึงให้ทาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

สัตบุรุษชื่อว่าย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษ ฯ

-

[๑๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษนั่นแหละ

เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษอย่างนี้

ภักดีต่อสัตบุรุษอย่างนี้

มีความคิดอย่างสัตบุรุษอย่างนี้

มีความรู้อย่างสัตบุรุษอย่างนี้

มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษอย่างนี้

มีการงานอย่างสัตบุรุษอย่างนี้

มีความเห็นอย่างสัตบุรุษอย่างนี้

ให้ทานอย่างสัตบุรุษอย่างนี้แล้ว

-

เมื่อตายไป ย่อมบังเกิดในคติของสัตบุรุษ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คติของสัตบุรุษคืออะไร

คือ ความเป็นผู้มีตนควรบูชาในเทวดา

หรือความเป็นผู้มีตนควรบูชาในมนุษย์ ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว

ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี

พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

จบ จูฬปุณณมสูตร ที่ ๑๐

--

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๔

สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

หน้าที่ ๘๕ ข้อที่ ๑๓๐ - ๑๓๑

--

http://etipitaka.com/read/thai/14/85/…

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น