วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559

พุทธวจน faq อิทธิบาท ๔



อิทธิบาท ๔
๑. ฉันทะ ความพอใจ
๒. วิริยะ ความพากเพียร
๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ ความฝักใฝ่ ความสนใจในสิ่งนั้น
๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องการพิจารณาหาเหตุหาผลในสิ่งนั้น
--
‪#‎ความยินดีที่เป็นไปเพื่อสิ้นอาสวะ‬
--------------------------------
ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ
ย่อมเป็นผู้มากไปด้วยสุขและโสมนัส ในทิฏฐธรรมเทียว ;
และการกำเนิดของเธอนั้น
จักเป็นการปรารภเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะด้วย.
ธรรม ๖ ประการ เหล่าไหนเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ธรรมหกประการคือ ภิกษุในกรณีนี้ : -
เป็น ธัมมาราโม ( มีธรรมเป็นที่มายินดี ) ;
เป็น ภาวนาราโม ( มีการเจริญภาวนาเป็นที่มายินดี ) ;
เป็น ปหานาราโม ( มีการละกิเลสเป็นที่มายินดี ) ;
เป็น ปวิเวการาโม ( มีความสงัดจากโยคธรรมเป็นที่มายินดี ) ;
เป็น อัพ๎ยาปัชฌาราโม ( มีธรรมอันไม่เบียดเบียน
เป็นที่มายินดี ) ;
เป็น นิปปปัญจาราโม ( มีธรรมอันไม่ทำความเนิ่นช้า
เป็นที่มายินดี ).
ภิกษุ ท.! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เหล่านี้แล
ย่อมเป็นผู้มากไปด้วยสุขและโสมนัส
ในทิฏฐธรรมเทียว ; และการกำเนิดของ
เธอนั้น จักเป็นการปรารภเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะด้วย.
------------------------
ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๘๐/๓๔๙.
---
วิธีเจริญอิทธิบาท ๔
[๑๑๓๖] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนแต่
ตรัสรู้ ครั้งเราเป็นพระโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า
อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ของการเจริญอิทธิบาท.
[๑๑๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ ว่า
ฉันทะ ของเรา จักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปไปในภายนอก
และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น
เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น
กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น
เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตใจให้สว่างอยู่.
[๑๑๓๘] ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า
วิริยะ ของเรา จักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปไปในภายนอก
และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น
เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น
กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น
เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตใจให้สว่างอยู่.
[๑๑๓๙] ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า
จิต ของเรา จักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปไปในภายนอก
และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น
เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น
กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น
เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตใจให้สว่างอยู่.
[๑๑๔๐] ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า
วิมังสา ของเรา จักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปไปในภายนอก
และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น
เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น
กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น
เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่.
[๑๑๔๑] ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง.....ฯลฯ.
[๑๑๔๖] ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ ย่อมกระทำให้แจ้ง
ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
จบ สูตรที่ ๑
(พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค)
https://www.youtube.com/watch?v=XyRcNXv2vak

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น