วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559

พุทธวจน faq เทวตาพลี คือ อะไร



#อนุเคราะห์เทวดา..โดยการ .#อุทิศทัศทักษิณาทาน
บุรุษชาติบัณฑิต 
ย่อมสำเร็จการอยู่ในประเทศใด 
พึงเชิญท่านผู้มีศีล 
สำรวมแล้ว 
ประพฤติพรหมจรรย์ 
ให้บริโภคในประเทศนั้น 
#ควรอุทิศ 
#ทักษิณาทานเพื่อเทวดาผูสถิตอยู่ในที่นั้นๆ 
เทวดาเหล่านั้นอันบุรุษชาติ 
#บัณฑิตนับถือบูชา
#ย่อมนับถือบูชาบุรุษชาติบัณฑิตนั้น 
แต่นั้นย่อม 
อนุเคราะห์บุรุษชาติบัณฑิตนั้น 
ประหนึ่งมารดาอนุเคราะห์บุตรแล้วก็ย่อม 
เห็นความเจริญทุกเมื่อ ฯ
(ไทย)อุ. ข. ๒๕/ ๑๕๑/๑๗๓.
(บาลี)อุ. ข. ๒๕/ ๒๑๘/๑๗๓
---
มนุษย์...เทวดา..ล้วนต้องเกิดแก่ตาย..พระศาสดาให้อยู่อย่างอนุเคราะห์เกื้อกูลกัน..ถ้าเราอนุเคราะห์เทวดา..เทวดาก็จะอนุเคราะห์เรา..
#มิใช้การบูชาเพื่อขออะไรนั้นเข้าข่ายมิจฉาทิฏฐิเรืื่องกรรมเกิดจากผู้อื่นบันดาน #นรก #กำเนินเดรัชฉานคือคติที่ไป.. 
ดังพระสุูตรนี้.... 
ตรัสแก่สุนีธะและวัสสการะมหาอำมาตย์
ภายหลังจากที่พระองค์ได้ฉันของเคี้ยว
และของฉันอันประณีตที่ทั้ง ๒ 
ได้ถวายด้วยมือของตนแล้ว ด้วยคาถาว่า :-
บุรุษชาติบัณฑิต 
ย่อมสำเร็จการอยู่ในประเทศใ
พึงเชิญท่านผู้มีศีล 
ผู้สำรวมและประพฤติพรหมจรรย์ 
ให้บริโภคในประเทศนั้น
#ควรอุทิศทักษิณา 
#เพื่อเทวดาผู้สถิตอยู่ในที่นั้นๆ
#เทวดาเหล่านั้นอันบุรุษชาติบัณฑิตนับถือบูชาแล้ว 
#ย่อมนับถือบูชาตอบ
#แต่นั้นย่อมอนุเคราะห์บุรุษชาติบัณฑิตนั้น 
ประหนึ่งมารดาอนุเคราะห์บุต
#บุรุษผู้อันเทวดาอนุเคราะห์แล้ว 
ก็ย่อมเห็นความเจริญทุกเมื่อ.
พุทธวจน ภพภูมิ หน้า ๓๒๑
(ไทย) มหา. ที. ๑๐/๗๘/๘๔. : 
(บาลี) มหา. ที. ๑๐/๑๐๔/๘๔.
--
บุรุษชาติบัณฑิต ย่อมสำเร็จการอยู่ในประเทศใด พึงเชิญท่านผู้มีศีล สำรวมแล้ว ประพฤติพรหมจรรย์ ให้บริโภคในประเทศนั้น ควรอุทิศ ทักษิณาทานเพื่อเทวดาผูสถิตอยู่ในที่นั้นๆ เทวดาเหล่านั้นอันบุรุษชาติ บัณฑิตนับถือ บูชาย่อมนับถือบูชาบุรุษชาติบัณฑิตนั้น แต่นั้นย่อม อนุเคราะห์บุรุษชาติบัณฑิตนั้น ประหนึ่งมารดาอนุเคราะห์บุตรแล้วก็ย่อม เห็นความเจริญทุกเมื่อ ฯ
(ไทย)อุ. ข. ๒๕/ ๑๕๑/๑๗๓
---
หลักในการใช้จ่ายทรัพย์
คหบดี ! อริยสาวกนั้น ใช้โภคทรัพย์ที่ตนหาได้มาด้วยความเพียรเป็นเครื่องลุกขึ้น รวบรวมมาด้วยกำลังแขน มีตัวชุ่มด้วยเหงื่อ เป็นโภคทรัพย์ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม เพื่อกระทำกรรมในหน้าที่ ๔ ประการ.
๔ ประการ อย่างไรเล่า ? ๔ ประการ ในกรณีนี้ คือ :-
๑. อริยสาวกนั้น ใช้โภคทรัพย์อันตนหาได้มา โดยชอบธรรม (ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น)
ในการเลี้ยงตน ให้เป็นสุข อิ่มหนำ บริหารตนให้อยู่เป็นสุขโดยถูกต้อง,
ในการเลี้ยงมารดาและบิดาให้เป็นสุข อิ่มหนำ บริหารท่านทั้งสองให้อยู่เป็นสุขโดยถูกต้อง,
ในการเลี้ยงบุตร ภรรยา ทาสและกรรมกรชายหญิง ให้เป็นสุข อิ่มหนำ บริหารให้อยู่กันอย่างเป็นสุขโดยถูกต้อง,
ในการเลี้ยงมิตรอำมาตย์ให้เป็นสุข อิ่มหนำ บริหารให้อยู่เป็นสุข โดยถูกต้อง
นี้เป็นการบริโภคทรัพย์ ฐานที่ ๑ อันอริยสาวกนั้นถึงแล้ว บรรลุแล้ว บริโภคแล้วโดยชอบด้วยเหตุผล (อายตนโส).
คหบดี ! ข้ออื่นยังมีอีก :
๒. อริยสาวกนั้น ใช้โภคทรัพย์อันตนหาได้มา โดยชอบธรรม (ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น) ในการปิดกั้นอันตรายทั้งหลาย ทำตนให้สวัสดีจากอันตรายทั้งหลาย ที่เกิดจากไฟ จากน้ำ จากพระราชา จากโจร หรือจากทายาทที่ไม่เป็นที่รักนั้นๆ นี้เป็นการบริโภคทรัพย์ ฐานที่ ๒ อันอริยสาวกนั้นถึงแล้ว บรรลุแล้ว บริโภคแล้วโดยชอบด้วยเหตุผล.
คหบดี ! ข้ออื่นยังมีอีก :
๓. อริยสาวกนั้น ใช้โภคทรัพย์อันตนหาได้มา โดยชอบธรรม (ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น) ในการกระทำพลีกรรม ๕ ประการ คือ
สงเคราะห์ญาติ (ญาติพลี)
สงเคราะห์แขก (อติถิพลี)
สงเคราะห์ผู้ล่วงลับไปแล้ว (ปุพพเปตพลี)
ช่วยชาติ (ราชพลี)
บูชาเทวดา (เทวตาพลี)
นี้เป็นการบริโภคทรัพย์ ฐานที่ ๓ อันอริยสาวกนั้นถึงแล้ว บรรลุแล้ว บริโภคแล้ว โดยชอบด้วยเหตุผล.
คหบดี ! ข้ออื่นยังมีอีก :
๔. อริยสาวกนั้น ใช้โภคทรัพย์อันตนหามาได้ โดยชอบธรรม (ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น) ในการตั้งไว้ซึ่งทักษิณา อุทิศแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้งดเว้นแล้วจากความประมาทมัวเมา ผู้ตั้งมั่นอยู่ในขันติและโสรัจจะ ผู้ฝึกฝน ทำความสงบ ทำความดับเย็น แก่ตนเอง อันเป็นทักษิณาทานที่มีผลเลิศในเบื้องบน เป็นฝ่ายดี มีสุข เป็นผลตอบแทน เป็นไปพร้อมเพื่อสวรรค์ นี้เป็นการบริโภคทรัพย์ ฐานที่ ๔อันอริยสาวกนั้นถึงแล้ว บรรลุแล้ว บริโภคแล้วโดยชอบด้วยเหตุผล.
คหบดี ! อริยสาวกนั้น ย่อมใช้โภคทรัพย์ที่ตนหาได้มาด้วยความเพียรเป็นเครื่องลุกขึ้น รวบรวมมาด้วยกำลังแขน มีตัวชุ่มด้วยเหงื่อ เป็นโภคทรัพย์ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม เพื่อกระทำกรรมในหน้าที่ ๔ ประการ เหล่านี้.

พุทธวจน ปฐมธรรม หน้า ๑๘
(ไทย) จตุกฺก. อํ. ๒๑/๖๕/๖๑.
---
การบูชาเทวดา
ตรัสแก่สุนีธะและวัสสการะมหาอำมาตย์ภายหลังจากที่พระองค์ได้ฉันของเคี้ยวและของฉันอันประณีตที่ทั้ง ๒ ได้ถวายด้วยมือของตนแล้ว ด้วยคาถาว่า :-
บุรุษชาติบัณฑิต ย่อมสำเร็จการอยู่ในประเทศใด
พึงเชิญท่านผู้มีศีล ผู้สำรวมและประพฤติพรหมจรรย์ ให้บริโภคในประเทศนั้น
ควรอุทิศทักษิณา เพื่อเทวดาผู้สถิตอยู่ในที่นั้นๆ
เทวดาเหล่านั้นอันบุรุษชาติบัณฑิตนับถือบูชาแล้ว ย่อมนับถือบูชาตอบ
แต่นั้นย่อมอนุเคราะห์บุรุษชาติบัณฑิตนั้น ประหนึ่งมารดาอนุเคราะห์บุตร
บุรุษผู้อันเทวดาอนุเคราะห์แล้ว ก็ย่อมเห็นความเจริญทุกเมื่อ.
พุทธวจน ภพภูมิ หน้า ๓๒๑
(ไทย) มหา. ที. ๑๐/๗๘/๘๔
---
#สัมมาทิฐิเบื้องต้นเป็นไปเพื่อสุคติโลกสวรรค์
[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า
#ทานที่ให้แล้ว มีผล
#ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
#สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
#ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่
#โลกนี้มี
#โลกหน้ามี
#มารดามี
#บิดามี
#สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
#สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่
นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
---------------------
‪#‎เจริญพรหมวิหาร‬=ฌาน ๑ ๒ ๓ ๔ 
(ก่อนฉัน watnapp 16 มกราคม เวลา 8:56 น.)
เมตตาเจโตวิมุตติ,= ปฐมฌาน = เข้าถึงสหายของเทวดา อายุ ๑ กัป
กรุณาเจโตวิมุตติ,=ทุติยฌาน = เข้าถึงสหายของเทวดา อายุ ๒ กัป
มุทิตาเจโตวิมุตติ,=ตติยฌาน = เข้าถึงสหายของเทวดา อายุ ๔ กัป
อุเบกขาเจโตวิมุตติ =จตุตถฌาน = เข้าถึงสหายของเทวดา อายุ ๕๐๐ กัป
--
‪#‎ตายในสมาธิ‬
‪#‎ตายในฌาน‬ ๑ ๒ ๓ ๔
ปฐมฌาน = เข้าถึงสหายของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา อายุ ๑ กัป
ทุติยฌาน = เข้าถึงสหายของเทวดาพวกอาภัสสระ อายุ ๒ กัป
ตติยฌาน = ย่อมเข้าถึงสหายของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ อายุ ๔ กัป
จตุตถฌาน = ย่อมเข้าถึงสหายของเทวดาเหล่าเวหัปผละ อายุ ๕๐๐ กัป
--
‪#‎ตายจากเทวดา‬ 
-- ผู้ไม่ได้สดับ--ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง
--ผู้ได้สดับ-- ปรินิพพานในภพนั้น
--
ฌานสูตรที่ ๑
[๑๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ 
มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน 
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ 
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน 
มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ 
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจปฐมฌานนั้น 
และถึงความปลื้มใจด้วยปฐมฌานนั้น 
ตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น 
น้อมใจไปในปฐมฌานนั้น 
อยู่จนคุ้นด้วยปฐมฌานนั้น 
ไม่เสื่อมเมื่อกระทำกาละ 
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา 
ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย กัปหนึ่ง
เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา 
-
ปุถุชนดำรงอยู่ ในชั้นพรหมกายิกานั้น ตราบเท่าตลอดอายุ 
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว 
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง
ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค 
ดำรงอยู่ในชั้นพรหมนั้นตราบเท่าสิ้นอายุ 
ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้นทั้งหมดให้สิ้นไปแล้ว 
ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง 
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
นี้เป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน 
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับ 
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ 
ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุทุติยฌาน 
มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร 
เพราะวิตกวิจารสงบไป 
มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ 
บุคคลนั้นพอใจ 
ชอบใจทุติยฌานนั้นและถึงความปลื้มใจด้วยทุติยฌานนั้น 
ตั้งอยู่ในทุติยฌานนั้น 
น้อมใจไปในทุติยฌานนั้น 
อยู่จนคุ้นด้วยทุติยฌานนั้น ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละ 
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกอาภัสสระ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ กัป
เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าอาภัสสระ 
ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระ ตราบเท่าตลอดอายุ 
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว 
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง 
ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระนั้น 
ตราบเท่าตลอดอายุ 
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว 
ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน 
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ 
คือในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีอุเบกขา 
มีสติสัมปชัญญะเสวยสุขด้วยนามกาย 
เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน 
ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ 
เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข 
บุคคลนั้นพอใจชอบใจตติยฌานนั้น 
และถึงความปลื้มใจด้วยตติยฌานนั้น 
ตั้งอยู่ในตติยฌานนั้นน้อมใจไปในตติยฌานนั้น 
อยู่จนคุ้นด้วยตติยฌานนั้น 
ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๔ กัป
เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ 
ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้นตราบเท่าตลอดอายุ 
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว 
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง 
ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาคดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้น 
ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมด
ของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
นี้แลเป็นความพิเศษ ผิดแผกแตกต่างกัน 
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้ สดับ 
คือ ในเมื่อคติ อุบัติ มีอยู่ ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุจตุตถฌาน
ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ 
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ 
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจจตุตถฌานนั้น 
และถึงความปลื้มใจด้วยจตุตถฌานนั้น ตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น 
น้อมใจไปในจตุตถฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยจตุตถฌานนั้น 
ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละ 
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าเวหัปผละ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๕๐๐ กัป
เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าเวหัปผละ
ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น 
ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้น
ให้สิ้นไปแล้ว 
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง 
ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค 
ดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ 
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว 
ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
นี้แลเป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน 
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ 
คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ 
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวก 
มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
จบสูตรที่ ๓
-
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
หน้าที่ ๑๒๕/๒๔๐ ข้อที่ ๑๒๓
--
http://etipitaka.com/read…#
---
#เจริญพรหมวิหาร
"เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
จิตของเราจักตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีในภายใน 
และธรรม อันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว 
จักไม่ครอบงำจิตได้ เมื่อใด จิตของเธอเป็นจิตตั้งมั่น 
ดำรงอยู่ด้วยดีแล้วในภายใน 
และธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว 
ไม่ครอบงำจิตได้ 
เมื่อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า 
เราจักเจริญ กระทำให้มากซึ่ง
-
เมตตาเจโตวิมุตติ, 
กรุณาเจโตวิมุตติ,
มุทิตาเจโตวิมุตติ,
อุเบกขาเจโตวิมุตติ 
-
ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง 
ให้มั่นคง สั่งสม ปรารภดีแล้ว
-
เมื่อเธอพิจารณาเห็นตนบริสุทธิ์ 
พ้นแล้วจากบาปอกุศลที่เกิดขึ้น 
ปราโมทย์ก็เกิด 
เมื่อเธอเกิดปราโมทย์แล้ว 
ปีติก็เกิด เมื่อเธอมีใจประกอบด้วยปีติแล้ว 
กายก็สงบรำงับ ผู้มีกายสงบรำงับย่อมเสวยสุข 
จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิ
-
เธอมีจิตสหรคตด้วยเมตตา 
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ 
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น 
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น 
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น 
-
และเธอมีจิตสหรคตด้วยเมตตา 
อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ 
ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท 
แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ทั่วทุกทาง 
เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่
-
มีจิตสหรคตด้วยกรุณา 
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ 
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น 
แผ่ไปสู่ ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น 
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น 
และเธอมีจิตสหรคตด้วยกรุณา 
อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ 
ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท 
แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ทั่วทุกทาง 
เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่
-
มีจิตสหรคตด้วยมุทิตา 
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ 
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น 
แผ่ไปสู่ ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น 
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น 
และเธอมีจิตสหรคตด้วยมุทิตา 
อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ 
ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท 
แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ทั่วทุกทาง 
เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่
-
มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา 
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ 
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น 
แผ่ไปสู่ ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น 
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น 
และเธอก็มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา 
อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ 
ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท 
แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง 
ทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่
-
สระโบกขรณี มีน้ำใสจืด เย็น สะอาด 
มีท่าอันดี น่ารื่นรมย์ ถ้าบุรุษมาแต่
ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ และจากที่ไหนๆ 
อันความร้อนแผดเผาเร่าร้อน ลำบาก ระหาย 
อยากดื่มน้ำ เขามาถึงสระโบกขรณีนั้นแล้ว 
ก็บรรเทาความอยากดื่มน้ำ 
และความกระวนกระวายเพราะความร้อนเสียได้ 
แม้ฉันใด เธอมาถึงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว 
เจริญเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาอย่างนั้น 
ย่อมได้ความสงบจิต ณ ภายใน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน 
เรากล่าวว่าเป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติอันดียิ่ง
-
เปรียบเหมือนคนเป่าสังข์ 
ผู้มีกำลัง ย่อมเป่าสังข์ให้ได้ยินได้ทั้งสี่ทิศโดยไม่ยากฉันใด 
ในเมตตาเจโตวิมุตติ 
(กรุณาเจโตวิมุตติ..,มุทิตาเจโตวิมุตติ...,อุเบกขาเจโตวิมุตติ...)
ที่เจริญแล้วอย่างนี้ กรรมชนิดที่ทำอย่างมีขีดจำกัด 
ย่อมไม่มีเหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ในนั้น ก็ฉันนั้น
-
เมื่อใดเธอเจริญสมาธินี้อย่างนี้ เจริญดีแล้ว เมื่อนั้น 
เธอจักเดินไปทางใดๆก็จักเดินเป็นสุขในทางนั้นๆ 
ยืนอยู่ในที่ใดๆ ก็จักยืนเป็นสุขในที่นั้นๆ 
นั่งอยู่ในที่ใดๆก็จักนั่งอยู่เป็นสุขในที่นั้นๆ 
นอนอยู่ที่ใดๆ ก็จักนอนเป็นสุขในที่นั้นๆ
-
เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ
อันบุคคลเสพมาแต่แรก ให้เจริญแล้ว 
ทำให้มากแล้วทำให้เป็นดุจยานที่เทียมดีแล้ว 
ทำให้เป็นที่ตั้ง ประพฤติสั่งสมเนืองๆ 
ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว 
พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ อย่าง คือ
หลับเป็นสุข ๑ 
ตื่นเป็นสุข ๑ 
ไม่ฝันร้าย ๑
เป็นที่รักของพวกมนุษย์ ๑ 
เป็นที่รักของพวกอมนุษย์ ๑ 
เทพยดารักษา ๑ 
ไฟก็ดี ยาพิษก็ดี ศาตราก็ดี ไม่ต้องบุคคลนั้น ๑ 
จิตตั้งมั่นได้รวดเร็ว ๑ 
สีหน้าผุดผ่อง ๑ 
ไม่หลงทำกาละ ๑
เมื่อยังไม่บรรลุคุณวิเศษที่ยิ่งขึ้นไป ย่อมเกิดในพรหมโลก ๑ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว 
ทำให้มากแล้วทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง 
ตั้งไว้เนืองๆ อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว
อานิสงส์ ๑๑ ประการนี้เป็นอันหวังได้ ฯ
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๓๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
หน้าที่ ๒๗๕/๓๖๔ ข้อที่ ๕๗๔
http://etipitaka.com/read…
--
https://www.youtube.com/watch?v=aWJRWaoig_Y

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น