วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2559

พุทธวจน-เครื่องวัดความเร็วในการบรรลุธรรมคืออินทรีย์ ๕



ปฏิปทาของการสิ้นอาสวะ ๔ แบบ

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ปฏิปทา ๔ ประการ

เหล่านี้ มีอยู่ ; คือ :-

ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า ๑,

ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว ๑,

ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า ๑,

ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว ๑.

แบบปฏิบัติลำบาก ประสพผลช้า

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็นผู้มีปกติเห็น

ความไม่งามในกาย มีสัญญาว่า ปฏิกูลในอาหาร มี

สัญญาในโลกทั้งปวง โดยความเป็นของไม่น่ายินดี

เป็นผู้มีปกติ ตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง

มรณสัญญาก็เป็นสิ่งที่เขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน.

ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระ

เสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ

โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ; แต่ อินทรีย์ ๕

ประการเหล่านี้ของเธอนั้น ปรากฏว่าอ่อน คือ

สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์

ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ยังอ่อน

ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะ

ได้ช้า :

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า.



แบบปฏิบัติลำบาก ประสพผลเร็ว

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็นผู้มีปกติเห็น

ความไม่งามในกาย มีสัญญาว่า ปฏิกูลในอาหาร มี

สัญญาในโลกทั้งปวง โดยความเป็นของไม่น่ายินดี

เป็นผู้มีปกติ ตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง

มรณสัญญาก็เป็นสิ่งที่เขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน.

ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระ

เสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ

โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ;

แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น

ปรากฏว่ามีประมาณยิ่ง (แก่กล้า) คือ สัทธินทรีย์

วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์.

เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้มีประมาณยิ่ง ภิกษุ

นั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว :

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว.



แบบปฏิบัติสบาย ประสพผลช้า

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัดจาก

กามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุปฐมฌาน

ทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌาน (มีรายละเอียด

ดังที่แสดงแล้วในที่ทั่วไป) แล้วแลอยู่.

ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระ

เสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ

โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ;

แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น

ปรากฏว่าอ่อน คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์

สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้า

เหล่านี้ ยังอ่อน ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อ

ความสิ้นอาสวะได้ช้า :

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า.



แบบปฏิบัติสบาย ประสพผลเร็ว

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัดจาก

กามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุปฐมฌาน

ทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌาน ... แล้วแลอยู่.

ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระ

เสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ

โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ;

แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น

ปรากฏว่ามีประมาณยิ่ง คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์

สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่

อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้มีประมาณยิ่ง ภิกษุนั้นจึง บรรลุ

อนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว :

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เหล่านี้แล ปฏิปทา ๔ ประการ.

จตุกฺก. อํ. ๒๑ / ๒๐๒ / ๑๖๓.

https://www.youtube.com/watch?v=hmLaqJB857E

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น