วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560

ปฏิจจสมุปบาทแห่งการได้อารมณ์ ๖ ธาตุสังยุตต์ นิทาน.สํ. ๑๖/๑๗๕/๓๔๘ 15 /01/...





รักษาศาสนา..ด้วยการ..ช่วยกันศึกษา..ปฏิบัติ..เผยแผ่..แต่คำตถาคต

เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์ โดย ตะวัน พุทธวจน BN.4386

https://www.facebook.com/groups/679713432115426/......

ปฏิจจสมุปบาทแห่งการได้อารมณ์ ๖ (สัทธรรม = ทองแท้, สัทธรรมปฏิรูป=ทองเทียม,พยัญชนะปฏิรูป..อรรถะคงเดิม..)((ตัดต่อจากคลิปสนทนาธรรม15 /01/2560 ))

คลิปยูทูป

https://www.youtube.com/watch?v=kVReIgVzEzs

คลิปเฟสบุ๊ค

https://www.facebook.com/100012502933592/videos/244860905940672/

ปฏิจจสมุปบาทแห่งอารัมมณลาภนานัตตะ๑

            (การได้อารมณ์ หก)

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  เพราะอาศัยธาตุนานัตตะ (ธาตุนานาชนิด) จึงมีการเกิดขึ้นแห่งสัญญานานัตตะ (สัญญานานาชนิด);

    เพราะอาศัย สัญญานานัตตะ จึงมีความเกิดขึ้นแห่งสังกัปปนานัตตะ (ความตริตรึกนานาชนิด);

    เพราะอาศัย สังกัปปนานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง

ผัสสนานัตตะ (ผัสสะนานาชนิด);

    เพราะอาศัย ผัสสนานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง

เวทนานานัตตะ (เวทนา นานาชนิด);

    เพราะอาศัย เวทนานานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง

ฉันทนานัตตะ (ความ พอใจนานาชนิด);

 เพราะอาศัย ฉันทนานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง

ปริฬาหนานัตตะ (ความ เร่าร้อนนานาชนิด);

    เพราะอาศัย ปริฬาหนานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง

ปริเยสนานานัตตะ (การ แสวงหานานาชนิด);

    เพราะอาศัย ปริเยสนานานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง

ลาภนานัตตะ (การ ได้รับนานาชนิด);

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  ธาตุนานัตตะ เป็นอย่างไรเล่า ?

ธาตุนานัตตะคือ

 รูปธาตุ สัททธาตุ คันธธาตุ รสธาตุ

โผฏฐัพพธาตุ ธัมมธาตุ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  นี้เราเรียกว่า ธาตุนานัตตะ.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !

เพราะอาศัยธาตุนานัตตะ

จึงมีการเกิดขึ้นแห่งสัญญานานัตตะ ;

เพราะอาศัยสัญญานานัตตะ

จึงมีการเกิดขึ้นแห่งสังกัปปนานัตตะ;

 ...ฯลฯ...

เพราะอาศัยปริฬาหนานัตตะ

จึงมีการเกิดขึ้นแห่งปริเยสนานานัตตะ;

เพราะอาศัยปริเยสนานานัตตะ

จึงมีการเกิดขึ้นแห่งลาภนานัตตะ; เป็นอย่างไรเล่า ?

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  เพราะอาศัยรูปธาตุ

จึงมีการเกิดขึ้นแห่งรูปสัญญา(สัญญาในรูป) ;

เพราะอาศัยรูปสัญญา จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง

รูปสังกัปปะ (ความตริตรึกในรูป) ;

เพราะอาศัยรูปสังกัปปะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง

รูปสัมผัสสะ (การสัมผัสซึ่งรูป);

เพราะอาศัยรูปสัมผัสสะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง

รูปสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาที่เกิดขึ้นจากการสัมผัสซึ่งรูป);

เพราะอาศัยรูปสัมผัสสชาเวทนา

จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง รูปฉันทะ(ความพอใจในรูป);

เพราะอาศัยรูปฉันทะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง

รูปปริฬาหะ (ความเร่าร้อนเพราะรูป);

เพราะอาศัยรูปปริฬาหะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง

รูปปริเยสนา (การแสวงหาซึ่งรูป);

เพราะอาศัยรูปปริเยสนา จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง

รูปลาภะ  (การได้รับซึ่งรูป).

****

(หมวดเกี่ยวกับธาตุอื่น ๆ อีก ๕ ธาตุ สัททธาตุ คันธธาตุ รสธาตุ โผฏฐัพพธาตุ และธัมมธาตุ ก็มีการจำแนกโดยนัยะอย่างเดียวกันกับหมวดรูปธาตุ ดังที่กล่าวแล้วข้างบนนี้).

***

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !

 อย่างนี้แล (ที่เรากล่าวว่า)

 เพราะอาศัยธาตุนานัตตะ

จึงมีการเกิดขึ้นแห่งสัญญานานัตตะ;

 เพราะอาศัยสัญญานานัตตะ

จึงมีการเกิดขึ้นแห่งสังกัปปนานัตตะ;

 ...ฯลฯ...

เพราะอาศัยปริฬาหนานัตตะ

จึงมีการเกิดขึ้นแห่งปริเยสนานานัตตะ;

เพราะอาศัยปริเยสนานานัตตะ

จึงมีการเกิดขึ้นแห่งลาภนานัตตะ.

    [ยังมีสูตรอีกสูตรหนึ่ง

ซึ่งลักษณะอย่างเดียวกันกับสูตรข้างบนนี้ทุกประการ

ต่างแต่ตรัสไว้โดยย่อ คือเว้นผัสสนานัตตะ

และเวทนานานัตตะ แล้วเว้นลาภนานัตตะ

ซึ่งเป็นอันดับสุดท้ายเสีย

คงตรัสเพียงแค่ปริเยสนานานัตตะ เท่านั้น

(- สูตรที่ ๗ ธาตุสังยุตต์ นิทาน.สํ. ๑๖/๑๗๓/๓๔๔).]



            ปฏิจจสมุปบาท แห่งการปฏิบัติผิดโดยไตรทวาร๑



    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  กามวิตก (ความครุ่นคิดในกาม)

เป็นธรรมมีนิทาน(เหตุให้เกิด)

ไม่ใช่เป็นธรรมไม่มีนิทาน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้เป็นอย่างไรเล่า ?

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  เพราะอาศัย

กามธาตุ (ธาตุเป็นที่ตั้งแห่งความรู้สึก ทางกาม)

จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง กามสัญญา (ความหมายมั่นในกาม);

    เพราะอาศัยกามสัญญา

จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง กามสังกัปปะ (ความตริตรึกในกาม);

    เพราะอาศัยกามสังกัปปะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง

กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) ;

เพราะอาศัยกามฉันทะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง

กามปริฬาหะ (ความเร่าร้อนเพื่อกาม);

    เพราะอาศัยกามปริฬาหะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง

กามปริเยสนา (การแสวงหากาม).

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ

 เมื่อแสวงหาอยู่ซึ่งกาม ย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะสาม

คือ โดยกาย โดยวาจา โดยใจ.

    (ข้อความต่อไปนี้ มีการตรัสถึง

พยาปาทวิตก และวิหิงสาวิตก

โดยนัยะอย่างเดียวกันกับการแสดงนัยะแห่งกามวิตกนี้).



            ปฏิจจสมุปบาท แห่งกามปฏิบัติชอบโดยไตรทวาร๑



    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  เนกขัมม๒วิตก

 เป็นธรรมมีนิทาน (เหตุให้เกิด)

ไม่ใช่เป็นธรรมไม่มีนิทาน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้ เป็นอย่างไรเล่า ?

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !

เพราะอาศัยเนกขัมมธาตุ

(ธาตุเป็นที่ตั้งแห่งความรู้สึกในการหลีกออกจากกาม)

จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง

เนกขัมมสัญญา (ความหมายมั่นในเนกขัมมะ) ;

    เพราะอาศัยเนกขัมมสัญญา จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง

เนกขัมมสังกัปปะ (ความ ตริตรึกในเนกขัมมะ);

     เพราะอาศัยเนกขัมมสังกัปปะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง

เนกขัมมฉันทะ (ความพอใจในเนกขัมมะ);

    เพราะอาศัยเนกขัมมฉันทะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง

เนกขัมมปริฬาหะ (ความเร่าร้อนเพื่อเนกขัมมะ);

    เพราะอาศัยเนกขัมมปริฬาหะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง

เนกขัมมปริเยสนา (การแสวงหาซึ่งเนกขัมมะ).

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  อริยสาวกผู้มีการสดับ

เมื่อแสวงหาอยู่ซึ่งเนกขัมมะ ย่อม

ปฏิบัติชอบ โดยฐานะสาม

คือ โดยกาย โดยวาจา โดยใจ.

    (ข้อความต่อไปนี้ มีการตรัสถึงอัพ๎ยาปาทวิตก

 และอวิหิงสาวิตก

โดยนัยะอย่างเดียวกันกับการแสดงนัยะ

แห่งเนกขัมมวิตกนี้).

    ________________________________

    ๑.  สูตรที่ ๒ ทุติยวรรค ธาตุสังยุตต์ นิทาน.สํ. ๑๖/๑๘๒-๓/๓๕๘-๙,ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน.

****

    ๒.  คำว่า “เนกขัมมะ” หมายถึงการหลีกออกจากกาม; ดังนั้น คำว่า “เนกขัมมวิตก” เป็นต้น จึงหมายความว่า ความวิตกไปในการหลีกออกจากกาม, เป็นต้น.

   

    ________________________________

    ๑.  สูตรที่ ๒ ทุติยวรรค ธาตุสังยุตต์ นิทาน. สํ. ๑๖/๑๘๑/๓๕๕-๖, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน.



 #ผู้ใดชอบธรรมของพระผู้มีพระภาคนั้น ผู้นั้นจงมา

กราบนมัสการ..พระพุทธ..พระธรรม..พระสงฆ์สาวก..ด้วยเศียรเกล้า..

17 มีนาคม · เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์

พอจ.ท่านเป็นคนที่พามหาชนเข้าเฝ้าพระตถาคตโดยตรง มหาชนข้องใจเรื่องใด ก็เข้าเฝ้าพระองค์ได้ตลอด ท่านตรงไปตรงมา มีแอปพลิเคชั่น ให้เทียบเคียงพระพุทธวจน ด้วย ไม่ปกปิดข่าวสานน์ ไม่ตระหนี่ธรรม

ตะวัน พุทธวจน BN.4386 (( รับชมคลิป พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล.กับการ..เชื่อมโยงพระสูตร..ที่ลึกขึ้นๆ ได้อย่างต่อเนื่อง.ได้จาก 5 ช่องทาง..สร้างเหตุไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว..ไม่ถึงความเสื่อม.. ))

link ;; ทวิตเตอร์ ;; https://twitter.com/fantachaleeporn

link;; G+ ;; https://plus.google.com/u/0/+ChaleepornInrodBNNo312

link;; blogger ;; http://buddhawajana252.blogspot.com/

link ;;ช่อง YouTube; https://www.youtube.com/c/ChaleepornInrodBNNo312

link ;; facebook ; 5 เฟส

เฟส 1 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012502933592

เฟส 2 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012607659827

เฟส 3 ;; https://www.facebook.com/fata.chalee

เฟส 4 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100010716036268

เฟส 5 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012410853671

เปิดธรรมที่ถูกปิดด้วยพุทธวจน

โดยพอจ.คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล เจ้าอาวาส วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง10 จังหวัด ปทุมธานี

เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์

โดย : ตะวัน พุทธวจน BN.4386

https://www.facebook.com/groups/679713432115426/

***รักษาศาสนาพุทธ ด้วยการช่วยกัน

ศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่ แต่คำตถาคต***

ขอบพระคุณเว็ปไซต์จากวัดนาป่าพง

http://watnapp.com/ และ คุณป๊อก บางกรวย

**********

******

#ทำอย่างไรผู้ไม่สมบูรณ์ #จะไปแต่ทางเจริญไม่เสื่อมเลย

บุคคลใด...

#มากระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง

#มากระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต

#มาแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิ

#บุคคลผู้นี้จะไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว ไม่ไปทางเสื่อมเลย...

----------

#บุคคล๖จำพวก

(1,2) เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วม เป็นสุข

-พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน

ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน

(3,4) -มีความโกรธและความถือตัว บางครั้งบาง คราว

-โลกธรรมย่อมเกิดแก่เขา

(5,6) มีความโกรธและความถือตัว บางครั้ง บางคราว

-วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา

-------------------------------

-เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง

-ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต

-ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย

เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม

เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม

----------------------------

-เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง

-ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย ความเป็นพหูสูต

-ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ

-ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย

เมื่อตายไป แล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม

ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ

--------------------------------

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๓๑๘/๔๐๗ข้อที่ ๓๑๕

-------------------------------

อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka

http://etipitaka.com/read…

-----------------------------

ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com

*****

----------------

ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่

http://www.buddhakos.org/

http://watnapp.com/

http://media.watnapahpong.org/

http://www.buddhaoat.org/

******

#ธรรมเทศนาของภิกษุชนิดไร บริสุทธิ์ ..

"พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้วพึงเลื่อมใสซึ่งธรรม ผู้ที่เลื่อมใสแล้วเท่านั้น จะพึงทำอาการของผู้เลื่อมใสต่อเราดังนี้ ย่อมแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุอย่างนี้ไม่บริสุทธิ์

ส่วนภิกษุใดแล เป็นผู้มีความคิดอย่างนี้ว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เป็นข้อปฏิบัติอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบ

ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตนโอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้ว จะพึงรู้ทั่วถึงธรรมก็แลครั้นรู้ทั่วถึงแล้ว จะพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น

อาศัยความที่แห่งพระธรรมเป็นธรรมอันดี จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น

อาศัยความกรุณา จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น

อาศัยความเอ็นดู จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น

อาศัยความอนุเคราะห์ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น

ด้วยประการฉะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุเห็นปานนี้แล บริสุทธิ์ ฯ"

*******************

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘

สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

๓. จันทูปมสูตร

*****

-บาลี มู. ม. ๑๒/๔๘๗/๔๕๔.

#ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้วจำแนกธรรมออกสั่งสอนสัตว์.

ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตนั้น ได้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้กับทั้งเทวดา มาร พรหม ซึ่งหมู่สัตว์ กับทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้แจ้งตาม.

ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะ ในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๑๗/๗๔๐.

#อานนท์ ! พวกเธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ อย่าเอาสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย จงมีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น