วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560
วิญญานกับความคิด
วิญญาณกับความคิด((สังขาร+))
ความคิด=วิญญาณไปตั้งอาศัยในอารมณ์(วิญญาณฐิติ)
ไฟล์เสียง mp3 ดาวน์โหลดฟรี
https://drive.google.com/file/d/0B1jQ6bfjhjR9R1o5NEwwaWpwM28/view?usp=sharing
คลิปยูทูป
https://www.youtube.com/watch?v=RTPHR_eTviQ&lc=z13mubjwrlaohnjmf23vtxeyskroxj1gx04
#สังขารทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย !
ก็ สังขารทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย !
สังขารทั้งหลายสามอย่างเหล่านี้ คือ
**กายสังขาร**วจีสังขาร**จิตตสังขาร**
ภิกษุทั้งหลาย !
เหล่านี้เรียกว่า สังขารทั้งหลาย
ความก่อขึ้นพร้อมแห่งสังขาร ย่อมมี
เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งอวิชชา
ความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ย่อมมี
เพราะความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา
มรรคอันประกอบด้วย
องค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง
เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่ง
ความดับไม่เหลือแห่งสังขาร
ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ
( สัมมาทิฏฐิ )
ความเห็นชอบ
( สัมมาสังกัปปะ )
ความดำริชอบ
( สัมมาวาจา )
วาจาชอบ
( สัมมากัมมันตะ )
การงานชอบ
( สัมมาอาชีวะ )
อาชีวะชอบ
( สัมมาวายามะ )
ความเพียรชอบ
( สัมมาสติ )
ความระลึกชอบ
( สัมมาสมาธิ )
ความตั้งใจมั่นชอบ
( บาลี – นิทาน. สํ. ๑๖/๕๐-๕๑/๘๙ )
*******
๗. ขัชชนิยสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ถูกขันธ์ ๕ เคี้ยวกิน
[๑๕๘] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
เมื่อตามระลึก ย่อมตามระลึกถึงชาติก่อน ได้เป็นอันมาก
สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงนั้น
ก็ย่อมตามระลึกถึงอุปาทานขันธ์ ๕ หรือกองใดกองหนึ่ง.
อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? คือ
ย่อมตามระลึกถึงรูปดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีรูปอย่างนี้.
ย่อมตามระลึกถึงเวทนาดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีเวทนาอย่างนี้.
ย่อมตามระลึกถึงสัญญาดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้.
ย่อมตามระลึกถึงสังขารดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีสังขารอย่างนี้.
ย่อมตามระลึกถึงวิญญาณดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีวิญญาณอย่างนี้.
[๑๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่ารูป
เพราะสลายไป จึงเรียกว่า รูป
สลายไปเพราะอะไร สลายไปเพราะหนาวบ้าง เพราะร้อนบ้าง
เพราะหิวบ้าง เพราะกระหายบ้าง
เพราะสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด
และสัตว์เลื้อยคลานบ้าง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไร จึงเรียกว่า เวทนา
เพราะเสวย จึงเรียกว่า เวทนา เสวยอะไร
เสวยอารมณ์สุขบ้าง เสวยอารมณ์ทุกข์บ้าง
เสวยอารมณ์ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขบ้าง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไร จึงเรียกว่า สัญญา
เพราะจำได้หมายรู้ จึงเรียกว่า สัญญา
จำได้หมายรู้อะไร จำได้หมายรู้สีเขียวบ้าง
สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่า สังขาร
เพราะปรุงแต่งสังขตธรรม จึงเรียกว่า สังขาร
****
ปรุงแต่งสังขตธรรมอะไร
ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ รูป โดยความเป็นรูป
ปรุงแต่ง สังขตธรรม คือ เวทนา โดยความเป็นเวทนา
ปรุงแต่งสังขตธรรมคือ สัญญา โดยความเป็นสัญญา
ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ สังขาร โดยความเป็นสังขาร
ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ วิญญาณ โดยความเป็นวิญญาณ.
***
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่า วิญญาณ
เพราะรู้แจ้ง จึงเรียกว่า วิญญาณ
รู้แจ้งอะไร รู้แจ้งรสเปรี้ยวบ้าง รสขมบ้าง
รสเผ็ดบ้าง รสหวานบ้าง รสขื่นบ้าง
รสไม่ขื่นบ้าง รสเค็มบ้าง รสไม่เค็มบ้าง.
[๑๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ในข้อนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
บัดนี้เราถูกรูปกินอยู่ แม้ในอดีตกาล
เราก็ถูกรูปกินแล้ว เหมือนกับที่ถูกรูปปัจจุบันกินอยู่ในบัดนี้
ก็เรานี้แล พึงชื่นชมรูปอนาคต
แม้ในอนาคตกาล เราก็พึงถูกรูปกิน
เหมือนกับที่ถูกรูปปัจจุบันกินอยู่ในบัดนี้.
เธอพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว
ย่อมไม่มีความอาลัยในรูปอดีต
ย่อมไม่ชื่นชมรูปอนาคต
ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อความดับรูปในปัจจุบัน.
อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
บัดนี้เราถูกเวทนากินอยู่ ...
บัดนี้เราถูกสัญญากินอยู่ ...
บัดนี้เราถูกสังขารกินอยู่ ...
บัดนี้เราถูกวิญญาณกินอยู่
แม้ในอดีตกาล เราก็ถูกวิญญาณกินแล้ว
เหมือนกับที่ถูกวิญญาณปัจจุบันกินอยู่ในบัดนี้. ก็เรานี้แล
พึงชื่นชมวิญญาณอนาคต แม้ในอนาคตกาล
เราก็พึงถูกวิญญาณกินอยู่เหมือนกับที่ถูกวิญญาณปัจจุบันกินอยู่ในบัดนี้.
เธอพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมไม่มีความอาลัยในวิญญาณ
แม้ที่เป็นอดีต ย่อมไม่ชื่นชมวิญญาณอนาคต
ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อความดับวิญญาณปัจจุบัน.
[๑๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า
นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า
นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
[๑๖๒] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด
เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้
รูปทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง
สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ
อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ วิญญาณทั้งหมดนั้น
เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้
เราเรียกว่า ย่อมทำให้พินาศ ย่อมไม่ก่อ
ย่อมละทิ้ง ย่อมไม่ถือมั่น ย่อมเรี่ยราย ย่อมไม่รวบรวมเข้าไว้
ย่อมทำให้มอด ไม่ก่อให้ลุกโพลงขึ้น.
[๑๖๓] อริยสาวก ย่อมทำอะไรให้พินาศ ย่อมไม่ก่ออะไร?
ย่อมทำรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้พินาศ
ย่อมไม่ก่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.
ย่อมละทิ้งอะไร ย่อมไม่ถือมั่นอะไร?
ย่อมละทิ้งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ย่อมไม่ถือมั่นรูป เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ.
ย่อมเรี่ยรายอะไร ย่อมไม่รวบรวมอะไรไว้?
ย่อมเรี่ยรายรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ย่อมไม่รวบรวมรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.
ย่อมทำอะไรให้มอด ย่อมไม่ก่ออะไรให้ลุกโพลงขึ้น?
ย่อมทำรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้มอด
ย่อมไม่ก่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้ลุกโพลงขึ้น.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก ผู้ได้สดับแล้ว
เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ทั้งในเวทนา
ทั้งในสัญญา ทั้งในสังขาร ทั้งในวิญญาณ
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น.
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว.
รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้
เราเรียกว่า ย่อมไม่ก่อ ย่อมไม่ทำให้พินาศ
แต่เป็นผู้ทำให้พินาศได้แล้วตั้งอยู่
ย่อมไม่ละ ย่อมไม่ถือมั่น แต่เป็นผู้ละได้แล้วตั้งอยู่
ย่อมไม่เรี่ยราย ย่อมไม่รวบรวมไว้ แต่เป็นผู้เรี่ยรายได้แล้ว ตั้งอยู่
ย่อมไม่ทำให้มอด ย่อมไม่ก่อให้ลุกโพลงขึ้น
แต่เป็นผู้ทำให้มอดได้แล้วตั้งอยู่.
[๑๖๔] อริยสาวก ย่อมไม่ก่ออะไร ย่อมไม่ทำอะไรให้พินาศ
แต่ทำให้พินาศแล้ว ตั้งอยู่.
ย่อมไม่ก่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้พินาศ
แต่เป็นผู้ทำให้พินาศได้ แล้วตั้งอยู่.
ย่อมไม่ละอะไร ย่อมไม่ถือมั่นอะไร แต่เป็นผู้ละได้แล้วตั้งอยู่
ย่อมไม่ละรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ย่อมไม่ถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
แต่เป็นผู้ละได้แล้วตั้งอยู่. ย่อมไม่เรี่ยรายอะไร ย่อมไม่รวบรวมอะไรไว้
แต่เป็นผู้เรี่ยรายได้แล้วตั้งอยู่. ย่อมไม่เรี่ยรายรูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ ย่อมไม่รวบรวมรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
แต่เป็นผู้เรี่ยรายได้แล้วตั้งอยู่. ย่อมไม่ทำอะไรให้มอด ย่อมไม่ก่อ
อะไรให้ลุกโพลงขึ้น แต่เป็นผู้ทำให้มอดได้แล้วตั้งอยู่.
ย่อมไม่ทำรูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ ให้มอด ย่อมไม่ก่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ให้ลุกโพลงขึ้น แต่เป็น ผู้ทำให้มอดได้แล้วตั้งอยู่.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาพร้อมด้วยอินทร์ พรหม และท้าวปชาบดี
ย่อมนมัสการ ภิกษุผู้มีจิตพ้นแล้ว อย่างนี้แล แต่ที่ไกลทีเดียวว่า
ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพเจ้าทั้งหลายขอนอบน้อม
ต่อท่าน ข้าแต่ท่านผู้เป็นอุดมบุรุษ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอนอบน้อม
ต่อท่าน ผู้ซึ่งข้าพเจ้าทั้งหลายมิได้รู้จักโดยเฉพาะ และผู้ซึ่งได้
อาศัยเพ่งท่านพินิจอยู่ ดังนี้.
จบ สูตรที่ ๗.
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๑๙๕๕ - ๒๐๔๑.
หน้าที่ ๘๖ - ๘๙.
*****
#ทำอย่างไรผู้ไม่สมบูรณ์ #จะไปแต่ทางเจริญไม่เสื่อมเลย
บุคคลใด...
#มากระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง
#มากระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต
#มาแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิ
#บุคคลผู้นี้จะไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว ไม่ไปทางเสื่อมเลย...
----------
#บุคคล๖จำพวก
(1,2) เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วม เป็นสุข
-พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน
ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน
(3,4) -มีความโกรธและความถือตัว บางครั้งบาง คราว
-โลกธรรมย่อมเกิดแก่เขา
(5,6) มีความโกรธและความถือตัว บางครั้ง บางคราว
-วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา
-------------------------------
-เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
-ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม
----------------------------
-เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย ความเป็นพหูสูต
-ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ
-ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไป แล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม
ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ
--------------------------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๓๑๘/๔๐๗ข้อที่ ๓๑๕
-------------------------------
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read…
-----------------------------
ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com
*****
----------------
ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/
*******
#ธรรมเทศนาของภิกษุชนิดไร บริสุทธิ์ ..
"พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้วพึงเลื่อมใสซึ่งธรรม ผู้ที่เลื่อมใสแล้วเท่านั้น จะพึงทำอาการของผู้เลื่อมใสต่อเราดังนี้ ย่อมแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุอย่างนี้ไม่บริสุทธิ์
ส่วนภิกษุใดแล เป็นผู้มีความคิดอย่างนี้ว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เป็นข้อปฏิบัติอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบ
ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตนโอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้ว จะพึงรู้ทั่วถึงธรรมก็แลครั้นรู้ทั่วถึงแล้ว จะพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความที่แห่งพระธรรมเป็นธรรมอันดี จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความกรุณา จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความเอ็นดู จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความอนุเคราะห์ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
ด้วยประการฉะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุเห็นปานนี้แล บริสุทธิ์ ฯ"
*******************
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๓. จันทูปมสูตร
*****
***
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น