วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2560

ละความเพลิน ละภพ ละชาติ ปฏิจสมุปปันนธรรม วิญญาณฐิติ ภพ๓ กามภพ รูปภพ อรูปภพ



ละความเพลิน ละภพ ละชาติ ปฏิจสมุปปันนธรรม วิญญาณฐิติ ภพ๓ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ((ตัดต่อจากคลิปสนทนาธรรมวันอาทิตย์ที่ 8 ม.ค. 60))
ไฟล์เสียง mp3 ดาวน์โหลดฟรี
https://drive.google.com/file/d/0B1jQ6bfjhjR9c1lpQzM5MjRrLWM/view?usp=sharing
คลิปยูทูป
https://www.youtube.com/watch?v=qOa1j2icek4&feature=youtu.be
คลิปเฟสบุ๊ค
#ผู้ใดชอบธรรมของพระผู้มีพระภาคนั้น ผู้นั้นจงมา
กราบนมัสการ..พระพุทธ..พระธรรม..พระสงฆ์สาวก..ด้วยเศียรเกล้า..
17 มีนาคม · เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์
พอจ.ท่านเป็นคนที่พามหาชนเข้าเฝ้าพระตถาคตโดยตรง มหาชนข้องใจเรื่องใด ก็เข้าเฝ้าพระองค์ได้ตลอด ท่านตรงไปตรงมา มีแอปพลิเคชั่น ให้เทียบเคียงพระพุทธวจน ด้วย ไม่ปกปิดข่าวสานน์ ไม่ตระหนี่ธรรม
ตะวัน พุทธวจน BN.4386 (( รับชมคลิป พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล.กับการ..เชื่อมโยงพระสูตร..ที่ลึกขึ้นๆ ได้อย่างต่อเนื่อง.ได้จาก 5 ช่องทาง..สร้างเหตุไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว..ไม่ถึงความเสื่อม.. ))
link ;; ทวิตเตอร์ ;; https://twitter.com/fantachaleeporn
link;; G+ ;; https://plus.google.com/u/0/+ChaleepornInrodBNNo312
link;; blogger ;; http://buddhawajana252.blogspot.com/
link ;;ช่อง YouTube; https://www.youtube.com/c/ChaleepornInrodBNNo312
link ;; facebook ; 5 เฟส
เฟส 1 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012502933592
เฟส 2 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012607659827
เฟส 3 ;; https://www.facebook.com/fata.chalee
เฟส 4 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100010716036268
เฟส 5 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012410853671
เปิดธรรมที่ถูกปิดด้วยพุทธวจน
โดยพอจ.คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล เจ้าอาวาส วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง10 จังหวัด ปทุมธานี
เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์
โดย : ตะวัน พุทธวจน BN.4386
https://www.facebook.com/groups/679713432115426/
***รักษาศาสนาพุทธ ด้วยการช่วยกัน
ศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่ แต่คำตถาคต***
ขอบพระคุณเว็ปไซต์จากวัดนาป่าพง
http://watnapp.com/ และ คุณป๊อก บางกรวย
**********
******
#ทำอย่างไรผู้ไม่สมบูรณ์ #จะไปแต่ทางเจริญไม่เสื่อมเลย
บุคคลใด...
#มากระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง
#มากระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต
#มาแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิ
#บุคคลผู้นี้จะไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว ไม่ไปทางเสื่อมเลย...
----------
#บุคคล๖จำพวก
(1,2) เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วม เป็นสุข
-พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน
ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน
(3,4) -มีความโกรธและความถือตัว บางครั้งบาง คราว
-โลกธรรมย่อมเกิดแก่เขา
(5,6) มีความโกรธและความถือตัว บางครั้ง บางคราว
-วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา
-------------------------------
-เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
-ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม
----------------------------
-เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย ความเป็นพหูสูต
-ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ
-ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไป แล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม
ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ
--------------------------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๓๑๘/๔๐๗ข้อที่ ๓๑๕
-------------------------------
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read…
-----------------------------
ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com
*****
----------------
ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/
******
#ธรรมเทศนาของภิกษุชนิดไร บริสุทธิ์ ..
"พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้วพึงเลื่อมใสซึ่งธรรม ผู้ที่เลื่อมใสแล้วเท่านั้น จะพึงทำอาการของผู้เลื่อมใสต่อเราดังนี้ ย่อมแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุอย่างนี้ไม่บริสุทธิ์
ส่วนภิกษุใดแล เป็นผู้มีความคิดอย่างนี้ว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เป็นข้อปฏิบัติอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบ
ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตนโอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้ว จะพึงรู้ทั่วถึงธรรมก็แลครั้นรู้ทั่วถึงแล้ว จะพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความที่แห่งพระธรรมเป็นธรรมอันดี จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความกรุณา จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความเอ็นดู จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความอนุเคราะห์ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
ด้วยประการฉะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุเห็นปานนี้แล บริสุทธิ์ ฯ"
*******************
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๓. จันทูปมสูตร
*****
-บาลี มู. ม. ๑๒/๔๘๗/๔๕๔.
#ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้วจำแนกธรรมออกสั่งสอนสัตว์.
ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตนั้น ได้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้กับทั้งเทวดา มาร พรหม ซึ่งหมู่สัตว์ กับทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้แจ้งตาม.
ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะ ในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๑๗/๗๔๐.
#อานนท์ ! พวกเธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ อย่าเอาสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย จงมีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย.
#พระสูตรบางส่วน #ละนันทิ ละภพ ละชาติ
*** ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยดี***
**************************************
ภิกษุ ท. ! ภิกษุเห็น จักษุ
ซึ่งไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง,
ทิฏฐิของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ.
เมื่อเห็นอยู่ด้วยสัมมาทิฏฐิ ย่อมเบื่อหน่าย ;
เพราะความสิ้นนันทิ ย่อมมีความสิ้นราคะ;
เพราะความสิ้นราคะ ย่อมมีความสิ้นนันทิ ;
เพราะความสิ้นนันทิและราคะ ก็กล่าวได้ว่า
จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ดังนี้.

(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้อย่างเดียวกันกับ
ในกรณีแห่งจักษุที่กล่าวไว้ข้างบนนี้).
- สฬา. สํ. ๑๘/๑๗๙/๒๔๕.

***ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยดี (อีกนัยหนึ่ง)***
***************************************************

ภิกษุ ท. ! ภิกษุเห็น รูปทั้งหลาย
ซึ่งไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง,
ทิฏฐิของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ.
เมื่อเห็นอยู่ด้วยสัมมาทิฏฐิ ย่อมเบื่อหน่าย ;
เพราะความสิ้นนันทิ ย่อมมีความสิ้นราคะ;
เพราะความสิ้นราคะ ย่อมมีความสิ้นนันทิ ;
เพราะความสิ้นนันทิและราคะ ก็กล่าวไว้ว่า
จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ดังนี้.

(ในกรณีแห่ง เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้อย่าง
เดียวกันกับในกรณีแห่งรูป ที่กล่าวไว้ข้างบนนี้).
- สฬา.สํ. ๑๘/๑๗๙/๒๔๖.

***ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยดี (อีกนัยหนึ่ง)***
**************************************************
ภิกษุ ท. ! พวกเธอจงกระทำในใจซึ่ง จักษุ โดยแยบคาย
และจงตามดูความไม่เที่ยงแห่งจักษุ ให้เห็นตามที่เป็นจริง.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เมื่อกระทำในใจซึ่งจักษุโดยแยบคายอยู่
ตามดูความไม่เที่ยงแห่งจักษุให้เห็นตามที่เป็นจริงอยู่
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ.
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ ย่อมมีความสิ้นราคะ ;
เพราะความสิ้นราคะ ย่อมมีความสิ้นนันทิ ;
เพราะความสิ้นนันทิและราคะ
ก็กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ดังนี้.

(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้อย่างเดียวกันกับ
ในกรณีแห่งจักษุ ที่กล่าวไว้ข้างบนนี้).
- สฬา.สํ. ๑๘/๑๗๙/๒๔๗.

***ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยดี (อีกนัยหนึ่ง)***
**************************************************
ภิกษุ ท. ! พวกเธอจงกระทำในใจซึ่ง รูปทั้งหลาย โดยแยบคาย
และจงตามดูความไม่เที่ยงแห่งรูปทั้งหลาย ให้เห็นตามที่เป็นจริง.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุเมื่อกระทำในใจซึ่งรูปทั้งหลายโดยแยบคายอยู่
ตามดูความไม่เที่ยงแห่งรูปทั้งหลายให้เห็นตามที่เป็นจริงอยู่
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปทั้งหลาย.
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ ย่อมมีความสิ้นราคะ ;
เพราะความสิ้นราคะ ย่อมมีความสิ้นนันทิ ;
เพราะความสิ้นนันทิและราคะ
ก็กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ดังนี้.

(ในกรณีแห่ง เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้อย่างเดียว
กันกับในกรณีแห่งรูป ที่กล่าวไว้ข้างบนนี้).
- สฬา.สํ.๑๘/๑๘๐/๒๔๘.

***ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยดี (อีกนัยหนึ่ง)***
*************************************************
ภิกษุ ท. ! ภิกษุเห็น รูป
ซึ่งไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง,
ทิฏฐิของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ.
เมื่อเห็นอยู่ด้วยสัมมาทิฏฐิ ย่อมเบื่อหน่าย ;
เพราะความสิ้นนันทิ ย่อมมีความสิ้นราคะ ;
เพราะความสิ้นราคะ ย่อมมีความสิ้นนันทิ ;
เพราะความสิ้นนันทิและราคะ
ก็กล่าวได้ว่า
จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ดังนี้.

(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้อย่างเดียวกัน
กับในกรณีแห่ง รูป ที่กล่าวไว้ข้างบนนี้).
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๓/๑๐๓.

***ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยดี (อีกนัยหนึ่ง)***
**************************************************
ภิกษุ ท. ! พวกเธอจงกระทำในใจซึ่ง รูป โดยแยบคาย
และจงตามดูความไม่เที่ยงแห่งรูป ให้เห็นตามที่เป็นจริง.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุเมื่อกระทำในใจซึ่งรูปโดยแยบคายอยู่
ตามดูความไม่เที่ยงแห่งรูปให้เห็นตามที่เป็นจริงอยู่
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป.
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ ย่อมมีความสิ้นราคะ ;
เพราะความสิ้นราคะ ย่อมมีความสิ้นนันทิ ;
เพราะความสิ้นนันทิและราคะ
ก็กล่าวได้ว่า
จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ดังนี้.

(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ก็มีข้อความมีกล่าวไว้อย่างเดียวกันกับ
ในกรณีแห่ง รูป ที่กล่าวไว้ข้างบนนี้).
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๔/๑๐๔.

***ลำดับการหลุดพ้นโดยละเอียด***
***เมื่อเห็นอนัตตา****

ภิกษุ ท. ! รูป
เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง, สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์,
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา,
สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นนั่น

**ไม่ใช่ของเรา **ไม่ใช่เป็นเรา **ไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา:

เธอทั้งหลาย พึงเห็นข้อนั้น
ด้วยปัญญาโดยชอบตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ด้วยประการดังนี้.
(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูป ทุกประการ).

ภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลเห็นข้อนั้น ด้วยปัญญา
โดยชอบตรงตามที่เป็นจริง อยู่อย่างนี้,

ปุพพันตานุทิฏฐิ ทั้งหลาย ย่อมไม่มี ; เมื่อปุพพันตานุทิฏฐิไม่มี,
อปรันตานุทิฏฐิ๑ ทั้งหลายย่อมไม่มี ; เมื่ออปรันตานุทิฏฐิไม่มี,
ความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้า ย่อมไม่มี ;
เมื่อความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้าไม่มี,
จิตย่อมจางคลายกำหนัดในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ;
ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย
เพราะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น.
เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว
จิตจึง ดำรงอยู่ (ตามสภาพของจิต) ;
เพราะเป็นจิตที่ดำรงอยู่ จิตจึง ยินดีร่าเริงด้วยดี ;
เพราะเป็นจิตที่ยินดีร่าเริงด้วยดี จิตจึง ไม่หวาดสะดุ้ง ;
เมื่อไม่หวาดสะดุ้ง ย่อม ปรินิพพาน (ดับรอบ) เฉพาะตน นั่นเทียว.

เธอนั้น ย่อม รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ
ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๗/๙๓.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑
ภาค ๓ ว่าด้วย นิโรธอริยสัจ
ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของทุกข์
หน้าที่ ๗๕๕
*******************************
อ่านพุทธวจนเพิ่มเติมด้วยโปรแกรม E-Tipitaka
***ปัจจัยสูตร****
*****************
[๖๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี ...
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราจักแสดงปฏิจจสมุปบาท
และธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นแก่พวกเธอ
พวกเธอจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
[๖๑] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ปฏิจจสมุปบาทเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ
พระตถาคตทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม
ไม่เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม
ธาตุอันนั้น คือ ธัมมฐิติธัมมนิยาม
อิทัปปัจจัย ก็ยังดำรงอยู่
พระตถาคตย่อมตรัสรู้
ย่อมตรัสรู้ทั่วถึงซึ่งธาตุอันนั้น ครั้นแล้ว
-ย่อมตรัสบอก
-ทรงแสดง
-บัญญัติ
-แต่งตั้ง
-เปิดเผย
-จำแนก
กระทำให้ตื้น และตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงดู ดังนี้
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ ...
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ...
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ ...
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ...
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ...
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ...
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ...
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ...
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ...
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ...
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย
พระตถาคตทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม
ธาตุอันนั้นคือ ธัมมฐิติ ธัมมนิยาม อิทัปปัจจัย ก็ยังดำรงอยู่
พระตถาคตย่อมตรัสรู้ ย่อมตรัสรู้ทั่วถึงซึ่งธาตุอันนั้น
ครั้นแล้วย่อม-ตรัสบอก -ทรงแสดง -บัญญัติ -แต่งตั้ง -เปิดเผย
-จำแนก -กระทำให้ตื้น และตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงดู ดังนี้
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขารทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย -ความจริงแท้ -ความไม่คลาดเคลื่อน
-ความไม่เป็นอย่างอื่น - มูลเหตุอันแน่นอนในธาตุอันนั้น
ดังพรรณนามาฉะนี้แล
เราเรียกว่า--ปฏิจจสมุปบาท--
[๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย --ก็ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น--เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ชราและมรณะ
-เป็นของไม่เที่ยง -อันปัจจัยประชุมแต่ง
-อาศัยกันเกิดขึ้น -มีความสิ้นไป - เสื่อมไป -คลายไป
-ดับไปเป็นธรรมดา
ชาติ ... ภพ ... อุปาทาน ...ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ...
นามรูป ... วิญญาณ ... สังขาร ...อวิชชา
-เป็นของไม่เที่ยง -อันปัจจัยประชุมแต่ง -อาศัยกันเกิดขึ้น
-มีความสิ้นไป-เสื่อมไป -คลายไป -ดับไปเป็นธรรมดา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า
--ธรรมอาศัยกันเกิดขึ้น ฯ--
--------------------------------------
[๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล
อริยสาวกเห็นด้วยดีซึ่ง--ปฏิจจสมุปบาท--นี้
และ--ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น--เหล่านี้
ด้วย--ปัญญาอันชอบตามเป็นจริง--แล้ว เมื่อนั้น
อริยสาวกนั้นจัก-
--แล่นเข้าถึงที่สุดเบื้องต้นว่า
ในอดีตกาลเราได้เป็นหรือหนอ
ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรหนอ
ในอดีตกาลเราได้เป็นอย่างไรหนอ
ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไร แล้วได้มาเป็นอะไรหนอ
--หรือว่าจักแล่นเข้าถึงที่สุดเบื้องปลายว่า
ในอนาคตกาลเราจักเป็นหรือหนอ
ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรหนอ
ในอนาคตกาลเราจักเป็นอย่างไรหนอ
ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไร แล้วจึงจักเป็นอะไรหนอ
--หรือว่าจักยังมีความสงสัยในปัจจุบันกาลเป็นภายใน ณ บัดนี้ว่า
เราเป็นอยู่หรือหนอ
หรือไม่เป็นอยู่หนอ
เราเป็นอะไรอยู่หนอ
เราเป็นอย่างไรอยู่หนอ
สัตว์นี้มาแต่ไหนหนอ
เขาจักไปในที่ไหน ดังนี้
ข้อนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เพราะเหตุไร
เพราะว่าอริยสาวกเห็นด้วยดีแล้วซึ่ง--ปฏิจจสมุปบาท--
และ--ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น--เหล่านี้
ด้วย--ปัญญาอันชอบ--ตามเป็นจริง ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๖
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
หน้าที่ ๒๒/๒๘๘ ข้อที่ ๕๙-๖๑
----------------------------------
อ่านพุทธวจนเพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read…
----------------------------------
ฟังพุทธวจน บรรยาย ได้ที่ www.watnapp.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น