วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560
สิ่งใดไม่เคยมีก็มีมา สิ่งใดมีมาแล้วก็ดับไป
ชื่อเรื่อง ; เดินมรรคแบบท่านพระสารีบุตร มีปัญญา เห็นการเกิด กับ ดับ ยิงตรงอริยสัจ๔[9]
ลำดับการเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์และความดับลงแห่งกองทุกข์...อริยญายธรรม
ดูก่อนคหบดี ! ก็อริยญายธรรม เป็นสิ่งที่อริยสาวกเห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้วด้วยดี ด้วย
ปัญญา เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนคหบดี! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นโดยประจักษ์ดังนี้ว่า
"ด้วยอาการอย่างนี้ เพราะสิ่งนี้มี, สิ่งนี้จึงมี;
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้,สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.
เพราะสิ่งนี้ไม่มี, สิ่งนี้จึงไม่มี;
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้,สิ่งนี้จึงดับไป :
ข้อนี้ ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย;
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ;
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป;
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ;
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ;
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา;
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา;
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน;
เพราะมีอุปาทานปัจจัย จึงมีภพ;
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ;
เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :
ความเกิด ขึ้นพร้อมแห่งก่องทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว, จึงมีความดับแห่งสังขาร;
เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ;
เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับ แห่งนามรูป;
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ;
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ;
เพราะมีความแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา;
เพราะมีความดับแห่งเวทนาจึงมีความดับแห่งตัณหา;
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน;
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ;
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ;
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขุโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึง ดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ดูก่อนคหบดี! อริยญายธรรมนี้แล
เป็นสิ่งที่อริยสาวกเห็นแล้วด้วยดีแทงตลอดแล้วด้วยดี ด้วยปัญญา.
(ไทย)ทสก.อ. ๒๔/๑๕๗/๙๒:
(บาลี)ทสก.อ. ๒๔/๑๙๕/๙๒:์
*******
การฟังอริยสัจ เหมาะสำหรับจิตที่ฟอกแล้วเท่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย! ครั้งนั้นแล มหาชนชาวพันธุมดีราชธานี จำนวนแปดหมื่นสี่พันคน
ออกจากเมือง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาควิปัสสีถึงที่ประทับ ณ เขมมิคทายวัน
ถวายอภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ข้างหนึ่ง.
พระผู้มีพระภาควิปัสสี ได้ตรัส อนุปุพพิกถา แก่ชนทั้งหลายเหล่านั้น กล่าวคือ
ทานกถา สีลกถา สัคคกถา
ทรงประกาศ โทษอันเศร้าหมองต่ำทรามของกามทั้งหลาย และ
อานิสงส์ในการออกจากกาม.
ครั้นทรงทราบว่าชนเหล่านั้นมีจิตเหมาะสม อ่อนโยน ปราศจากนิวรณ์
ร่าเริง แจ่มใส แล้ว, ก็ได้ตรัส ธรรมเทศนาซึ่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ทรงยกขึ้นแสดงเอง กล่าวคือ
เรื่องทุกข์
เรื่องสมุทัย
เรื่องนิโรธ
และ เรื่องมรรค.
เปรียบเสมือนผ้าอันสะอาด ปราศจากสิ่งแปดเปื้อน
ย่อมรับเอาซึ่งน้ำย้อมได้อย่างดี ฉันใด;
ธรรมจักษุ ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน
ได้เกิดขึ้นแก่มหาชน แปดหมื่นสี่พันเหล่านั้น ณ ที่นั่งนั้นเองว่า
"สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา" ดังนี้,
ฉันนั้นเหมือนกัน.
ชนเหล่านั้นมีธรรมอันเห็นแล้ว บรรลุแล้ว รู้แจ้งแล้ว หยั่งเอาได้ครบถ้วนแล้ว
หมดความสงสัย ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความกล้าหาญ
ไม่ต้องเชื่อตามบุคคลอื่นในคำสอนแห่งศาสดาตน
ได้กราบทูลกะพระผู้มีพระภาควิปัสสีว่า
"ไพเราะนัก พระเจ้าข้า !
ไพเราะนัก พระเจ้าข้า !
เปรียบเหมือนการหงายของที่คว่ำอยู่ เปิดของที่ปิดอยู่ บอกทางให้แก่คนหลงทาง
หรือว่าจุดประทีปไว้ในที่มืดเพื่อว่าคนมีตาจักได้เห็นรูป, ฉันใดก็ฉันนั้น" ดังนี้.
- มหา. ที. ๑๐/๔๙/๔๙.
*****
#เดินมรรคแบบท่านพระสารีบุตร ยิงตรงอริยสัจ๔ เห็น เกิด ดับ
#สิ่งใดไม่เคยมีก็มีมา #สิ่งใดมีมาแล้วก็ดับไป
#ลำดับการบรรลุอรหันต์ของพระสารีบุตร
๑. อนุปทสูตร (๑๑๑)
[๑๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ
-
[๑๕๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สารีบุตรเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก
มีปัญญากว้างขวาง มีปัญญาร่าเริง
มีปัญญาว่องไว มีปัญญาเฉียบแหลม
มีปัญญาทำลายกิเลส
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สารีบุตรเห็นแจ้งธรรมตามลำดับบทได้เพียงกึ่งเดือน
ในการเห็นแจ้งธรรมตามลำดับบทของสารีบุตรนั้น
เป็นดังต่อไปนี้ ฯ
[๑๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนี้
สารีบุตรสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก อยู่
ก็ธรรมในปฐมฌาน คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข จิตเตกัคคตา
ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ
อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอัน
สารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท
เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว
ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ
เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้
เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เราย่อมมี
ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป
เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย
ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ
มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่
ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่
และมีความเห็นต่อไปว่า
ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ
-
[๑๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก
สารีบุตรเข้าทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งใจภายใน
มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น
เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ อยู่
ก็ธรรมในทุติยฌาน คือ ความผ่องใสแห่งใจภายใน
ปีติ สุข จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา
เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ
สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอัน
สารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท
เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว
ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ
เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่า
ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป
เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน
พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ
มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่
ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่
และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ
-
[๑๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก
สารีบุตรเป็นผู้วางเฉย
เพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่
และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน
ที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่ เป็นสุข อยู่
ก็ธรรมในตติยฌาน
คือ อุเบกขา สุข สติ สัมปชัญญะ จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา
เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ
เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท
เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่
และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้
เป็นอันว่าธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี
ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป
เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน
พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ
มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่
ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่
และมีความเห็นต่อไปว่า
ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ
-
[๑๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก
สารีบุตรเข้าจตุตถฌาน
อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์
และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่
ก็ธรรมในจตุตถฌาน
คือ อุเบกขา อทุกขมสุขเวทนา ความไม่คำนึงแห่งใจ
เพราะบริสุทธิ์แล้ว สติบริสุทธิ์ จิตเตกัคคตา
ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ
สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท
เป็นอันสารีบุตร รู้แจ้งแล้ว
ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ
เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้
เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป
เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว
พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่
ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่
และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ
-
[๑๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก
สารีบุตรเข้าอากาสานัญจายตนฌาน
ด้วยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุด อยู่
เพราะล่วงรูปสัญญาได้โดยประการทั้งปวง
เพราะดับปฏิฆสัญญาได้
เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา
ก็ธรรมในอากาสานัญจายตนฌาน
คือ อากาสานัญจายตนสัญญา จิตเตกัคคตา ผัสสะ
เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา
มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท
เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว
ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ
เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้
เป็นอันว่าธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป
เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว
พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่
ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่
และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ
-
[๑๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก
สารีบุตรล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว
เข้าวิญญาณัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า
วิญญาณไม่มีที่สุด อยู่ ก็ธรรมในวิญญาณัญจายตนฌาน
คือ วิญญาณัญจายตนฌาน จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา
สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์
วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท
เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ
เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่า
ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป
เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน
พ้นวิเศษแล้ว พรากได้ แล้วในธรรมนั้นๆ
มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่
ย่อมรู้ชัดว่า
ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่
และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัด
ออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ
-
[๑๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก
สารีบุตรล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว
เข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า
ไม่มีอะไรสักน้อยหนึ่ง อยู่ ก็ธรรมในอากิญจัญญายตนฌาน
คือ อากิญจัญญายตนฌาน
จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ
ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ
เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท
เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว
ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ
เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า
ด้วยประการนี้ เป็นอันว่าธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี
ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย
อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้ว
ในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่
ย่อมรู้ชัดว่า
ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่
และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัด
ออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ
-
[๑๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก
สารีบุตรล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว
เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่
เธอเป็นผู้มีสติออกจากสมาบัตินั้น
ครั้นแล้ว พิจารณาเห็นธรรมที่ล่วงแล้ว ดับแล้ว
แปรปรวนไปแล้วว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา
ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย
อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว
พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่
ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่
และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ
-
[๑๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก
สารีบุตรล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว
เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็นด้วยปัญญา
อาสวะของเธอจึงเป็นอันสิ้นไป
เธอย่อมมีสติออกจากสมาบัตินั้น
ครั้นแล้วย่อมพิจารณาเห็นธรรมที่ล่วงแล้ว
ดับแล้ว แปรปรวนไปแล้วว่า ด้วยประการนี้
เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป
เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว
พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ
มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่
ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่
และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มากก็มีอยู่ ฯ
-
[๑๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า
เป็นผู้ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยศีล
ในอริยสมาธิ ในอริยปัญญา ในอริยวิมุติ
ภิกษุรูปนั้นคือ สารีบุตรนั่นเอง
ผู้ที่กล่าวชอบ พึงกล่าวชมว่า เป็นผู้ถึงความชำนาญ
ถึงความสำเร็จในอริยศีล ในอริยสมาธิ ในอริยปัญญา
ในอริยวิมุติ ฯ
-
[๑๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้กล่าวชอบ
พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า เป็นบุตร เป็นโอรสของพระผู้มีพระภาค
เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค
เกิดแต่ธรรม อันธรรมเนรมิต เป็นธรรมทายาท
ไม่ใช่เป็นทายาทของอามิส ภิกษุรูปนั้นคือสารีบุตร นั่นเอง
ที่ผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมว่า เป็นบุตรเป็นโอรสของพระผู้มีพระภาค
เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค เกิดแต่ธรรม อันธรรมเนรมิต
เป็นธรรม ทายาท ไม่ใช่เป็นทายาทของอามิส
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรย่อมประกาศธรรมจักร
อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่ตถาคตให้เป็นไปแล้ว
ไปตามลำดับโดยชอบทีเดียว ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค แล ฯ
จบ อนุปทสูตร ที่ ๑
--
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๔
สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
หน้าที่ ๙๑ ข้อที่ ๑๕๓ - ๑๕๔
*****
#ทำอย่างไรผู้ไม่สมบูรณ์ #จะไปแต่ทางเจริญไม่เสื่อมเลย
บุคคลใด...
#มากระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง
#มากระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต
#มาแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิ
#บุคคลผู้นี้จะไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว ไม่ไปทางเสื่อมเลย...
----------
#บุคคล๖จำพวก
(1,2) เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วม เป็นสุข
-พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน
ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน
(3,4) -มีความโกรธและความถือตัว บางครั้งบาง คราว
-โลกธรรมย่อมเกิดแก่เขา
(5,6) มีความโกรธและความถือตัว บางครั้ง บางคราว
-วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา
-------------------------------
-เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
-ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม
----------------------------
-เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย ความเป็นพหูสูต
-ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ
-ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไป แล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม
ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ
--------------------------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๓๑๘/๔๐๗ข้อที่ ๓๑๕
-------------------------------
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read…
-----------------------------
ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com
*****
----------------
ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/
******
#ธรรมเทศนาของภิกษุชนิดไร บริสุทธิ์ ..
"พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้วพึงเลื่อมใสซึ่งธรรม ผู้ที่เลื่อมใสแล้วเท่านั้น จะพึงทำอาการของผู้เลื่อมใสต่อเราดังนี้ ย่อมแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุอย่างนี้ไม่บริสุทธิ์
ส่วนภิกษุใดแล เป็นผู้มีความคิดอย่างนี้ว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เป็นข้อปฏิบัติอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบ
ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตนโอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้ว จะพึงรู้ทั่วถึงธรรมก็แลครั้นรู้ทั่วถึงแล้ว จะพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความที่แห่งพระธรรมเป็นธรรมอันดี จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความกรุณา จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความเอ็นดู จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความอนุเคราะห์ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
ด้วยประการฉะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุเห็นปานนี้แล บริสุทธิ์ ฯ"
*******************
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๓. จันทูปมสูตร
*****
-บาลี มู. ม. ๑๒/๔๘๗/๔๕๔.
#ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้วจำแนกธรรมออกสั่งสอนสัตว์.
ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตนั้น ได้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้กับทั้งเทวดา มาร พรหม ซึ่งหมู่สัตว์ กับทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้แจ้งตาม.
ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะ ในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๑๗/๗๔๐.
#อานนท์ ! พวกเธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ อย่าเอาสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย จงมีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย.
***
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น