วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560
ทำไมเรียกสกทาคามี (ตัดต่อจากคลิปวันอาทิตย์ที่ 22 ม.ค.60)
#ทำไมเรียกสกทาคามี (ตัดต่อจากคลิปวันอาทิตย์ที่ 22 ม.ค.60)
รักษาศาสนา..ด้วยการ..ช่วยกันศึกษา..ปฏิบัติ..เผยแผ่..แต่คำตถาคต
เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์ โดย ตะวัน พุทธวจน BN.4386
https://www.facebook.com/groups/679713432115426/.....
คลิปยูทูป
https://www.youtube.com/watch?v=D1VFPxzv7PU
คลิปเฟสบุ๊ค
https://www.facebook.com/100012502933592/videos/248289128931183/
**อนาคามี ปรินิพพาน ภายหลังกายแตกทำลาย**
#อนาคามี ๕ จำพวก
พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑
ปุริสคติสูตร
[๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปุริสคติ ๗ ประการ
และอนุปาทาปรินิพพาน
เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง
จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูล
รับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปุริสคติ๗ ประการเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้
คือ ได้ความวางเฉยว่า
ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา
ถ้ากรรมในปัจจุบันไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา
เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต
ไม่ข้องในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต
ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่ ด้วยปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง
อนุสัยคือมานะ อนุสัยคือภวราคะ อนุสัยคืออวิชชา
เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง
-
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ภิกษุนั้นย่อมปรินิพพานในระหว่าง
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้
คือ ได้ความวางเฉยว่า
ถ้ากรรมในอดีตไม่มีแล้วไซร้ ... เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่
ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์ อันเป็นอดีต ...
ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่
ด้วยปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล
ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง
อนุสัยคือมานะ ...อนุสัยคืออวิชชา
เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์๕ สิ้นไป
เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็ก
ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนออกแล้วดับไป ฉะนั้น ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน
สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกยังไม่ถึงพื้นก็ดับ ฉะนั้น ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
เธอย่อมปรินิพพานในเมื่ออายุเลยกึ่ง
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน
สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกถึงพื้นแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
เธอย่อมปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน
สะเก็ดร่อนขึ้นไปแล้วตกลงที่กองหญ้า
หรือกองไม้เล็กๆ สะเก็ดนั้นพึงให้ไฟและควันเกิดขึ้นได้ที่หญ้า
หรือกองไม้เล็กๆ นั้น ครั้นให้เกิดไฟและควัน
เผากองหญ้าหรือกองไม้เล็กๆ
นั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
เธอย่อมปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน
สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป แล้วพึงตกลงที่กองหญ้า
หรือกองไม้ย่อมๆ สะเก็ดนั้นพึงให้เกิดไฟ
และควันที่กองหญ้าหรือกองไม้ย่อมๆ นั้น
ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว เผากองหญ้าหรือกอง
ไม้ย่อมๆ นั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วดับ ฉะนั้น ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
-
เธอเป็นผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ
เปรียบเหมือนนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน
สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไปแล้วพึงตกลงที่กองหญ้า
หรือกองไม้ใหญ่ๆ ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว
เผากองหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ๆ นั้นให้หมดไป
แล้วพึงลามไปไหม้ไม้กอและป่าไม้
ครั้นไหม้ไม้กอและป่าไม้แล้ว
ลามมาถึงที่สุดหญ้าเขียว ที่สุดภูเขาที่สุดชายน้ำ
หรือภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ หมดเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ปุริสคติ๗ ประการนี้แล ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ
ย่อมได้ความวางเฉยว่า
ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา
ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา
เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต
ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต
ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ
ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง
อนุสัยคือมานะ ... อนุสัยคืออวิชชา เธอยังละ ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง
-
เธอย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ
อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า
อนุปาทาปรินิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสคติ ๗ ประการนี้
และอนุปาทาปรินิพพาน ฯ
จบสูตรที่ ๒
-
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๓
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
หน้าที่ ๖๒ ข้อที่ ๕๒
-
-อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมจาก โปรแกรม E-Tipitaka ;
link ; http://etipitaka.com/read/thai/23/62/…
--
เชื่อมโยงกับพระสูตรข้างบน..บุคคล ๔ จำพวก
[๑๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็น สสังขารปรินิพพายี จะปรินิพพาน
ด้วย ต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง ในปัจจุบันเทียว
( บาลี : ทิฏฺเฐว ธมฺเม สสงฺขารปรินิพฺพายี )
๒. บางคนเมื่อกายแตกจึงเป็น สสังขารปรินิพพายี
( บาลี : กายสฺส เภทา สสงฺขารปรินิพฺพายี )
๓. บางคนเป็น อสังขารปรินิพพายี จะปรินิพพาน
ด้วย ไม่ต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง ในปัจจุบัน
( บาลี : ทิฏฺเฐว ธมฺเม อสงฺขารปรินิพฺพายี )
๔. บางคนเมื่อกายแตกจึงเป็น อสังขารปรินิพพายี
( บาลี : กายสฺส เภทา อสงฺขารปรินิพฺพายี )
๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบันอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
● พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม
● มีความสำคัญในอาหารว่าปฏิกูล
● มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี
● พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง
● และมรณสัญญาของเธอตั้งอยู่ดีแล้วในภายใน
● เธออาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้อยู่ คือ ศรัทธา หิริ โอตัปปะ วิริยะ ปัญญา
● ทั้งอินทรีย์๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ของ
เธอปรากฏว่าแก่กล้า
● เธอย่อมเป็น สสังขารปรินิพพายี ในปัจจุบันเทียว
● เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ แก่กล้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็น สสังขารปรินิพพายี ในปัจจุบันอย่างนี้แล ฯ
๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็น สสังขารปรินิพพายี อย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
● พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม ฯลฯ
● อินทรีย์ ๕ ประการคือ สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ...ของเธอปรากฏว่าอ่อน
● เธอเมื่อกายแตกจึงเป็น สสังขารปรินิพพายี
● เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อ่อน
ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็นสสังขารปรินิพพายีอย่างนี้แล ฯ
๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็น อสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน อย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
● สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ
● บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
● บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
● บรรลุจตุตถฌาน
● เธออาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้ คือ ศรัทธา ... ปัญญา
● อินทรีย์๕ ประการนี้ คือสัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่า แก่กล้า
● เธอเป็น อสังขารปรินิพพายี ในปัจจุบัน
● เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า
ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลเป็น อสังขารปรินิพพายี ในปัจจุบันอย่างนี้แล ฯ
๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็น อสังขารปรินิพพายี อย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
● สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ
● บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
● บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
● บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ
● แต่อินทรีย์ ๕ ประการนี้คือ สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่า อ่อน
● เธอเมื่อกายแตกจึงเป็นอสังขารปรินิพพายี
● เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน
ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็น อสังขารปรินิพพายี อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
_________
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
หน้าที่ ๑๔๗/๒๔๐ ข้อที่ ๑๖๙.
***********
****
ปุคคลวรรคที่ ๔ (คุณสมบัติของสกทาคามี)
[๑๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้
มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ยังละโอรัมภาคิยสังโยชน์ไม่ได้
ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติไม่ได้
ยังละสังโยชน์
อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพไม่ได้ ฯ
อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้
แต่ยังละสังโยชน์
อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติไม่ได้
ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพไม่ได้ ฯ
อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ ละสังโยชน์
อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติได้
แต่ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพ
ไม่ได้ ฯ
อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้
ละสังโยชน์อัน
เป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติได้
ละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพได้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็บุคคลจำพวกไหน ยังละโอรัมภาคิยสังโยชน์ไม่ได้
ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติไม่ได้
ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อ
ให้ได้ภพไม่ได้ คือ
พระสกทาคามี
***
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้แล
ยังละโอรัมภาคิยสังโยชน์ไม่ได้
ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติไม่ได้
ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพไม่ได้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลจำพวกไหน ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้
แต่ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติไม่ได้
ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพไม่ได้ คือ
พระอนาคามีผู้มีกระแสในเบื้องบน
ไปสู่อกนิฏฐภพ
***
ดูกร*ภิกษุทั้งหลาย
บุคคลนี้แล ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้
แต่ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติไม่ได้
ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพไม่ได้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลจำพวกไหน
ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้
ละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติได้
แต่ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพไม่ได้ คือ
พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
******
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลนี้แล ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้
ละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติได้
แต่ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพไม่ได้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลจำพวกไหน ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้
ละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติได้
ละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้
ภพได้ คือ
พระอรหันตขีณาสพ
*****
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้แล
ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้
ละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติได้
ละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล
มีปรากฏอยู่
ในโลก ฯ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๓๗๑๒ - ๓๘๓๔. หน้าที่ ๑๕๙ - ๑๖๔
#ผู้ใดชอบธรรมของพระผู้มีพระภาคนั้น ผู้นั้นจงมา
กราบนมัสการ..พระพุทธ..พระธรรม..พระสงฆ์สาวก..ด้วยเศียรเกล้า..
17 มีนาคม · เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์
พอจ.ท่านเป็นคนที่พามหาชนเข้าเฝ้าพระตถาคตโดยตรง มหาชนข้องใจเรื่องใด ก็เข้าเฝ้าพระองค์ได้ตลอด ท่านตรงไปตรงมา มีแอปพลิเคชั่น ให้เทียบเคียงพระพุทธวจน ด้วย ไม่ปกปิดข่าวสานน์ ไม่ตระหนี่ธรรม
ตะวัน พุทธวจน BN.4386 (( รับชมคลิป พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล.กับการ..เชื่อมโยงพระสูตร..ที่ลึกขึ้นๆ ได้อย่างต่อเนื่อง.ได้จาก 5 ช่องทาง..สร้างเหตุไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว..ไม่ถึงความเสื่อม.. ))
link ;; ทวิตเตอร์ ;; https://twitter.com/fantachaleeporn
link;; G+ ;; https://plus.google.com/u/0/+ChaleepornInrodBNNo312
link;; blogger ;; http://buddhawajana252.blogspot.com/
link ;;ช่อง YouTube; https://www.youtube.com/c/ChaleepornInrodBNNo312
link ;; facebook ; 5 เฟส
เฟส 1 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012502933592
เฟส 2 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012607659827
เฟส 3 ;; https://www.facebook.com/fata.chalee
เฟส 4 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100010716036268
เฟส 5 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012410853671
เปิดธรรมที่ถูกปิดด้วยพุทธวจน
โดยพอจ.คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล เจ้าอาวาส วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง10 จังหวัด ปทุมธานี
เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์
โดย : ตะวัน พุทธวจน BN.4386
https://www.facebook.com/groups/679713432115426/
***รักษาศาสนาพุทธ ด้วยการช่วยกัน
ศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่ แต่คำตถาคต***
ขอบพระคุณเว็ปไซต์จากวัดนาป่าพง
http://watnapp.com/ และ คุณป๊อก บางกรวย
**********
******
#ทำอย่างไรผู้ไม่สมบูรณ์ #จะไปแต่ทางเจริญไม่เสื่อมเลย
บุคคลใด...
#มากระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง
#มากระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต
#มาแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิ
#บุคคลผู้นี้จะไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว ไม่ไปทางเสื่อมเลย...
----------
#บุคคล๖จำพวก
(1,2) เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วม เป็นสุข
-พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน
ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน
(3,4) -มีความโกรธและความถือตัว บางครั้งบาง คราว
-โลกธรรมย่อมเกิดแก่เขา
(5,6) มีความโกรธและความถือตัว บางครั้ง บางคราว
-วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา
-------------------------------
-เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
-ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม
----------------------------
-เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย ความเป็นพหูสูต
-ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ
-ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไป แล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม
ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ
--------------------------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๓๑๘/๔๐๗ข้อที่ ๓๑๕
-------------------------------
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read…
-----------------------------
ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com
*****
----------------
ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/
******
#ธรรมเทศนาของภิกษุชนิดไร บริสุทธิ์ ..
"พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้วพึงเลื่อมใสซึ่งธรรม ผู้ที่เลื่อมใสแล้วเท่านั้น จะพึงทำอาการของผู้เลื่อมใสต่อเราดังนี้ ย่อมแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุอย่างนี้ไม่บริสุทธิ์
ส่วนภิกษุใดแล เป็นผู้มีความคิดอย่างนี้ว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เป็นข้อปฏิบัติอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบ
ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตนโอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้ว จะพึงรู้ทั่วถึงธรรมก็แลครั้นรู้ทั่วถึงแล้ว จะพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความที่แห่งพระธรรมเป็นธรรมอันดี จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความกรุณา จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความเอ็นดู จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความอนุเคราะห์ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
ด้วยประการฉะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุเห็นปานนี้แล บริสุทธิ์ ฯ"
*******************
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๓. จันทูปมสูตร
*****
-บาลี มู. ม. ๑๒/๔๘๗/๔๕๔.
#ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้วจำแนกธรรมออกสั่งสอนสัตว์.
ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตนั้น ได้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้กับทั้งเทวดา มาร พรหม ซึ่งหมู่สัตว์ กับทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้แจ้งตาม.
ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะ ในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๑๗/๗๔๐.
#อานนท์ ! พวกเธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ อย่าเอาสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย จงมีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น