วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2560
เห็นกายในกายคืออย่างไร กายภายนอก ภายภายใน และ กายภายนอกและภายใน
เห็นกายในกายคืออย่างไร กายภายนอก ภายภายใน และ กายภายนอกและภายใน (ตัดต่อจากคลิปวันอาทิตย์ที่ 8 ม.ค.60)
คลิปยูทูป
https://www.youtube.com/watch?v=G-O9-j4-8PE
คลิปเฟสบุ๊ค
https://www.facebook.com/100012502933592/videos/241395882953841/
#ผู้ใดชอบธรรมของพระผู้มีพระภาคนั้น ผู้นั้นจงมา
กราบนมัสการ..พระพุทธ..พระธรรม..พระสงฆ์สาวก..ด้วยเศียรเกล้า..
17 มีนาคม · เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์
พอจ.ท่านเป็นคนที่พามหาชนเข้าเฝ้าพระตถาคตโดยตรง มหาชนข้องใจเรื่องใด ก็เข้าเฝ้าพระองค์ได้ตลอด ท่านตรงไปตรงมา มีแอปพลิเคชั่น ให้เทียบเคียงพระพุทธวจน ด้วย ไม่ปกปิดข่าวสานน์ ไม่ตระหนี่ธรรม
ตะวัน พุทธวจน BN.4386 (( รับชมคลิป พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล.กับการ..เชื่อมโยงพระสูตร..ที่ลึกขึ้นๆ ได้อย่างต่อเนื่อง.ได้จาก 5 ช่องทาง..สร้างเหตุไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว..ไม่ถึงความเสื่อม.. ))
link ;; ทวิตเตอร์ ;; https://twitter.com/fantachaleeporn
link;; G+ ;; https://plus.google.com/u/0/+ChaleepornInrodBNNo312
link;; blogger ;; http://buddhawajana252.blogspot.com/
link ;;ช่อง YouTube; https://www.youtube.com/c/ChaleepornInrodBNNo312
link ;; facebook ; 5 เฟส
เฟส 1 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012502933592
เฟส 2 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012607659827
เฟส 3 ;; https://www.facebook.com/fata.chalee
เฟส 4 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100010716036268
เฟส 5 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012410853671
เปิดธรรมที่ถูกปิดด้วยพุทธวจน
โดยพอจ.คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล เจ้าอาวาส วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง10 จังหวัด ปทุมธานี
เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์
โดย : ตะวัน พุทธวจน BN.4386
https://www.facebook.com/groups/679713432115426/
***รักษาศาสนาพุทธ ด้วยการช่วยกัน
ศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่ แต่คำตถาคต***
ขอบพระคุณเว็ปไซต์จากวัดนาป่าพง
http://watnapp.com/ และ คุณป๊อก บางกรวย
**********
******
#ทำอย่างไรผู้ไม่สมบูรณ์ #จะไปแต่ทางเจริญไม่เสื่อมเลย
บุคคลใด...
#มากระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง
#มากระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต
#มาแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิ
#บุคคลผู้นี้จะไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว ไม่ไปทางเสื่อมเลย...
----------
#บุคคล๖จำพวก
(1,2) เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วม เป็นสุข
-พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน
ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน
(3,4) -มีความโกรธและความถือตัว บางครั้งบาง คราว
-โลกธรรมย่อมเกิดแก่เขา
(5,6) มีความโกรธและความถือตัว บางครั้ง บางคราว
-วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา
-------------------------------
-เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
-ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม
----------------------------
-เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย ความเป็นพหูสูต
-ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ
-ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไป แล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม
ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ
--------------------------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๓๑๘/๔๐๗ข้อที่ ๓๑๕
-------------------------------
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read…
-----------------------------
ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com
*****
----------------
ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/
******
#ธรรมเทศนาของภิกษุชนิดไร บริสุทธิ์ ..
"พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้วพึงเลื่อมใสซึ่งธรรม ผู้ที่เลื่อมใสแล้วเท่านั้น จะพึงทำอาการของผู้เลื่อมใสต่อเราดังนี้ ย่อมแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุอย่างนี้ไม่บริสุทธิ์
ส่วนภิกษุใดแล เป็นผู้มีความคิดอย่างนี้ว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เป็นข้อปฏิบัติอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบ
ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตนโอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้ว จะพึงรู้ทั่วถึงธรรมก็แลครั้นรู้ทั่วถึงแล้ว จะพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความที่แห่งพระธรรมเป็นธรรมอันดี จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความกรุณา จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความเอ็นดู จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความอนุเคราะห์ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
ด้วยประการฉะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุเห็นปานนี้แล บริสุทธิ์ ฯ"
*******************
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๓. จันทูปมสูตร
*****
-บาลี มู. ม. ๑๒/๔๘๗/๔๕๔.
#ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้วจำแนกธรรมออกสั่งสอนสัตว์.
ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตนั้น ได้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้กับทั้งเทวดา มาร พรหม ซึ่งหมู่สัตว์ กับทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้แจ้งตาม.
ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะ ในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๑๗/๗๔๐.
#อานนท์ ! พวกเธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ อย่าเอาสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย จงมีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย.
********
*****
ภิกขุสูตร
ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ โดยส่วน ๓
[๖๘๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
[๖๘๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรด
แสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์
ที่ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว
พึงเป็นผู้ๆ เดียวหลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท
มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวเถิด.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็โมฆบุรุษบางพวกในโลกนี้
ย่อมเชื้อเชิญเราอย่างนี้เหมือนกัน
และเมื่อเรากล่าวธรรมแล้ว ย่อมสำคัญเราว่า
เป็นผู้ควรติดตามไปเท่านั้น
ภิกษุนั้นทูลวิงวอนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์
ขอพระสุคตโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์
แม้ไฉน ข้าพระองค์พึงรู้
ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาค
แม้ไฉน ข้าพระองค์พึงเป็นทายาทแห่งภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค.
[๖๘๗] พ. ดูกรภิกษุ เพราะเหตุนั้นแหละ
เธอจงยังเบื้องต้นในกุศลธรรมให้บริสุทธิ์ก่อน
เบื้องต้นของกุศลธรรมคืออะไร? คือ
ศีลที่บริสุทธิ์ดี และความเห็นตรง เมื่อใด
ศีลของเธอจักบริสุทธิ์ดี และความเห็นของเธอจักตรง เมื่อนั้น
เธออาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว
พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ โดยส่วน ๓ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?
[๖๘๘] ดูกรภิกษุ
เธอจงพิจารณาเห็นกายในกายภายในอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ๑
-
จงพิจารณาเห็นกายในกายภายนอกอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ๑
-
จงพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในภายนอกอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ๑
-
จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในอยู่ ...
จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกอยู่ ...
จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในภายนอกอยู่ ...
จงพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในอยู่ ...
จงพิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกอยู่ ...
จงพิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในภายนอกอยู่ ...
จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในอยู่
-
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสีย ๑
-
จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ๑
-
จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในภายนอกอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ๑.
-
[๖๘๙] ดูกรภิกษุ เมื่อใด
เธออาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว
จักเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ โดยส่วน ๓ อย่างนี้
เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญ
ในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว
ตลอดคืนหรือวันอันจักมาถึง ไม่มีความเสื่อมเลย.
-
[๖๙๐] ครั้งนั้น ภิกษุนั้น ชื่นชม ยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค
ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค
กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป
เธอเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่
ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว
ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม
ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ออกบวชเป็นบรรพชิต
โดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองใน ปัจจุบัน
เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
ก็แลภิกษุนั้น ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง
ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.
จบ สูตรที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
หน้าที่ ๑๖๕
************
*******
สติปัฏฐานบริบูรณ์ เพราะอานาปานสติบริบูรณ์
ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร
ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำสติปัฏฐานทั้งสี่ให้บริบูรณ์ได้ ?
[หมวดกายานุปัสสนา]
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด
ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
“เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
“เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจออก”;
-
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า
เป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
-
ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าว
ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก
ว่าเป็นกายอันหนึ่งๆ ในกายทั้งหลาย.
-
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้
ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น.
-
[หมวดเวทนานุปัสสนา]
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
“เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก”
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
“เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
“เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
“เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจออก”;
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า
เป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
-
ภิกษุทั้งหลาย !
เราย่อมกล่าวการทำในใจเป็นอย่างดี
ต่อลมหายใจเข้าและลมหายใจออกทั้งหลายว่า
เป็นเวทนาอันหนึ่งๆ ในเวทนาทั้งหลาย.
-
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้
ภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่า
เป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น.
-
[หมวดจิตตานุปัสสนา]
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
“เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
“เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
“เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
“เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก”;
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า
เป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
-
ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่กล่าวอานาปานสติ
ว่าเป็นสิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว
ไม่มีสัมปชัญญะ.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้
ภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น.
-
[หมวดธัมมานุปัสสนา]
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
“เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
“เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
“เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
“เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
-
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า
เป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้น
เป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะเป็นอย่างดีแล้ว
เพราะเธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัส
ทั้งหลายของเธอนั้นด้วยปัญญา.
-
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น
ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
-
ภิกษุทั้งหลาย!
อานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้
ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล
ชื่อว่าทำสติปัฏฐานทั้งสี่ให้บริบูรณ์ได้.
พุทธวจน อานาปานสติ หน้า ๓๐
(ภาษาไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๑๕๖/๒๘๙. :
**********
*****
สติปัฏฐานสูตร
๑๐. สติปัฏฐานสูตร
ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน
[๑๓๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในแคว้นกุรุ
มีนิคมหนึ่งของแคว้นกุรุ ชื่อว่า กัมมาสธรรม
ณ ที่นั่น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่า นั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.
[๑๓๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลายหนทางนี้เป็นที่ไป อันเอก
เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์
เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ
เพื่อความดับสูญแห่ง ทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง
เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง.
หนทางนี้คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ.
๔ ประการเป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
-
พิจารณาเห็นกายใน กายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
-
พิจารณา เห็นเวทนาในเวทนาอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญา มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก เสียได้ ๑
-
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสียได้ ๑
-
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ ๑.
-
อานาปานบรรพ
[๑๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า?
ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า.
เธอมีสติ หายใจออก
มีสติ หายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว.
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น.
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก.
ย่อม สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า.
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับ กายสังขารหายใจออก.
ย่อมสำเหนียกว่าเราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า.
-
นายช่างกลึง หรือ ลูกมือของนายช่างกลึงผู้ฉลาด
เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว.
เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น
แม้ฉันใด. ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เรา หายใจออกยาว.
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว.
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น.
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น.
ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก เป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก.
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า.
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกาย สังขาร หายใจเข้า.
ดังพรรณนามาฉะนี้
-
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง
พิจารณาเห็น กายในกายภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความ เกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า
กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่า
ความรู้เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว
และไม่ถือมั่น อะไรๆ ในโลก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้
ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่.
จบ อานาปานบรรพ.
-
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
[๑๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่อย่างไรเล่า?
ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้
เมื่อเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา
เสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เรา เสวยทุกขเวทนา
เสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา.
-
หรือเสวยสุข เวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนามีอามิส
หรือเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส
หรือเสวยทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา มีอามิส
หรือเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส
หรือ เสวยอทุกขสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส
หรือเสวย อทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส
ดังพรรณนามาฉะนี้
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในบ้าง
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในเวทนา บ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในเวทนาบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความ เสื่อมในเวทนาบ้าง
ย่อมอยู่ อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่
ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
เธอเป็นผู้อันตัณหา และทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว
และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่.
-
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
[๑๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ
หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากราคะ
จิตมีโทสะ ก็รู้ชัด ว่า จิตมีโทสะ
หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโทสะ
หรือจิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตมี โมหะ
หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโมหะ
จิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตหดหู่
หรือ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน
จิตเป็นมหรคต ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นมหรคต
จิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ชัดว่า จิตไม่เป็นมหรคต
จิตมีธรรมอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า จิตมีธรรมอื่นยิ่งกว่า
หรือจิตไม่มี ธรรมอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
จิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตตั้งมั่น
หรือจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตไม่ตั้งมั่น
จิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น
หรือจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตยังไม่ หลุดพ้น
ดังพรรณนามาฉะนี้
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง
พิจารณาเห็นจิตในจิตภาย นอกบ้าง
พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิต บ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อม ในจิตบ้าง
ย่อมอยู่ อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่
ก็เพียงสักว่าความรู้
เพียงสักว่าอาศัย ระลึกเท่านั้น
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว
แล้วไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่.
หน้าที่ ๗๘/๔๓๐
-
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน.
นีวรณบรรพ.
[๑๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่อย่างไรเล่า?
ภิกษุในธรรม วินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
คือ นิวรณ์ ๕ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
คือ นิวรณ์ ๕ อย่างไรเล่า?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เมื่อกามฉันทะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า
กามฉันทะ มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่อกามฉันทะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า
กามฉันทะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง กามฉันทะที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
ย่อมรู้ชัดประการนั้น ด้วย
กามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด
ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
กามฉันทะที่ละ ได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด
ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
-
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อพยาบาท มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า
พยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่อพยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า
พยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง พยาบาทที่ยังไม่เกิด จะ เกิดขึ้นด้วยประการใด
ย่อมรู้ชัด ประการนั้นด้วย พยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว
จะละเสียได้ด้วย ประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
พยาบาทที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วย ประการใด
ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
-
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ ชัดว่า
ถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่อถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า
ถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว
จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น ด้วย
ถีนมิทธะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด
ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
-
อีกอย่าง หนึ่ง เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า
อุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่ออุทธัจจกุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า
อุทธัจจกุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ของเรา
อนึ่ง อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว
จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
อุทธัจจกุกกุจจะที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด
ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
-
อีกอย่าง หนึ่ง เมื่อวิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิต
ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่อ วิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต
ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง วิจิกิจฉา ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย วิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว
จะละ เสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
วิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วย ประการใด
ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
-
ดังพรรณนามาฉะนี้
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภาย ในบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่น อยู่ว่า ธรรมมีอยู่
ก็เพียงสักว่าความรู้
เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
เธอเป็นผู้อันตัณหาและ ทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว
และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
คือ นิวรณ์ ๕ อยู่.
-
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
หน้าที่ ๗๓/๔๓๐ ข้อที่ ๑๓๑-๑๓๓
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น