วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2560
สติปัฏฐาน๔ บริบูรณ์ด้วยอานาปานสติ ตถาคตวิหาร พรหมวิหาร อริยวิหาร คือ อาน...
สติปัฏฐาน๔ บริบูรณ์ด้วยอานาปานสติ ตถาคตวิหาร พรหมวิหาร อริยวิหาร คือ อานาปานสติ (ตัดต่อจากคลิปวันอาทิตย์ที่ 8 ม.ค. 60)
คลิปยูทูป
https://www.youtube.com/watch?v=Y0GKFWuUm4Q
คลิปเฟสบุ๊ค
https://www.facebook.com/100012502933592/videos/241811256245637/
******
#ทำอย่างไรผู้ไม่สมบูรณ์ #จะไปแต่ทางเจริญไม่เสื่อมเลย
บุคคลใด...
#มากระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง
#มากระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต
#มาแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิ
#บุคคลผู้นี้จะไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว ไม่ไปทางเสื่อมเลย...
----------
#บุคคล๖จำพวก
(1,2) เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วม เป็นสุข
-พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน
ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน
(3,4) -มีความโกรธและความถือตัว บางครั้งบาง คราว
-โลกธรรมย่อมเกิดแก่เขา
(5,6) มีความโกรธและความถือตัว บางครั้ง บางคราว
-วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา
-------------------------------
-เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
-ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม
----------------------------
-เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย ความเป็นพหูสูต
-ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ
-ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไป แล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม
ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ
--------------------------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๓๑๘/๔๐๗ข้อที่ ๓๑๕
-------------------------------
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read…
-----------------------------
ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com
*****
----------------
ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/
******
***วิหารธรรมเครื่องอยู่***
*************************
[๑๓๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ภิกษุเมื่อจะกล่าวถึงสิ่งใดโดยชอบ
พึงกล่าวถึงสิ่งนั้นว่า
#ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะบ้าง
#ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหมบ้าง
#ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้าง
ดังนี้ พึงกล่าวถึง
#สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ
ว่า #ธรรมเป็นเครื่องอยู่
#ของพระอริยะบ้าง
#ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหมบ้าง
#ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้าง.
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
หน้าที่ ๓๓๓/๔๖๙ ข้อที่ ๑๓๖๘
----
#สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ
อานาปานสติ อานันทสูตรที่ ๑
ว่าด้วยปัญหาของพระอานนท์
พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล
ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ธรรมอย่างหนึ่งอันภิกษุเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว
-
ย่อมยังธรรม ๔ ข้อ ให้บริบูรณ์
ธรรม ๔ ข้ออันภิกษุเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว
-
ย่อมยังธรรม ๗ ข้อให้บริบูรณ์
ธรรม ๗ ข้อ อันภิกษุเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว
-
ย่อมยังธรรม ๒ ข้อให้บริบูรณ์
มีอยู่หรือหนอ?
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีอยู่ อานนท์.
-
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ก็ธรรมอย่างหนึ่งอันภิกษุเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๔ ข้อให้บริบูรณ์
ธรรม ๔ ข้อให้บริบูรณ์ ธรรม ๔ ข้อ ...
-
ธรรม ๗ ข้อ
อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมยังธรรม ๒ ข้อให้บริบูรณ์เป็นไฉน?
-
พ. ดูกรอานนท์ ธรรมอย่างหนึ่ง
คือ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ
อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์
สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์
โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์.
-
ดูกรอานนท์ ก็สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ
อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร
ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
-
อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
-
เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
หรือเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
ฯลฯ
ย่อมรู้ชัดว่า จักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก
ย่อมรู้ชัดว่า จักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า
-
ในสมัยใด ภิกษุ
เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว
หรือเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น
หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น
-
ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า
ในสมัยนั้น
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกเสียได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
-
เพราะเรากล่าวกายอันหนึ่ง
ในบรรดากายทั้งหลาย
ซึ่งได้แก่ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า
เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ ในสมัยนั้น ภิกษุ
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
-
ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุ
ย่อมสำเหนียกว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก หายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้สุขหายใจออก . หายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก . หายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจออก หายใจเข้า
ในสมัยนั้น ภิกษุ
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
ข้อนั้น เพราะเหตุไร?
เพราะเรากล่าวเวทนาอันหนึ่งในบรรดาเวทนาทั้งหลาย
ซึ่งได้แก่การกระทำไว้ในใจให้ดีซึ่ง
ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า
เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ ในสมัยนั้น ภิกษุ
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
-
ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุ
ย่อมสำเหนียกว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้จิตหายใจออก .หายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้บันเทิงหายใจออก หายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า จักตั้งจิตมั่นหายใจออก หายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก หายใจเข้า
ในสมัยนั้น ภิกษุ
ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเราไม่กล่าวซึ่ง
การเจริญสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ
สำหรับผู้มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ
เพราะฉะนั้นแหละอานนท์ ในสมัยนั้น ภิกษุ
ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
-
ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุ
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง
หายใจออก ... หายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัด
หายใจออก ... หายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นโดยความดับ
หายใจออก ...หายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นโดยความสละคืน
หายใจออก ... หายใจเข้า
ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
-
เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสนั้นด้วยปัญญา
จึงวางเฉยเสียได้เป็นอย่างดี
เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ ในสมัยนั้น ภิกษุ
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
-
[๑๓๘๖] ดูกรอานนท์ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ
อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้
กระทำให้มากแล้วอย่างนี้
ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์.
-
ดูกรอานนท์ ก็สติปัฏฐาน ๔
อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร
ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์?
ในสมัยใด ภิกษุ
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
ในสมัยนั้น สติของเธอย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม
ในสมัยใด สติของภิกษุตั้งมั่น ไม่หลงลืม
ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ
ในสมัยนั้น เธอมีสติอยู่อย่างนั้น
ย่อมค้นคว้าพิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา.
-
ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้น
ย่อมค้นคว้าพิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา
ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
-
ภิกษุย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
แก่ภิกษุ เมื่อเธอค้นคว้าพิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา
เป็นอันชื่อว่า ปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน
-
ดูกรอานนท์ ในสมัยใด เมื่อภิกษุ
ค้นคว้าพิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา
เป็นอันชื่อว่า ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน
ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
แก่ภิกษุ ปีติอันหาอามิสมิได้ ย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร.
-
ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ปีติอันหาอามิสมิได้
ย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร
ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์
ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ
แม้กายของภิกษุผู้มีใจเอิบอิ่ม
ด้วยปีติก็ย่อมสงบ แม้จิตก็ย่อมสงบ.
-
ดูกรอานนท์ ในสมัยใด
แม้กายของภิกษุผู้มีใจเอิบอิ่มด้วยปีติก็ย่อมสงบ
แม้จิตก็ย่อมสงบ ในสมัยนั้น
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ
จิตของภิกษุผู้มีกายสงบ มีความสุข ย่อมตั้งมั่น.
-
ดูกรอานนท์ ในสมัยใด
จิตของภิกษุผู้มีกายสงบ มีความสุข ย่อมตั้งมั่น
ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์
ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ
เธอย่อมเพ่งดูจิตซึ่งตั้งมั่นอย่างนั้นอยู่ด้วยดี.
-
ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุ
ย่อมเพ่งดูจิตซึ่งตั้งมั่นอย่างนั้นอยู่ด้วยดี
ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ.
-
ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุ
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ...
เห็นจิตในจิต ...
เห็นธรรมในธรรม
ในสมัยนั้น สติของเธอย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม.
-
ดูกรอานนท์ ในสมัยใด สติของภิกษุย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม
ในสมัยนั้นสติสัมโพชฌงค์
ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ
(พึงขยายเนื้อความให้พิสดารเหมือนสติปัฏฐานข้อต้น)
เธอย่อมเพ่งดูจิตซึ่งตั้งมั่นอย่างนั้นอยู่ด้วยดี.
-
ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุ
ย่อมเพ่งดูจิตซึ่งตั้งมั่นอย่างนั้นอยู่ด้วยดี
ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ.
-
ดูกรอานนท์ สติปัฏฐาน ๔
อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้
ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์.
-
ดูกรอานนท์ ก็โพชฌงค์ ๗
อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร
ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ...
วิริยสัมโพชฌงค์ ...
ปีติสัมโพชฌงค์ ...
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ...
อุเบกขาสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในการสละ
ดูกรอานนท์ โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้
กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์.
(มหาวารวรรค สังยุตตนิกาย ๑๙/๓๓๕-๓๓๙/๑๓๘๐-๑๓๙๘)
*******
****
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น