วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560

ความหมายของคำว่า รูป [กาม,รูป,อรูป ]สังกัปปะ บางส่วนจากสนทนาธรรม 17 ม ค 60





รักษาศาสนา..ด้วยการ..ช่วยกันศึกษา..ปฏิบัติ..เผยแผ่..แต่คำตถาคต

เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์ โดย ตะวัน พุทธวจน BN.4386

https://www.facebook.com/groups/679713432115426/......

ความหมายของคำว่า รูป, [กาม,รูป,อรูป ]สังกัปปะ " ปฏิจจสมุปปันนธรรม.ธรรมอันเป็นเหตุ...ธรรมอาศัยเหตุ..ธรรมเกิดแต่เหตุ.. ((บางส่วนจากสนทนาธรรม 17 ม ค 60 ))

คลิปยูทูป

https://www.youtube.com/watch?v=xcsXhauuH4U&feature=youtu.be

คลิปเฟสบุ๊ค

https://www.facebook.com/100012502933592/videos/244784655948297/

#นิวรณ์๕

ภิกษุ ท. ! นิวรณ์เป็นเครื่องกางกั้น ๕ อย่างเหล่านี้ ท่วมทับจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลังมีอยู่.

ห้าอย่าง อย่างไรเล่า ? ห้าอย่าง คือ  :



นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ กามฉันทะ ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง;

นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ พยาบาท  ครอบงำจิตแล้ว  ทำปัญญาให้ถอยกำลัง;

นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ ถีนมิทธะ  ครอบงำจิตแล้ว  ทำปัญญาให้ถอยกำลัง;

นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ อุทธัจจกุกกุจจะ  ครอบงำจิตแล้ว  ทำปัญญาให้ถอยกำลัง;

นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ วิจิกิจฉา   ครอบงำจิตแล้ว  ทำปัญญาให้ถอยกำลัง.



       ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่ไม่ละนิวรณ์อันเป็นเครื่องกางกั้นจิต ๕ อย่างเหล่านี้แล้ว จักรู้ซึ่งประโยชน์ตน หรือประโยชน์ผู้อื่น หรือประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจักกระทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษอันควรแก่ความเป็นอริยะ ยิ่งกว่าธรรมดาแห่งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันทุพพลภาพ ไร้กำลัง ดังนี้  นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนแม่น้ำที่ไหลลงจากภูเขา ไหลไปสู่ที่ไกล มีกระแสเชี่ยว พัดพาสิ่งต่าง ๆ ไปได้ มีบุรุษมาเปิดช่องทั้งหลายที่เขาขุดขึ้น ด้วยเครื่องไถทั้งสองฝั่งแม่น้ำนั้น  เมื่อเป็นเช่นนี้กระแสกลางแม่น้ำนั้นก็ซัดส่ายไหลผิดทาง ไม่ไหลไปสู่ที่ไกลไม่มีกระแสเชี่ยว ไม่พัดสิ่งต่างๆไปได้,  นี้ฉันใด;

ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน :

ภิกษุ  ที่ไม่ละนิวรณ์อันเป็นเครื่องกางกั้นจิต ๕ อย่างเหล่านี้แล้ว จะรู้ซึ่งประโยชน์ตน หรือประโยชน์ผู้อื่น หรือประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจักกระทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษอันควรแก่ความเป็นอริยะ ยิ่งกว่าธรรมดาแห่งมนุษย์ด้วยปัญญาอันทุพพลภาพ ไร้กำลัง ดังนี้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.



อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ หน้า ๑๓๕๗-๑๓๕๘

(บาลี) ปญฺจก. อํ. ๒๒/๗๒/๕๑.

----

 #สังโยชน์สิบ

ภิกษุทั้งหลาย ! สังโยชน์ ๑๐ ประการ เหล่านี้ มีอยู่สิบประการอย่างไรเล่า ? สิบประการ คือ :-

โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ

อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.



โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ?คือ

สักกายทิฏฐิ, วิจิกิจฉา, สีลัพพตปรามาส, กามฉันทะ, พยาบาท

เหล่านี้ คือ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.



อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ?

คือ รูปราคะ, อรูปราคะ, มานะ, อุทธัจจ, อวิชชา

เหล่านี้คือ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.



ภิกษุ ทั้งหลาย เหล่านี้แล สังโยชน์ ๑๐ ประการ.



คู่มือโสดาบัน หน้า ๑๒๗

(บาลี) ทสก. อํ.  ๒๔/๑๘/๑๓.

----

*

***

รายละเอียดที่ควรศึกษาเกี่ยวกับกาม

ภิกษุทั้งหลาย ! ที่เรากล่าวว่า “กาม นิทานสัมภวะแห่งกาม เวมัตตตาแห่งกาม วิบากแห่งกาม นิโรธแห่งกาม ปฏิปทาให้ถึงซึ่งนิโรธแห่งกาม เป็นสิ่งที่ควรรู้แจ้ง” นั้น เรากล่าวหมายถึงกามไหนกันเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! กามคุณ ๕ อย่างเหล่านี้ คือ รูป ทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ.... เสียง ทั้งหลาย อันจะถึงรู้แจ้งได้ด้วยโสตะ.... กลิ่น ทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยฆานะ.... รส ทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยชิวหา.... โผฏฐัพพะ ทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยกาย อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะอันน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด มีอยู่,

ภิกษุทั้งหลาย ! อารมณ์ ๕ อย่างเหล่านี้ หาใช่กามไม่ ; ห้าอย่างเหล่านี้ เรียกกันในอริยวินัยว่า กามคุณ.



(คาถาจำกัดความตอนนี้)

ความกำหนัดไปตามอำนาจความตริตรึก (สงฺกปฺปราค) นั่นแหละคือกามของคนเรา ; อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลกนั้น หาใช่กามไม่ ;

ความกำหนัดไปตามอำนาจความตริตรึก นั่นแหละคือกามของคนเรา ;

อารมณ์อันวิจิตร ก็มีอยู่ในโลก ตามประสาของมันเท่านั้น ; ดังนั้น

ผู้มีปัญญาจึงนำออกเสียซึ่ง ฉันทะ ในอารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น ดังนี้.



ภิกษุทั้งหลาย ! นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิด) แห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ?

นิทานสัมภวะแห่งกาม คือ ผัสสะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เวมัตตา (ประมาณต่าง ๆ) แห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! เวมัตตตาแห่งกาม คือ ความใคร่ (กาม) ในรูปารมณ์ก็อย่างหนึ่ง ๆ, ความใคร่ในสัททารมณ์ ก็อย่างหนึ่งๆ, ความใคร่ในคันธารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ, ความใคร่ในรสารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ, ความใคร่ในโผฏฐัพพารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ ; ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า เวมัตตาแห่งกาม.



ภิกษุทั้งหลาย ! วิบากแห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลใคร่อยู่ซึ่งอารมณ์ (แห่งกาม) ใด เขากระทำอัตตภาพอันเกิดจากกามนั้นๆ ให้เกิดขึ้น เป็นอัตตภาพมีส่วนแห่งบุญ ก็ดี มีส่วนแห่งอบุญ ก็ดี ; ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า วิบากแห่งกาม.

ภิกษุทั้งหลาย ! นิโรธ (ความดับ) แห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! นิโรธแห่งกามย่อมมี เพราะนิโรธแห่งผัสสะ. อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นแล เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งนิโรธแห่งกาม ; ปฏิปทานั้นได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.



ภิกษุทั้งหลาย ! ในกาลใดแล อริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งกาม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งนิทานสัมภวะแห่งกาม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งเวมัตตตาแห่งกาม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งวิบากแห่งกาม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งนิโรธแห่งกาม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งปฏิปทาให้ถึงซึ่งนิโรธแห่งกาม อย่างนี้ ; ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์นี้อันเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส ว่าเป็นนิโรธแห่งกาม.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๓๐๗

(บาลี) ฉกฺก. อ. ๒๒/๔๕๘-๔๖๐/๓๓๔. :

******

****

สังกัปปะราคะ  คือ กาม ของคนเรา (ตามนิพเพธิกสูตร)

[๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย  อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นในเรื่องกามนั้น ดังนี้ว่า

กามทั้งที่มีในภพนี้   ทั้งที่มีในภพหน้า  และกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า  ทั้ง ๒ อย่างนี้ เป็นบ่วงแห่งมาร  เป็นแดนแห่งมาร  เป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นที่หากินของมาร

ในกามนี้  ย่อมมีอกุศลลามกเหล่านี้  เกิดที่ใจ  คือ อภิชฌาบ้าง  พยาบาทบ้าง สารัมภะบ้าง เป็นไป



กามนั่นเอง  ย่อมเกิดเพื่อเป็นอันตรายแก่อริยสาวกผู้ตามศึกษาอยู่ในธรรมวินัยนี้

ไฉนหนอ  เราพึงมีจิตเป็นมหัคคตะอย่างไพบูลย์  อธิษฐานใจครอบโลกอยู่  เพราะเมื่อเรามีจิตเป็นมหัคคตะอย่างไพบูลย์  อธิษฐานใจครอบโลกอยู่  อกุศลลามกเกิดที่ใจ ได้แก่  อภิชฌาบ้าง พยาบาทบ้าง สารัมภะบ้าง นั้นจักไม่มี



เพราะละอกุศลเหล่านั้นได้  จิตของเราที่ไม่เล็กน้อยนั่นแหละ  จักกลายเป็นจิตหาประมาณมิได้  อันเราอบรม

ดีแล้ว  เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้  เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่  จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ  เมื่อมีความผ่องใส  ก็จะเข้าถึงอาเนญชสมาบัติ  หรือจะน้อมใจไปในปัญญาได้ ในปัจจุบัน ....



...  ฯลฯ ....



[๙๒] พ. ดูกรอานนท์  อริยสาวกในธรรมวินัยนี้  ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้

ซึ่งกามทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า   และกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า

ซึ่งรูปทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า และรูปสัญญาทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า (รูปฌาน )

ซึ่งอาเนญชสัญญา  ซึ่งอากิญจัญญายตนสัญญา  ซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา   (อรูป)

ซึ่งสักกายะเท่าที่มีอยู่นี้

ซึ่งอมตะ  คือความหลุดพ้นแห่งจิต  เพราะไม่ถือมั่น



ดูกรอานนท์  ด้วยประการนี้แล

เราแสดงปฏิปทามีอาเนญชสมาบัติเป็นที่สบายแล้ว

เราแสดงปฏิปทามีอากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นที่สบายแล้ว

เราแสดงปฏิปทามีเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเป็นที่สบายแล้ว



อาศัยเหตุนี้  เป็นอันเราแสดงปฏิปทาเครื่องข้ามพ้นโอฆะ  คือวิโมกข์ของพระอริยะแล้ว

(เราจะละสิ่งที่กำลังมีอยู่  และมีมาแล้วนั้นๆ เสีย เธอไม่ยินดี  ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจอุเบกขานั้นอยู่   >>  ทรงชี้ให้เห็นโทษ  ไม่ให้เพลิดเพลิน  เมาหมกอยู่ซึ่งสัญญาในเวทนาของฌานในแต่ละขั้น  อันเป็น สังกัปปราคะ (กาม)  หรือ กามสัญญา  )

******

****

อกุศลวิตก  >>  กามวิตก  พยาบาทวิตก  วิหิงสาวิตก  (มิจฉาสังกัปปะ)

กุศลวิตก >>  เนกขัมมวิตก   อัพยาปาทวิตก   อวิหิงสาวิตก  (สัมมาสังกัปปะ)

******

****

ปฏิจจสมุปบาทแห่งอารัมมณลาภนานัตตะ๑

            (การได้อารมณ์ หก)



    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  เพราะอาศัยธาตุนานัตตะ (ธาตุนานาชนิด) จึงมีการเกิดขึ้นแห่งสัญญานานัตตะ (สัญญานานาชนิด);

    เพราะอาศัย สัญญานานัตตะ จึงมีความเกิดขึ้นแห่งสังกัปปนานัตตะ (ความตริตรึกนานาชนิด);

    เพราะอาศัย สังกัปปนานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง ผัสสนานัตตะ (ผัสสะนานาชนิด);

    เพราะอาศัย ผัสสนานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง เวทนานานัตตะ (เวทนา นานาชนิด);

    เพราะอาศัย เวทนานานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง ฉันทนานัตตะ (ความ พอใจนานาชนิด);

เพราะอาศัย ฉันทนานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง ปริฬาหนานัตตะ (ความ เร่าร้อนนานาชนิด);

    เพราะอาศัย ปริฬาหนานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง ปริเยสนานานัตตะ (การ แสวงหานานาชนิด);

    เพราะอาศัย ปริเยสนานานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง ลาภนานัตตะ (การ ได้รับนานาชนิด);

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  ธาตุนานัตตะ เป็นอย่างไรเล่า ?

ธาตุนานัตตะคือ รูปธาตุ สัททธาตุ คันธธาตุ

รสธาตุ โผฏฐัพพธาตุ ธัมมธาตุ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  นี้เราเรียกว่า ธาตุนานัตตะ.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  เพราะอาศัยธาตุนานัตตะ

จึงมีการเกิดขึ้นแห่งสัญญานานัตตะ ;

เพราะอาศัยสัญญานานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่งสังกัปปนานัตตะ; ...ฯลฯ...

เพราะอาศัยปริฬาหนานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่งปริเยสนานานัตตะ; เพราะอาศัยปริเยสนานานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่งลาภนานัตตะ; เป็นอย่างไรเล่า ?

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  เพราะอาศัยรูปธาตุ

จึงมีการเกิดขึ้นแห่งรูปสัญญา(สัญญาในรูป) ;

เพราะอาศัยรูปสัญญา จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง รูปสังกัปปะ (ความตริตรึกในรูป) ;

เพราะอาศัยรูปสังกัปปะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง รูปสัมผัสสะ (การสัมผัสซึ่งรูป);

เพราะอาศัยรูปสัมผัสสะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง รูปสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาที่เกิดขึ้นจากการสัมผัสซึ่งรูป);

เพราะอาศัยรูปสัมผัสสชาเวทนา จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง รูปฉันทะ(ความพอใจในรูป);

เพราะอาศัยรูปฉันทะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง รูปปริฬาหะ (ความเร่าร้อนเพราะรูป);

เพราะอาศัยรูปปริฬาหะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง รูปปริเยสนา (การแสวงหาซึ่งรูป);

เพราะอาศัยรูปปริเยสนา จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง รูปลาภะ  (การได้รับซึ่งรูป).



    ________________________________

    ๑.  สูตรที่ ๙ ธาตุสังยุตต์ นิทาน.สํ. ๑๖/๑๗๕/๓๔๘, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน.



 ปฏิจจสมุปบาท แห่งการปฏิบัติผิดโดยไตรทวาร๑



    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  กามวิตก (ความครุ่นคิดในกาม) เป็นธรรมมีนิทาน(เหตุให้เกิด) ไม่ใช่เป็นธรรมไม่มีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้เป็นอย่างไรเล่า ?

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  เพราะอาศัย กามธาตุ (ธาตุเป็นที่ตั้งแห่งความรู้สึก ทางกาม) จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง กามสัญญา (ความหมายมั่นในกาม);

    เพราะอาศัยกามสัญญา จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง กามสังกัปปะ (ความตริตรึกในกาม);

    เพราะอาศัยกามสังกัปปะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) ;

   

    ________________________________

    ๑.  สูตรที่ ๒ ทุติยวรรค ธาตุสังยุตต์ นิทาน. สํ. ๑๖/๑๘๑/๓๕๕-๖, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน.

ดูกรอานนท์

กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ อาศัยความอนุเคราะห์พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราทำแล้วแก่พวกเธอ ดูกรอานนท์ นั่นโคนไม้  นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ ฯ

******

อัตตปฏิลาโภ แปลว่า การได้ซึ่งอัตภาพ



จาก พระสุตตันตปิฎก  ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค  โปฏฐปาทสูตร



พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๑๗๑



[๓๐๒] พ. โปฏฐปาทะ การได้อัตตภาพ ๓ นี้ คือที่หยาบ ที่สำเร็จด้วยใจ ที่หารูปมิได้. ก็การได้อัตตภาพที่หยาบเป็นไฉน. กายที่มีรูปเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ๔ มีคำข้าวเป็นภักษา นี้คือการได้อัตตภาพที่หยาบ. การได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจเป็นไฉน. กายที่มีรูปสำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบทุกอย่าง มีอินทรีย์ไม่เสื่อมทราม นี้คือการได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจ.การได้อัตตภาพอันหารูปมิได้เป็นไฉน. กายอันหารูปมิได้สำเร็จด้วยสัญญา นี้ คือ การได้อัตตภาพอันหารูปมิได้.

------------------------------------------

๒. ธาตุสูตร



[๒๒๙] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธาตุ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ รูปธาตุ ๑ อรูปธาตุ ๑

นิโรธธาตุ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธาตุ ๓ อย่างนี้แล ฯ



พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาค

ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ชนเหล่าใดกำหนดรู้รูปธาตุแล้ว ไม่ดำรงอยู่ในอรูปธาตุ

น้อมไปในนิโรธ ชนเหล่านั้นเป็นผู้ละมัจจุเสียได้ พระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าผู้หาอาสวะมิได้ ถูกต้องอมตธาตุอันหาอุปธิมิได้

ด้วยนามกาย แล้วกระทำให้แจ้งซึ่งการสละคืนอุปธิ ย่อม

แสดงบทอันไม่มีความโศก ปราศจากธุลี ฯ

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

-----------------------------------------------------------

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗

ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-

อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

*******

#ผู้ใดชอบธรรมของพระผู้มีพระภาคนั้น ผู้นั้นจงมา

กราบนมัสการ..พระพุทธ..พระธรรม..พระสงฆ์สาวก..ด้วยเศียรเกล้า..

17 มีนาคม · เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์

พอจ.ท่านเป็นคนที่พามหาชนเข้าเฝ้าพระตถาคตโดยตรง มหาชนข้องใจเรื่องใด ก็เข้าเฝ้าพระองค์ได้ตลอด ท่านตรงไปตรงมา มีแอปพลิเคชั่น ให้เทียบเคียงพระพุทธวจน ด้วย ไม่ปกปิดข่าวสานน์ ไม่ตระหนี่ธรรม

ตะวัน พุทธวจน BN.4386 (( รับชมคลิป พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล.กับการ..เชื่อมโยงพระสูตร..ที่ลึกขึ้นๆ ได้อย่างต่อเนื่อง.ได้จาก 5 ช่องทาง..สร้างเหตุไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว..ไม่ถึงความเสื่อม.. ))

link ;; ทวิตเตอร์ ;; https://twitter.com/fantachaleeporn

link;; G+ ;; https://plus.google.com/u/0/+ChaleepornInrodBNNo312

link;; blogger ;; http://buddhawajana252.blogspot.com/

link ;;ช่อง YouTube; https://www.youtube.com/c/ChaleepornInrodBNNo312

link ;; facebook ; 5 เฟส

เฟส 1 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012502933592

เฟส 2 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012607659827

เฟส 3 ;; https://www.facebook.com/fata.chalee

เฟส 4 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100010716036268

เฟส 5 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012410853671

เปิดธรรมที่ถูกปิดด้วยพุทธวจน

โดยพอจ.คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล เจ้าอาวาส วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง10 จังหวัด ปทุมธานี

เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์

โดย : ตะวัน พุทธวจน BN.4386

https://www.facebook.com/groups/679713432115426/

***รักษาศาสนาพุทธ ด้วยการช่วยกัน

ศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่ แต่คำตถาคต***

ขอบพระคุณเว็ปไซต์จากวัดนาป่าพง

http://watnapp.com/ และ คุณป๊อก บางกรวย

**********

******

#ทำอย่างไรผู้ไม่สมบูรณ์ #จะไปแต่ทางเจริญไม่เสื่อมเลย

บุคคลใด...

#มากระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง

#มากระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต

#มาแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิ

#บุคคลผู้นี้จะไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว ไม่ไปทางเสื่อมเลย...

----------

#บุคคล๖จำพวก

(1,2) เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วม เป็นสุข

-พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน

ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน

(3,4) -มีความโกรธและความถือตัว บางครั้งบาง คราว

-โลกธรรมย่อมเกิดแก่เขา

(5,6) มีความโกรธและความถือตัว บางครั้ง บางคราว

-วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา

-------------------------------

-เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง

-ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต

-ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย

เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม

เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม

----------------------------

-เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง

-ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย ความเป็นพหูสูต

-ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ

-ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย

เมื่อตายไป แล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม

ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ

--------------------------------

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๓๑๘/๔๐๗ข้อที่ ๓๑๕

-------------------------------

อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka

http://etipitaka.com/read…

-----------------------------

ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com

*****

----------------

ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่

http://www.buddhakos.org/

http://watnapp.com/

http://media.watnapahpong.org/

http://www.buddhaoat.org/

******

#ธรรมเทศนาของภิกษุชนิดไร บริสุทธิ์ ..

"พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้วพึงเลื่อมใสซึ่งธรรม ผู้ที่เลื่อมใสแล้วเท่านั้น จะพึงทำอาการของผู้เลื่อมใสต่อเราดังนี้ ย่อมแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุอย่างนี้ไม่บริสุทธิ์

ส่วนภิกษุใดแล เป็นผู้มีความคิดอย่างนี้ว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เป็นข้อปฏิบัติอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบ

ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตนโอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้ว จะพึงรู้ทั่วถึงธรรมก็แลครั้นรู้ทั่วถึงแล้ว จะพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น

อาศัยความที่แห่งพระธรรมเป็นธรรมอันดี จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น

อาศัยความกรุณา จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น

อาศัยความเอ็นดู จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น

อาศัยความอนุเคราะห์ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น

ด้วยประการฉะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุเห็นปานนี้แล บริสุทธิ์ ฯ"

*******************

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘

สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

๓. จันทูปมสูตร

*****

-บาลี มู. ม. ๑๒/๔๘๗/๔๕๔.

#ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้วจำแนกธรรมออกสั่งสอนสัตว์.

ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตนั้น ได้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้กับทั้งเทวดา มาร พรหม ซึ่งหมู่สัตว์ กับทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้แจ้งตาม.

ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะ ในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๑๗/๗๔๐.

#อานนท์ ! พวกเธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ อย่าเอาสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย จงมีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น