วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2560

ทำไม ให้ทิ้งอารมณ์ ทำไม ไม่พิจารณาอารมณ์ให้รู้ตามความเป็นจริง



***ทำไม ให้ทิ้งอารมณ์ ทำไม ไม่พิจารณาอารมณ์ให้รู้ตามความเป็นจริง ละนันทิ จะได้อะไร***
ไฟล์เสียง mp3 ดาวน์โหลดฟรี
https://drive.google.com/file/d/0B1jQ6bfjhjR9Y0ZrQlNvd3EycVU/view?usp=sharing
คลิปวีดีโอยูทูป
https://www.youtube.com/watch?v=x9QdCnHZbaY
"จะได้เห็นการเกิดการดับตลอดเวลา จิตเผลอไปเห็นเรื่องอดีต จะเห็นว่าลมดับ ความคิดอดีตเกิด เมื่อละความเพลิน เอากลับมาที่ลม จะเห็นความคิดอดีต คือสัญญาดับ ลมเกิด จะเห็นการเกิด การดับ เกิดดับๆๆๆ อยู่ตลอดเวลา นั่นคือเราเห็นอริยสัจสี่ เห็นอย่างที่พระศาสดาเห็น เห็นสมุทัยคือเกิด เห็นนิโรธคือดับ สิ่งที่กำลังเห็นคือตัวทุกข์ และสิ่งที่กำลังทำอยู่ก็คือมรรค"
****
#เห็นการเกิดดับในขันธ์ทั้ง๕
...ฯลฯ...
ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็น..ความเกิด..ความดับ.
.ในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า
-
ดังนี้รูป
ดังนี้ความเกิดแห่งรูป
ดังนี้ความดับแห่งรูป
-
ดังนี้เวทนา
ดังนี้ความเกิดแห่งเวทนา
ดังนี้ความดับแห่งเวทนา
-
ดังนี้สัญญา
ดังนี้ความเกิดแห่งสัญญา
ดังนี้ความดับแห่งสัญญา
-
ดังนี้สังขาร
ดังนี้ความเกิดแห่งสังขาร
ดังนี้ความดับแห่งสังขาร
-
ดังนี้วิญญาณ
ดังนี้ความเกิดแห่งวิญญาณ
ดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ
-
นี้เป็นเหตุข้อที่ ๘ เป็นปัจจัยข้อที่ ๘
เป็นไปเพื่อความได้ปัญญา
อันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
ที่ยังไม่ได้ เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป
เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ
เพื่อความบริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ
--
(ไทย) อุปริ. ม. ๑๑/๒๖๙/๔๔๔.
--
*****
ลมหายใจนี้เป็นกายอันหนึ่งในกายทั้งหลาย
คือรูป รูปประกอบด้วย ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
หน้าที่ ๒๔๕/๔๓๐ ข้อที่ ๓๔๐-๓๔๒

[๓๔๑] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน? คือ แม้ความเกิดเป็นทุกข์ แม้ความแก่เป็นทุกข์ แม้ความตายเป็นทุกข์ แม้ความโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย ความ ทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ แม้ความที่ไม่ได้สิ่งที่ตนอยากได้ ก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อุปทานขันธ์ห้าเป็นไฉน? คืออุปทานขันธ์ คือ รูป อุปทานขันธ์คือเวทนา อุปทานขันธ์คือสัญญา อุปทานขันธ์คือสังขาร อุปทานขันธ์คือ วิญญาณ. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อุปทานขันธ์คือรูปเป็นไฉน? คือ มหาภูตรูป ๔ และรูป ที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็มหาภูตรูป ๔ เป็นไฉน? คือปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ. ปฐวีธาตุ
********
กายนี้ เป็น “กรรมเก่า”
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! กายนี้ ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย และทั้ง
ไม่ใช่ของบุคคล เหล่าอื่น.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! กรรมเก่า (กาย) นี้ อันเธอทั้งหลาย
พึงเห็นว่าเป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น (อภิสงฺขต), เป็นสิ่งที่
ปัจจัยทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น (อภิสญฺเจตยิต), เป็นสิ่งที่มี
ความรู้สึกต่ออารมณ์ได้ (เวทนีย).
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีของกายนั้น อริยสาวกผู้ได้
สดับแล้ว ย่อมทำไว้ในใจโดยแยบคายเป็นอย่างดี ซึ่ง
ปฏิจจสมุปบาท นั่นเทียว ดังนี้ว่า “ด้วยอาการอย่างนี้ :
เพราะสิ่งนี้มี, สิ่งนี้จึงมี ;
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้,สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ;
เพราะสิ่งนี้ไม่มี, สิ่งนี้จึงไม่มี ;
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ , สิ่งนี้จึงดับไป :
ข้อนี้ได้แกสิ่งเหล่านี้คือ เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย ;
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ;
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ;
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ;
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ ;
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ;
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ;
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ;
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ ;
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ;
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่ง
อวิชชานั้น นั่นเทียว, จึงมีความดับแห่งสังขาร, เพราะมี
ความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ; .....
ฯลฯ ..... ฯลฯ ..... ฯลฯ ..... เพราะมีความดับแห่งชาติ
นั่นแล ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์
ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้ แล.
นิทาน.สํ. ๑๖/๗๗/๑๔๓.

สมุทัยคือสายเกิด นิโรธคือสายดับ
********
****

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น