วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560

ไม่เชื่อพระพุทธเจ้าถือเป็นการดูถูกพระพุทธเจ้ามั๊ย





ไม่เชื่อพระพุทธเจ้าถือเป็นการดูถูกพระพุทธเจ้ามั๊ย( ตัดต่อจากคลิป ตอบปัญหาธรรมะ ณ ห้องสมุดบ้านอารีย์ 4 สิงหาคม 2552 )

 #อริยบุคคลจะเชื่อในพระพุทธเจ้า... ดูกรภัททาลิ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น

อริยบุคคลชื่ออุภโตภาควิมุต เราพึงกล่าวแก่ภิกษุอย่างนี้ว่า มาเถิดภิกษุ เราจะก้าวไปในหล่ม

ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงก้าวไป หรือพึงน้อมกายไปด้วยอาการอื่น หรือพึงกล่าวปฏิเสธบ้างหรือ?

ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.

ดูกรภัททาลิ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นอริยบุคคลชื่อ

ปัญญาวิมุต เป็นอริยบุคคลชื่อกายสักขี เป็นอริยบุคคลชื่อทิฏฐิปัตตะ เป็นอริยบุคคลชื่อ

สัทธาวิมุต เป็นอริยบุคคลชื่อธรรมานุสารี เป็นอริยบุคคลชื่อสัทธานุสารี เราพึงกล่าวกะ



ภิกษุอย่างนี้ว่า มาเถิดภิกษุ เราจะก้าวไปในหล่มดังนี้ ภิกษุนั้นพึงก้าวไป หรือพึงน้อมกายไป

ด้วยอาการอื่น หรือพึงกล่าวปฏิเสธบ้างหรือ?

ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.

ดูกรภัททาลิ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ในสมัยนั้น เธอเป็นพระอริยบุคคล

ชื่อว่าอุภโตภาควิมุต ปัญญาวิมุต กายสักขี ทิฏฐิปัตตะ สัทธาวิมุต ธรรมานุสารี หรือ

สัทธานุสารี บ้างหรือหนอ?

มิได้เป็นเลย พระเจ้าข้า.

ดูกรภัททาลิ ในสมัยนั้น เธอยังเป็นคนว่าง คนเปล่า คนผิดมิใช่หรือ?

เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษได้ครอบงำข้าพระองค์ผู้เป็นคนพาล

เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ซึ่งได้ประกาศความไม่อุตสาหะขึ้นแล้ว ในเมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังทรง

บัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์กำลังสมาทานอยู่ซึ่งสิกขา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มี

พระภาคจงทรงรับโทษของข้าพระองค์นั้นโดยความเป็นโทษ เพื่อความสำรวมต่อไปเถิด. พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๓

สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

หน้าที่ ๑๓๐ ข้อที่ ๑๖๒

*******

*****

#อินทรีย์ ๕ ความเร็วในการบรรลุธรรม

#อินทรีย์๕

๑. สุทธิกสูตร ว่าด้วยอินทรีย์ ๕

[๘๔๓] สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน

คือ

สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

จบสุทธิกสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ -หน้าที่ 44

-----------------------------

#พละ๕

ว่าด้วยพละ ๕

[๑๐๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ประการนี้. ๕ ประการเป็นไฉน

คือ สัทธาพละ ๑ วิริยพละ ๑ สติพละ ๑ สมาธิพละ ๑ ปัญญาพละ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้แล.

[๑๑๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่ง

ไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญพละ ๕ กระทำให้

มากซึ่งพละ ๕ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่

นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๑๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญพละ ๕ กระทำให้มากซึ่ง

พละ ๕ อย่างไรเล่า ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไป

สู่นิพพาน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธาพละ อันอาศัยวิเวก อาศัย

วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญวิริยพละ... สติพละ...

สมาธิพละ... ปัญญาพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อม

ไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญพละ ๕ กระทำให้มากซึ่งพละ

๕ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 113

-----------------

#สัทธาสัมปทา ชี้ไปที่ตัวตถาคต

พ๎ยัคฆปัชชะ ! สัทธาสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?

พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ เป็นผู้มีศรัทธา

เชื่อในการตรัสรู้ของตถาคตว่า

“เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

เป็นผู้ไกลจากกิเลส

เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและข้อปฏิบัติให้ถึงวิชชา

เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี

เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง

เป็นผู้สามารถฝึกคนที่ควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า

เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม

เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์” ดังนี้.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เรียกว่า สัทธาสัมปทา.

อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๒๘๙-๒๙๓/๑๔๔.

*******

****

#ผลของศรัทธาในพระพุทธเจ้า

.บุคคลใดมีเพียงความเชื่อ เพียงความรักเรา

บุคคลนั้นทั้งหมดเป็นผู้มีสวรรค์ เป็นที่ไปในเบื้องหน้า”

#ผลแห่งการละกิเลส

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้

เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว



ภิกษุเหล่าใด เป็นพระอรหันต์

มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว

มีกิจที่จำต้องทำ ทำเสร็จแล้ว มีภาระ ปลงลงแล้ว

ลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว

มีสัญโญชน์ในภพหมดสิ้นแล้ว

หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ

ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่มีวัฏฏะ

เพื่อจะบัญญัติต่อไป.



ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้

เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว



ภิกษุเหล่าใดละโอรัมภาคิยสัญโญชน์ทั้ง ๕ ประการ ได้แล้ว

ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเป็นโอปปาติกะ

ปรินิพพานในโลกนั้น

มีการไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา



ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้

เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว



ภิกษุเหล่าใดละสัญโญชน์ ๓ ประการได้แล้ว

กับมีราคะโทสะและโมหะบางเบา

ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด

เป็นพระสกทาคามี

มาสู่โลกนี้คราวเดียวเท่านั้น

จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.



ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้

เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว

ภิกษุเหล่าใดละสัญโญชน์ ๓ ประการได้แล้ว

ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เป็นพระโสดาบัน

ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา

เป็นผู้เที่ยง มีปัญญาเครื่องตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.



ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้

เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว



ภิกษุเหล่าใด ผู้เป็นธัมมานุสารี เป็นสัทธานุสารี

ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด

มีปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ดีเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.



ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้

เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว



บุคคลเหล่าใด มีเพียงความเชื่อ เพียงความรักในเรา

บุคคลเหล่านั้นทั้งหมด

เป็นผู้มีสวรรค์ เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.



พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว

ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นมีใจชื่นชม

เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.

จบ อลคัททูปมสูตรที่ ๒



อลคัททูปมสูตร มู. ม. (๒๘๘)

----------------------


#ทำอย่างไรผู้ไม่สมบูรณ์ #จะไปแต่ทางเจริญไม่เสื่อมเลย

บุคคลใด...

#มากระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง

#มากระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต

#มาแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิ

#บุคคลผู้นี้จะไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว ไม่ไปทางเสื่อมเลย...

----------

#บุคคล๖จำพวก

(1,2) เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วม เป็นสุข

-พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน

ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน

(3,4) -มีความโกรธและความถือตัว บางครั้งบาง คราว

-โลกธรรมย่อมเกิดแก่เขา

(5,6) มีความโกรธและความถือตัว บางครั้ง บางคราว

-วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา

-------------------------------

-เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง

-ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต

-ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย

เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม

เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม

----------------------------

-เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง

-ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย ความเป็นพหูสูต

-ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ

-ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย

เมื่อตายไป แล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม

ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ

--------------------------------

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๓๑๘/๔๐๗ข้อที่ ๓๑๕

-------------------------------

อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka

http://etipitaka.com/read…

-----------------------------

ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com

*****

----------------

ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่

http://www.buddhakos.org/

http://watnapp.com/

http://media.watnapahpong.org/

http://www.buddhaoat.org/

******

#ธรรมเทศนาของภิกษุชนิดไร บริสุทธิ์ ..

"พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้วพึงเลื่อมใสซึ่งธรรม ผู้ที่เลื่อมใสแล้วเท่านั้น จะพึงทำอาการของผู้เลื่อมใสต่อเราดังนี้ ย่อมแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุอย่างนี้ไม่บริสุทธิ์

ส่วนภิกษุใดแล เป็นผู้มีความคิดอย่างนี้ว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เป็นข้อปฏิบัติอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบ

ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตนโอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้ว จะพึงรู้ทั่วถึงธรรมก็แลครั้นรู้ทั่วถึงแล้ว จะพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น

อาศัยความที่แห่งพระธรรมเป็นธรรมอันดี จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น

อาศัยความกรุณา จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น

อาศัยความเอ็นดู จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น

อาศัยความอนุเคราะห์ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น

ด้วยประการฉะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุเห็นปานนี้แล บริสุทธิ์ ฯ"

*******************

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘

สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

๓. จันทูปมสูตร

*****

-บาลี มู. ม. ๑๒/๔๘๗/๔๕๔.

#ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้วจำแนกธรรมออกสั่งสอนสัตว์.

ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตนั้น ได้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้กับทั้งเทวดา มาร พรหม ซึ่งหมู่สัตว์ กับทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้แจ้งตาม.

ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะ ในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๑๗/๗๔๐.

#อานนท์ ! พวกเธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ อย่าเอาสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย จงมีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น