ใคร?...เป็นคนสร้าง..ดิน น้ำ ลม ไฟ = ธาตุ๔
(ปราศจากความหมายแห่งความมีตัวตนเพราะเห็นเป็นธาตุตามธรรมชาติ)
ธาตุ๔ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
***กรรม = ภพ = วิญญาณฐิติ = รูป เวทนา สัญญา สังขาร
ประมาณนาทีที่ 1.06 https://www.youtube.com/watch?v=ipCFd6F4qQo&feature=youtu.be
ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว;
● คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา (ธัมมัฏฐิตตา),
● คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา),
● คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
(อิทัปปัจจยตา : อิทปฺปจฺจยตา).
ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ
ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น;
ครั้นรู้ พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว,
-
ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัต ย่อมตั้งขึ้นไว้
ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง
ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ
และได้ กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า
-
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงมาดู:
เพราะชาติเป็น ปัจจัย ชรามรณะย่อมมี" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุดังนี้แล:
ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น อัน
● เป็น ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น,
● เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็น อย่างนั้น,
● เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น,
● เป็น อิทัปปัจจยตา (อิทปฺปจฺจยตา)
คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น;
-
●●● ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้ เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอัน เป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).
---
๑ สูตรที่ ๑๐ อาหารวรรค นิทานสังยุตต์ นิทาน. สํ. ๑๖/๓๐/๖๑, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน.
*************
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read?keywords=ปฏิจจสมุปบาท+&language=thai&number=135&volume=14
---
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น