วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ขอคำอธิบายคำว่า หมดอาหารก็นิพพาน



*หมดอาหารก็นิพพาน*

งดให้อาหาร..ละนันทิให้ไว..(เป็นอินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ)

..จิตเกาะกาย(เสาเขื่อนเสาหลักของจิต)

https://www.youtube.com/watch?v=fWhaM43-1T8&list=LL-68WAo39zQU9d_p2AxGsXw

‪#อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ

อานนท์ ! อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ (อนุตฺตรา อินฺทฺริยภาวนา)

ในอริยวินัย เป็นอย่างไรเล่า ?

อานนท์ ! ในกรณีนี้

อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ –

ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ

อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุเพราะเห็นรูปด้วยตา.

ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า

“อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้

เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง (สงฺขต)

เป็นของหยาบ ๆ (โอฬาริก)

เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจฺจ สมุปฺปนฺน);

แต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับและประณีต, กล่าวคือ อุเบกขา” ดังนี้.

(เมื่อรู้ชัดอย่างนี้)

อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ –

ไม่เป็นที่ชอบใจ -

ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ

อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น

ย่อมดับไป, อุเบกขายังคงดำรงอยู่.

อานนท์ ! อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ

– ไม่เป็นที่ชอบใจ

- ทั้งเป็นที่ชอบใจ และไม่เป็นที่ชอบใจ

อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น

ย่อมดับไป เร็วเหมือนการกระพริบตาของคน

อุเบกขายังคงดำรงอยู่.

อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า

‪#‎อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย‬

ในกรณีแห่ง รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ.

(ในกรณีแห่ง เสียงที่รู้แจ้งด้วยโสตะ

กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ รสที่รู้แจ้งด้วยชิวหา

โผฎฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยผิวกาย

และ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจ

ทรงตรัสอย่างเดียวกัน

ต่างกันแต่อุปมาแห่งความเร็วในการดับแห่งอารมณ์นั้น ๆ, คือ

กรณีเสียง เปรียบด้วยความเร็วแห่งการดีดนิ้วมือ,

กรณีกลิ่น เปรียบด้วยความเร็วแห่งหยดน้ำตกจากใบบัว,

กรณีรส เปรียบด้วยความเร็วแห่งน้ำลาย

ที่ถ่มจากปลายลิ้นของคนแข็งแรง,

กรณีโผฏฐัพพะ

เปรียบด้วยความเร็วแห่งการเหยียดแขนพับแขนของคนแข็งแรง,

กรณีธรรมารมณ์

เปรียบด้วยความเร็วแห่งการแห้งของหยดน้ำบนกระทะเหล็ก

ที่ร้อนแดงอยู่ตลอดวัน)

อุปริ. ม. ๑๔/๕๔๒–๕๔๕/๘๕๖–๘๖๑

--------------------------------

-

*กายคตาสติเป็นเสาหลักเสาเขื่อนของจิต*

ตั้งไว้..ในกาย..อาศัยเป็นวิหารธรรมได้

ตั้งไว้..ในเวทนา..ในส่วนของอุเบกขา..สุข ทุกข์ รีบละ รีบทิ้ง

ตั้งไว้..ในผู้รู้..คือ ให้รู้เฉยๆ

ต้้งไว้..ในธรรม..คือ ให้เห็นอาการไม่เที่ยง จางคาย ดับไม่เหลือ สลัดคืน

วิหารธรรม ๔ อย่าง..ที่เที่ยวของจิต

--

กายคตาสติ..

-การรู้ลมหายใจ

-การรู้ตามความเคลื่อนไหวอิริยาบถ

-สติอธิษฐานการงาน

-พิจารณาอสุภะ

-การเข้าฌาน ๑,๒,๓,๔

---

[๗๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในอารมณ์

ซึ่งเป็นของบิดาตน อันเป็นโคจร

เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในอารมณ์

ซึ่งเป็นของบิดาตน อันเป็นโคจร

มารจักไม่ได้ช่อง มารจักไม่ได้อารมณ์

ก็อารมณ์อันเป็นของบิดา อันเป็นของโคจร คืออะไร?

คือสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ...

ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ...

ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คือ อารมณ์ซึ่งเป็นของบิดาตน

อันเป็นโคจรของภิกษุ.

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

หน้าที่ ๑๖๗-๑๖๘/๔๖๙ ข้อที่ ๖๙๘ - ๗๐๐

--

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น