วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

พุทธวจน faq ปัญญาจะเกิดได้เพราะจิตละสิ่งใดเป็นประจำ และด้วยวิธีใด



.นั้งรู้ลมหายใจ..จะฉลาด

https://www.youtube.com/watch?v=BtWoyLECGvE

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ย่อม เป็นไปเพื่อได้ปัญญา

ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา

ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่ง ปัญญา

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาใหญ่

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก

ย่อม เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง

ย่อมเป็นไป เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาสามารถยิ่ง

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง

ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเป็นผู้มากด้วยปัญญา

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาว่องไว

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็น ผู้มีปัญญาเร็ว

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแล่น

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาคม

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส

ธรรมข้อ หนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งนี้แล

บุคคลเจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้ว

ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ...

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส ฯ

(ภาษาไทย) เอก. อํ. ๒๐ / ๔๔ / ๒๓๔

http://etipitaka.com/read/thai/20/44/

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด

ย่อมไม่เกิดขึ้นได้เลย

และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

ย่อมละเสียได้

ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ

ดูกรภิกษุทั้งหลายเมื่อธรรมข้อหนึ่งนี้แล

บุคคล เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้นได้เลย

และอกุศลธรรม ขึ้นแล้ว ย่อมละเสียได้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว

กุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น

และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง

ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือกายคตาสติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งนี้แล

บุคคล เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น

และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง ฯ

(ภาษาไทย) เอก. อํ. ๒๐ / ๔๓ / ๒๒๘-๒๒๙

http://etipitaka.com/read?language=thai&number=43&volume=20

--

เมื่อเจริญอานาปานสติ ก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ

ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง ดำรง

สติเฉพาะหน้า เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก:

เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,

เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;



เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,

เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม

เฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม

เฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขาร

ให้รำงับอยู่ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้

รำงับอยู่ หายใจออก”;

เมื่อภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตน

ส่งไปแล้วในการทำเช่นนั้นอยู่ ย่อมละความระลึกและ

ความดำริอันอาศัยเรือนเสียได้

เพราะละความระลึกและความดำรินั้นได้ จิตของเธอ

ก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น

เป็นสมาธิอยู่ในภายในนั่นเทียว.



ภิกษุ ท. ! แม้อย่างนี้ ภิกษุนั้นก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ



กายคตาสติสูตร อุปริ. ม. ๑๔/๒๐๔/๒๙๔.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น