วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เสาร์ค่ำ 30 พ ค 58 HD 1080p



***จิต มโน วิญญาณ โดยตถาคต***

สัตว์ ยึดแค่ขันธ์๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

ต่อด้วย อุปมา แสงกับฉาก วิญญาณกับนามรูป

วิญญาณเป็นกิริยาที่รู้แจ้ง...ของ..ใจหรือจิต...ก็อันเดียวกัน

แต่เมื่อมันไม่มีการ..กระทบ..ก็ไม่เกิด..กิริยาที่รู้แจ้ง..ขึ้น

มโน ไปดูเรื่อง ผัสสะ พระพุทธเจ้าจะแยกพูดเป็นจุดๆ เลย

พระอาจารย์แจกแจง แจ่มแจงนัก เก็บไว้ดูย้อนหลังใคร่ครวญตามพระสูตรกันคะ

ประมาณนาทีที่ 36.20 https://www.youtube.com/watch?v=DJmxpKDZmcc&feature=youtube_gdata_player

‪#‎สัตว์‬

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ที่เรียกกันว่า ‘สัตว์ สัตว์’ ดังนี้,

อันว่าสัตว์มีได้ ด้วยเหตุเพียงไรเล่า พระเจ้าข้า

ราธะ !

ฉันทะ (ความพอใจ)

ราคะ (ความกําหนัด)

นันทิ (ความเพลิน)

ตัณหา (ความอยาก)

ใดๆ มีอยูใน

‪#‎รูป‬ เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในรูปนั้น

เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า “สัตว์” (ผู้ข้องติดในขันธ์ทั้ง ๕) ดังนี้.

ราธะ !

ฉันทะ

ราคะ

นันทิ

ตัณหา

ใดๆ มีอยูใน

‪#‎เวทนา‬ (ความรู้สึกสุข ทุกข์และไม่สุขไม่ทุกข์)

เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในเวทนานั้น

เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้.

ราธะ !

ฉันทะ

ราคะ

นันทิ

ตัณหา

ใดๆ มีอยู่ใน

‪#‎สัญญา‬ (ความหมายรู้)

เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในสัญญานั้น

เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้.

ราธะ !

ฉันทะ

ราคะ

นันทิ

ตัณหา

ใดๆ มีอยู่ใน

‪#‎สังขารทั้งหลาย‬ (ความปรุงแต่ง)

เพราะการติดแล้ว

ข้องแล้วในสังขารทั้งหลายนั้น

เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้.

ราธะ !

ฉันทะ

ราคะ

นันทิ

ตัณหา

ใดๆ มีอยูใน

‪#‎วิญญาณ‬

เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในวิญญาณนั้น

เพราะฉะนั้น จึงเรียกวา “สัตว์” ดังนี้แล.

พุทธวจน ภพภูมิ หน้า ๒๓.

(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๑/๓๖๗.

--

**จิต, มโน วิญญาณ***

‪#‎เกิด‬ ‪#‎ดับ‬(มีการเปล่ียนแปลง)

‪#‎เป็นสังขตะ‬

***สิ่งที่หลุดพ้น..นิพพาน(อสังขตะ)..ไม่ใช้จิต***

‪#‎อัสสุตวตาสูตร‬

[๒๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี

เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล

พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึง

เบื่อหน่ายบ้าง

คลายกำหนัดบ้าง

หลุดพ้นบ้าง

ในร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า

ความเจริญก็ดี

ความเสื่อมก็ดี

การเกิดก็ดี

การตายก็ดี

ของร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้

ย่อมปรากฏ

ปุถุชนผู้มิได้สดับ

จึงเบื่อหน่ายบ้าง

คลายกำหนัดบ้าง

หลุดพ้นบ้าง

ในร่างกายนั้น

แต่ตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า

จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง

ปุถุชนผู้มิได้สดับ

ไม่อาจเบื่อหน่าย

คลายกำหนัด

หลุดพ้นในจิต

เป็นต้นนั้นได้เลย

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า

‪#‎จิตเป็นต้นนี้‬

อันปุถุชนมิได้สดับ

รวบรัดถือไว้ด้วยตัณหา

ยึดถือด้วยทิฐิว่า

‪#‎นั่นของเรา‬ ‪#‎นั่นเป็นเรา‬ ‪#‎นั่นเป็นตัวตนของเรา‬

ดังนี้ตลอดกาลช้านานฉะนั้น

ปุถุชนผู้มิได้สดับ

จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย

คลายกำหนัด

หลุดพ้น

ในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย ฯ

[๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ

จะพึงเข้าไปยึดถือเอาร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ๔ นี้

โดยความเป็นตน ยังชอบกว่า

แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตนหาชอบไม่

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้

เมื่อดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง

ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง

ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง

ย่อมปรากฏ

แต่ว่าตถาคตเรียก

‪#‎ร่างกาย‬

อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า

จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง

‪#‎จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น‬ ‪#‎ดวงหนึ่งดับไป‬ ‪#‎ในกลางคืนและกลางวัน‬ ฯ

[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้

ปล่อยกิ่งนั้นยึดเอากิ่งอื่น

ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม

เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป

แม้ฉันใด ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้

ที่ตถาคตเรียกว่า

จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น

ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉันนั้นแล ฯ

[๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับ

ย่อมใส่ใจโดยแยบคายด้วยดีถึง

‪#‎ปฏิจจสมุปบาทธรรม‬

ในร่างกายและจิตที่ตถาคตกล่าวมานั้นว่า

เพราะเหตุดังนี้

‪#‎เมื่อสิ่งนี้มี‬ สิ่งนี้จึงมี

เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

เมื่อสิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้จึงไม่มี

เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ

คือ

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย

เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป

เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ

เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา

เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน

เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ

เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ

เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ

โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้

ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้อนึ่ง

เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ

เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ ฯลฯ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

[๒๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ

มาพิจารณาอยู่อย่างนี้

ย่อมหน่ายแม้ในรูป

ย่อมหน่ายแม้ในเวทนา

ย่อมหน่ายแม้ในสัญญา

ย่อมหน่ายแม้ในสังขาร

ย่อมหน่ายแม้ในวิญญาณ

เมื่อหน่าย

ย่อมคลายกำหนัด

เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น

เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว

ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว

กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว

กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้แล ฯ

สัง. นิ. 16/232/93

--

อุปมาของพระศาสดา..

-

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนเรือนยอด

หรือศาลาเรือนยอด ที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือหรือใต้ก็ตาม

เป็นเรือนมีหน้าต่างทางทิศตะวันออก.

ครั้นดวงอาทิตย์ขึ้นมา แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์

ส่งเข้าไปทางช่องหน้าต่างแล้ว

จักตั้งอยู่ที่ส่วนไหนแห่งเรือนนั่นเล่า ?

-

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์

จักปรากฏที่ฝาเรือนข้างในด้านทิศตะวันตก พระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ท. ! ถ้าฝาเรือนทางทิศตะวันตกไม่มีเล่า

แสงแห่งดวงอาทิตย์นั้น จักปรากฏอยู่ที่ไหน ?“

-

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น

จักปรากฏที่พื้นดิน พระเจ้าข้า !”

-

ภิกษุ ท. ! ถ้าพื้นดินไม่มีเล่า

แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น จักปรากฏที่ไหน ?“

-

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น

จักปรากฏในน้ำ พระเจ้าข้า !”

-

ภิกษุ ท. ! ถ้าน้ำไม่มีเล่า

แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น จักปรากฏที่ไหนอีก?“

-

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น

ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ปรากฏแล้ว

พระเจ้าข้า !”

--

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๖

สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

หน้าที่ ๑๐๑ ข้อที่ ๒๔๘ - ๒๔๙

---

ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่

http://www.buddhakos.org/

http://watnapp.com/

http://media.watnapahpong.org/

http://www.buddhaoat.org/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น