วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558

พระอาจารย์คึกฤทธิ์ สนทนาธรรมเช้าวันอาทิตย์ หลังฉัน 2015 05 31



แสดงธรรมอย่างไร.แสดงคำของใคร.สุคตะวินิโย.

.เอาสุคตะวินิโยไปแสดง..ก๊อปปีคำพระพุทธเจ้าไปเลย.

.คนฟังจะเสมือนหนึ่งฟังต่อหน้าพระศาสดาโดยตรงไม่ผิดเพี้ยน

จะเป็นความตั้งมั่นของพระสัทธรรม ความตั้งมั่นแห่งคำสอน

ประมาณนาทีที่  27.10 https://www.youtube.com/watch?v=3Rnj-HsZj6Q&feature=share

***ระเบียบวินัยของพระสุคต***

พระสุคตนั้นย่อมทรงแสดงธรรม

-

อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด

ประกาศพรหมจรรย์

พร้อมทั้งอรรถ  พร้อมทั้งพยัญชนะ

บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

นี้คือวินัยของพระสุคต

--

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

พระสุคตหรือวินัยของพระสุคตยังดำรงอยู่ในโลก

พึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก

เพื่อสุขแก่ชนเป็นอันมาก

เพื่ออนุเคราะห์โลก

เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล

เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

-

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้

ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน

เพื่อความเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม

๔ ประการเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเล่าเรียนพระสูตร

อันเรียนกันมาผิดลำดับ ด้วยบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ผิด

แม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ผิด

ย่อมมีนัยผิดไปด้วย

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน

เพื่อความเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ

-

             อีกประการหนึ่ง

ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่ายาก

ประกอบด้วยธรรมอันทำให้เป็นผู้ว่ายาก

เป็นผู้ไม่อดทน

ไม่รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒

ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน

เพื่อความเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ

-

             อีกประการหนึ่ง ภิกษุเหล่าใดเป็นพหูสูต

เล่าเรียนนิกาย ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา

ภิกษุนั้นไม่บอกพระสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพ

เมื่อภิกษุเหล่านั้นมรณภาพลง

พระสูตรย่อมมีรากขาดสูญ

ไม่มีที่พึ่งอาศัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓

ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน

เพื่อความเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ

-

             อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระ

เป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน

เป็นหัวหน้าในการก้าวลง

ทอดธุระในวิเวก

ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง

เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ

เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง

หมู่ชนผู้เกิดมาภายหลัง

ย่อมดำเนินตามอย่างภิกษุเหล่านั้น

แม้ชนผู้เกิดมาภายหลังนั้น

ก็เป็นผู้มักมาก

มีความประพฤติย่อหย่อน

เป็นหัวหน้าในการก้าวลง

ทอดธุระในวิเวก

ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง

เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ

เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แล

ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน

เพื่อความเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ

-

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้

***ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน***

***เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม***

๔ ประการ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมเล่าเรียนพระสูตรอันเรียนกันมาดี

ด้วยบทและพยัญชนะอันตั้งไว้ดี

แม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ดี

ย่อมมีนัยดีไปด้วย

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑

ย่อมเป็นไป เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน

เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ

-

             อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย

ประกอบด้วยธรรมอันทำให้เป็นผู้ว่าง่าย

เป็นผู้อดทน รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒

ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น

เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน

เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ

-

             อีกประการหนึ่ง ภิกษุเหล่าใดเป็นพหูสูต

เล่าเรียนนิกาย ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา

ภิกษุเหล่านั้นบอกพระสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพ

เมื่อภิกษุเหล่านั้นมรณภาพลง

พระสูตรย่อมไม่ขาดมูลเดิม

ยังมีที่พึ่งอาศัย

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓

ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น

เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน

เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ

-

             อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระ

เป็นผู้ไม่มักมากไม่ประพฤติย่อหย่อน

ทอดธุระในการก้าวลง

เป็นหัวหน้าในวิเวก

ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง

เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ

เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง

หมู่ชนผู้เกิดมาภายหลังย่อมดำเนินตามอย่างภิกษุเหล่านั้น

แม้หมู่ชนผู้เกิดมาภายหลังเหล่านั้น

ก็เป็นผู้ไม่มักมาก ไม่ประพฤติย่อมหย่อน

ทอดธุระในการก้าวลง

เป็นหัวหน้าในวิเวก ปรารภความเพียร

เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง

เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ

เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔

ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น

เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน

เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แล

ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน

เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ

--

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๑

สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

หน้าที่ ๑๔๔ ข้อที่ ๑๖๐

--

http://etipitaka.com/read/thai/21/144/?keywords=%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%95

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น