วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ประมวลภาพ งานรัก ศรัทธา ตถาคต-ประชุมธรรมะนานาชาติ 2558



 ••• บัว ๓ เหล่า ••• ..พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ตรัสตรงกันย้อนหลังไป 91 กัปป์

ประมาณนาทีที่ <<7.35>>  https://www.youtube.com/watch?v=jP_7V3P2mzM

จากพระสูตรราชกุมาร สมัยพระพุทธเจ้าของเรา

หรือ ..แม้พระพุทธเจ้าครั้งก่อน ๆๆ

เช่น พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี ก็ "บัว ๓ เหล่า"

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๙

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

หน้าที่ ๓๗๑/๔๖๙ ข้อที่ ๑๕๑๓-๑๕๒๖.

••••••••••••••••••••••••

( พระสูตร บัว ๓ เหล่า 2 พระสูตร อ้างอิง )

ท้าวสหัมบดีพรหมทูลอาราธนาให้ทรงแสดงธรรม

[๕๑๐] ดูกรราชกุมาร ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม

ทราบความปริวิตกแห่งใจของ อาตมภาพด้วยใจแล้ว

ได้มีความปริวิตกว่า ดูกรท่านผู้เจริญ

โลกจะฉิบหายละหนอ เพราะจิต

ของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าน้อมไปเพื่อความเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไป เพื่อแสดงธรรม. ครั้นแล้ว

ท้าวสหัมบดีพรหมหายไปในพรหมโลก

มาปรากฏข้างหน้าของ อาตมภาพ

เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง พึงเหยียดแขนที่คู้ออก

หรือพึงคู้แขนที่เหยียดเข้าฉะนั้น. ลำดับนั้น

ท้าวสหัมบดีพรหม ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง

ประนมอัญชลีมาทางอาตมภาพแล้วได้

กล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์เถิด

ขอ พระสุคตจงทรงแสดงธรรมเถิด

สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยมีอยู่

ย่อมจะเสื่อม เพราะไม่ได้ฟังธรรม

สัตว์ทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักยังมีอยู่.

ดูกรราชกุมาร ท้าวสหัมบดีพรหม

ได้กล่าวคำนี้แล้ว ครั้นแล้ว

ภายหลังได้กล่าวคาถาประพันธ์อื่นนี้อีกว่า

ธรรมที่ผู้มีมลทินทั้งหลายคิดกันแล้ว

ไม่บริสุทธิ์ ได้ปรากฏใน ชนชาวมคธทั้งหลายมาก่อนแล้ว

 ขอพระองค์จงเปิดอริยมรรค

อันเป็นประตูพระนิพพานเถิด

ขอสัตว์ทั้งหลายจงได้ฟังธรรม

ที่พระองค์ผู้ปราศจากมลทิน

 ตรัสรู้แล้วเถิด ข้าแต่พระองค์ผู้มี

 เมธาดี มีจักษุรอบคอบ ขอพระองค์ผู้ปราศจากความโศก

จงเสด็จขึ้นปัญญาปราสาทอันแล้วด้วยธรรม

ทรงพิจารณาดู ประชุมชนผู้เกลื่อนกล่นด้วยความโศก

อันชาติชราครอบงำแล้ว

เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีจักษุยืนอยู่บนยอดภูเขาหินล้วน

พึง เห็นประชุมชนโดยรอบ ฉะนั้น

ข้าแต่พระองค์ผู้กล้า ทรงชนะ สงครามแล้ว

 ผู้นำสัตว์ออกจากกันดาร ผู้ไม่เป็นหนี้

ขอจงเสด็จ ลุกขึ้นเที่ยวไปในโลกเถิด

ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม เถิด สัตว์ผู้รู้ทั่วถึงจักมีอยู่.



เปรียบบุคคลด้วยดอกบัว ๓ เหล่า



[๕๑๑] ดูกรราชกุมาร ครั้นอาตมภาพทราบว่าท้าวสหัมบดีพรหมอาราธนา

และอาศัย ความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย

จึงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ.

เมื่ออาตมภาพตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ

ก็ได้เห็นหมู่สัตว์ซึ่งมีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยก็มี มีกิเลสดุจธุลีในจักษุมากก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี มีอินทรีย์อ่อนก็มี มีอาการดีก็มี มีอาการเลวก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ยาก ก็มี บางพวกมีปกติเห็นโทษในปรโลกโดยเป็นภัยอยู่ก็มี เปรียบเหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัว หลวง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว ซึ่งเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ



● บางเหล่ายังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้

● บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ

● บางเหล่าตั้งขึ้น พ้นน้ำ น้ำไม่ติด ฉันใด



ดูกรราชกุมาร เมื่ออาตมภาพตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ฉันนั้น ได้เห็นหมู่สัตว์ซึ่งมีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยก็มี มีกิเลสดุจธุลีในจักษุมากก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี มีอินทรีย์อ่อนก็มี มีอาการดีก็มี มีอาการเลวก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ยาก ก็มี บางพวกมีปกติเห็นโทษในปรโลกโดยเป็นภัยอยู่ก็มี. ดูกรราชกุมาร ครั้งนั้นอาตมภาพ ได้กล่าวรับท้าวสหัมบดีพรหมด้วยคาถาว่า ดูกรพรหม เราเปิดประตูอมตนิพพานแล้ว เพื่อสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีโสต จงปล่อยศรัทธามาเถิด เราสำคัญว่าจะลำบาก จึงไม่ กล่าวธรรมอันคล่องแคล่ว ประณีต ในมนุษย์ทั้งหลาย. ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงเปิดโอกาส เพื่อจะแสดง ธรรมแล้ว จึงอภิวาทอาตมภาพ ทำประทักษิณแล้ว หายไปในที่นั้นเอง.



พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๓

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

หน้าที่ ๓๔๘/๕๑๘ ข้อที่ ๕๑๐-๕๑๑

พุทธประวัติ จากพระโอษฐ์ หน้า 223

-

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕

มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

เปรียบบุคคลด้วยดอกบัว ๓ เหล่า.

พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์].

••••••••••••••••••••••••



[๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล

ท้าวมหาพรหมองค์หนึ่งได้

ทราบพระปริวิตกในพระทัยของพระผู้มีพระภาค

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีด้วยใจ

แล้วจึงดำริว่า ผู้เจริญทั้งหลาย โลกจะฉิบหายเสียละหนอ

ผู้เจริญ ทั้งหลาย โลกจะพินาศเสียละหนอ

เพราะว่า พระทัยของพระผู้มีพระภาคอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี

ได้น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อยเสียแล้ว

มิได้น้อมไปเพื่อจะทรงแสดงธรรม ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล

ท้าวมหาพรหมนั้นหายไปในพรหมโลก

มาปรากฏเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี

เหมือนบุรุษที่มีกำลัง เหยียดออกซึ่งแขนที่คู้เข้าไว้

หรือคู้เข้าซึ่งแขนที่ ได้เหยียดออกไว้ฉะนั้น ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล

ท้าวมหาพรหมกระทำผ้าอุตตราสงค์ เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง

คุกชาณุมณฑลเบื้องขวาลงบนแผ่นดินประนมมือไป

ทางที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี

ประทับอยู่แล้ว ได้กราบทูลกะพระผู้มีพระภาคอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรม

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระสุคต จงทรงแสดงธรรม

ในโลกนี้สัตว์ที่มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุเบาบางยังมีอยู่

เพราะ มิได้ฟังธรรม สัตว์เหล่านั้นจึงเสื่อมเสียไป

ผู้ที่รู้ทั่วถึงธรรมได้ยังจักมีอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวมหาพรหมนั้นกราบทูลเช่นนี้

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี

ได้ตรัสกะท้าวมหาพรหมนั้นว่า ดูกรพรหม

แม้เราก็ได้ดำริแล้วเช่นนี้ว่า ไฉนหนอเราพึงแสดงธรรม

ดูกรพรหม แต่เรานั้นได้คิดเห็นดังนี้ว่า ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้

เป็นธรรมลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก

สงบประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียดรู้ได้เฉพาะบัณฑิต

ส่วนหมู่สัตว์นี้ มีอาลัยเป็นที่ยินดี ยินดีแล้วในอาลัย

เบิกบานแล้วในอาลัย

ก็อันหมู่สัตว์ผู้มีอาลัยเป็นที่ยินดี ยินดีแล้วในอาลัย

เบิกบานแล้วในอาลัย ยาก ที่จะเห็นได้ซึ่งฐานะนี้

คือ ปัจจัยแห่งสภาวะธรรมอันเป็นที่อาศัยกันเกิดขึ้น (ปฏิจจสมุบาท)

ยากที่จะเห็นได้ซึ่งฐานะแม้นี้คือ พระนิพพาน

ซึ่งเป็นที่ระงับ แห่งสังขารทั้งปวง

เป็นที่สลัดอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา

คลายความ กำหนัด ดับทุกข์ ก็และเราพึงแสดงธรรม

แต่สัตว์เหล่าอื่นไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรม ของเรา

นั้นพึงเป็นความลำบากแก่เรา

นั้นพึงเป็นความเดือดร้อนแก่เรา

ดูกรพรหมคาถาที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก

ซึ่งเรามิได้สดับมาแล้วแต่ก่อนหรือได้แจ่มแจ้งแล้วดังนี้ บัดนี้

ไม่ควรเลยที่จะประกาศธรรมที่เราได้บรรลุแล้วโดยแสนยาก ฯลฯ

-

ดูกรพรหม เมื่อเราพิจารณาเห็นดังนี้

จิตก็น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อย

มิได้น้อมไปเพื่อจะแสดงธรรม ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่สอง ท้าวมหาพรหม

นั้นก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีดังนั้น... ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่สาม

ท้าวมหาพรหมนั้นก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรม

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระสุคตจงทรงแสดงธรรม

ในโลกนี้สัตว์ที่มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุเบาบางยังมีอยู่

เพราะมิได้ฟังธรรม สัตว์เหล่านั้นจึงเสื่อมเสียไป

ผู้รู้ทั่วถึงธรรมได้ ยังจักมีอยู่ดังนี้



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล

● พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี

ทรงทราบการทูลเชิญของพรหมแล้วทรงอาศัยพระกรุณาในหมู่สัตว์

จึงได้ตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ

ภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่าวิปัสสี

เมื่อทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุก็ได้ทรงเห็น หมู่สัตว์

บางพวกมีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุน้อย

บางพวกมีกิเลสเพียงดังธุลีใน จักษุมาก

บางพวกมีอินทรีย์แก่กล้า บางพวกมีอินทรีย์อ่อน

 บางพวกมีอาการดี บางพวกมีอาการทราม

บางพวกจะพึงให้รู้แจ้งได้ง่าย บางพวกจะพึงให้รู้แจ้ง

ได้ยากบางพวกเป็นภัพพสัตว์ บางพวกเป็นอภัพพสัตว์

บางพวกมักเห็นปรโลก และโทษโดยความเป็นภัย ฯ

ในกออุบล หรือกอบัวหลวง

หรือในกอบัวขาว ดอกอุบล ดอกบัวหลวง หรือ

ดอกบัวขาว เกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ น้ำเลี้ยงอุปถัมภ์ไว้



● บางเหล่า ยังจมอยู่ภายในน้ำ

● บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ

● บางเหล่าตั้งขึ้นพ้นน้ำ อันน้ำมิได้ติดใบ แม้ฉันใด



ภิกษุทั้งหลาย

หมู่สัตว์ที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่าวิปัสสีทรงตรวจดูด้วยพุทธจักษุ

ทรงเห็นก็ฉันนั้นเหมือนกัน

บางพวกมีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุน้อย

บางพวกมีกิเลสเพียงดังธุลี

ในจักษุมาก บางพวกมีอินทรีย์ แก่กล้า

บางพวกมีอินทรีย์อ่อน บางพวกมีอาการดี บางพวก

มีอาการทราม บางพวกจะพึงให้รู้แจ้งได้ง่าย

บางพวกจะพึงให้รู้แจ้งได้ยาก บางพวกเป็นภัพพสัตว์

บางพวกเป็นอภัพพสัตว์ บางพวกมักเห็นปรโลก

และโทษโดยความเป็นภัย ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวมหาพรหม

ทราบพระปริวิตกในพระทัยของพระผู้มีพระภาค

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี

 ด้วยใจ แล้วจึง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี

....



พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค

หน้าที่ ๒๙/๒๖๑ ข้อที่ ๔๒-๕๖.

••••••••••••••••

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น