วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558

sukhothai 20150608 1



#โสดาบันจะมีกำลังในการไปฟังธรรมอันบัณฑิตแสดงอยู่

#ผู้เงี้ยโสตลงฟังชื่อว่าเป็นผู้มีอุปนิสัย

#เหตุวิมุตติจากการฟังธรรม

พระอาจารย์โยง  ๓ พระสูตร ประมาณนาทีที่ 20.30 https://www.youtube.com/watch?v=iyZauKL-zN8&feature=share

#โสดาบันจะมีกำลังในการไปฟังธรรมอันบัณฑิตแสดงอยู่

6 พละนี้ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ

คือ อริยสาวกนั้น

เมื่อธรรมวินัยที่ตถาคต

ประกาศแล้ว

อันบัณฑิตแสดงอยู่

ทำให้มีประโยชน์

ทำไว้ในใจ

กำหนดด้วย

จิตทั้งปวง

เงี่ยโสตฟังธรรม.

อริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้

ว่าบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย

ทิฏฐิ ประกอบด้วยพละเช่นใด

ถึงเราก็ประกอบด้วยพละเช่นนั้น.

-

7 พละนี้ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ

คือ อริยสาวกนั้น

เมื่อธรรมวินัยที่ตถาคต ประกาศแล้ว

อันบัณฑิตแสดงอยู่

ย่อมได้ความรู้อรรถ

ย่อมได้ความรู้ธรรม

ย่อมได้ปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม.

อริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า

บุคคลผู้ ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ

ประกอบด้วยพละเช่นใด

ถึงเราก็ประกอบด้วยพละเช่น นั้น.

--

อริยสาวกผู้ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้แล

ย่อมเป็นผู้เพรียบพร้อมด้วย

โสดาปัตติผล

--

#ผู้เงี้ยโสตลงฟังชื่อว่าเป็นผู้มีอุปนิสัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

พึงทราบบุคคลว่า #มีอุปนิสัยหรือว่าไม่มีอุปนิสัย

ก็ด้วยประชุมสนทนากัน

ผู้ไม่เงี่ยโสตลงฟัง ชื่อว่าเป็นคนไม่มีอุปนิสัย

ผู้ที่เงี่ยโสตลงฟัง ชื่อว่าเป็นคนมีอุปนิสัย

เมื่อเขาเป็นผู้มีอุปนิสัย ย่อมจะรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง

ซึ่งธรรมอย่างหนึ่ง ย่อมจะกำหนดรู้ธรรมอย่างหนึ่ง

ย่อมจะละธรรมอย่างหนึ่งย่อมจะทำให้แจ้งซึ่งธรรมอย่างหนึ่ง

เมื่อเขารู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรมอย่างหนึ่ง

กำหนดรู้ธรรมอย่างหนึ่งละธรรมอย่างหนึ่ง

ทำให้แจ้งซึ่งธรรมอย่างหนึ่ง

ย่อมจะถูกต้องวิมุตติโดยชอบ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

#การสนทนามีข้อนี้เป็นประโยชน์

#การปรึกษาหารือมีข้อนี้เป็นประโยชน์

#อุปนิสัยมีข้อนี้เป็นประโยชน์

#การเงี่ยโสตลงฟังมีข้อนี้เป็นประโยชน์

คือ

#จิตหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น ฯ

-

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๐

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

หน้าที่ ๑๘๘/๒๙๐ ข้อที่ ๕๐๗

http://etipitaka.com/read?keywords=บุคคล+ควรพูด&language=thai&number=188&volume=20

--

#เหตุวิมุตติจากการฟังธรรม

 [๔๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกตั้งใจ ใส่ใจ

รวมเข้าไว้ด้วยใจทั้งหมด เงี่ยโสตลงฟังธรรม

สมัยนั้น นิวรณ์ ๕ ย่อมไม่มีแก่เธอ

โพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.

-

  [๔๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้

 ไม่เป็นเครื่องกั้น ไม่เป็นเครื่องห้าม

ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล

คือ วิชชาและวิมุติ

โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน? คือ

สติสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นเครื่องกั้น ไม่เป็นเครื่องห้าม

ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ

วิชชาและวิมุติ ฯลฯ

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นเครื่องกั้น ไม่เป็นเครื่องห้าม

ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล

คือวิชชาและวิมุติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ นี้แล

ไม่เป็นเครื่องกั้น ไม่เป็นเครื่องห้าม

ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล

คือ วิชชาและวิมุติ.

จบ สูตรที่ ๗

นีวรณาวรณสูตร

นิวรณ์ ๕ โพชฌงค์ ๗

-

พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑

สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

-

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น