วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2558

holland 20150607 1



#อย่าได้ถือประมาณในบุคคล มิคสาลาสูตร

(มันมีความลึกซึ่ง ละเอียด ระดับสัมมาสัมพุทธะจะรู้ได้ ) ใช้กันมั่วเลย

#แต่การประมาณในบุคคลได้ระดับหนึ่ง.

..บัณฑิตย่อมเห็นบัณฑิต..คนพาลย่อมเห็นคนพาล..

.คนพาลมีกรรมเป็นเครื่องหมาย ..บัณฑิตมีกรรมเป็นเครื่องหมาย..

..สามพระสูตร..

ประมาณนาทีที่ 55.42 https://www.youtube.com/watch?v=iKw6j3qNmaQ

#ข้อความบางตอนจากมิคสาลาสูตร

           ดูก่อนอานนท์      อนึ่ง   บุคคลบางคนในโลกนี้    

มีความโกรธและความ ถือตัว    บางครั้งบางคราว  

 โลภธรรมย่อมเกิดแก่เขา    

เขาได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง  

ได้กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต  

ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฏฐิ

-

ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย  

เมื่อตายไปแล้ว  

เขาย่อมไปทางเจริญ     ไม่ไปทางเสื่อม

เป็นผู้ถึงทางเจริญ     ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม    ฯลฯ

 .........       ข้อนั้นเพราะเหตุไร



เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคลนี้

ใครเล่านอกจากตถาคตจะพึงรู้เหตุนั้น

เพราะเหตุนั้นแหละ

เธอทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้ชอบประมาณในบุคคล  

และอย่าได้ถือประมาณในบุคคล  

เพราะผู้ถือประมาณในบุคคล

ย่อมทำลายคุณวิเศษของตน

เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้  ฯลฯ

--

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกายฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 659

--

#ธรรมอะไรเป็นเครื่องหมายบอกว่าเป็นพาลหรือบัณฑิต?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

คนพาลมีกรรมเป็นเครื่องกำหนด

บัณฑิตมีกรรมเป็นเครื่องกำหนดปัญญา

ย่อมแสดงออกในความประพฤติของคน...

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ

พึงทราบว่า เป็นคนพาล

ธรรม ๓ ประการคืออะไร

กายทุจริต ๑ วจีทุจริต ๑ มโนทุจริต ๑...

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ

พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต

ธรรม ๓ ประการ คือ อะไร

คือ กายสุจริต ๑ วจีสุจริต ๑ มโนสุจริต ๑....”



ลักขณสูตร ติก. อํ. (๔๔๑)

--

‪#‎ประมาณบุคคลได้ระดับหนึ่ง‬

‪#‎สัตบุรุษย่อมเห็นสัตบุรุษ‬ , อสัตบุรุษ

จูฬปุณณมสูตร (๑๑๐)

[๑๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกา

วิสาขามิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม

เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล

พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อม

ประทับนั่งกลางแจ้ง

ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ วันนั้น

เป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ฯ

-

[๑๓๑] ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเหลียวดู

ภิกษุสงฆ์ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ

จึงตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

-

อสัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า

ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษหรือไม่หนอ ฯ

-

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

-

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละ

ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ

นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัตบุรุษจะพึง

รู้จักสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นสัตบุรุษไหมเล่า ฯ

-

ภิ. ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

-

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละ

แม้ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า

ผู้นี้เป็นสัตบุรุษ นั่นก็ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ฯ

-

[๑๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

อสัตบุรุษย่อมเป็นผู้ประกอบด้วย

ธรรมของอสัตบุรุษ

ภักดีต่ออสัตบุรุษ

มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ

มีความรู้อย่างอสัตบุรุษ

มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษ

มีการงานอย่างอสัตบุรุษ

มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษ

ย่อมให้ทานอย่างอสัตบุรุษ ฯ

-

[๑๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ก็อสัตบุรุษเป็นผู้ประกอบด้วย

ธรรมของอสัตบุรุษอย่างไร คือ

อสัตบุรุษในโลกนี้

เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ

มีสุตะน้อย เกียจคร้าน มีสติหลงลืม

มีปัญญาทราม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของอสัตบุรุษ ฯ

-

[๑๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

อสัตบุรุษเป็นผู้ภักดีต่ออสัตบุรุษอย่างไร คือ

อสัตบุรุษในโลกนี้

มีสมณพราหมณ์ชนิดที่ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ

มีสุตะน้อย เกียจคร้าน มีสติหลงลืม

มีปัญญาทราม เป็นมิตร เป็นสหาย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ภักดีต่ออสัตบุรุษ ฯ

-

[๑๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

อสัตบุรุษเป็นผู้มีความคิดอย่างอสัตบุรุษอย่างไร คือ

อสัตบุรุษในโลกนี้

ย่อมคิดเบียดเบียนตนเองบ้าง

คิดเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง

คิดเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่าง

นี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ ฯ

-

[๑๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

อสัตบุรุษเป็นผู้มีความรู้อย่างอสัตบุรุษอย่างไร

คือ อสัตบุรุษในโลกนี้

ย่อมรู้เพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง

รู้เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง

รู้เพื่อเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้รู้อย่างอสัตบุรุษ ฯ

-

[๑๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

อสัตบุรุษเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษอย่างไร

คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มักพูดเท็จ พูดส่อเสียด

พูดคำหยาบ เจรจาเพ้อเจ้อ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษ ฯ

-

[๑๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

อสัตบุรุษเป็นผู้มีการงานอย่างอสัตบุรุษอย่างไร

คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ มักเป็นผู้ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง

มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้

มักประพฤติผิดในกาม

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีการงานอย่างอสัตบุรุษ ฯ

-

[๑๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

อสัตบุรุษเป็นผู้มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษอย่างไร คือ

อสัตบุรุษในโลกนี้

เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล

ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล

สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล

ผลวิบากของกรรมที่ทำดี

ทำชั่วแล้ว ไม่มี

โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี

มารดาไม่มี บิดาไม่มี

สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี

สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ

ซึ่งประกาศโลกนี้ โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง

เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี

-

ดูกรภิกษุทั้งหลายอย่างนี้แล

อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษ ฯ

-

[๑๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

อสัตบุรุษย่อมให้ทานอย่างอสัตบุรุษอย่างไร

คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมให้ทานโดยไม่เคารพ

ให้ทานไม่ใช่ด้วยมือของตน

ทำความไม่อ่อนน้อมให้ทาน

ให้ทานอย่างไม่เข้าใจ

เป็นผู้มีความเห็นว่าไร้ผล ให้ทาน

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

อสัตบุรุษชื่อว่าย่อมให้ทานอย่างอสัตบุรุษ ฯ

-

[๑๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

อสัตบุรุษนั่นแหละ

-

เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของอสัตบุรุษอย่างนี้

ภักดีต่ออสัตบุรุษอย่างนี้

มีความคิดอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้

มีความรู้อย่างอสัตบุรุษอย่างนี้

มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้

มีการงานอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้

มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้

ให้ทานอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้

-

แล้ว เมื่อตายไป ย่อมบังเกิดในคติของอสัตบุรุษ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คติของอสัตบุรุษคืออะไร

คือ นรก หรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน ฯ

-

[๑๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า

ผู้นี้เป็นสัตบุรุษหรือไม่หนอ ฯ

-

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า รู้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

-

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละ ข้อที่สัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า

ผู้นี้เป็นสัตบุรุษ นั่นเป็นฐานะที่มีได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า

ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษไหมเล่า ฯ

-

ภิ. รู้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

-

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละ แม้ข้อที่สัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า

ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ นั่นก็เป็นฐานะที่มีได้ ฯ

-

[๑๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สัตบุรุษย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ

ภักดีต่อสัตบุรุษ

มีความคิดอย่างสัตบุรุษ

มีความรู้อย่างสัตบุรุษ

มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ

มีการงานอย่างสัตบุรุษ

มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ

ย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษ ฯ

-

[๑๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สัตบุรุษเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษอย่างไร

คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ

มีสุตะมาก มีความเพียรปรารภแล้ว มีสติตั้งมั่น มีปัญญา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ ฯ

-

[๑๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สัตบุรุษเป็นผู้ภักดีต่อสัตบุรุษอย่างไร

คือสัตบุรุษในโลกนี้ มีสมณพราหมณ์ชนิดที่มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ

มีสุตะมาก มีความเพียรปรารภแล้ว มีสติตั้งมั่น มีปัญญา

เป็นมิตร เป็นสหาย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ภักดีต่อสัตบุรุษ ฯ

-

[๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สัตบุรุษเป็นผู้มีความคิดอย่างสัตบุรุษอย่างไร

คือ สัตบุรุษในโลกนี้

ย่อมไม่คิดเบียดเบียนตนเอง

ไม่คิดเบียดเบียนผู้อื่น

ไม่คิดเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความคิดอย่างสัตบุรุษ ฯ

-

[๑๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สัตบุรุษเป็นผู้มีความรู้อย่างสัตบุรุษอย่างไร

คือ สัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมไม่รู้เพื่อเบียดเบียนตนเอง

ไม่รู้เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น

ไม่รู้เพื่อเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้อย่างสัตบุรุษ ฯ

-

[๑๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สัตบุรุษเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษอย่างไร

คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากการพูดเท็จ

งดเว้นจากคำพูดส่อเสียด งดเว้นจากคำหยาบ

งดเว้นจากการเจรจาเพ้อเจ้อ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ ฯ

-

[๑๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สัตบุรุษเป็นผู้มีการงานอย่างสัตบุรุษอย่างไร

คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต

งดเว้นจากอทินนาทาน งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีการงานอย่างสัตบุรุษ ฯ

-

[๑๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สัตบุรุษเป็นผู้มีความเห็นอย่างสัตบุรุษอย่างไร

คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า

ทานที่ให้แล้ว มีผล

ยัญที่บูชาแล้ว มีผล

สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล

ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่ว มีอยู่

โลกนี้มี โลกหน้ามี

มารดามี บิดามี

สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี

สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ

ซึ่งประกาศโลกนี้ โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง

เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกมีอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ ฯ

-

[๑๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สัตบุรุษย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษอย่างไร

คือสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมให้ทานโดยเคารพ

ทำความอ่อนน้อมให้ทาน ให้ทานอย่างบริสุทธิ์

เป็นผู้มีความเห็นว่ามีผล จึงให้ทาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

สัตบุรุษชื่อว่าย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษ ฯ

-

[๑๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษนั่นแหละ

เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษอย่างนี้

ภักดีต่อสัตบุรุษอย่างนี้

มีความคิดอย่างสัตบุรุษอย่างนี้

มีความรู้อย่างสัตบุรุษอย่างนี้

มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษอย่างนี้

มีการงานอย่างสัตบุรุษอย่างนี้

มีความเห็นอย่างสัตบุรุษอย่างนี้

ให้ทานอย่างสัตบุรุษอย่างนี้แล้ว

-

เมื่อตายไป ย่อมบังเกิดในคติของสัตบุรุษ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คติของสัตบุรุษคืออะไร

คือ ความเป็นผู้มีตนควรบูชาในเทวดา

หรือความเป็นผู้มีตนควรบูชาในมนุษย์ ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว

ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี

พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

จบ จูฬปุณณมสูตร ที่ ๑๐

--

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๔

สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

หน้าที่ ๘๕ ข้อที่ ๑๓๐ - ๑๓๑

--

http://etipitaka.com/read/thai/14/85/?keywords=%E0%B8%88%E0%B8%B9%E0%B8%AC%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%93%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น