ภพชาติ จะสั้นลงด้วยการฝึกสติกับสมาธิ เพราะเหตุใด Buddhakos media สนทนาธรรมบ่ายวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ ศ 2562
อาสาฬหบูชา
พิธีถวายผ้ากฐิน ตามอริยประเพณี ในแบบพุทธวจน
วันที่ 20 ตุลาคม 2562 ณ วัดนาป่าพง
https://katin.watnapp.com/register/register.php
🙏🙏🙏
CR.คลิปตัดจากช่องยูทูป มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน
Buddhakos media สนทนาธรรมบ่ายวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ ศ 2562 อาสาฬหบูชา
ถ่ายทอดคำตถาคตโดย :
พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
ณ วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง 10 ปทุมธานี
https://youtu.be/-TYpKrEwCkw
ดาวน์โหลดสือ พุทธวจน ได้ฟรีจากเวปวัด
ดาวน์โหลดไฟล์เสียง MP3 จากเวปวัดฟรี
http://watnapp.com/audio
ดาวน์โหลดหนังสือ ฟรีจากเวปวัด
http://watnapp.com/book
ต้องการหนังสือ ซีดี สื่อพุทธวจน ฟรี ท่านพระอาจารย์แจกฟรีที่วัด
สั่งซื้อ (หรือร่วมสร้างหนังสือ) ได้ที่..มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน
https://www.facebook.com/buddhakosfoundationbuddhaword/?__xts__%5B0%5D=68.ARA6GlWx3nuqT5_5cLYgLt8TKmzVmctAyydhSqZiuEUuzjRpG2aABReuEx1BvSYAw1rryLJY9d4P9dYQXU07rF0GdpsXWqsGAUqwEbayajQfdIgccN9lWUi5C-AXAczqhyby-LLjAq4gdV5hjzwN0WjaQsA7fw_wwmpvE4RA05kHw0btN8DxPC00R8CxqmMdr82kqnA0jonREp0xYgT8P9VA_bE
ที่อยู่..วัดนาป่าพง Watnapahpong
ที่อยู่: 29 หมู่ 7 ต.บึงทองหลาง, ลำลูกกา, ปทุมธานี 12150
โทรศัพท์: 086 360 5768
โสดาบัน ๓ ประเภท
1.เอกพิชี มาเกิดยังภพมนุษย์เพียงครั้งเดียว
2.โกลังโกละ ยังท่องเที่ยวไปสู่ ๒ หรือ ๓ ตระกูล (ภพ)
3.สัตตักขัตตุปรม ยังท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์อย่างมากเพียง ๗ ครั้ง
เสขสูตรที่ ๔
[๕๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ ย่อมมาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน ซึ่ง
กุลบุตรผู้ปรารถนาประโยชน์พากันศึกษาอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลายสิกขา ๓ นี้ ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้น
รวมอยู่ด้วยทั้งหมด สิกขา ๓ เป็นไฉนคือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญา
สิกขา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา๓ นี้แล ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ เป็นผู้ทำ
ให้บริบูรณ์ในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพเพราะเหตุล่วงสิกขาบทนี้แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด
เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงใน
สิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เธอทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ
อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ก็หรือว่า
เมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิย
สังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระอนาคามี
ผู้อุปหัจจปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕หมดสิ้นไป ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอด
วิมุตตินั้น เธอเป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป
ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็น
พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕หมด สิ้นไป ก็หรือว่าเมื่อ
ยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระสกทาคามีเพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป และ
เพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง มาสู่โลกนี้อีกคราวเดียวเท่านั้น แล้วจักทำที่สุดแห่ง
ทุกข์ได้ ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึงยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระเอกพิชีโสดาบัน เพราะ
สังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป มาบังเกิดยังภพมนุษย์นี้ครั้งเดียวเท่านั้น แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระโกลังโกละโสดาบันเพราะสังโยชน์
๓ หมดสิ้นไป ยังท่องเที่ยวไปสู่ ๒ หรือ ๓ ตระกูล (ภพ) แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ก็หรือ
ว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระสัตตักขัตตุปรมโสดาบัน เพราะ
สังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป ยังท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์อย่างมากเพียง ๗ ครั้ง แล้วจะทำ
ที่สุดแห่งทุกข์ได้ ฯ
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
***กำลังของพระเสขะ***
๑. อนนุสสุตสูตร
[๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราบรรลุถึงบารมีอันเป็นที่สุดเพราะรู้ยิ่ง ในธรรมที่ได้รู้
สดับแล้วในกาลก่อนจึงปฏิญาณได้ กำลังของตถาคต ๕ ประการนี้ที่เป็นเหตุให้ตถาคตผู้
ประกอบแล้ว ปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร กำลัง
๕ ประการเป็นไฉน คือ
กำลัง คือ ศรัทธา ๑
กำลัง คือ หิริ ๑
กำลัง คือ โอตตัปปะ ๑
กำลัง คือ วิริยะ ๑
กำลัง คือปัญญา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลังของตถาคต ๕ ประการนี้
แล ที่เป็นเหตุให้ตถาคตผู้ประกอบแล้ว ปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท
ประกาศพรหมจักร
จบสูตรที่ ๑
๒. กูฏสูตร
[๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน
คือ
กำลัง คือ ศรัทธา ๑
กำลัง คือ หิริ ๑
กำลัง คือ โอตตัปปะ ๑
กำลัง คือ วิริยะ ๑
กำลัง คือ ปัญญา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลังของพระเสขะ๕ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บรรดากำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้กำลัง คือ ปัญญาเป็นเลิศ เป็นยอด เป็นที่รวบรวม
สิ่งที่เป็นเลิศ เป็นยอดเป็นที่รวบรวมแห่งเรือนยอด คือ ยอด ฉันใด บรรดากำลังของ
พระเสขะ ๕ประการนี้ กำลัง คือ ปัญญา ก็เป็นเลิศ เป็นยอด เป็นที่รวบรวม ฉะนั้น
เหมือนกันดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า พวกเรา
จักประกอบด้วยกำลังคือศรัทธา ... กำลัง คือ หิริ ... กำลัง คือ โอตตัปปะ ...กำลังคือวิริยะ ...
กำลัง คือ ปัญญา อันเป็นกำลังของพระเสขะ ดูกรภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ
- ไทย(ฉบับหลวง)๒๒/๙/๑๑-๑๒.
วิภังคสูตรที่ ๑.
(ความหมายของอินทรีย์ ๕)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ?
คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์.
● ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็
สัทธินทรีย์เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า #สัทธินทรีย์.
● ก็
วิริยินทรีย์เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า #วิริยินทรีย์.
● ก็
สตินทรีย์เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตัวอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งกิจที่กระทำและคำพูดที่พูดแม้นานได้ นี้เรียกว่า #สตินทรีย์.
● ก็
สมาธินทรีย์เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กระทำซึ่งนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า #สมาธินทรีย์.
● ก็
ปัญญินทรีย์เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องกำหนด ความเกิดความดับอันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า #ปัญญินทรีย์
.....ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.
- พระไตรปิฎกไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๙
หน้าที่ ๒๑๔-๒๑๕ ข้อที่ ๘๕๘-๘๖๓.
เครื่องวัดความเร็วในการบรรลุธรรมคือ อินทรีย์ ๕
ปฏิปทาของการสิ้นอาสวะ ๔ แบบ
ภิกษุ ทั้งหลาย. !
ปฏิปทา ๔ ประการ
เหล่านี้ มีอยู่ ; คือ :-
ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า ๑,
ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว ๑,
ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า ๑,
ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว ๑.
แบบปฏิบัติลำบาก ประสพผลช้า
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ
เป็นผู้มีปกติเห็น
ความไม่งามในกาย
มีสัญญาว่า ปฏิกูลในอาหาร
มี
สัญญาในโลกทั้งปวง โดยความเป็นของไม่น่ายินดี
เป็นผู้มีปกติ ตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
มรณสัญญาก็เป็นสิ่งที่เขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน.
ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระ
เสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ
สัทธาพละ หิริพละ
โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ;
แต่ อินทรีย์ ๕
ประการเหล่านี้ของเธอนั้น ปรากฏว่าอ่อน
คือ
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์.
เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ยังอ่อน
ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะ
ได้ช้า
:
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า.
แบบปฏิบัติลำบาก ประสพผลเร็ว
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ
เป็นผู้มีปกติเห็น
ความไม่งามในกาย
มีสัญญาว่า ปฏิกูลในอาหาร
มี
สัญญาในโลกทั้งปวง โดยความเป็นของไม่น่ายินดี
เป็นผู้มีปกติ ตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
มรณสัญญาก็เป็นสิ่งที่เขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน.
ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระ
เสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ
สัทธาพละ หิริพละ
โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ;
แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น
ปรากฏว่ามีประมาณยิ่ง (แก่กล้า) คือ
สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์.
เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้มีประมาณยิ่ง ภิกษุ
นั้นจึง
บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว :
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว.
แบบปฏิบัติสบาย ประสพผลช้า
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ
เพราะสงัดจาก
กามและอกุศลธรรมทั้งหลาย
จึงบรรลุปฐมฌาน
ทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌาน
(มีรายละเอียด
ดังที่แสดงแล้วในที่ทั่วไป) แล้วแลอยู่.
ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระ
เสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ
สัทธาพละ หิริพละ
โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ;
แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น
ปรากฏว่าอ่อน คือ
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์.
เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้า
เหล่านี้ ยังอ่อน ภิกษุนั้นจึง
บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อ
ความสิ้นอาสวะได้ช้า :
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า.
แบบปฏิบัติสบาย ประสพผลเร็ว
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ
เพราะสงัดจาก
กามและอกุศลธรรมทั้งหลาย
จึงบรรลุปฐมฌาน
ทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌาน ... แล้วแลอยู่.
ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระ
เสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ
สัทธาพละ หิริพละ
โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ;
แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น
ปรากฏว่ามีประมาณยิ่ง คือ
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์
สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์.
เพราะเหตุที่
อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้มีประมาณยิ่ง
ภิกษุนั้นจึง บรรลุ
อนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว :
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เหล่านี้แล ปฏิปทา ๔ ประการ.
จตุกฺก. อํ. ๒๑ / ๒๐๒ / ๑๖๓.
สังโยชน์สิบ
ภิกษุทั้งหลาย ! สังโยชน์ ๑๐ ประการเหล่านี้ มีอยู่สิบประการอย่างไรเล่า ? สิบประการ คือ :-
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ?
คือ
สักกายทิฏฐิ,
วิจิกิจฉา,
สีลัพพตปรามาส,
กามฉันทะ,
พยาบาท
เหล่านี้ คือ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ?
คือ
รูปราคะ,
อรูปราคะ,
มานะ,
อุทธัจจ,
อวิชชา
เหล่านี้คือ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.
ภิกษุ ทั้งหลาย เหล่านี้แล สังโยชน์ ๑๐ ประการ.
คู่มือโสดาบัน หน้า ๑๒๗
(ไทย) ทสก. อํ. ๒๔/๑๖/๑๓
สังโยชน์ในอริยบุคคล
[๘๖] “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมที่เยี่ยม
คือ”
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในฝ่ายวิมุตติญาณของบุคคล คือ
พระผู้มีพระภาคทรงทราบบุคคล ด้วยมนสิการโดยชอบเฉพาะพระองค์ว่า…
บุคคลนั้น เป็นโสดาบัน
มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน
เป็นผู้มีอันจะตรัสรู้ธรรมในกาลเบื้องหน้า
เพราะทำสังโยชน์ ๓ อย่างให้สิ้นไป
…
บุคคลนั้น เป็นสกทาคามี (กลับมาคราวเดียว) จะมาสู่โลกนี้ อีกครั้งเดียวเท่านั้น
แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
เพราะทำสังโยชน์ ๓ อย่างให้สิ้นไป
และเพราะ มีราคะ โทสะ โมหะ เบาบางน้อยลง
…
บุคคลนั้น เป็นโอปปาติกะอานาคามี (ไม่ต้องกลับมาอีก)
จะปรินิพพานในภพนั้น เพราะทำสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ อย่างให้สิ้นไป
…
บุคคลนั้น กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันหาอาสวะมิได้เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงแล้วแลอยู่
…
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! นี้เป็นธรรมที่เยี่ยม ในฝ่ายวิมุตติญาณของบุคคลอื่น
…”
…ฯ…
[๙๒] “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !
เมื่อข้าพระองค์ ถูกเขาถามอย่างนี้
ตอบอย่างนี้ จะนับว่าเป็นผู้กล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว
แลหรือไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่จริง แลหรือ
ชื่อว่าแก้ไปตามธรรมสมควรแก่ธรรม แลหรือ
ทั้งการโต้ตอบอันมีเหตุอย่างไรๆ มิได้มาถึงสถานะอันควรติเตียน แลหรือ ?
…”
ถูกแล้ว สารีบุตร ! เมื่อเธอถูกเขาถามอย่างนี้ แก้อย่างนี้ นับว่า เป็นผู้กล่าวตามที่เรากล่าวแล้วทีเดียว ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง ชื่อว่า กล่าวไปตามธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการโต้ตอบ อันมีเหตุอย่างไรๆ ก็มิได้มาถึงสถานะ อันควรติเตียน …ฯ…
(ไทย) ปา. ที. ๑๑/๘๓/๘๖.
ละสังโยชน์สามและกรรมที่พาไปอบาย
คือ โสดาบัน
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุไม่ละธรรม ๖ อย่างแล้ว
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา (ความเป็นโสดาบัน).
ไม่ละธรรม ๖ อย่าง เหล่าไหนเล่า ?
ไม่ละธรรม ๖ อย่าง เหล่านี้ คือ :-
ไม่ละ สักกายทิฏฐิ (ความเห็นผิดว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวตน);
ไม่ละ วิจิกิจฉา (ความลังเลในปฏิปทาทางดับทุกข์);
ไม่ละ สีลัพพตปรามาส (การถือเอาศีลและพรตผิดความมุ่งหมายที่แท้จริง);
ไม่ละ อปายคมนิยราคะ (ราคะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย);
ไม่ละ อปายคมนิยโทสะ (โทสะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย);
ไม่ละ อปายคมนิยโมหะ (โมหะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย).
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุไม่ละธรรม ๖ อย่าง เหล่านี้แล เป็นผู้ไม่ควรกระทำให้แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุละธรรม ๖ อย่างแล้ว
เป็นผู้ควรกระทำให้แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา.
ละธรรม ๖ อย่าง เหล่าไหนเล่า ?
ละธรรม ๖ อย่าง เหล่านี้ คือ :
-
ละ สักกายทิฏฐิ (ความเห็นผิดว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวตน);
ละ วิจิกิจฉา (ความลังเลในปฏิปทาทางดับทุกข์);
ละ สีลัพพตปรามาส (การถือเอาศีลและพรต ผิดความมุ่งหมายที่แท้จริง);
ละ อปายคมนิยราคะ (ราคะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย);
ละ อปายคมนิยโทสะ (โทสะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย);
ละ อปายคมนิยโมหะ (โมหะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย).
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุละธรรม ๖ อย่างเหล่านี้แล้ว
เป็นผู้ควรกระทำให้แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา ดังนี้แล.
พุทธวจน คู่มือโสดาบัน หน้า ๓๑
(ไทย) ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๙๐/๓๖๐.
ลักษณะที่เป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ! บัดนี้ เป็นการอันสมควรที่พระผู้มีพระภาคจะพึงทรงแสดงโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้า. ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้.”
อานนท ! ในกรณีนี้
ปุถุชน ผู้ไม่มีการสดับ
ไม่เห็นพระอริยเจ้า
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า
ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า,
ไม่เห็นสัปบุรุษ
ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ
ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ :
-
เขามีจิตอัน สักกายทิฏฐิกลุ้มรุม แล้ว อันสักกายทิฏฐิห่อหุ้มแล้ว อยู่ ;
เขา ไม่รู้ชัดตามเป็นจริงซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสักกายทิฏฐิอันเกิดขึ้นแล้ว,
สักกายทิฏฐินั้นก็เป็นของมีกำลัง
จนเขานำออกไปไม่ได้ จึงเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์.
(ในกรณีแห่งวิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามราคะ และ พยาบาท (หรือปฏิฆะ)
ก็มีข้อความตรัสไว้อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งสักกายทิฏฐิทุกประการ).
อานนท์ ! ส่วน
อริยสาวกผู้มีการสดับ
ได้เห็นพระอริยเจ้า
เป็นผู้ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า
ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า,
ได้เห็นสัปบุรุษ
เป็นผู้ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ
ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ :
-
เธอมีจิตอัน สักกายทิฏฐิไม่กลุ้มรุม อันสักกายทิฏฐิไม่ห่อหุ้ม อยู่.
อริยสาวกนั้นย่อม รู้ชัดตามที่เป็นจริง
ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสักกายทิฏฐิอันเกิดขึ้นแล้ว,
สักกายทิฏฐินั้น อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้
พร้อมทั้งอนุสัย.
(ในกรณีแห่ง วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามราคะ และพยาบาท (หรือปฏิฆะ)
ก็มีข้อความตรัสไว้อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งสักกายทิฏฐิทุกประการ).
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๓๙๐
(ไทย) ม. ม. ๑๓/๑๒๔/๑๕๕.
ปฏิปทาเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ก็คือ มรรค
อานนท์ ! มรรคใด ปฏิปทาใด เป็นไปเพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้า มีอยู่;
การที่บุคคลจะไม่อาศัย ซึ่งมรรคนั้น ซึ่งปฏิปทานั้น
แล้วจักรู้จักเห็นหรือว่าจักละ ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น :
นั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ;
เช่นเดียวกับการที่บุคคลไม่ถากเปือก ไม่ถากกระพี้ ของต้นไม้ใหญ่มีแก่นยืนต้นอยู่ เสียก่อน
แล้วจักไปถากเอาแก่นนั้น : นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้,
ฉันใดก็ฉันนั้น.
......
อานนท์ ! มรรค และ ปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้า นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้
เพราะสงัดจากอุปธิ
เพราะละเสียซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลาย
เพราะความระงับเฉพาะแห่งความหยาบกระด้างทางกายโดยประการทั้งปวง
ก็สงัดจากกามทั้งหลาย
สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
เข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่.
ในปฐมฌานนั้น มีธรรมคือ
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
(ที่กำลังทำหน้าที่อยู่) ;
เธอนั้น ตามเห็นธรรมซึ่งธรรมเหล่านั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร
เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ เป็นดังผู้อื่น (ให้ยืมมา)
เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน.
เธอดำรงจิตด้วยธรรม (คือขันธ์ทั้งห้า) เหล่านั้น
(อันประกอบด้วยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น) แล้วจึง
น้อมจิตไปสู่อมตธาตุ (คือนิพพาน)
ด้วยการกำหนดว่า “นั่นสงบระงับ นั่นประณีต :
นั่นคือธรรมชาติเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง
เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง
เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา
เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน” ดังนี้
เขาดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณมีปฐมฌานเป็นบาทนั้น
ย่อม ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ;
ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่ง อาสวะ ก็เป็น
โอปปาติกะ อนาคามี ผู้ปรินิพพานในภพนั้น
มีการไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์มีในเบื้องต่ำห้าประการ
และเพราะอำนาจแห่งธัมมราคะ ธัมมนันทิ (อันเกิดจากการกำหนดจิตในอมตธาตุ) นั้น ๆ นั่นเอง.
อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา
เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.
อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก :
ภิกษุ เพราะความเข้าไปสงบระงับเสียได้ซึ่งวิตกและวิจาร
จึง เข้าถึงทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน
ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่.
.... ฯลฯ ....
(ข้อความตรงที่ละเปยยาลไว้นี้ มีเนื้อความเต็มเหมือนในตอนที่กล่าวถึงปฐมฌานข้างบนนั้น
ทุกตัวอักษร แปลกแต่คำว่า ปฐมฌานเป็นทุติยฌานเท่านั้น
แม้ข้อความที่ละเปยยาลไว้ในตอนตติยฌานและจตุตถฌาน
ก็พึงทราบโดยนัยนี้ ผู้ศึกษาพึงเติมให้เต็มเอาเอง ; จนกระทั่งถึงข้อความว่า )
....
อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.
อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก :
ภิกษุ เพราะความจางคลายไปแห่งปิติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา
มีสติและสัมปชัญญะ และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกายชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า “เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นปรกติสุข” ดังนี้
เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่.
.... ฯลฯ ....
( มีเนื้อความเต็มดุจในตอนปฐมฌาน ) ....
อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.
อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะละสุข เสียได้ และ เพราะละทุกข์เสียได้
เพราะ ความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน
เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความมีสติ เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.
.... ฯลฯ....
( มีเนื้อความเต็มดุจในตอนปฐมฌาน ) ....
อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.
อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เสียได้ โดยประการทั้งปวง
เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา
เพราะการไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา
จึง เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า อากาศไม่มีที่สุด ดังนี้ แล้วแลอยู่.
ในอากาสานัญจายตนะนั้น มีธรรม คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ( ที่กำลังทำหน้าที่อยู่ ) ;
เธอนั้น ตามเห็นซึ่งธรรมเหล่านั้นโดยความเป็ นของไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก
เป็นอาพาธ เป็นดังผู้อื่น (ให้ยืมมา) เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง
เป็นของไม่ใช่ตน เธอดำรงจิตด้วยธรรม (คือขันธ์เพียงสี่) เหล่านั้น
(อันประกอบด้วยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น ) แล้วจึง
น้อมจิตไปสู่อมตธาตุ (คือนิพพาน)
ด้วยการกำหนดว่า “นั่นสงบระงับ นั่นประณีต :
นั่นคือธรรมชาติเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง
เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง
เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน” ดังนี้.
เธอดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณมีอากาสานัญจายตนะเป็นบาทนั้น
ย่อม ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ;
ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็เป็น โอปปาติกะ อนาคามี ผู้ปรินิพพานในภพนั้น
มีการไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ มีในเบื้องต่ำห้าประการ
และเพราะอำนาจแห่งธัมมราคะ ธัมมนันทิ
(อันเกิดจากการกำหนดจิตในอมตธาตุ) นั้นๆ นั่นเอง.
อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.
อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะผ่านพ้นอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว
จึงเข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด” แล้วแลอยู่.
. . . . ฯลฯ . . . .
(ข้อความตรงละเปยยาลไว้นี้ มีข้อความที่ตรัสไว้เหมือนในตอนที่ตรัสถึงเรื่องอากาสานัญจายตนะ
ข้างบนนี้ ทุกตัวอักษร แปลกแต่เปลี่ยนจากอากาสานัญจายตนะ มาเป็นวิญญาณัญจายตนะเท่านั้น
แม้ในตอนอากิญจัญญายตนะที่ละไว้ ก็พึงทราบโดยนัยนี้,
จนกระทั่งถึงข้อความว่า)
. . . .
อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.
อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะผ่านพ้นวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว
จึงเข้าถึง อากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อะไรๆไม่มี” ดังนี้ แล้วแลอยู่.
. . . . ฯลฯ . . . .
(มีเนื้อความเต็ม ดุจในตอนอากาสานัญจายตนะ)
. . . .
อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า ๑๔๑๑
(ไทย) ม. ม. ๑๓/๑๒๕-๑๒๗/๑๕๖-๑๕๘.