วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

สังขตะ อสังขตะ โดยความเป็นปฏิจจสมุปปันนธรรม ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น


เพราะมีสิ่งที่ไม่ตาย สิ่งที่ตายจึงมีทางออก
ภิกษุ ท. ! สิ่งซึ่งมิได้เกิด (อชาตํ) มิได้เป็น (อภูตํ) มิได้ถูกอะไรทำ (อกตํ) มิได้ถูกอะไรปรุง (อสงฺขตํ) นั้นมีอยู่.
ภิกษุ ท. ! ถ้าหากว่า สิ่งที่มิได้เกิด มิได้เป็น มิได้ถูกอะไรทำมิได้ถูกอะไรปรุง จักไม่มีอยู่แล้วไซร้ การรอดออกไปได้สำหรับสิ่งที่เกิด ที่เป็นที่ถูกอะไรทำ ที่ถูกอะไรปรุง ก็จักไม่ปรากฏ.
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุที่มีสิ่ง ซึ่งมิได้เกิด มิได้เป็น มิได้ถูกอะไรทำ มิได้ถูกอะไรปรุง นั่นเอง การรอดออกไปได้สำหรับสิ่งที่เกิด ที่เป็น ที่ถูกอะไรทำ ที่ถูกอะไรปรุง จึงได้ปรากฏอยู่.
(ต่อไปนี้เป็นคำอธิบายที่ตรัสไว้เป็นคาถา)
ใคร ๆ ไม่ควรเพลิดเพลิน ต่อสิ่งซึ่งเกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว ไม่ยั่งยืน ปรุงแต่งเพื่อชราและมรณะ เป็นรังโรค เป็นของผุพัง มีอาหารและเนตติ (ตัณหา) เป็นแดนเกิด.
ส่วนการออกไปเสียได้จากสิ่ง (ซึ่งเกิดแล้วเป็นต้น) นั้นเป็นธรรมชาติอันสงบ ไม่เป็นวิสัยแห่งความตรึก เป็นของยั่งยืน ไม่เกิด ไม่เกิดขึ้นพร้อม ไม่มีโศก ปราศจากธุลี เป็นที่ควรไปถึง เป็นที่ดับแห่งสิ่งที่มีความทุกข์เป็นธรรมดา เป็นความเข้าไปสงบรำงับแห่งสังขารเป็นสุข, ดังนี้.
- อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๕๗/๒๒๑
******
อชาตสูตร
[๒๒๑] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยไม่ทำแล้วไม่ปรุงแต่งแล้วมีอยู่
(ภิกฺขเว อชาตํ อภูตํ อกตํ อสงฺขตํ โน เจตํ )
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยไม่ทำแล้ว ไม่ปรุงแต่งแล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้
(โน เจตํ ภิกฺขเว อภวิสฺส อชาตํ อภูตํ อกตํ อสงฺขตํ )
การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึงปรากฏ
ในโลกนี้เลย
(นยิธ ชาตสฺส ภูตสฺส กตสฺส สงฺขตสฺส
นิสฺสรณํ ปญฺญาเยถ ฯ)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่ธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยไม่ทำแล้ว ไม่ปรุงแต่งแล้วมีอยู่
(ยสฺมา จ โข ภิกฺขเว อตฺถิ อชาตํ
อภูตํ อกตํ อสงฺขตํ )
ฉะนั้นการสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จึงปรากฏ ฯ
(ตสฺมา ชาตสฺส ภูตสฺส กตสฺส สงฺขตสฺส
นิสฺสรณํ ปญฺญาเยถาติ ฯ)
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ธรรมชาติอันเกิดแล้ว มีแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว อันปัจจัยทำแล้วปรุงแต่งแล้ว ไม่ยั่งยืน ระคนแล้วด้วยชราและมรณะ เป็นรังแห่งโรคผุผัง มีอาหารและตัณหา เป็นแดนเกิด ไม่ควรเพื่อยินดีธรรมชาตินั้น
การสลัดออกซึ่งธรรมชาตินั้น เป็นบทอันระงับ
จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ยั่งยืนไม่เกิด ไม่เกิดขึ้นพร้อม ไม่มีความโศก ปราศจากธุลี
ความดับแห่งทุกขธรรมทั้งหลาย คือ ความที่สังขารสงบระงับเป็นสุข ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๖
พระไตรปิฎก ไทย(ฉบับหลวง)เล่ม๒๕
*****
#สงฺขตาธาตุ ลักษณะ‬
ภิกษุทั้งหลาย ! สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่.
๓ อย่างอย่างไรเล่า ? ๓ อย่างคือ :-
๑. มีการเกิดปรากฏ (อุปฺปาโท ปญฺญายติ);
๒. มีการเสื่อมปรากฏ (วโย ปญฺญายติ);
๓. เมื่อตั้งอยู่ก็มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ (ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ).
ภิกษุทั้งหลาย ! สามอย่างเหล่านี้แล คือ สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม.
--
พุทธวจน ปฐมธรรม หน้า ๓๐๔
(ภาษาไทย) ติก. อํ. ๒๐/๑๔๔/๔๘๖.
*****
‪#อสงฺขตาธาตุ ลักษณะ‬
ภิกษุทั้งหลาย ! อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่.
๓ อย่างอย่างไรเล่า ? ๓ อย่างคือ :-
๑. ไม่ปรากฏมีการเกิด (น อุปฺปาโท ปญฺญายติ);
๒. ไม่ปรากฏมีการเสื่อม (น วโย ปญฺญายติ);
๓. เมื่อตั้งอยู่ ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ (น ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ).
ภิกษุทั้งหลาย ! สามอย่างเหล่านี้แล คือ อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม.
--
พุทธวจน ปฐมธรรม หน้า ๓๐๕
(ภาษาไทย) ติก. อํ. ๒๐/๑๔๔/๔๘๗.
******
อนิจจัง >> ทุกขัง >> อนัตตา >> นั่น ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม)
นั่น ไม่ใช่เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ)
นั่น ไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา)
#ปฏิปทาอันให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสักกายะ
“ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสักกายะ มีอยู่ ดังนี้ คือ บุคคลย่อมตามเห็นด้วยดี ซึ่ง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ว่า :
นั่น ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม)
นั่น ไม่ใช่เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ)
นั่น ไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) …”
--
ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๔๙๒
(ภาษาไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๓๙๐/๘๒๑
******
‪#‎ปฏิปทาอันให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสักกายะ‬
“ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสักกายะ มีอยู่ ดังนี้ คือ บุคคลย่อมตามเห็นด้วยดี ซึ่ง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ว่า :
นั่น ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม)
นั่น ไม่ใช่เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ)
นั่น ไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) …”
--
ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๔๙๒
(ภาษาไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๓๙๐/๘๒๑.
******
สัปปายสูตรที่ ๑
ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงข้อปฏิบัติอันเป็นปฏิปทาการเพิกถอนความมั่นหมายในสิ่งทั้งปวง… ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลนั้นย่อม
ไม่สำคัญมั่นหมาย ซึ่ง ขันธ์ ธาตุ อายตนะ นั้น
ไม่สำคัญมั่นหมาย ใน ขันธ์ ธาตุ อายตนะ นั้น
ไม่สำคัญมั่นหมาย โดยความเป็น ขันธ์ ธาตุ อายตนะ นั้น
ไม่สำคัญมั่นหมาย ขันธ์ ธาตุ อายตนะ นั้น ว่าของเรา
ไม่เพลิดเพลินอย่างยิ่ง ซึ่ง ขันธ์ ธาตุ อายตนะ …
(ภาษาไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๒๐/๓๔.
*******
ผู้ไม่สำคัญมั่นหมายแล้วไม่เกิดนันทิ (ความเพลิน)
ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุใด เป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ต้องทำสำเร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ของตนอันตามถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ; ภิกษุนั้น ย่อมรู้ยิ่งซึ่งดินโดยความเป็นดิน ; ครั้นรู้ยิ่ง (อภิญฺญา) ซึ่งดินโดยความเป็นดินแล้ว,
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ซึ่งดิน (ปฐวึ น มญฺญติ) ;
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ในดิน (ปฐวิยา น มญฺญติ) ;
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย โดยความเป็นดิน (ปฐวิโต น มญฺญติ) ;
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ว่าดินของเรา (ปฐวิมฺเมติ น มญฺญติ) ;
ย่อม ไม่เพลินอย่างยิ่งซึ่ง ดิน (ปฐวึ นาภินนฺทติ).
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะดินเป็นสิ่งที่เธอนั้นกำหนดรู้รอบ (ปริญฺญาต) แล้ว.
(ในกรณีแห่งธรรมอื่นอีก ๒๒ อย่าง คือ นํ้า ไฟ ลม ภูตสัตว์ เทพ ปชาบดี พรหม อาภัสสรพรหม สุภกิณหพรหม เวหัปผลพรหม อภิภู อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ รูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ได้ยินแล้ว สิ่งที่รู้สึกแล้วทางจมูก,ลิ้น,ผิวกาย สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว เอกภาวะ นานาภาวะ และสิ่งทั้งปวง, แต่ละอย่าง ๆ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้โดยระเบียบแห่งถ้อยคำอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งดิน จนกระทั่งถึงกรณีแห่ง นิพพาน ซึ่งจะได้บรรยายด้วยข้อความเต็มอีกครั้งหนึ่งดังต่อไปนี้
ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุใด เป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ต้องทำสำเร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ของตนอันตามถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ; ภิกษุนั้น ย่อมรู้ยิ่งซึ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพาน ; ครั้นรู้ยิ่ง (อภิญญา) ซึ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว.
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ซึ่งนิพพาน (นิพฺพานํ น มญฺญติ) ;
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ในนิพพาน (นิพฺพานสฺมึ น มญฺญติ) ;
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย โดยความเป็นนิพพาน (นิพฺพานโต น มญฺญติ) ;
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ว่านิพพานของเรา (นิพฺพานมฺเมติ น มญฺญติ) ;
ย่อม ไม่เพลินอย่างยิ่งซึ่ง นิพพาน (นิพฺพานํ นาภินนฺทติ).
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่เธอนั้นกำหนดรู้รอบ (ปริญฺญาต) แล้ว.
--
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๖๔๕
(ภาษาไทย) - มู. ม. ๑๒/๖/๔
********
๒. สัตตสูตร
ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าสัตว์
[๓๖๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สัตว์ สัตว์ ดังนี้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร หนอแล จึงเรียกว่า สัตว์? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ดูกรราธะ เพราะเหตุที่มี ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในรูปแล เป็นผู้ข้องในรูป เป็นผู้เกี่ยวข้องในรูปนั้น ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์
เพราะเหตุที่มีความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในเวทนา เป็นผู้ข้องในเวทนา เป็นผู้เกี่ยวข้องในเวทนานั้น ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์
เพราะเหตุที่มีความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในสัญญา เป็นผู้ข้องในสัญญา เป็นผู้เกี่ยวข้องในสัญญานั้น ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์
เพราะเหตุที่มีความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในสังขาร เป็นผู้ข้องในสังขาร เป็นผู้เกี่ยวข้องในสังขารนั้น ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์
เพราะเหตุที่มีความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในวิญญาณ เป็นผู้ข้องในวิญญาณ เป็นผู้เกี่ยวข้อง ในวิญญาณนั้น ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์
ดูกรราธะ เด็กชายหรือเด็กหญิง เล่นอยู่ตามเรือนฝุ่นทั้งหลาย เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความกระวนกระวาย ไม่ปราศจากความทะยานอยาก ในเรือนฝุ่นเหล่านั้นอยู่เพียงใด ย่อมอาลัย ย่อมอยากเล่น ย่อมหวงแหน ย่อมยึดถือเรือนฝุ่น ทั้งหลายอยู่เพียงนั้น
ดูกรราธะ แต่ว่าในกาลใด เด็กชายหรือเด็กหญิงเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความกระวน กระวาย ปราศจากความทะยานอยากในเรือนฝุ่นเหล่านั้นแล้ว ในกาลนั้นแล เด็กชายหรือ เด็กหญิงเหล่านั้น ย่อมรื้อ ย่อมยื้อแย่ง ย่อมกำจัด ย่อมทำเรือนฝุ่นเหล่านั้น ให้เล่นไม่ได้ ด้วยมือและเท้า ฉันใด
ดูกรราธะ แม้เธอทั้งหลายก็
จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำรูปให้ เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา
จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำเวทนาให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา
จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำสัญญาให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา
จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำสังขารให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา
จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำวิญญาณให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา ฉันนั้น นั่นเทียวแล
ดูกรราธะ เพราะว่าความสิ้นไปแห่งตัณหาเป็นนิพพาน
จบ สูตรที่ ๒
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๗
สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
หน้าที่ ๑๙๑ - ๑๙๒ ข้อที่ ๓๖๗
*****
*********
#วิราคธรรมเลิศกว่า #สังขตธรรมและอสังขตธรรม
[๒๗๐] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความเลื่อมใสอันเลิศ ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัตว์ไม่มีเท้าก็ดี ๒ เท้าก็ดี ๔ เท้าก็ดี
มีเท้ามากก็ดีมีรูปก็ดี ไม่มีรูปก็ดี มีสัญญาก็ดี
ไม่มีสัญญาก็ดี มีสัญญาก็มิใช่ไม่มี
สัญญาก็มิใช่ก็ดี มีประมาณเท่าใด
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่า
สัตว์ประมาณเท่านั้น
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า
ชนเหล่านั้นชื่อว่า
เลื่อมใสในบุคคลผู้เลิศ
ก็และผลอันเลิศ
ย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตธรรมก็ดี อสังขตธรรมก็ดี
มีประมาณเท่าใดวิราคะ
คือธรรมเป็นที่บรรเทาความเมา
นำเสียซึ่งความระหาย
ถอนขึ้นด้วยดีซึ่งอาลัย
ตัดซึ่งวัฏฏะ
สิ้นไปแห่งตัณหา
สิ้นกำหนัด
ดับ นิพพาน
บัณฑิตกล่าวว่าเลิศ
กว่าสังขตธรรมและอสังขตธรรมเหล่านั้น
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ชนเหล่าใดเลื่อมใสในวิราคธรรม
ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในธรรมอันเลิศ
ก็ผลอันเลิศ
ย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในธรรมอันเลิศ ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตธรรมมีประมาณเท่าใด
อริยมรรคมีองค์ ๘
คือสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าสังขตธรรมเหล่านั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ชนเหล่าใดเลื่อมใสในธรรมคืออริยมรรค
ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในธรรมอันเลิศ
ก็ผลอันเลิศ
ย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในธรรมอันเลิศ ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย หมู่ก็ดี
คณะก็ดี มีประมาณเท่าใด
หมู่สาวกของพระตถาคต
คือ
คู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘
บัณฑิตกล่าวว่าเลิศ
กว่าหมู่และคณะเหล่านั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระสงฆ์
ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในหมู่ผู้เลิศ
ก็ผลอันเลิศ
ย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในพระสงฆ์ผู้เลิศ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความเลื่อมใสอันเลิศ ๓ ประการนี้แล ฯ
-
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว
ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถา
ประพันธ์ดังนี้ว่า
เมื่อชนทั้งหลายเลื่อมใสแล้วในพระรัตนตรัยที่เลิศ
รู้แจ้งธรรมอันเลิศ
เลื่อมใสแล้วในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ
ซึ่งเป็นทักขิไณยบุคคลผู้ยอดเยี่ยม
เลื่อมใสแล้วในธรรมอันเลิศ
ซึ่งเป็นที่สิ้นกำหนัด
และเป็นที่สงบเป็นสุข
เลื่อมใสแล้วในพระสงฆ์ผู้เลิศ
ซึ่งเป็นบุญเขตอย่างยอดเยี่ยม
ถวายทานในพระรัตนตรัย ที่เลิศ
บุญที่เลิศ
ย่อมเจริญ อายุ วรรณะ
ยศ เกียรติคุณ สุขะและพละอันเลิศย่อมเจริญ
นักปราชญ์ถวายไทยธรรม
แก่พระรัตนตรัยที่เลิศ
ตั้งมั่นอยู่ในธรรมอันเลิศแล้ว
เป็นเทวดา หรือเป็นมนุษย์ก็ตาม
เป็นผู้ถึงความเป็นผู้เลิศบันเทิงอยู่ ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๕
สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
หน้าที่ ๒๓๒ ข้อที่ ๒๗๐ -----
***
*** 
สักกายทิฏฐิ สังโยชน์ ข้อแรก..ถ้าละได้..ก็ยืนจด..ประตู..นิพพานแล้ว
🙏🙏ท่านพระอาจารย์แจกแจงพระสูตรได้อัศจรรย์..มากๆ
🤩🤩อย่างนี้ นี้เอง🤩จำนนด้วยพระสูตรที่สอดรับกัน🙏🙏🙏
CR. Buddhakos media_สนทนาธรรมเช้าวันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ ศ 2562 https://www.youtube.com/watch?v=_Fu_0F50HdU&t=327s
****
#พุทธวจน ที่ #วัดนาป่าพง
แนะนำให้ ฟังคลิปเต็มๆ นะคะ เพราะ สุคตวินโย หรือ พุทธวจน หรือ ตถาคตภาษิต เป็น ปฏิจจสมุปปันธรรม อาศัยกันและกันเกิดขึ้น #ท่านพระอาจารย์ก็แสดงแจกแจงแบบปฏิจจสมุปปันนธรรมเชื่อมโยงต่อเนื่องกันไปจนสุดทางตามหลักอริยสัจ๔ สมบูรณ์บริบูรณ์แต่ละเนื้อธรรมเวลาเกือบ 2 ชั่วโมง หัวข้อเรื่องอาจจะเป็นเรื่องเดิมๆ แต่ท่านพระอาจารย์ เชื่อมโยงพระสูตรในแง่มุมที่ต่างออกไปเรื่อยๆ และซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งเรามีพระสูตรในหัวเยอะๆ เราจะเห็น ความอัศจรรย์ของ พุทธวจน หรือ สุคตวินโย หรือ ตถาคตภาษิต ความซับซ้อนอย่างเป็นระบบ ที่ไม่มีใครทำได้ มีแต่พระพุทธเจ้าเราเท่านั้นที่ทำได้ 🙇‍♂️🙇‍♂️🙇‍♂️มาเพ่งพิสูจน์กันว่า.การกำหนดสมาธิทุกครั้งในการพูดเพื่อไม่ให้ผิดพลาดแม้แต่คำเดียว .คำที่เชื่อมโยง สอดรับ ไม่ขัดแย่งกัน..ตลอด 45 ปีที่ทรงแสดงธรรมนั้นเป็นอย่างไร🤩🤩🤩 เปิดธรรมโดย ท่านพระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล ณ ศาลาไม้ วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง 10 ปทุมธานี 🙇‍♂️🙇‍♂️🙇‍♂️

 ***
 ผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นโสดาปัตติผล.เที่ยงต่อ.โสดาปัตติผล.โสดาปัตติผล.เทียงต่อนิพพาน.เพราะฉะนั้น.ผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นโสดาปัตติผล..เที่ยงต่อนิพพานนั้นเอง..เช่น. -อริยบุคคล-ต่ำสุด-มีคุณธรรมอะไรบ้าง..
 ***
ฟังคำตถาคตเนื่องๆ คล่องปาก ขึ้นใจ.แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น
***
ไปแต่ทางเจริญอย่างเดียวไม่ถึงความเสื่อมไปแต่ทางเจริญอย่างเดียวไม่ไปทางเสื่อม
 🙏🙏🙏
 ลูกโคเล็กที่เกิดในวันนั้น ลอยไปตามเสียงโคเมียที่เป็นแม่ ว่ายตัดกระแสแม่น้ำคงคาขวางไป ได้ถึงฝั่งโดยสวัสดี แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุที่เป็นมัคคสมังคีบุคคลชั้นต้น ที่เป็นธัมมานุสารี และที่เป็นสัทธานุสารี แม้พวกภิกษุนั้น ก็ชื่อว่าตัดกระแสมารขวางไป จักถึงฝั่งโดยสวัสดี ฉันนั้นเหมือนกัน
 🙏🙏🙏 ...
โสดาปัตติมรรค ๒ จำพวก

 ...ก. สัทธานุสารี
 ...ภิกษุ ท. ! ตา ... หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจเป็นสิ่งไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นปกติ มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นเป็นปกติ.ภิกษุ ท.! บุคคลใด มีความเชื่อน้อมจิตไปในธรรม ๖ อย่างนี้ ด้วยอาการอย่างนี้;บุคคลนี้เราเรียกว่าเป็น สัทธานุสารีหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม (ระบบแห่งความถูกต้อง)หยั่งลงสู่สัปปุริภูมิ (ภูมิแห่งสัตบุรุษ)ล่วงพ้นบุถุชนภูมิ ไม่อาจที่จะกระทำกรรม อันกระทำแล้วจะเข้าถึงนรก กำเนิดเดรัจฉาน หรือ เปรตวิสัย และไม่ควรที่จะทำกาละก่อนแต่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล. ...

ข. ธัมมานุสารี
 ...ภิกษุ ท. ! ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ทนต่อการเพ่งโดยประมาณอันยิ่งแห่งปัญญาของบุคคลใด ด้วยอาการอย่างนี้;บุคคลนี้เราเรียกว่า ธัมมานุสารีหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม (ระบบแห่งความถูกต้อง)หยั่งลงสู่สัปปุริสภูมิ(ภูมิแห่งสัตบุรุษ)ล่วงพ้นบุถุชนภูมิ ไม่อาจที่จะกระทำกรรม อันกระทำแล้วจะเข้าถึงนรก กำเนิดเดรัจฉาน หรือ เปรตวิสัย และไม่ควรที่จะทำกาละก่อนแต่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

 -ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๗๘/๔๖๙.
 🙏🙏🙏
 พุทธวจน อุปมาภิกษุตัดกระแสมารเหมือนโคตัดกระแสน้ำ 🙏🙏🙏 อุปมาภิกษุตัดกระแสมารเหมือนโคตัดกระแสน้ำ

 [๓๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่าโคผู้ที่เป็นพ่อฝูง เป็นผู้นำฝูง ว่ายตัดกระแสแม่น้ำคงคาขวางไป ได้ถึงฝั่งโดยสวัสดี แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุที่เป็นอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว มีประโยชน์ตนถึงแล้วโดยลำดับ มีกิเลสเครื่องประกอบไว้ในภพหมดสิ้นแล้ว พ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้ทั่วถึงโดยชอบ พวกภิกษุแม้นั้นว่ายตัดกระแสมารขวางไป ถึงฝั่งแล้วโดยสวัสดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่าโคที่มีกำลังและโคที่ฝึกไว้ ว่ายตัดกระแสแม่น้ำคงคาขวางไป ได้ถึงฝั่งโดยสวัสดี แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุที่มีสัญโญชน์ส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการทั้งหมดสิ้นไป เป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในโลกนั้น ไม่ต้องเวียนกลับมาจากโลกนั้น แม้ภิกษุพวกนั้น ก็ชื่อว่าตัดกระแสมารขวางไป จักถึงฝั่งโดยสวัสดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่าโคหนุ่มและโคสาว ว่ายตัดกระแสแม่น้ำคงคาขวางไป ได้ถึงฝั่งโดยสวัสดี แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุที่มีสัญโญชน์ ๓ หมดสิ้นไป และมีราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง เป็นสกทาคามีบุคคล มาสู่เทวโลกนี้คราวเดียว ก็จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ แม้ภิกษุพวกนั้น ก็ชื่อว่าตัดกระแสมารขวางไป จักถึงฝั่งโดยสวัสดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่าลูกโคที่มีกำลังยังน้อย ว่ายตัดกระแสแม่น้ำคงคาขวางไป ได้ถึงฝั่งโดยสวัสดี แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุที่มีสัญโญชน์ ๓ หมดสิ้นไป เป็นโสดาบัน มีความเป็นผู้ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า แม้พวกภิกษุนั้น ก็ชื่อว่าตัดกระแสมารขวางไป จักถึงฝั่งโดยสวัสดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลูกโคเล็กที่เกิดในวันนั้น ลอยไปตามเสียงโคเมียที่เป็นแม่ ว่ายตัดกระแสแม่น้ำคงคาขวางไป ได้ถึงฝั่งโดยสวัสดี แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุที่เป็นมัคคสมังคีบุคคลชั้นต้น ที่เป็นธัมมานุสารี และที่เป็นสัทธานุสารี แม้พวกภิกษุนั้น ก็ชื่อว่าตัดกระแสมารขวางไป จักถึงฝั่งโดยสวัสดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เราแล เป็นผู้ฉลาดในโลกนี้ ฉลาดในโลกหน้า ฉลาดในเตภูมิกธรรมอันเป็นแก่งแห่งมาร ฉลาดในนวโลกุตรธรรมอันไม่เป็นแก่งแห่งมาร ฉลาดในเตภูมิกธรรมอันเป็นแก่งแห่งมัจจุ ฉลาดในนวโลกุตรธรรมอันไม่เป็นแก่งแห่งมัจจุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใด จักนับถือถ้อยคำของเรานั้นว่า เป็นถ้อยคำอันตนควรฟัง ควรเชื่อ ความนับถือของชนเหล่านั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อสุขตลอดกาลนาน. พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบแล้ว จึงได้ตรัสคาถา ประพันธ์ต่อไปอีกว่า โลกนี้และโลกหน้า เราผู้รู้อยู่ ประกาศดีแล้ว เราเป็นผู้ตรัสรู้เอง ทราบชัดซึ่งสรรพโลก ทั้งที่เป็นโลกอันมารถึงได้ ทั้งที่เป็นโลกอัน มัจจุถึงไม่ได้ด้วยความรู้ยิ่ง จึงได้เปิดอริยมรรคอันเป็นประตูแห่งอมตะ เพื่อให้ถึงนิพพานอันเป็นแดนเกษม กระแสแห่งมารอันลามก เราตัดแล้ว กำจัดแล้ว ทำให้ปราศจากความเหิมแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจง เป็นผู้มากด้วยความปราโมทย์ ปรารถนาถึงธรรมอันเป็นแดนเกษมเถิด ดังนี้. จบ

จูฬโคปาลสูตร ที่ ๔.
 - พระไตรปิฎกไทย(ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๒๙๗-๒๙๙

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น