วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

พุทธวจน โกรธ เกลียด อาฆาต พยาบาท ฉันจะต้องเอาคืน อารมณ์แห่งนรก ทำอย่างไรจะละได้


โกรธ เกลียด อาฆาต พยาบาท ฉันจะต้องเอาคืน อารมณ์แห่งนรก ทำอย่างไรจะละได้ ฝึกเจริญเมตตา อานาปานสติ สัตว์โลกล้วนเป็นไปตามกรรม
*****
*****
เจริญ เมตตา เพื่อ ละพยาบาท.
----
เจริญ อานาปานสติ เพื่อ ตัดเสียซึ่งวิตก.
เจริญ อนิจจสัญญา เพื่อ ถอนอัส๎มิมานะ ; กล่าวคือ เมื่อเจริญอนิจจสัญญา อนัตตาสัญญาย่อมมั่นคง. ผู้มีอนัตตสัญญา ย่อมถึงซึ่งการถอนอัส๎มิมานะ คือ นิพพานในทิฏฐธรรม นั่นเทียว.
- นวก. อํ. ๒๓/๓๖๙/๒๐๗.
🙏🙏🙏
สัตว์โลกล้วนเป็นไปตามกรรม
----
บุคคลเป็นพราหมณ์เพราะชาติ (กำเนิด) ก็หามิได้;
จะมิใช่พราหมณ์เพราะชาติ (กำเนิด) ก็หามิได้ :
บุคคลเป็นพราหมณ์เพราะกรรม;
ไม่เป็นพราหมณ์ ก็เพราะกรรม.
บุคคลเป็นชาวนา ก็เพราะกรรม;
เป็นศิลปิน ก็เพราะกรรม,
บุคคลเป็นพ่อค้า ก็เพราะกรรม;
เป็นคนรับใช้ ก็เพราะกรรม,
บุคคลแม้เป็นโจร ก็เพราะกรรม;
เป็นนักรบ ก็เพราะกรรม,
บุคคลเป็นปุโรหิต ก็เพราะกรรม;
แม้เป็นพระราชา ก็เพราะกรรม,
บัณฑิตทั้งหลายย่อมเห็นซึ่งกรรมนั้น
ตามที่เป็นจริงอย่างนี้.
ชื่อว่าเป็นผู้เห็นซึ่งปฏิจจสมุปบาท
เป็นผู้ฉลาดในเรื่องวิบากแห่งกรรม.
โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
หมู่สัตว์ย่อมเป็นไปตามกรรม.
สัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นเครื่องรึงรัด
เหมือนลิ่มสลักขันยึดรถที่กำลังแล่นไปอยู่.
สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้มีกรรมเป็นของตน
เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
กระทำกรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม
จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น.
สุ. ขุ. ๒๕/๔๕๗/๓๘๒.
🙏🙏🙏
เจริญ อานาปานสติ ดับอกุศล
อานนท์ ! เปรียบเหมือนกองฝุ่นใหญ่ที่มีอยู่ หนทาง ๔ แพร่ง ถ้าเกวียนหรือรถมาจากทางทิศตะวันออก ก็บดขยี้กองฝุ่นนั้น ถ้าเกวียนหรือรถมาจากทางทิศตะวันตก ก็บดขยี้กองฝุ่นนั้น ถ้าเกวียนหรือรถมาจากทางทิศเหนือ ก็บดขยี้กองฝุ่นนั้น ถ้าเกวียนหรือรถมาจากทางทิศใต้ ก็บดขยี้กองฝุ่นนั้น, นี้ฉันใด.

อานนท์ ! เมื่อบุคคลมีปกติเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ ย่อมกำจัดบาปอกุศลธรรมทั้งหลายโดยแท้, เมื่อบุคคลมีปกติเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ ย่อมกำจัดบาปอกุศลธรรมทั้งหลายโดยแท้, เมื่อบุคคลมีปกติเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ ย่อมกำจัดบาปอกุศลธรรมทั้งหลายโดยแท้, เมื่อบุคคลมีปกติเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ ย่อมกำจัดบาปอกุศลธรรมทั้งหลายโดยแท้, ฉันนั้นเหมือนกัน.

มหาวาร. สํ. ๑๙/๔0๘/๑๓๕๗
🙏🙏🙏
“จิตของเราจักไม่แปรปรวน,
เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป
เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล
มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายในอยู่,
จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปยังบุคคลนั้นอยู่
และจักมีจิตสหรคตด้วยเมตตาอันเป็นจิตไพบูลย์
ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท
แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง
มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เธอพึงทำการสำเนียกอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนบุรุษถือเอาสีมา เป็น
สีครั่งบ้าง สีเหลืองบ้าง สีเขียวบ้าง สีแสดบ้าง กล่าวอยู่ว่า
“เราจักเขียนรูปต่าง ๆ ในอากาศนี้ ทำให้มีรูปปรากฏอยู่”
ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร
บุรุษนั้นจะเขียนรูปต่าง ๆ ในอากาศนี้ ทำให้มีรูปปรากฏอยู่
ได้แลหรือ ?
“ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !”
เพราะเหตุไรเล่า ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะเหตุว่าอากาศนี้ เป็นสิ่งที่มีรูป
ไม่ได้ แสดงออกซึ่งรูปไม่ได้ ในอากาศนั้น ไม่เป็นการง่ายที่ใคร ๆ จะ
เขียนรูป ทำให้มีรูปปรากฏอยู่ได้ รังแต่บุรุษนั้นจะเป็นผู้มีส่วนแห่งความ
ลำบากคับแค้นเสียเปล่า พระเจ้าข้า !”
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ในบรรดา
ทางแห่งถ้อยคำสำหรับการกล่าวหา ๕ ประการนั้น
เมื่อเขากล่าวหาเธอ ด้วยทางแห่งถ้อยคำประการใด
ประการหนึ่งอยู่
เธอพึงทำการสำเหนียกในกรณีนั้น อย่างนี้ว่า
“จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป
เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา
ไม่มีโทสะในภายในอยู่, จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปยัง
บุคคลนั้นอยู่ และจักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิต
ไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท
แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์
แล้วแลอยู่” ดังนี้.
(คือมีจิตเหมือนอากาศ อันใคร ๆ จะเขียนให้เป็นรูปปรากฏ
ไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น).
ภิกษุทั้งหลาย ! เธอพึงทำการสำเหนียก อย่างนี้แล...
มู. ม. ๑๒/๒๕๔, ๒๕๖/๒๖๗, ๒๖๙.
(นอกจากนี้ยังทรงอุปมาเปรียบกับบุรุษถืออเอาจอบและกระทอมาขุด
แผ่นดิน หวังจะไม่ให้เป็นแผ่นดินอีก, เปรียบกับบุรุษถือเอาคบเพลิงหญ้า
มาเผาแม่น้ำคงคา หวังจะให้เดือดพล่าน ซึ่งเป็นฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ )
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้า โจรผู้คอยหาช่อง พึงเลื่อย
อวัยวะน้อยใหญ่ของใครด้วยเลื่อยมีด้ามสองข้าง; ผู้ใดมี
ใจประทุษร้ายในโจรนั้น ผู้นั้นชื่อว่าไม่ทำตามคำสอนของเรา
เพราะเหตุที่มีใจประทุษร้ายต่อโจรนั้น ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนั้น
เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า “จิตของเราจักไม่แปรปรวน,
เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป, เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดู
เกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตาไม่มีโทสะในภายใน อยู่,
จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปยังบุคคลนั้น อยู่ และจักมี
จิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มี
ประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุก
ทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เธอพึงทำการสำเหนียก อย่างนี้แล.
ภิกษุทั้งหลาย ! เธอพึงกระทำ ในใจถึงโอวาท
อันเปรียบด้วยเลื่อยนี้ อยู่เนือง ๆ เถิด. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเธอ
ทำในใจถึงโอวาทนั้นอยู่ เธอจะได้เห็นทางแห่งการกล่าวหา
เล็กหรือใหญ่ที่เธออดกลั้นไม่ได้ อยู่อีกหรือ ?
“ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !”
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ พวกเธอ
ทั้งหลายจงกระทำในใจถึงโอวาทอันเปรียบด้วยเลื่อยนี้ อยู่
เป็นประจำเถิด : นั่นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและ
ความสุขแก่เธอทั้งหลาย ตลอดกาลนาน.
มู. ม. ๑๒/๒๕๘/๒๗๒ - ๓.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น