วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ทำอย่างไรจะมีปัญญาเห็นว่า กรรม ไม่ใช่เรา ศาสนาพุทธไม่มีพิธีกรรม



ทำอย่างไรจะมีปัญญาเห็นว่า กรรม ไม่ใช่เรา ศาสนาพุทธไม่มีพิธีกรรม
 Buddhakos media บรรยายธรรมนอกสถานที่ ศูนย์แลมโบกินี่ วิภาวดีรังสิต
 🙏🙏🙏 💞💞💞
CR.คลิปตัดจากช่องยูทูป มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน
วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
บรรยายธรรมนอกสถานที่ ศูนย์ แลมโบกินี่ วิภาวดีรังสิต
ถ่ายทอดคำพระศาสดาโดย :
 พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
ประธานสงฆ์วัดนาป่าพง
https://youtu.be/4JTYz0g6xYg
ดาวน์โหลดสือ พุทธวจน ได้ฟรีจากเวปวัด
ดาวน์โหลดไฟล์เสียง MP3 จากเวปวัดฟรี
http://watnapp.com/audio
ดาวน์โหลดหนังสือ ฟรีจากเวปวัด
http://watnapp.com/book
ต้องการหนังสือ ซีดี สื่อพุทธวจน ฟรี
ท่านพระอาจารย์แจกฟรีที่วัด
สั่งซื้อ (หรือร่วมสร้างหนังสือ) ได้ที่..
มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน
 https://www.facebook.com/buddhakosfoundationbuddhaword/?__xts__%5B0%5D=68.ARA6GlWx3nuqT5_5cLYgLt8TKmzVmctAyydhSqZiuEUuzjRpG2aABReuEx1BvSYAw1rryLJY9d4P9dYQXU07rF0GdpsXWqsGAUqwEbayajQfdIgccN9lWUi5C-AXAczqhyby-LLjAq4gdV5hjzwN0WjaQsA7fw_wwmpvE4RA05kHw0btN8DxPC00R8CxqmMdr82kqnA0jonREp0xYgT8P9VA_bE
ที่อยู่..วัดนาป่าพง
Watnapahpong ที่อยู่: 29 หมู่ 7 ต.บึงทองหลาง, ลำลูกกา,
ปทุมธานี 12150 โทรศัพท์: 086 360 5768
💞💞💞 ///
อนิจจัง  ทุกขัง  อนัตตา
นั่น ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม)
 นั่น ไม่ใช่เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ)
 นั่น ไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา)

 #ปฏิปทาอันให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสักกายะ
“ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสักกายะ มีอยู่ ดังนี้
คือ บุคคลย่อมตามเห็นด้วยดี ซึ่ง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ว่า :
 นั่น ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม)
 นั่น ไม่ใช่เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ)
 นั่น ไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) …”

 -- ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๔๙๒ (ภาษาไทย)
อุปริ. ม. ๑๔/๓๙๐/๘๒๑

 -- อนิจจสัญญา หมายถึง สัญญาในความไม่เที่ยง
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
นั้นไม่เที่ยง เป็นไปเพื่ออาพาธ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
 มีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา
 มีความจางคลายไปเป็นธรรมดา
 มีความดับไปเป็นธรรมดา

 เมื่อพิจารณาเห็นอยู่โดยความไม่เที่ยงแห่งสังขารทั้งหลายเหล่านี้ 
จะละความพอใจกล่าวคือ
ฉันทราคะที่มีอยู่ใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันเป็นอุปาทานได้
 พระศาสดาทรงตรัสว่า

 #เมื่อเจริญอนิจจสัญญา ทุกขสัญญาจะมั่นคง (สัญญาว่าทุกข์ในสิ่งที่ไม่เที่ยง)

#เมื่อทุกขสัญญามั่นคง อนัตตาสัญญาย่อมมั่นคง (สัญญาว่ามิใช่ตนในสิ่งที่เป็นทุกข์) 

#ผู้มีอนัตตสัญญา ย่อมถึงซึ่งการถอนอัสมิมานะ คือ นิพพาน ในทิฏฐธรรม นั่นเทียว --- 

‪#‎เบญจขันธ์เป็นอนัตตา‬ 
ภิกษุทั้งหลาย! รูป เป็นอนัตตา, บุคคล พึงเห็นรูปนั้น
ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า
“นั่น ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม),
นั่น ไม่ใช่เรา (เนโสหมสฺมิ),
นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา)”
ดังนี้;

ภิกษุทั้งหลาย! เวทนา เป็นอนัตตา,
บุคคล พึงเห็นเวทนานั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า
“นั่น ไม่ใช่ของเรา,
นั่น ไม่ใช่เรา,
นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” ดังนี้;

ภิกษุทั้งหลาย! สัญญา เป็นอนัตตา,
บุคคล พึงเห็นสัญญานั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า
“นั่น ไม่ใช่ของเรา,
นั่น ไม่ใช่เรา,
นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” ดังนี้;

ภิกษุทั้งหลาย! สังขารทั้งหลาย เป็นอนัตตา,
บุคคล พึงเห็นสังขารทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ว่า
“นั่น ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม),
นั่น ไม่ใช่เรา (เนโสหมสฺมิ),
นั่น ไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโสอตฺตา)” ดังนี้;

ภิกษุทั้งหลาย! วิญญาณ เป็นอนัตตา,
บุคคล พึงเห็นวิญญาณนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ว่า
“นั่น ไม่ใช่ของเรา,
 นั่น ไม่ใช่เรา.
นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” ดังนี้ แล.

 -- อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๒๓๙ (ภาษาไทย)
ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๒/๔๔.

 --- ‪#‎สิ่งใดมิใช่ของเรา‬ 
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะฉะนั้นในกรณีนี้,
สิ่งใดมิใช่ของพวกเธอ, พวกเธอจงละสิ่งนั้นเสีย,
สิ่งนั้นอันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุข
แก่พวกเธอเอง ตลอดกาลนาน.

 ภิกษุทั้งหลาย ! ก็สิ่งใดเล่า มิใช่ของพวกเธอ?
ภิกษุทั้งหลาย ! รูปมิใช่ของพวกเธอ, พวกเธอจงละรูปนั้นเสีย ;
รูปนั้น อันพวกเธอละได้แล้ว
จักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุข แก่พวกเธอเอง ตลอดกาลนาน.
(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
ก็ตรัส อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่ง รูป ทุกประการ)

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจะสําคัญ ความข้อนี้ว่าอย่างไร ?
 คือ ข้อที่หญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ ใด ๆ มีอยู่ ในเชตวันนี้,
เมื่อคนเขาขนเอามันไปก็ตาม เผาเสียก็ตาม หรือ
กระทําตามความต้องการ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม ;
พวกเธอ เคยเกิดความคิดอย่างนี้ บ้างหรือไม่ ว่า
“คนเขาขนเอาเราไปบ้าง เขาเผาเราบ้าง
เขาทําแก่เราตามความปรารถนาของเขาบ้าง” ดังนี้ ?
 “ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !” ข้อนั้น
เพราะเหตุไรเล่า ?
 “เพราะเหตุว่า นั่น หาได้เป็น ตัวตน
หรือของเนื่องด้วยตัวตน ของข้าพระองค์ไม่ พระเจ้าข้า !” 

ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น, คือ สิ่งใด มิใช่ของพวกเธอ,
พวกเธอ จงละสิ่งนั้นเสีย; สิ่งนั้น อันพวกเธอละได้แล้ว
จักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุข แก่พวกเธอเอง ตลอดกาลนาน แล.

 --- อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๒๔๓ (ภาษาไทย)
มู. ม. ๑๒/๑๙๕/๒๘๗

 --- ‪#‎สังขตลักษณะ‬
 ภิกษุทั้งหลาย ! สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่. ๓ อย่างอย่างไรเล่า ? ๓ อย่างคือ :- ๑. มีการเกิดปรากฏ (อุปฺปาโท ปญฺญายติ); ๒. มีการเสื่อมปรากฏ (วโย ปญฺญายติ); ๓. เมื่อตั้งอยู่ก็มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ (ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ). ภิกษุทั้งหลาย ! สามอย่างเหล่านี้แล คือ สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม.

 -- พุทธวจน ปฐมธรรม หน้า ๓๐๔ (ภาษาไทย)
ติก. อํ. ๒๐/๑๔๔/๔๘๖.

 --- ‪#‎อสังขตลักษณะ‬
 ภิกษุทั้งหลาย ! อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. ๓ อย่างอย่างไรเล่า ? ๓ อย่างคือ :- ๑. ไม่ปรากฏมีการเกิด (น อุปฺปาโท ปญฺญายติ); ๒. ไม่ปรากฏมีการเสื่อม (น วโย ปญฺญายติ); ๓. เมื่อตั้งอยู่ ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ (น ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ). ภิกษุทั้งหลาย ! สามอย่างเหล่านี้แล คือ อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม.

 -- พุทธวจน ปฐมธรรม หน้า ๓๐๕ (ภาษาไทย)
ติก. อํ. ๒๐/๑๔๔/๔๘๗.

 -- ‪#‎ปฏิปทาอันให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสักกายะ‬ 
“ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสักกายะ มีอยู่ ดังนี้
คือ บุคคลย่อมตามเห็นด้วยดี ซึ่ง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ว่า
: นั่น ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม)
 นั่น ไม่ใช่เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ)
 นั่น ไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) …”

 -- ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๔๙๒ (ภาษาไทย)
อุปริ. ม. ๑๔/๓๙๐/๘๒๑.

 -- ‪#‎ลำดับการหลุดพ้นโดยละเอียดเมื่อเห็นอนัตตา‬
 ภิกษุทั้งหลาย ! รูปเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นนั้น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา : เธอทั้งหลายพึงเห็นข้อนั้นด้วยปัญญาโดยชอบตรงตามที่เป็นจริง อย่างนี้ ด้วยประการดังนี้. (ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปทุกประการ) ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อบุคคลเห็นข้อนั้น ด้วยปัญญาโดยชอบตรงตามที่เป็นจริงอยู่อย่างนี้, ปุพพันตานุทิฏฐิ (ความตามเห็นขันธ์ส่วนอดีต) ทั้งหลาย ย่อมไม่มี; เมื่อปุพพันตานุทิฏฐิทั้งหลายไม่มี, อปรันตานุทิฏฐิทั้งหลาย (ความตามเห็นขันธ์ส่วนอนาคต) ย่อมไม่มี; เมื่ออปรันตานุทิฏฐิทั้งหลายไม่มี, ความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้า ย่อมไม่มี; เมื่อความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้าไม่มี, จิตย่อมจางคลายกำหนัด ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย ในวิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น; เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว จึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีร่าเริงด้วยดี; เพราะยินดีร่าเริงด้วยดี จึงไม่หวาดสะดุ้ง; เมื่อไม่หวาดสะดุ้ง ย่อมปรินิพพาน (ดับรอบ) เฉพาะตนนั่นเทียว เธอนั้นย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว, พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว, กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว, กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.

 --- ปฐมธรรม หน้า ๓๐๖ (ภาษาไทย)
ขนฺธ. สํ. ๑๗/๔๕/๙๓. 

-- กรรม, เหตุเกิดของกรรม, เหตุดับของกรรม, วิบากของกรรม, และวิธีดับกรรม คืออะไร
 [ คลิป + พระสูตร ]
https://faq.watnapp.com/other/87-karma/341-05-01-0021

--- การแก้กรรมตามวิธีต่างๆ ในปัจจุบันได้ผลหรือไม่ การแก้กรรมตามพุทธวจนคืออย่างไร
https://faq.watnapp.com/th/other/87-karma/193-05-01-0012

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น