วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ปาฏิหาริย์แห่งการรู้ลมหายใจ ทำให้ชีวิตดีขึ้นอย่างไร ม บูรพา วิทยาเขตสระแก้ว



สัตว์โลกล้วนเป็นไปตามกรรม จะอยู่อย่างไร ไม่ทุกข์ สุขทั้งโลกนี้ และโลกหน้า...ปาฏิหาริย์ การรู้ ลมหายใจ อานาปานสติ [กายคตาสติ]
#กรรมเก่า อุปนิสัย(ความเคยชินฝั่งดี กุศลมูล ) VS อนุสัย(ความเคยชินฝั่งไม่ดี อกุศลมูล)...พลักดันให้..เกิดพฤติกรรมในปัจจุบัน(กรรมใหม่ จุดผัสสะ องค์ประกอบของธรรม ๓ ประการ)🙏🙏🙏จิตสุดท้ายของสัตว์เมื่อเราจะตาย..จะไปตาม..อุปนิสัย(มนุษย์ เทวดา นิพพาน)หรือนิสัย(นรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต)🙏🙏🙏
ท่านพระอาจารย์แจกแจงได้ชัดแจนมากๆ คลิปนี้

ท่านพระอาจารย์เมตตาจาก รูปธรรมที่เห็นชัดๆ สู่ ธรรมะชั้นลึก เจาะลึกไปในอาการจิต[การรู้รูป นาม[เห็นเกิด - ดับ]..เหตุเกิด ภพ.กรรม.สัตว์โลกล้วนเป็นไปตามกรรมอยู่อย่างไรจะไม่ทุกข์ สุขทั้งโลกนี้ และโลกหน้า... สำหรับผู้มีสุตตะ..เห็นพระสูตรแต่ละพระสูตรที่ท่านพระอาจารย์เมตตานำมาเชื่อมโยงกัน..เราจะเข้าใจพระสูตรนั้นๆ..มากขึ้น..จะเห็นมุมของพระสูตรมากขึ้น..อิมในรสแห่งธรรมมากๆ 🙏🙏🙏
#พุทธวจน ที่ #วัดนาป่าพง
แนะนำให้ ฟังคลิปเต็มๆ นะคะ เพราะ สุคตวินโย หรือ พุทธวจน หรือ ตถาคตภาษิต เป็น ปฏิจจสมุปปันธรรม อาศัยกันและกันเกิดขึ้น #ท่านพระอาจารย์ก็แสดงแจกแจงแบบปฏิจจสมุปปันนธรรมเชื่อมโยงต่อเนื่องกันไปจนสุดทางตามหลักอริยสัจ๔ สมบูรณ์บริบูรณ์แต่ละเนื้อธรรมเวลา 2 ชั่วโมงกว่า หัวข้อเรื่องอาจจะเป็นเรื่องเดิมๆ แต่ท่านพระอาจารย์ เชื่อมโยงพระสูตรในแง่มุมที่ต่างออกไปเรื่อยๆ และซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งเรามีพระสูตรในหัวเยอะๆ เราจะเห็น ความอัศจรรย์ของ พุทธวจน หรือ สุคตวินโย หรือ ตถาคตภาษิต ความซับซ้อนอย่างเป็นระบบ ที่ไม่มีใครทำได้ มีแต่พระพุทธเจ้าเราเท่านั้นที่ทำได้ 🙇‍♂️🙇‍♂️🙇‍♂️มาเพ่งพิสูจน์กันว่า.การกำหนดสมาธิทุกครั้งในการพูดเพื่อไม่ให้ผิดพลาดแม้แต่คำเดียว .คำที่เชื่อมโยง สอดรับ ไม่ขัดแย่งกัน..ตลอด 45 ปีที่ทรงแสดงธรรมนั้นเป็นอย่างไร🤩🤩🤩
เปิดธรรมโดย ท่านพระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล 
ประธานสงฆ์วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง 10 ปทุมธานี
-----
-จิตหลุดพ้นจากอาสวะ
-เป็นวิหารธรรมเครื่องอยู่ของ ตถาคต พรหมวิหาร อริยวิหาร
- มีความเพียร 
- มี สัปปชัญญะ มีสติ
- เป็นผู้อยู่ อุเบกขา
- เป็นผู้อยู่กับปัจจุบัน ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ
- เป็นผู้สำรวมอินทรีย์ 
[ ไม่ประมาทไม่ปล่อยให้จิตฝุ้งไป ]
- เหตุสมเร็จสมปรารถนา
- กองกุศลที่แท้จริง
*****
ถ้าเราไม่อยู่กับลม [ ประมาทปล่อยจิตฝุ้งไป ]เกิดอะไรขึ้น
- จิตฝุ้งไป ในความคิดอดีตบ้าง อนาคตบ้างฯ 
- สัตว์เลยเป็นไปตามอารมณ์ สุขบ้าง ทุกข์บ้าง 
*** อารมณ์นั้งแหละ คือ กรรม
*** และ กรรม นั้นแหละ คือ ภพ
*** เรากำลังสร้าง ภพ อยู่ตลอดเวลา
*** เรากำลังสร้าง กรรม อยู่ตลอดเวลา
*****
เราต้องการมาสร้างกรรมดี
-กรรมดีที่แท้จริงคือ กองกุศลที่แท้จริงคือ สติปัฏฐาน ๔
- สติปัฏฐาน ๔ อธิบายด้วย อานาปานสติ
-ขณะเรารู้ลมหายใจ เราเจริญสติปัฏฐาน ๔
**
อยากสร้างบุญสร้างกุศล ง่ายสุดเลย อยู่กับลมหายใจ
เท่ากับเราอยู่กับปัจจุบัน เป็นผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ
ปัจจุบัน จิตเรามีกุศล วาจา กาย จะเป็นอกุศลไม่ได้
***พระองค์ถึงให้คุมใจ***
******
ธรรมชั้นลึก ละเอียด ลึกซึ่ง ปราณีต
******
*****ใจ คืออะไร ****จิต มโน วิญญาณ***
****
***ที่ตั้งของวิญญาณ** ตำแหน่งของผัสสะ การประกอบพร้องของธรรม ๓ อย่าง...
-ธาตุ ๔ เป็นภพ เป็นที่เกิดของสัตว์ เปรียบเหมือนดิน พื้นนา[กรรม] เปรียบเหมือนภพ ๓...
****
ความคิดของเรา..ตำแหน่งผัสสะ..การประกอบของธรรม ๓ ประการ..สร้างกรรม .สร้างภพ..คติ ๕..
****
ความคุมความคิด ควบคุมใจอย่าเพลิน.ละนันทิ.สำรวมอินทรีย์เข้าไว้...ชีวิตจะดีขึ้น...
คิดดี...กุศลกรรมบถ ๑๐..ภพมนุษย์ เทวดา
คิดไม่ดี...อกุศลกรรมบถ ๑๐..นรก กำเนิดเดรัจฉาน เปรต
****
สรุป..ต้องสำรวมอินทรีย์..สำรวมใจ.ฝึกสำรวมใจ.อยู่กับลมหายใจ..อานาปานสติ..
****
ทำบ่อยๆ..เกิดเป็นความเคยชิน เป็นนิสัย..
นิสัยฝังดี ..อุปนิสัย..คือ กุศลมูล(กรรมเก่า)
ฝังเลว.เรียก.อนุสัย..คือ.อกุศลมูล(กรรมเก่า)
***
เวลาจะตาย..ของคนทั่วไป.จิตสุดท้ายจะรู้สึกถึงอารมณ์ที่เคยชิน..จะไปตามความเคยชิน..อุปนิสัย หรือ..อนุสัย...
**
กุศลมูล..อกุศลมูล..เป็นตัวผลักดันให้กุศลธรรม(ตำแหน่งผัสสะ กรรมใหม่)อกุศลธรรม(กรรมใหม่)..เกิดขึ้นในปัจจุบัน
*****
#แก้ไขได้ด้วยอานาปานสติ

🙇‍♂️🙇‍♂️🙇‍♂️
****บุคคล ๓ จำพวก***
**********************
***คนหนึ่งเป็นผู้ไม่เสื่อมเป็นธรรมดา
***คนหนึ่งเป็นผู้เสื่อมเป็นธรรมดา
***คนหนึ่งเป็นผู้จะปรินิพพานเป็นธรรมดา ฯ
*****
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระผู้มีพระภาคทรงสามารถบัญญัติบุคคล ๓ จำพวกนี้
ออกเป็นส่วนละ ๓ อีกหรือพระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
สามารถ อานนท์
เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า
กุศลธรรมก็ดี
อกุศลธรรมก็ดีของบุคคลนี้มีอยู่
สมัยต่อมา
เรากำหนดรู้ใจบุคคลนั้น
ด้วยใจอย่างนี้ว่า
กุศลธรรมของบุคคลนี้หายไป
อกุศลธรรมปรากฏขึ้นเฉพาะหน้า
แต่กุศลมูลที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่
กุศลมูลนั้นก็ถึงความถอนขึ้นโดยประการทั้งปวง ด้วยประการอย่างนี้
***บุคคลนี้จักเป็นผู้เสื่อมต่อไปเป็นธรรมดา***
เปรียบเหมือนถ่านไฟที่ไฟติดทั่วแล้วลุกโพลงสว่างไสว
อันบุคคลเก็บไว้บนศิลาทึบ
เธอพึงทราบไหมว่า
ถ่านไฟเหล่านี้จักไม่ถึงความเจริญงอกงาม
ไพบูลย์ ฯ
อา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรอานนท์ อนึ่ง เปรียบเหมือนเมื่อพระอาทิตย์ตกไปในเวลาเย็น เธอพึงทราบไหมว่า แสงสว่างจักหายไป ความมืดจักปรากฏ ฯ
อา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรอานนท์ อนึ่ง เปรียบเหมือนในเวลาเสวยพระกระยาหารของราชสกูลใน
เวลาเที่ยงคืน เธอพึงทราบไหมว่า แสงสว่างหายไปหมดแล้ว ความมืดได้ปรากฏแล้ว ฯ
อา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรอานนท์ เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า
กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้มีอยู่
สมัยต่อมา
เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลนั้นด้วยใจอย่างนี้ว่า
กุศลธรรมของบุคคลนี้หายไป
อกุศลธรรมปรากฏขึ้นเฉพาะหน้า
แต่กุศลมูลที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่
กุศลมูลแม้นั้นก็ถึงความถอนขึ้นโดยประการทั้งปวง
ด้วยประการอย่างนี้
***บุคคลนี้จักเป็นผู้เสื่อมต่อไปเป็นธรรมดา***
ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรอานนท์
ตถาคตกำหนดรู้ใจบุคคลด้วยใจแม้อย่างนี้
กำหนดรู้ญาณเป็นเครื่องทราบอินทรีย์ของบุรุษด้วยใจแม้อย่างนี้
กำหนดรู้ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นต่อไปด้วยใจ แม้ด้วยประการอย่างนี้ ฯ
ดูกรอานนท์ อนึ่ง เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า
กุศลธรรมก็ดี
อกุศลธรรมก็ดี
ของบุคคลนี้มีอยู่
สมัยต่อมา
เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลนั้นด้วยใจ
อย่างนี้ว่า อกุศลธรรมของบุคคลนี้หายไป
กุศลธรรมปรากฏขึ้นเฉพาะหน้า
แต่อกุศลมูลที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่
อกุศลมูลแม้นั้นก็ถึงความเพิกถอนขึ้นโดยประการทั้งปวง
ด้วยประการอย่างนี้
***บุคคลนี้จักไม่เสื่อมต่อไปเป็นธรรมดา***
เปรียบเหมือนถ่านไฟที่ไฟติดทั่วแล้ว
ลุกโพลงสว่างไสว
อันบุคคลเก็บไว้บนกองหญ้าแห้ง
หรือบนกองไม้แห้ง
เธอพึงทราบไหมว่า ถ่านไฟเหล่านี้จักถึง
ความเจริญงอกงามไพบูลย์
อา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรอานนท์ อนึ่ง เปรียบเหมือนเมื่อพระอาทิตย์กำลังขึ้นมาในเวลารุ่งอรุณ เธอพึงทราบไหมว่า ความมืดจักหายไป แสงสว่างจักปรากฏ ฯ
อา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรอานนท์ อนึ่ง เปรียบเหมือนในเวลาเสวยพระกระยาหารของราชสกูลในเวลาเที่ยงวัน เธอพึงทราบไหมว่า ความมืดหายไปหมดแล้วแสงสว่างได้ปรากฏแล้ว ฯ
อา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรอานนท์ เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า
กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้มีอยู่
สมัยต่อมา
เรากำหนดรู้ใจบุคคลนั้นด้วยใจอย่างนี้ว่า
อกุศลธรรมของบุคคลนี้หายไป
กุศลธรรมปรากฏขึ้นเฉพาะหน้า
แต่อกุศลมูลที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่
อกุศลมูลแม้นั้นก็ถึงความเพิกถอนขึ้นโดยประการทั้งปวง
ด้วยประการอย่างนี้
***บุคคลนี้จักเป็นผู้ไม่เสื่อมต่อไปเป็นธรรมดา***
ฉันนั้นเหมือนกัน
ดูกรอานนท์ ตถาคตกำหนดรู้ใจบุคคลด้วยใจแม้อย่างนี้
กำหนดรู้ญาณเป็นเครื่องทราบอินทรีย์ของบุรุษด้วยใจแม้อย่างนี้
กำหนดรู้ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นต่อไปด้วยใจ แม้ด้วยประการฉะนี้ ฯ
ดูกรอานนท์ อนึ่ง เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า
กุศลธรรมก็ดี
อกุศลธรรมก็ดี
ของบุคคลนี้มีอยู่
สมัยต่อมา
เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลนั้นด้วยใจ อย่างนี้ว่า
อกุศลธรรมของบุคคลนี้
แม้ประมาณเท่าน้ำที่สลัดออกจากปลายขนทรายไม่มี
บุคคลนี้ประกอบด้วยธรรมที่ไม่มีโทษ
เป็นธรรมฝ่ายขาวอย่างเดียว
จักปรินิพพานในปัจจุบันทีเดียว
เปรียบเหมือนถ่านไฟที่เย็น มีไฟดับแล้ว
อันบุคคลเก็บไว้บนกองหญ้าแห้ง หรือบนกองไม้แห้ง
เธอพึงทราบไหมว่า ถ่านไฟเหล่านี้จักไม่ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ฯ
อา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรอานนท์ เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า กุศล
ธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้มีอยู่ สมัยต่อมา เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลนั้นด้วยใจอย่างนี้ว่า อกุศลธรรมของบุคคลนี้ แม้ประมาณเท่าน้ำที่สลัดออกจากปลายขนทรายไม่มี บุคคลนี้ประกอบด้วยธรรมที่ไม่มีโทษ เป็นธรรมฝ่ายขาวอย่างเดียว จักปรินิพพานในปัจจุบันทีเดียว ฉันนั้นเหมือนกัน
ดูกรอานนท์ตถาคตกำหนดรู้ใจบุคคลด้วยใจแม้อย่างนี้ กำหนดรู้ญาณเป็น
เครื่องทราบอินทรีย์ของบุรุษด้วยใจแม้อย่างนี้ กำหนดรู้ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นต่อไปด้วยใจ แม้ด้วยประการฉะนี้
ดูกรอานนท์ บุคคล ๖ จำพวกนั้น บุคคล ๓ จำพวกข้างต้น
***คนหนึ่งเป็นผู้ไม่เสื่อมเป็นธรรมดา
***คนหนึ่งเป็นผู้เสื่อมเป็นธรรมดา
***คนหนึ่งเป็นผู้เกิดในอบาย ตกนรก
ในบุคคล ๖ จำพวกนั้น
บุคคล ๓ จำพวกข้างหลัง
***คนหนึ่งเป็นผู้ไม่เสื่อมเป็นธรรมดา
***คนหนึ่งเป็นผู้เสื่อมเป็นธรรมดา
***คนหนึ่งเป็นผู้จะปรินิพพานเป็นธรรมดา ฯ
จบสูตรที่ ๘

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๓๖๒/๔๐๗ ข้อที่ ๓๓๓
*********************************
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จากโปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read…#
*********************************
ฟังพุทธวจนบรรยายได้ที่ www.watnapp.com
🙇‍♂️🙇‍♂️🙇‍♂️
CR.ช่องยูทูป วัดนาป่าพง nirdukkha ม บูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
https://www.youtube.com/watch?v=e6JquH1Uh2s&t=779s
🙏🙏🙏

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น