วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

การใช้ชีวิตของอริยบุคคลที่จะไม่เวียนวนอยู่ในสังสารวัฏอีกต่อไป 16 กรกฎาคม...



การใช้ชีวิตของอริยบุคคลที่จะไม่เวียนวนอยู่ในสังสารวัฏอีกต่อไป 

Buddhakos media สนทนาธรรมบ่ายวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ ศ 2562 อาสาฬหบูชา

🙏🙏🙏
พิธีถวายผ้ากฐิน ตามอริยประเพณี ในแบบพุทธวจน 
วันที่ 20 ตุลาคม 2562 ณ วัดนาป่าพง 
จองผ้ากฐินได้ที่...
https://katin.watnapp.com/register/register.php

🙏🙏🙏
💞💞💞
CR.คลิปตัดจากช่องยูทูป มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน
Buddhakos media สนทนาธรรมบ่ายวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ ศ 2562 อาสาฬหบูชา
ถ่ายทอดคำตถาคตโดย
: พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
ณ วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง 10 ปทุมธานี
https://youtu.be/-TYpKrEwCkw

ดาวน์โหลดสือ พุทธวจน ได้ฟรีจากเวปวัด
ดาวน์โหลดไฟล์เสียง MP3 จากเวปวัดฟรี
 http://watnapp.com/audio

ดาวน์โหลดหนังสือ ฟรีจากเวปวัด
http://watnapp.com/book

ต้องการหนังสือ ซีดี สื่อพุทธวจน ฟรี ท่านพระอาจารย์แจกฟรีที่วัด

สั่งซื้อ (หรือร่วมสร้างหนังสือ) ได้ที่..มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน https://www.facebook.com/buddhakosfoundationbuddhaword/?__xts__%5B0%5D=68.ARA6GlWx3nuqT5_5cLYgLt8TKmzVmctAyydhSqZiuEUuzjRpG2aABReuEx1BvSYAw1rryLJY9d4P9dYQXU07rF0GdpsXWqsGAUqwEbayajQfdIgccN9lWUi5C-AXAczqhyby-LLjAq4gdV5hjzwN0WjaQsA7fw_wwmpvE4RA05kHw0btN8DxPC00R8CxqmMdr82kqnA0jonREp0xYgT8P9VA_bE

ที่อยู่..วัดนาป่าพง Watnapahpong
ที่อยู่: 29 หมู่ 7 ต.บึงทองหลาง, ลำลูกกา,
ปทุมธานี 12150 โทรศัพท์: 086 360 5768 ๑๐.

อนุตตริยสูตร
 [๓๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน

คือ ทัสสนานุตตริยะ ๑ 
สวนานุตตริยะ ๑ 
ลาภานุตตริยะ ๑ 
สิกขานุตตริยะ ๑ 
ปาริจริยานุตตริยะ ๑ 
อนุสสตานุตตริยะ ๑ ฯ  

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทัสสนานุตตริยะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคน ในโลกนี้
ย่อมไปเพื่อดูช้างแก้วบ้าง ม้าแก้วบ้าง แก้วมณีบ้าง ของใหญ่ของเล็ก
หรือสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด
ผู้ปฏิบัติผิด

ดูกรภิกษุทั้งหลายทัสสนะนั้นมีอยู่
เราไม่กล่าวว่า ไม่มี
ก็แต่ว่าทัสสนะนี้นั้นแลเป็นกิจเลว
เป็นของชาวบ้าน
เป็นของปุถุชน
ไม่ประเสริฐ
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่งเพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมี

ศรัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น
มีศรัทธาไม่หวั่นไหว
มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมไปเห็นพระตถาคต หรือสาวกพระตถาคต
การเห็นนี้ยอดเยี่ยมกว่าการเห็นทั้งหลาย
ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น 
มีความรักตั้งมั่น 
มีศรัทธาไม่หวั่นไหว 
มีความเลื่อมใสยิ่ง 
ไปเห็นพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคตนี้ 
เราเรียกว่าทัสสนานุตตริยะ 
ทัสสนานุตตริยะเป็นดังนี้ ฯ 

ก็สวนานุตตริยะเป็นอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมไปเพื่อฟัง 
เสียงกลองบ้าง
เสียงพิณบ้าง
เสียงเพลงขับบ้าง
หรือเสียงสูงๆต่ำๆ
ย่อมไปเพื่อฟังธรรม
ของสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด
ผู้ปฏิบัติผิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การฟังนี้มีอยู่
เราไม่กล่าวว่า ไม่มี
ก็แต่ว่าการฟังนี้นั้นเป็นกิจเลว
เป็นของชาวบ้าน
เป็นของปุถุชน
ไม่ประเสริฐ
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ
เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใด

มีศรัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น
มีศรัทธาไม่หวั่นไหว
มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมไปฟังธรรมของพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต
การฟังนี้ยอดเยี่ยมกว่าการฟังทั้งหลาย
ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น 
มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว 
มีความเลื่อมใสยิ่ง 
ไปเพื่อฟังธรรมของพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้ 
เราเรียกว่า สวนานุตตริยะ 

ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ 

ก็ลาภานุตตริยะเป็นอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมได้ลาภ คือบุตรบ้าง ภรรยาบ้าง ทรัพย์บ้าง
หรือลาภมากบ้าง น้อยบ้าง
หรือได้ศรัทธาในสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด
ผู้ปฏิบัติผิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภนี้มีอยู่
เราไม่กล่าวว่า ไม่มี
ก็แต่ว่าลาภนี้นั้นเป็นของเลว
เป็นของชาวบ้าน
เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่งเพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลายส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว
มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต
การได้นี้ยอดเยี่ยมกว่าการได้ทั้งหลาย
ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น 
มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง 
ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้ 
เราเรียกว่า ลาภานุตตริยะ

ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตริยะลาภานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ

ก็สิกขานุตตริยะเป็นอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมศึกษา ศิลปะเกี่ยวกับช้างบ้าง ม้าบ้าง
รถบ้าง ธนูบ้าง ดาบบ้าง
หรือศึกษาศิลปชั้นสูงชั้นต่ำ
ย่อมศึกษาต่อสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด
ผู้ปฏิบัติผิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การศึกษานี้มีอยู่
เราไม่กล่าวว่า ไม่มี
ก็แต่ว่าการศึกษานั้นเป็นการศึกษาที่เลว
เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน
ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่งเพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว
มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง
ในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว
การศึกษานี้ยอดเยี่ยมกว่าการศึกษาทั้งหลาย
ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งหมั่น 
มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว 
มีความเลื่อมใสยิ่ง 
ย่อมศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง 
ในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วนี้
เราเรียกว่า สิกขานุตตริยะ

ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สิกขานุตตริอะ เป็นดังนี้ ฯ

 ก็ปาริจริยานุตตริยะเป็นอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมบำรุงกษัตริย์บ้าง พราหมณ์บ้าง
คฤหบดีบ้าง บำรุงคนชั้นสูงชั้นต่ำ
บำรุงสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
การบำรุงนี้นั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี
ก็แต่ว่าการบำรุงนี้นั้นเป็นการบำรุงที่เลว
เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน
ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่งเพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหวมีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมบำรุงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต
การบำรุงนี้ยอดเยี่ยมกว่าการบำรุงทั้งหลาย 
ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น 
มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง 
ย่อมบำรุงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้ 
เราเรียกว่า ปาริจริยานุตตริยะ

ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สิกขานุตตริยะ ปาริจริยานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ 

ก็อนุสสตานุตตริยะเป็นอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อม ระลึกถึงการได้บุตรบ้าง ภริยาบ้าง ทรัพย์บ้าง
หรือการได้มากน้อย
ระลึกถึงสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การระลึกนี้มีอยู่เราไม่กล่าวว่า ไม่มี
ก็แต่ว่าการระลึกนี้นั้นเป็นกิจเลว
เป็นของชาวบ้าน
เป็นของปุถุชน
ไม่ประเสริฐ
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น
มีศรัทธา ไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมระลึกถึงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต
การระลึกถึงนี้ยอดเยี่ยมกว่าการระลึกถึงทั้งหลาย
ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย 
เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น 
มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง 
ย่อมระลึกถึงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้ 
เราเรียกว่า อนุสสตานุตตริยะ 

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ ๖ ประการนี้แล ฯ 
ภิกษุเหล่าใดได้
ทัสสนานุตตริยะ 
สวนานุตตริยะ 
ลาภานุตตริยะ 
ยินดีในสิกขานุตตริยะ 
เข้าไปตั้งการบำรุงเจริญอนุสสติ
ที่ประกอบด้วยวิเวก เป็นแดนเกษม ให้ถึงอมตธรรม 
ผู้บันเทิงในความไม่ประมาท 
มีปัญญารักษาตน 
สำรวมในศีล 

ภิกษุเหล่านั้นแล ย่อมรู้ชัดซึ่งที่เป็นที่ดับทุกข์โดยกาลอันควร ฯ 

 จบอนุตตริยวรรคที่ ๓ พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๒๙๖ - ๒๙๙ ข้อที่ ๓๐๑

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น