วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

พุทธวจน ปฏิปทาเพิกถอนความสำคัญมั่นหมายในสิ่งทั้งปวง

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
#ปฏิปทาการเพิกถอนความมั่นหมายในสิ่งทั้งปวง
#รู้จักธาตุโดยความเป็นธาตุ
[๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
#ทรงรู้ธาตุดินโดยความ เป็นธาตุดินจริง
ครั้นทรงรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินจริงแล้ว
ย่อมไม่ทรงสำคัญธาตุดิน
ย่อมไม่ทรงสำคัญในธาตุดิน
ย่อมไม่ทรงสำคัญโดยความเป็นธาตุดิน (เมโสหมสมิ นั่นไม่ใช่เป็นเรา))
ย่อมไม่ทรงสำคัญธาตุดินว่าของเรา (เนตังมะมะ นั่นเป็นของเรา)
ย่อมไม่ทรงยินดีธาตุดิน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เรากล่าวว่า
เพราะทรงทราบว่า ความเพลิดเพลิน เป็นมูลแห่งทุกข์ เพราะภพจึงมีชาติ สัตว์ผู้เกิดแล้ว ต้องแก่ ต้องตาย เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุ ทั้งหลายเราจึงกล่าวว่า พระตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะสิ้นตัณหา สำรอกตัณหา ดับตัณหา สละตัณหา สละคืนตัณหาเสียได้ โดยประการทั้งปวง
#ย่อมทรงรู้ยิ่ง
ธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ... อาภัสสรพรหม ... สุภกิณหพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ... วิญญาณัญจายตนพรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ... รูปที่ตน เห็น ... เสียงที่ตนฟัง ... อารมณ์ที่ตนทราบ ... วิญญาณที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ... ความที่สักกายะต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ...
(สักกายะ คือ ขันธ์ 5)
#ทรงรู้ยิ่ง
พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน
ครั้นทรงรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระ นิพพานแล้ว
ย่อมไม่ทรงสำคัญพระนิพพาน
ย่อมไม่ทรงสำคัญในพระนิพพาน
ย่อมไม่ทรงสำคัญ โดยความเป็นพระนิพพาน
ย่อมไม่ทรงสำคัญพระนิพพานว่า ของเรา
ย่อมไม่ทรงยินดีพระนิพพาน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เรากล่าวว่า
เพราะทรงทราบว่า ความเพลิดเพลินเป็นมูลแห่งทุกข์ เพราะ ภพจึงมีชาติ สัตว์ผู้เกิดแล้ว ต้องแก่ ต้องตาย เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย เราจึงกล่าวว่า
พระตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะสิ้นตัณหา สำรอกตัณหา ดับตัณหา สละตัณหา สละคืนตัณหาเสียได้ โดยประการทั้งปวง.
กำหนดภูมินัยที่ ๘ ด้วยสามารถพระศาสดา. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสมูลปริยายนี้จบแล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีความพอใจชื่นชมภาษิตของ พระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล. จบ
----
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น มูลปริยายวรรค ๑. มูลปริยายสูตร ว่าด้วยมูลเหตุแห่งธรรมทั้งปวง
******
****
สัปปายสูตรที่ ๑
ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงข้อปฏิบัติอันเป็นปฏิปทาการเพิกถอนความมั่นหมายในสิ่งทั้งปวง… ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลนั้นย่อม
ไม่สำคัญมั่นหมาย ซึ่ง ขันธ์ ธาตุ อายตนะ นั้น
ไม่สำคัญมั่นหมาย ใน ขันธ์ ธาตุ อายตนะ นั้น
ไม่สำคัญมั่นหมาย โดยความเป็น ขันธ์ ธาตุ อายตนะ นั้น
ไม่สำคัญมั่นหมาย ขันธ์ ธาตุ อายตนะ นั้น ว่าของเรา
ไม่เพลิดเพลินอย่างยิ่ง ซึ่ง ขันธ์ ธาตุ อายตนะ …
(ภาษาไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๒๐/๓๔.
ผู้ไม่สำคัญมั่นหมายแล้วไม่เกิดนันทิ (ความเพลิน)
ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุใด เป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ต้องทำสำเร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ของตนอันตามถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ; ภิกษุนั้น ย่อมรู้ยิ่งซึ่งดินโดยความเป็นดิน ; ครั้นรู้ยิ่ง (อภิญฺญา) ซึ่งดินโดยความเป็นดินแล้ว,
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ซึ่งดิน (ปฐวึ น มญฺญติ) ;
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ในดิน (ปฐวิยา น มญฺญติ) ;
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย โดยความเป็นดิน (ปฐวิโต น มญฺญติ) ;
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ว่าดินของเรา (ปฐวิมฺเมติ น มญฺญติ) ;
ย่อม ไม่เพลินอย่างยิ่งซึ่ง ดิน (ปฐวึ นาภินนฺทติ).
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะดินเป็นสิ่งที่เธอนั้นกำหนดรู้รอบ (ปริญฺญาต) แล้ว.
(ในกรณีแห่งธรรมอื่นอีก ๒๒ อย่าง คือ นํ้า ไฟ ลม ภูตสัตว์ เทพ ปชาบดี พรหม อาภัสสรพรหม สุภกิณหพรหม เวหัปผลพรหม อภิภู อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ รูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ได้ยินแล้ว สิ่งที่รู้สึกแล้วทางจมูก,ลิ้น,ผิวกาย สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว เอกภาวะ นานาภาวะ และสิ่งทั้งปวง, แต่ละอย่าง ๆ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้โดยระเบียบแห่งถ้อยคำอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งดิน จนกระทั่งถึงกรณีแห่ง นิพพาน ซึ่งจะได้บรรยายด้วยข้อความเต็มอีกครั้งหนึ่งดังต่อไปนี้ อีโมติคอน smile
ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุใด เป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ต้องทำสำเร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ของตนอันตามถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ; ภิกษุนั้น ย่อมรู้ยิ่งซึ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพาน ; ครั้นรู้ยิ่ง (อภิญญา) ซึ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว.
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ซึ่งนิพพาน (นิพฺพานํ น มญฺญติ) ;
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ในนิพพาน (นิพฺพานสฺมึ น มญฺญติ) ;
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย โดยความเป็นนิพพาน (นิพฺพานโต น มญฺญติ) ;
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ว่านิพพานของเรา (นิพฺพานมฺเมติ น มญฺญติ) ;
ย่อม ไม่เพลินอย่างยิ่งซึ่ง นิพพาน (นิพฺพานํ นาภินนฺทติ).
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่เธอนั้นกำหนดรู้รอบ (ปริญฺญาต) แล้ว.
--
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๖๔๕
(ภาษาไทย) - มู. ม. ๑๒/๖/๔
******

อนิจจัง >> ทุกขัง >> อนัตตา >> นั่น ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม)
นั่น ไม่ใช่เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ)
นั่น ไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) 
#ปฏิปทาอันให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสักกายะ
“ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสักกายะ มีอยู่ ดังนี้ คือ บุคคลย่อมตามเห็นด้วยดี ซึ่ง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ว่า :
นั่น ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม)
นั่น ไม่ใช่เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ)
นั่น ไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) …”
--
ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๔๙๒
(ภาษาไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๓๙๐/๘๒๑
🙏🙏🙏

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น