วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ทิฏฐิ 62 ๑ พรหมชาลสูตร Buddhakos media บรรยายธรรมนอกสถานที่ ศูนย์แลมโบก...


ทิฏฐิ 62 [๑. พรหมชาลสูตร] Buddhakos media บรรยายธรรมนอกสถานที่ ศูนย์แลมโบกินี่ วิภาวดีรังสิต
🙏🙏🙏
เนื้อธรรม เนื้อแต่ละพระสูตรที่ท่านพระอาจารย์นำมาแสดงหาดาวน์โหลดได้จากหนังสือ พุทธวจน หมวดธรรม ในเวปวัดนะคะ ตาม link ด้านล่างคะ
🙏🙏🙏
CR.คลิปตัดจากช่องยูทูป มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน
วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
บรรยายธรรมนอกสถานที่ ศูนย์ แลมโบกินี่ วิภาวดีรังสิต
ถ่ายทอดคำพระศาสดาโดย : พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล ประธานสงฆ์วัดนาป่าพง
https://youtu.be/4JTYz0g6xYg
ดาวน์โหลดสือ พุทธวจน ได้ฟรีจากเวปวัด
ดาวน์โหลดไฟล์เสียง MP3 จากเวปวัดฟรี
http://watnapp.com/audio
ดาวน์โหลดหนังสือ ฟรีจากเวปวัด
http://watnapp.com/book
ต้องการหนังสือ ซีดี สื่อพุทธวจน ฟรี ท่านพระอาจารย์แจกฟรีที่วัด
สั่งซื้อ (หรือร่วมสร้างหนังสือ) ได้ที่..มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน
https://www.facebook.com/buddhakosfoundationbuddhaword/?__xts__%5B0%5D=68.ARA6GlWx3nuqT5_5cLYgLt8TKmzVmctAyydhSqZiuEUuzjRpG2aABReuEx1BvSYAw1rryLJY9d4P9dYQXU07rF0GdpsXWqsGAUqwEbayajQfdIgccN9lWUi5C-AXAczqhyby-LLjAq4gdV5hjzwN0WjaQsA7fw_wwmpvE4RA05kHw0btN8DxPC00R8CxqmMdr82kqnA0jonREp0xYgT8P9VA_bE
ที่อยู่..วัดนาป่าพง Watnapahpong
ที่อยู่: 29 หมู่ 7 ต.บึงทองหลาง, ลำลูกกา, ปทุมธานี 12150
โทรศัพท์: 086 360 5768
...มนุษย์ คิดไม่เกิน ๖๒ แบบ (ทิฏฐิ ๖๒)
...ภิกษุ ทั้งหลาย ! มีธรรมที่ลึก ที่สัตว์อื่นเห็นได้ยาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม เป็นธรรมเงียบสงบ ประณีต ไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงง่ายแห่งความตรึก เป็นของละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิตวิสัย, ซึ่งเราตถาคตได้ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง,เป็นคุณวุฒิเครื่องนำไปสรรเสริญ ของผู้ที่เมื่อจะพูด สรรเสริญเราตถาคตให้ถูกต้องตรงตามที่เป็นจริง. ภิกษุ ทั้งหลาย ! ธรรมเหล่านั้นเป็นอย่างไรเล่า?ภิกษุ ทั้งหลาย ! ฯลฯ สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ ฯลฯ (ต่างก็บัญญัติ):
๑. เพราะระลึกชาติของตนเองได้หลายแสนชาติ จึงบัญญัติตนและโลกว่า เที่ยงทุกอย่าง.
๒. เพราะ ,, ,, ๑๐ สังวัฏฏกัปป์-วิวัฏฏกัปป์ (เป็นอย่างสูง) ,, ,, เที่ยงทุกอย่าง.
๓. เพราะ ,, ,, ๔๐ ,, ,, ( ,, ) ,, ,, เที่ยงทุกอย่าง.
๔. เพราะอาศัยความตริตรึกเสมอ แล้วคะเนเอา ,, ,, เที่ยงทุกอย่าง
(๔ อย่างข้างบนนี้ เป็น พวกสัสสตวาม - เที่ยงทุกอย่าง)
๖. เพราะ “ “ เคยเป็นเทพพวกขิฑฑาปโทสิกา “ “ เที่ยงแต่บางอย่าง.
๗. เพราะ “ “ มโนปโทสิกา “ “ เที่ยงแต่บางอย่าง.
๘. เพราะอาศัยความตริตรึกอยู่เสมอ แล้วคะเนเอาเอง “ “ เที่ยงแต่บางอย่าง.
(๔ อย่างข้างบนนี้ เป็น พวกเอกัจจสัสสตวาท - เที่ยงแต่บางอย่าง)
๙. เพราะอาศัยความเพียรบางอย่างบรรลุเจโตสมาธิ ทำความมั่นใจแล้วบัญญัติตนและโลกว่ามีที่สุด.
๑๐. เพราะ “ “ “ ไม่มีที่สุด.
๑๑. เพราะ “ “ “ มีที่สุดบางด้าน, ไม่มีบางด้าน.
๑๒. เพราะอาศัยความหลงใหลของตนเองแล้วบัญญัติส่ายวาจาว่า โลกมีที่สุดก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่เชิง.
(๔ อย่างข้างบนนี้ เป็น พวกอันตานันติกวาท - เกี่ยวด้วยมีที่สุดและไม่มีที่สุด)
๑๓. เพราะกลัวมุสาวาท จึงส่ายวาจา พูดคำที่ไม่ตายตัว แล้วบัญญัติว่า ข้าพเจ้าเห็นอย่างนั้นก็ไม่ใช่,
--อย่างนี้ก็ไม่ใช่ ฯลฯ (เกี่ยวด้วยกุศล, อกุศล).
๑๔. เพราะกลัวอุปาทาน “ “ ฯลฯ “ “ “
๑๕. เพราะกลัวการถูกซักไซ้ “ “ ฯลฯ “ “ “
๑๖. เพราะหลงใหลฟั่นเฟือนในใจเอง จึงส่ายวาจาไม่ให้ตายตัว (เกี่ยวกับโลกิยทิฏฐิ เช่น
--โลกหน้ามี ฯลฯ ผลกรรมมี เป็นต้น).
(๔ อย่างข้างบนนี้ เป็น พวกอมราวิกเขปิกวาท - พูดไม่ให้ตายตัว)
๑๗. เพราะระลึกได้เพียงชาติที่ตนเคยเป็นอสัญญีสัตว์ แล้วต้องจุติเพราะสัญญาเกิดขึ้น--
--จึงบัญญัติตนและโลกว่า เกิดเองลอย ๆ.
๑๘. เพราะอาศัยการตริตรึกอยู่เสมอ แล้วคาดคะเนเอา “ “ เกิดเองลอย ๆ.
(๒ อย่างข้างบนนี้ เป็น พวกอธิจจสมุปปันนิกวาท - เกิดเองลอย ๆ )
(ทั้ง ๕ หมวด มีรวมทั้งหมด ๑๘ ทิฏฐิ ข้างบนนี้ จัดเป็นพวกปรารภขันธ์ในอดีตกาล)
๑๙. บัญญัติอัตตาว่า อัตตาที่มีรูป, เป็นอัตตตาที่ไม่มีโรค ตายแล้ว เป็นสัตว์มีสัญญา.
๒๐. “ “ ที่ไม่มีรูป “ “ “ มีสัญญา.
๒๑. “ “ ที่มีรูปและไม่มีรูป “ “ “ มีสัญญา.
๒๒. “ “ ที่มีรูปก็มิใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่ “ “ “ มีสัญญา.
๒๓. “ “ ที่มีที่สุด “ “ “ มีสัญญา.
๒๔. “ “ ที่ไม่มีที่สุด “ “ “ มีสัญญา.
๒๕. “ “ ที่มีที่สุดและที่ไม่มีที่สุด “ “ “ มีสัญญา.
๒๖. “ “ ที่มีที่สุดก็มิใช่ไม่มีก็มิใช่ “ “ “ มีสัญญา
๒๗. บัญญัติอัตตาว่า อัตตามีสัญญาเดียวกัน, เป็นอัตตาไม่มีโรค หลังจากตายแล้ว เป็นสัตว์มีสัญญา.
๒๘. “ “ ที่มีสัญญาต่างกัน “ “ “ มีสัญญา.
๒๙. “ “ ที่มีสัญญาน้อย “ “ “ มีสัญญา.
๓๐. “ “ ที่มีสัญญามากไม่มีประมาณ “ “ “ มีสัญญา.
๓๑. “ “ ที่มีสุขอย่างเดียว “ “ “ มีสัญญา.
๓๒. “ “ ที่มีทุกข์อย่างเดียว “ “ “ มีสัญญา.
๓๓. . “ “ ที่ทั้งมีสุขและทุกข์ “ “ “ มีสัญญา.
๓๔. “ “ ที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข “ “ “ มีสัญญา.
(๑๖ อย่างข้างบนนี้ เป็นพวกสัญญีวาท - มีสัญญา)
๓๕. บัญญัติอัตตาว่า อัตตาที่ มีรูป, เป็นอัตตาไม่มีโรค ตายแล้ว เป็นสัตว์ ไม่มีสัญญา.
๓๖. “ “ ไม่มีรูป “ “ “ ไม่มีสัญญา.
๓๗. “ “ มีรูปและไม่มีรูป “ “ “ ไม่มีสัญญา.
๓๘. “ “ มีรูปก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ “ “ “ ไม่มีสัญญา.
๓๙. “ “ มีที่สุด “ “ “ ไม่มีสัญญา.
๔๐. “ “ ไม่มีที่สุด. “ “ “ ไม่มีสัญญา.
๔๑. “ “ มีที่สุดและไม่มีที่สุด “ “ “ ไม่มีสัญญา.
๔๒. “ “ มีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ “ “ “ ไม่มีสัญญา.
(๘ อย่างข้างบนนี้ เป็น พวกอสัญญีวาท - ไม่มีสัญญา)
๔๓. ฯลฯ อัตตาที่มีรูป เป็นอัตตาไม่มีโรค ตายแล้ว เป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่.
๔๔. “ ไม่มีรูป “ “ มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่.
๔๕. “ มีรูปและไม่มีรูป “ “ มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่.
๔๖. “ มีรูปก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ “ “ มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่.
๔๗. “ มีที่สุด “ “ มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่.
๔๘. “ ไม่มีที่สุด “ “ มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่.
๔๙. “ มีที่สุดและไม่มีที่สุด “ “ มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่.
๕๐. “ มีที่สุดก็มิใช่ไม่มีก็มิใช่ ” “ มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่.
(๘ อย่างข้างบนนี้ เป็น พวกเนวสัญญีนาสัญญีวาท - มีสัญญาก็ไม่เชิง)
๕๑. บัญญัติว่า กายที่เกิดด้วยมหาภูตรูป ตายแล้วขาดสูญ.
๕๒. “ กายทิพย์ พวกกามาวจร ตายแล้วขาดสูญ.
๕๓. “ “ พวกสำเร็จด้วยใจคิด ตายแล้วขาดสูญ.
๕๔. “ สัตว์พวก อากาสานัญจายตนะ ตายแล้วขาดสูญ.
๕๕. “ “ วิญญาณัญจายตนะ ตายแล้วขาดสูญ.
๕๖. บัญญัติว่า สัตว์พวก อากิญจัญญายตนะ ตายแล้วขาดสูญ.
๕๗. “ “ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ตายแล้วขาดสูญ.
(๗ อย่างข้างบนนี้ เป็น พวกอุจเฉทวาท - ตายแล้วสูญ)
๕๘. บัญญัติว่า ความอิ่มเอิบด้วยกามคุณห้า เป็น นิพพานในปัจจุบัน.ชาติ
๕๙. “ ความสุขของ ปฐมฌาน เป็น นิพพานในปัจจุบันชาติ.
๖๐ “ “ ทุติยฌาน เป็น นิพพานในปัจจุบันชาติ.
๖๑. “ “ ตติยฌาน เป็น นิพพานในปัจจุบันชาติ.
๖๒. “ “ จตุตถฌาน เป็น นิพพานในปัจจุบันชาติ.
(๕ อย่างข้างบนนี้ เป็น พวกทิฏฐธัมมนิพพานวาท - นิพพานในปัจจุบัน)[ทั้ง ๕ หมวดมีรวมทั้งหมดอีก ๔๔ ทิฏฐิข้างบนนี้ เป็นพวกปรารถขันธ์ในอนาคตกาล]
ภิกษุ ทั้งหลาย ! สมณะหรือพราหมณ์ก็ดี เหล่าใด กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี ส่วนอนาคตก็ดี หรือทั้งอดีตอนาคตก็ดี มีความเห็นดิ่งเป็นส่วนหนึ่งแล้วกล่าวคำแสดงทิฏฐิต่าง ๆ ประการ, ทั้งหมดทุกเหล่า ย่อมกล่าวเพราะอาศัยวัตถุใด วัตถุหนึ่ง ในวัตถุ ๖๒ อย่างนี้ ไม่นอกจากนี้ไปได้เลย--- เขาเหล่านั้น ถูกวัตถุ ๖๒ อย่างนี้ครอบทับทำให้เป็นเหมือ นปลาติดอยู่ในอวน ถูกแวดล้อมให้อยู่ได้เฉพาะ ภายในวงนี้ เมื่อผุด ก็ผุดได้ในวงนี้ เช่นเดียวกับนายประมง หรือลูกมือนายประมง ผู้ฉลาด ทอดครอบห้วงน้ำน้อย ทั้งหมดด้วยอวนโดยตั้งใจว่า สัตว์ตัวใหญ่ทุก ๆ ตัว ในห้วงน้ำนี้ เราจักทำให้อยู่ภายในอวนทุกตัว ฯลฯ ฉะนั้น.ภิกษุ ทั้งหลาย ! เราตถาคตรู้ชัดวัตถุ ๖๒ อย่างนี้ชัดเจนว่า มันเป็นฐานที่ตั้งของทิฏฐิ, ซึ่งเมื่อใครจับไว้ ถือไว้อย่างนั้น ๆ แล้ว, ย่อมมีคติ มีภพเบื้องหน้าเป็นอย่างนั้น ๆ ตถาคตรู้เห็นเหตุนั้นชัดเจนยิ่งกว่าชัด, เพราะรู้ชัดจึงไม่ยึดมั่น, เพราะไม่ยึดมั่นย่อมสงบเยือกเย็นในภายในเฉพาะตน, เพราะเป็นผู้รู้แจ้งความเกิด ความตั้งอยู่ไม่ได้ ความเป็นสิ่งยั่วใจ ความต่ำทราม และอุบายเครื่องหลุดพ้นไปได้แห่งเวทนาทั้งหลาย ตถาคตจึงเป็นผู้หลุดพ้น ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน.
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์
-บาลี สี.ที. ๙/๑๖/๒๖. ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่สวนอัมพลัฏฐิกา.(ทิฏฐิวัตถุ คือต้นเหตุเดิมอันจะให้เกิดทิฏฐิต่าง ๆ ขึ้น มีอยู่ ๖๒ วัตถุ. แต่เรา เรียกกันว่าทิฏฐิ ๖๒ เฉย ๆ. ในที่นี้ย่อเอามาแต่ใจความ จากพรหมชาลสูตร สี.ที.)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น