ความลังเล สงสัยแบบใดเป็นสังโยชน์ที่โสดาบันจะต้องละได้
Buddhakos media สนทนาธรรมบ่ายวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ ศ 2562 อาสาฬหบูชา🙏🙏🙏
พิธีถวายผ้ากฐิน ตามอริยประเพณี ในแบบพุทธวจน
วันที่ 20 ตุลาคม 2562 ณ วัดนาป่าพง
https://katin.watnapp.com/register/register.php🙏🙏🙏
CR.คลิปตัดจากช่องยูทูป มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน
Buddhakos media สนทนาธรรมบ่ายวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ ศ 2562 อาสาฬหบูชา
ถ่ายทอดคำตถาคตโดย
: พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
ณ วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง 10 ปทุมธานี
https://youtu.be/-TYpKrEwCkw
ดาวน์โหลดสือ พุทธวจน ได้ฟรีจากเวปวัด
ดาวน์โหลดไฟล์เสียง MP3 จากเวปวัดฟรี
http://watnapp.com/audio
ดาวน์โหลดหนังสือ ฟรีจากเวปวัด
http://watnapp.com/book
ต้องการหนังสือ ซีดี สื่อพุทธวจน ฟรี ท่านพระอาจารย์แจกฟรีที่วัด
สั่งซื้อ (หรือร่วมสร้างหนังสือ) ได้ที่..มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน https://www.facebook.com/buddhakosfoundationbuddhaword/?__xts__%5B0%5D=68.ARA6GlWx3nuqT5_5cLYgLt8TKmzVmctAyydhSqZiuEUuzjRpG2aABReuEx1BvSYAw1rryLJY9d4P9dYQXU07rF0GdpsXWqsGAUqwEbayajQfdIgccN9lWUi5C-AXAczqhyby-LLjAq4gdV5hjzwN0WjaQsA7fw_wwmpvE4RA05kHw0btN8DxPC00R8CxqmMdr82kqnA0jonREp0xYgT8P9VA_bE
ที่อยู่..วัดนาป่าพง Watnapahpong
ที่อยู่: 29 หมู่ 7 ต.บึงทองหลาง, ลำลูกกา,
ปทุมธานี 12150 โทรศัพท์: 086 360 5768
สังโยชน์สิบ
ภิกษุทั้งหลาย ! สังโยชน์ ๑๐ ประการเหล่านี้
มีอยู่สิบประการอย่างไรเล่า ? สิบประการ คือ :-
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ?
คือ
สักกายทิฏฐิ,
วิจิกิจฉา,
สีลัพพตปรามาส,
กามฉันทะ,
พยาบาท
เหล่านี้ คือ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ
รูปราคะ,
อรูปราคะ,
มานะ,
อุทธัจจ,
อวิชชา
เหล่านี้คือ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.
ภิกษุ ทั้งหลาย เหล่านี้แล สังโยชน์ ๑๐ ประการ.
คู่มือโสดาบัน หน้า ๑๒๗ (ไทย) ทสก. อํ. ๒๔/๑๖/๑๓ :
สังโยชน์ในอริยบุคคล
[๘๖] “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ยังมีอีกข้อหนึ่ง
ซึ่งเป็นธรรมที่เยี่ยม คือ”
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในฝ่ายวิมุตติญาณของบุคคล
คือ พระผู้มีพระภาคทรงทราบบุคคล
ด้วยมนสิการโดยชอบเฉพาะพระองค์ว่า…
บุคคลนั้น เป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน เป็นผู้มีอันจะตรัสรู้ธรรมในกาลเบื้องหน้า
เพราะทำสังโยชน์ ๓ อย่างให้สิ้นไป
…
บุคคลนั้น เป็นสกทาคามี (กลับมาคราวเดียว)
จะมาสู่โลกนี้ อีกครั้งเดียวเท่านั้น
แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
เพราะทำสังโยชน์ ๓ อย่างให้สิ้นไป
และเพราะ มีราคะ โทสะ โมหะ เบาบางน้อยลง
…
บุคคลนั้น เป็นโอปปาติกะอานาคามี (ไม่ต้องกลับมาอีก)
จะปรินิพพานในภพนั้น เพราะทำสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ อย่างให้สิ้นไป
…
บุคคลนั้น กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันหาอาสวะมิได้เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงแล้วแลอยู่
…
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! นี้เป็นธรรมที่เยี่ยม ในฝ่ายวิมุตติญาณของบุคคลอื่น …”
…ฯ…
[๙๒] “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อข้าพระองค์
ถูกเขาถามอย่างนี้ ตอบอย่างนี้
จะนับว่าเป็นผู้กล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว แลหรือ
ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่จริง แลหรือ
ชื่อว่าแก้ไปตามธรรมสมควรแก่ธรรม แลหรือ
ทั้งการโต้ตอบอันมีเหตุอย่างไรๆ มิได้มาถึงสถานะอันควรติเตียน แลหรือ ? …”
ถูกแล้ว สารีบุตร !
เมื่อเธอถูกเขาถามอย่างนี้ แก้อย่างนี้ นับว่า
เป็นผู้กล่าวตามที่เรากล่าวแล้วทีเดียว
ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง
ชื่อว่า กล่าวไปตามธรรมสมควรแก่ธรรม
ทั้งการโต้ตอบ อันมีเหตุอย่างไรๆ
ก็มิได้มาถึงสถานะ อันควรติเตียน
…ฯ…
(ไทย) ปา. ที. ๑๑/๘๓/๘๖. :
ละสังโยชน์สามและกรรมที่พาไปอบาย คือ โสดาบัน
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุไม่ละธรรม ๖ อย่างแล้ว
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา (ความเป็นโสดาบัน).
ไม่ละธรรม ๖ อย่าง เหล่าไหนเล่า ?
ไม่ละธรรม ๖ อย่าง เหล่านี้ คือ :-
ไม่ละ สักกายทิฏฐิ (ความเห็นผิดว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวตน);
ไม่ละ วิจิกิจฉา (ความลังเลในปฏิปทาทางดับทุกข์);
ไม่ละ สีลัพพตปรามาส (การถือเอาศีลและพรตผิดความมุ่งหมายที่แท้จริง);
ไม่ละ อปายคมนิยราคะ (ราคะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย);
ไม่ละ อปายคมนิยโทสะ (โทสะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย);
ไม่ละ อปายคมนิยโมหะ (โมหะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย).
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุไม่ละธรรม ๖ อย่าง เหล่านี้แล
เป็นผู้ไม่ควรกระทำให้แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุละธรรม ๖ อย่างแล้ว
เป็นผู้ควรกระทำให้แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา.
ละธรรม ๖ อย่าง เหล่าไหนเล่า ?
ละธรรม ๖ อย่าง เหล่านี้ คือ :-
ละ สักกายทิฏฐิ (ความเห็นผิดว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวตน);
ละ วิจิกิจฉา (ความลังเลในปฏิปทาทางดับทุกข์);
ละ สีลัพพตปรามาส (การถือเอาศีลและพรต ผิดความมุ่งหมายที่แท้จริง);
ละ อปายคมนิยราคะ (ราคะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย);
ละ อปายคมนิยโทสะ (โทสะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย);
ละ อปายคมนิยโมหะ (โมหะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย).
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุละธรรม ๖ อย่างเหล่านี้แล้ว
เป็นผู้ควรกระทำให้แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา ดังนี้แล.
พุทธวจน คู่มือโสดาบัน หน้า ๓๑ (ไทย)
ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๙๐/๓๖๐.
พระอริยบุคคลละสังโยชน์ได้ต่างกัน
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้ มีอยู่ในโลก หาได้โลก.
สี่จำพวกเหล่าไหนบ้าง ? สี่จำพวก คือ :-
(๑) บุคคลบางคนในโลกนี้
มีสังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้งหลาย ที่ยังละไม่ได้,
มีสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีก ที่ยังละไม่ได้,
และมีสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องมีภพ ที่ยังละไม่ได้.
(๒) บุคคลบางคนในโลกนี้
ละสังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้งหลายได้แล้ว
แต่มีสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีก ที่ยังละไม่ได้,
มีสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องมีภพ ที่ยังละไม่ได้.
(๓) บุคคลบางคนในโลกนี้
ละสังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้งหลายได้แล้ว
ทั้งยังละสังโยชน์ตัวเหตุให้มีการเกิดอีกได้ด้วย,
แต่มีสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องมีภพ ที่ยังละไม่ได้.
(๔) บุคคลบางคนในโลกนี้
ละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งหลายได้แล้ว
ละสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีกได้แล้ว
และยังละสังโยชน์ด้วยเหตุให้ต้องมีภพได้อีกด้วย.
(ประเภทที่ ๑)
ภิกษุทั้งหลาย ! พระสกิทาคามี นี้แล
เป็นผู้ยังละสังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้งหลายไม่ได้ทั้งหมด
ละสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีกยังไม่ได้
และ ละสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องมีภพ ยังไม่ได้.
(ประเภทที่ ๒)
ภิกษุทั้งหลาย ! พระอนาคามีพวกที่มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ นี้แล
เป็นผู้ละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งหลายได้ทั้งหมด
แต่ยังละสังโยชน์ ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีกไม่ได้
และ ละสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องมีภพยังไม่ได้.
(ประเภทที่ ๓)
ภิกษุทั้งหลาย ! พระอนาคามี พวกที่จักปรินิพพานในระหว่างนี้แล
เป็นผู้ละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งหลายได้ด้วย
ละสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีกได้ด้วย
แต่ยังละสังโยชน์ตัวเหตุให้มีภพไม่ได้.
(ประเภทที่ ๔)
ภิกษุทั้งหลาย ! พระอรหันต์ขีณาสพ นี้แล
เป็นผู้ที่ละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งหลายได้
ละสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีกได้
และยังละสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องมีภพได้อีกด้วย.
ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้ คือบุคคล ๔ จำพวก
มีอยู่ในโลก หาได้ในโลก.
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๕๙๖.
(ไทย) จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๓๔/๑๓๑. :
ลักษณะที่เป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ! บัดนี้
เป็นการอันสมควรที่พระผู้มีพระภาคจะพึงทรงแสดงโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้า.
ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้.”
อานนท ! ในกรณีนี้
ปุถุชน ผู้ไม่มีการสดับ
ไม่เห็นพระอริยเจ้า
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า
ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า,
ไม่เห็นสัปบุรุษ
ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ
ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ : -
เขามีจิตอัน สักกายทิฏฐิกลุ้มรุม แล้ว
อันสักกายทิฏฐิห่อหุ้มแล้ว อยู่ ;
เขา ไม่รู้ชัดตามเป็นจริงซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสักกายทิฏฐิอันเกิดขึ้นแล้ว,
สักกายทิฏฐินั้นก็เป็นของมีกำลัง
จนเขานำออกไปไม่ได้
จึงเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์.
(ในกรณีแห่งวิจิกิจฉา
สีลัพพตปรามาส
กามราคะ
และ พยาบาท (หรือปฏิฆะ)
ก็มีข้อความตรัสไว้อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งสักกายทิฏฐิทุกประการ).
อานนท์ ! ส่วน อริยสาวก
ผู้มีการสดับ
ได้เห็นพระอริยเจ้า
เป็นผู้ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า
ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า,
ได้เห็นสัปบุรุษ
เป็นผู้ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ
ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ :-
เธอมีจิตอัน สักกายทิฏฐิไม่กลุ้มรุม
อันสักกายทิฏฐิไม่ห่อหุ้ม อยู่.
อริยสาวกนั้นย่อม รู้ชัดตามที่เป็นจริง
ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสักกายทิฏฐิอันเกิดขึ้นแล้ว,
สักกายทิฏฐินั้น อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้
พร้อมทั้งอนุสัย.
(ในกรณีแห่ง วิจิกิจฉา
สีลัพพตปรามาส
กามราคะ
และพยาบาท (หรือปฏิฆะ)
ก็มีข้อความตรัสไว้อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งสักกายทิฏฐิทุกประการ).
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๓๙๐
(ไทย) ม. ม. ๑๓/๑๒๔/๑๕๕. :
ปฏิปทาเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ก็คือ มรรค
สงสัยใน มรรค ไม่ได้ เพราะมรรค คือหนทางแห่งการหลุดพ้น
การที่บุคคลจะไม่อาศัย ซึ่งมรรคนั้น ซึ่งปฏิปทานั้น แล้ว
จักรู้จักเห็นหรือว่าจักละ ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น :
นั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ;
เช่นเดียวกับการที่บุคคลไม่ถากเปือก
ไม่ถากกระพี้ ของต้นไม้ใหญ่มีแก่นยืนต้นอยู่ เสียก่อน
แล้วจักไปถากเอาแก่นนั้น :
นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้,
ฉันใดก็ฉันนั้น. ......
อานนท์ ! มรรค และ ปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้า นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้
เพราะสงัดจากอุปธิ
เพราะละเสียซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลาย
เพราะความระงับเฉพาะแห่งความหยาบกระด้างทางกายโดยประการทั้งปวง
ก็สงัดจากกามทั้งหลาย
สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
เข้าถึงปฐมฌาน
อันมีวิตกวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่.
ในปฐมฌานนั้น มีธรรมคือ
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (ที่กำลังทำหน้าที่อยู่) ;
เธอนั้น ตามเห็นธรรมซึ่งธรรมเหล่านั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์
เป็นโรค
เป็นหัวฝี
เป็นลูกศร
เป็นความยากลำบาก
เป็นอาพาธ
เป็นดังผู้อื่น (ให้ยืมมา)
เป็นของแตกสลาย
เป็นของว่าง
เป็นของไม่ใช่ตน.
เธอดำรงจิตด้วยธรรม (คือขันธ์ทั้งห้า) เหล่านั้น
(อันประกอบด้วยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น) แล้ว
จึง น้อมจิตไปสู่อมตธาตุ (คือนิพพาน)
ด้วยการกำหนดว่า
“นั่นสงบระงับ นั่นประณีต :
นั่นคือธรรมชาติเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง
เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง
เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา
เป็นความจางคลาย
เป็นความดับ เป็นนิพพาน” ดังนี้
เขาดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณมีปฐมฌานเป็นบาทนั้น
ย่อม ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ;
ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่ง อาสวะ
ก็เป็น โอปปาติกะ อนาคามี
ผู้ปรินิพพานในภพนั้น
มีการไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์มีในเบื้องต่ำห้าประการ
และเพราะอำนาจแห่งธัมมราคะ ธัมมนันทิ (อันเกิดจากการกำหนดจิตในอมตธาตุ) นั้น ๆ นั่นเอง.
อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา
เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.
อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก :
ภิกษุ เพราะความเข้าไปสงบระงับเสียได้ซึ่งวิตกและวิจาร จึง
เข้าถึงทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน
ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่.
.... ฯลฯ ....
(ข้อความตรงที่ละเปยยาลไว้นี้
มีเนื้อความเต็มเหมือนในตอนที่กล่าวถึงปฐมฌานข้างบนนั้น
ทุกตัวอักษร แปลกแต่คำว่า ปฐมฌานเป็นทุติยฌานเท่านั้น
แม้ข้อความที่ละเปยยาลไว้ในตอนตติยฌานและจตุตถฌาน
ก็พึงทราบโดยนัยนี้ ผู้ศึกษาพึงเติมให้เต็มเอาเอง ;
จนกระทั่งถึงข้อความว่า )
....
อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.
อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก :
ภิกษุ เพราะความจางคลายไปแห่งปิติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา
มีสติและสัมปชัญญะ และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกายชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า “เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นปรกติสุข” ดังนี้
เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่.
.... ฯลฯ ....
( มีเนื้อความเต็มดุจในตอนปฐมฌาน )
....
อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.
อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก :
ภิกษุ เพราะละสุข เสียได้ และ เพราะละทุกข์เสียได้
เพราะ ความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน
เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความมีสติ
เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.
.... ฯลฯ....
( มีเนื้อความเต็มดุจในตอนปฐมฌาน )
....
อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.
อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก :
ภิกษุ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เสียได้ โดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา
เพราะการไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา
จึง เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า
อากาศไม่มีที่สุด ดังนี้ แล้วแลอยู่.
ในอากาสานัญจายตนะนั้น มีธรรม คือ
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ( ที่กำลังทำหน้าที่อยู่ ) ;
เธอนั้น ตามเห็นซึ่งธรรมเหล่านั้น
โดยความเป็ นของไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์
เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก
เป็นอาพาธ เป็นดังผู้อื่น (ให้ยืมมา) เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง
เป็นของไม่ใช่ตน เธอดำรงจิตด้วยธรรม (คือขันธ์เพียงสี่) เหล่านั้น
(อันประกอบด้วยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น )
แล้วจึง น้อมจิตไปสู่อมตธาตุ (คือนิพพาน)
ด้วยการกำหนดว่า
“นั่นสงบระงับ นั่นประณีต : นั่นคือธรรมชาติเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง
เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง
เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน” ดังนี้.
เธอดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณมีอากาสานัญจายตนะเป็นบาทนั้น
ย่อม ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ;
ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็เป็น โอปปาติกะ อนาคามี
ผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีการไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ มีในเบื้องต่ำห้าประการ
และเพราะอำนาจแห่งธัมมราคะ ธัมมนันทิ (อันเกิดจากการกำหนดจิตในอมตธาตุ) นั้นๆ นั่นเอง.
อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.
อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะผ่านพ้นอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว
จึงเข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า
“วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด” แล้วแลอยู่. .
. . . ฯลฯ . . . .
(ข้อความตรงละเปยยาลไว้นี้
มีข้อความที่ตรัสไว้เหมือนในตอนที่ตรัสถึงเรื่องอากาสานัญจายตนะข้างบนนี้
ทุกตัวอักษร แปลกแต่เปลี่ยนจากอากาสานัญจายตนะ
มาเป็นวิญญาณัญจายตนะเท่านั้น แม้ในตอนอากิญจัญญายตนะที่ละไว้
ก็พึงทราบโดยนัยนี้, จนกระทั่งถึงข้อความว่า)
. . . .
อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.
อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก :
ภิกษุ เพราะผ่านพ้นวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว
จึงเข้าถึง อากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า
“อะไรๆไม่มี” ดังนี้ แล้วแลอยู่. .
. . . ฯลฯ . . . .
(มีเนื้อความเต็ม ดุจในตอนอากาสานัญจายตนะ)
. . . .
อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า ๑๔๑๑
(ไทย) ม. ม. ๑๓/๑๒๕-๑๒๗/๑๕๖-๑๕๘. :
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น