วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ทำไมแค่วัตถุมันพัง เราเจ็บไปถึงใจ


ทำไมแค่วัตถุมันพัง เราเจ็บไปถึงใจ
บางส่วนจาก Buddhakos media บรรยายธรรมนอกสถานที่
หอประชุมธรรมมาภิบาล เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์
**ทุกคนมีความทุกข์ ทุกข์จะหมดไปอย่างไร.
**อันวยญาณ (ญาณในการรู้ตาม) คุณธรรมโสดาบันบุคคล
🙏🙏🙏
ศาสนาพุทธ พุทธวจน คำที่ออกจากพระโอษฐ์พระพุทธเจ้า ถูกต้อง ตรงจริง ไม่จำกัดด้วยกาลเวลา..ปรับเปลี่ยน แก้ไข ไม่ได้..
🙏🙏🙏
***
คลิปยูทูปช่วงที่ตัด + พระสูตรใน link blog พุทธวจน
https://youtu.be/0eq73aEWxwI
💞💞💞
🙇‍♂️🙇‍♂️🙇‍♂️
CR.คลิปตัดจากช่องยูทูป Buddhakos media บรรยายธรรมนอกสถานที่ หอประชุมธรรมมาภิบาล เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์
ดาวน์โหลดสือ พุทธวจน ได้ฟรีจากเวปวัด
https://www.youtube.com/watch?v=vnkh601yeTw&t=8590s
ดาวน์โหลดไฟล์เสียง MP3 จากเวปวัดฟรี
http://watnapp.com/audio
ดาวน์โหลดหนังสือ ฟรีจากเวปวัด
http://watnapp.com/book
ต้องการหนังสือ ซีดี สื่อพุทธวจน ฟรี ท่านพระอาจารย์แจกฟรีที่วัด
สั่งซื้อ (หรือร่วมสร้างหนังสือ) ได้ที่..มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน
https://www.facebook.com/buddhakosfoundationbuddhaword/?__xts__%5B0%5D=68.ARA6GlWx3nuqT5_5cLYgLt8TKmzVmctAyydhSqZiuEUuzjRpG2aABReuEx1BvSYAw1rryLJY9d4P9dYQXU07rF0GdpsXWqsGAUqwEbayajQfdIgccN9lWUi5C-AXAczqhyby-LLjAq4gdV5hjzwN0WjaQsA7fw_wwmpvE4RA05kHw0btN8DxPC00R8CxqmMdr82kqnA0jonREp0xYgT8P9VA_bE
ที่อยู่..วัดนาป่าพง Watnapahpong
ที่อยู่: 29 หมู่ 7 ต.บึงทองหลาง, ลำลูกกา, ปทุมธานี 12150
โทรศัพท์: 086 360 5768
เส้นทาง จาก google maps
https://www.google.co.th/maps/dir/13.5855589,100.7708817/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%87+%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3/@13.7961851,100.567231,11z/data=!3m1!4b1!4m9!4m8!1m1!4e1!1m5!1m1!1s0x311d77bd7bfc268d:0xa52470ba005a6a05!2m2!1d100.8232944!2d14.0103766
💞💞💞
อาการเกิดแห่งความทุกข์ (อีกปริยายหนึ่ง)
(ทรงแสดงด้วยฉันทราคะ)
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงแสดงซึ่งความเกิดและความดับไปแห่งทุกข์ แก่ข้าพระองค์เถิด.”
คามณิ ! ถ้าเราจะแสดงความเกิดและความดับแห่งทุกข์แก่ท่าน ปรารภอดีตกาลนานไกลว่า มันได้มีแล้วอย่างนี้ในอดีตกาล ดังนี้ไซร้, ความสงสัยเคลือบแคลงในข้อนั้น ก็จะพึงมีแก่ท่าน. ถ้าเราจะแสดงความเกิดและความดับแห่งทุกข์ ปรารภอนาคตกาลนานไกล ว่ามันได้มีแล้วอย่างนี้ในอนาคตกาล ดังนี้ไซร้, ความสงสัยเคลือบแคลงแม้ในข้อนั้น ก็จะพึงมีแก่ท่าน. เอาละ คามณิ ! เรานั่งอยู่ที่นี่ จะแสดงความเกิดและความดับแห่งทุกข์แก่ท่าน ผู้นั่งอยู่ที่นี่ด้วยกัน, ท่านจงฟัง จงทำในใจให้ดี, เราจะกล่าว.
คามณิ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : มีไหม มนุษย์ในหมู่บ้านอุรุเวลกัปปะนี้ ที่ถูกฆ่า ถูกจองจำ ถูกทำให้เสื่อมเสีย ถูกติเตียนแล้ว โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส จะเกิดขึ้นแก่ท่าน ? “มี พระเจ้าข้า !”
คามณิ ! มีไหม มนุษย์ในหมู่บ้านอุรุเวลกัปปะนี้ ที่ถูกฆ่า ถูกจองจำ ถูกทำให้เสื่อมเสีย ถูกติเตียนแล้ว โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส จะไม่เกิดขึ้นแก่ท่าน ? “มี พระเจ้าข้า!”
คามณิ ! อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่ความโศก (เป็นต้น) เกิดขึ้น แก่ท่านเพราะมนุษย์พวกหนึ่ง และไม่เกิดขึ้นแก่ท่านเพราะมนุษย์พวกหนึ่ง ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะว่า ฉันทราคะของข้าพระองค์มีอยู่ ในหมู่มนุษย์ที่ทำให้ความโศก (เป็นต้น) เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ และ ฉันทราคะของข้าพระองค์ไม่มีอยู่ ในหมู่มนุษย์ที่ไม่ทำให้ความโศก (เป็นต้น) เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์.
คามณิ ! ด้วยธรรมนี้ อันท่านเห็นแล้ว รู้แจ้งแล้ว บรรลุแล้ว หยั่งลงทั่วถึงแล้ว อันไม่ขึ้นอยู่กับเวลา ท่านจงนำไปซึ่งนัยนี้สู่ธรรมในอดีตและอนาคต ว่า “ทุกข์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต ทุกข์ทั้งหมดนั้นมีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะ เป็นเหตุ เพราะว่า ฉันทะเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์ ; และทุกข์ใด ๆ อันจะเกิดขึ้นใน อนาคต ทุกข์ทั้งหมดนั้นก็มีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะว่าฉันทะเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์,” ดังนี้.
- สฬา.สํ. ๑๘/๔๐๓/๖๒๗.
🙏🙏🙏
#กระจายเสียซึ่งผัสสะ
ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณย่อมมีขึ้น เพราะอาศัยธรรมสองอย่าง.
สองอย่างอะไรเล่า ? สองอย่าง คือ
ภิกษุทั้งหลาย !
เพราะอาศัยซึ่งจักษุด้วย ซึ่งรูปทั้งหลายด้วย จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น.
จักษุเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;
รูปทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น :
ธรรมทั้งสองอย่างนี้แลเป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วย
ไม่เที่ยงมีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;
จักขุวิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;
เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุวิญญาณ,
แม้เหตุอันนั้นแม้ปัจจัยอันนั้นก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.
ภิกษุทั้งหลาย ! จักขุวิญญาณเกิดขึ้นแล้ว
เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้ จักขุวิญญาณเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความประจวบพร้อม ความประชุมพร้อม
ความมาพร้อมกันแห่งธรรมทั้งหลาย (จักษุ + รูป + จักขุวิญญาณ)
๓ อย่างเหล่านี้ อันใดแล;
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เราเรียกว่าจักขุสัมผัส.
ภิกษุทั้งหลาย ! แม้จักขุสัมผัสก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.
เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุสัมผัส,
แม้เหตุอันนั้น แม้ปัจจัยอันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.
ภิกษุทั้งหลาย ! จักขุสัมผัสเกิดขึ้นแล้ว
เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้
จักขุสัมผัสจักเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.
(ในกรณีแห่งโสตวิญญาณ, ฆานวิญญาณ, ชิวหาวิญญาณ, กายวิญญาณ,
ก็มีนัยเดียวกัน).
ภิกษุทั้งหลาย !
เพราะอาศัยซึ่งมโนด้วย ซึ่งธรรมารมณ์ทั้งหลายด้วย
มโนวิญญาณจึงเกิดขึ้น.
มโนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;
ธรรมารมณ์ทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น :
ธรรมทั้งสองอย่างนี้แลเป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วย
ไม่เที่ยงมีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;
มโนวิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;
เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนวิญญาณ,
แม้เหตุอันนั้น แม้ปัจจัยอันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.
ภิกษุทั้งหลาย ! มโนวิญญาณเกิดขึ้นแล้ว
เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้
มโนวิญญาณเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.
ความประจวบพร้อม ความประชุมพร้อม
ความมาพร้อมกัน แห่งธรรมทั้งหลาย
(มโน + ธรรมารมณ์ + มโนวิญญาณ) ๓ อย่างเหล่านี้อันใดแล;
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เราเรียกว่า มโนสัมผัส.
ภิกษุทั้งหลาย ! แม้มโนสัมผัสก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.
เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนสัมผัส,
แม้เหตุอันนั้น แม้ปัจจัยอันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.
ภิกษุทั้งหลาย ! มโนสัมผัสเกิดขึ้นแล้ว
เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้
มโนสัมผัสจักเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.
ภิกษุทั้งหลาย !
บุคคลที่ผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก (เวเทติ),
ผัสสะกระทบแล้วย่อมคิด (เจเตติ),
ผัสสะกระทบแล้วย่อมจำได้หมายรู้ (สญฺชานาติ):
แม้ธรรมทั้งหลายอย่างนี้เหล่านี้
ก็ล้วนเป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วยอาพาธด้วย
ไม่เที่ยงมีความแปรปรวนมีความเป็นไปโดยประการอื่น.
_สฬา. สํ. ๑๘/๘๕/๑๒๔-๗.
หนังสือ พุทธวจน อินทรียสังวร หน้า ๙๐-๙๓
__________________
🙏🙏🙏
ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงธรรม (สิ่ง) ที่มีตัณหาเป็นมูล ๙ อย่าง.
๙ อย่าง อย่างไรเล่า ?

๙ อย่าง คือ :-
เพราะอาศัยตัณหา จึงมี การแสวงหา (ปริเยสนา);
เพราะอาศัยการแสวงหา จึงมี การได้ (ลาโภ);
เพราะอาศัยการได้ จึงมี ความปลงใจรัก (วินิจฺฉโย);
เพราะอาศัยความปลงใจรัก จึงมี ความกำหนัดด้วยความพอใจ (ฉนฺทราโค);
เพราะอาศัยความกำหนัดด้วยความพอใจ จึงมีความสยบมัวเมา (อชฺโฌสานํ);
เพราะอาศัยความสยบมัวเมา จึงมี ความจับอกจับใจ (ปริคฺคโห);
เพราะอาศัยความจับอกจับใจ จึงมี ความตระหนี่(มจฺฉริยํ);
เพราะอาศัยความตระหนี่ จึงมี การหวงกั้น(อารกฺโข);
เพราะอาศัยการหวงกั้น จึงมี เรื่องราวอันเกิดจากการหวงกั้น (อารกฺขาธิกรณํ) ;

กล่าวคือ การใช้อาวุธไม่มีคม การใช้อาวุธมีคม
การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท
การกล่าวคำหยาบว่า “มึง ! มึง !” การพูดคำส่อเสียด
และการพูดเท็จทั้งหลาย :
ธรรมอันเป็นบาปอกุศลเป็นอเนก ย่อมเกิดขึ้นพร้อม.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ชื่อว่าธรรม (สิ่ง) ที่มีตัณหาเป็นมูล ๙ อย่าง.

(ไทย)นวก. อํ. ๒๓/๓๒๒/๒๒๗.
🙏🙏🙏
อันวยญาณ (ญาณในการรู้ตาม)
ธรรมญาณ อันวยญาณ
[๑๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกรู้ชัดสังขารอย่างนี้ รู้ชัดเหตุเป็นแดนเกิดแห่ง สังขารอย่างนี้ รู้ชัดความดับแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้ นี้ชื่อว่า ความรู้ในธรรมของอริยสาวกนั้น อริยสาวกนั้นย่อมนำนัยในอดีตและอนาคตไปด้วย ธรรมนี้ ซึ่งตนเห็นแล้ว รู้แล้วให้ผลไม่มีกำหนดกาล อันตนได้บรรลุแล้ว อันตนหยั่งรู้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ได้รู้สังขาร ได้รู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่ง สังขาร ได้รู้ความดับแห่งสังขาร ได้รู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขารเหมือนอย่างที่เรารู้ ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลแม้เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็จักรู้ สังขาร จักรู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร จักรู้ความดับแห่งสังขาร จักรู้ปฏิปทาอันให้ถึง ความดับแห่งสังขาร เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น นี้ชื่อว่า อันวยญาณของ อริยสาวกนั้น ฯ [๑๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรู้ ๒ อย่าง คือธรรมญาณ ๑ อันวยญาณ ๑ เหล่านี้ ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ผุดผ่อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิบ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะบ้างผู้มาสู่สัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง ประกอบด้วยญาณของพระเสขะบ้างประกอบด้วยวิชชา ของพระเสขะ บ้าง ถึงกระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นอริยบุคคลผู้มีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสบ้าง อยู่ชิด ประตูอมตนิพพานบ้าง ดังนี้ ฯ จบสูตรที่ ๓
พระไตรปิฎกฉบับหลวง (ไทย) เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๕๕ ข้อที่ ๑๒๔ - ๑๒๕
🙏🙏🙏

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น