วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

พุทธวจน เราคือใคร สัตว์ไม่ใช่สิ่งที่มีตัวตนขันธ์ ๕ แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ไม่มีตัวตนเพราะมีการเ...


สัตว์ไม่ใช่สิ่งที่มีตัวตน(ขันธ์ ๕) แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ไม่มีตัวตน(เพราะมีการเกิดปรากฏ) สัตว์ & วิราคธรรม แจ่มๆ อีกหนึ่งคลิปเช้าวันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ ศ 2562
*****
#ปฏิปทาการเพิกถอนความมั่นหมายในสิ่งทั้งปวง
#รู้จักธาตุโดยความเป็นธาตุ
[๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
#ทรงรู้ธาตุดินโดยความ เป็นธาตุดินจริง
ครั้นทรงรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินจริงแล้ว
ย่อมไม่ทรงสำคัญธาตุดิน
ย่อมไม่ทรงสำคัญในธาตุดิน
ย่อมไม่ทรงสำคัญโดยความเป็นธาตุดิน (เมโสหมสมิ นั่นไม่ใช่เป็นเรา))
ย่อมไม่ทรงสำคัญธาตุดินว่าของเรา (เนตังมะมะ นั่นเป็นของเรา)
ย่อมไม่ทรงยินดีธาตุดิน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เรากล่าวว่า
เพราะทรงทราบว่า ความเพลิดเพลิน เป็นมูลแห่งทุกข์ เพราะภพจึงมีชาติ สัตว์ผู้เกิดแล้ว ต้องแก่ ต้องตาย เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุ ทั้งหลายเราจึงกล่าวว่า พระตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะสิ้นตัณหา สำรอกตัณหา ดับตัณหา สละตัณหา สละคืนตัณหาเสียได้ โดยประการทั้งปวง
#ย่อมทรงรู้ยิ่ง
ธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ... อาภัสสรพรหม ... สุภกิณหพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ... วิญญาณัญจายตนพรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ... รูปที่ตน เห็น ... เสียงที่ตนฟัง ... อารมณ์ที่ตนทราบ ... วิญญาณที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะเป็นอันเดียว กัน ... ความที่สักกายะต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ...
(สักกายะ คือ ขันธ์ 5)
#ทรงรู้ยิ่ง
พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน
ครั้นทรงรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระ นิพพานแล้ว
ย่อมไม่ทรงสำคัญพระนิพพาน
ย่อมไม่ทรงสำคัญในพระนิพพาน
ย่อมไม่ทรงสำคัญ โดยความเป็นพระนิพพาน
ย่อมไม่ทรงสำคัญพระนิพพานว่า ของเรา
ย่อมไม่ทรงยินดีพระนิพพาน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เรากล่าวว่า
เพราะทรงทราบว่า ความเพลิดเพลินเป็นมูลแห่งทุกข์ เพราะ ภพจึงมีชาติ สัตว์ผู้เกิดแล้ว ต้องแก่ ต้องตาย เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย เราจึงกล่าวว่า
พระตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะสิ้นตัณหา สำรอกตัณหา ดับตัณหา สละตัณหา สละคืนตัณหาเสียได้ โดยประการทั้งปวง.
กำหนดภูมินัยที่ ๘ ด้วยสามารถพระศาสดา. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสมูลปริยายนี้จบแล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีความพอใจชื่นชมภาษิตของ พระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล. จบ
----
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น มูลปริยายวรรค ๑. มูลปริยายสูตร ว่าด้วยมูลเหตุแห่งธรรมทั้งปวง
******
****
สัปปายสูตรที่ ๑
ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงข้อปฏิบัติอันเป็นปฏิปทาการเพิกถอนความมั่นหมายในสิ่งทั้งปวง… ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลนั้นย่อม
ไม่สำคัญมั่นหมาย ซึ่ง ขันธ์ ธาตุ อายตนะ นั้น
ไม่สำคัญมั่นหมาย ใน ขันธ์ ธาตุ อายตนะ นั้น
ไม่สำคัญมั่นหมาย โดยความเป็น ขันธ์ ธาตุ อายตนะ นั้น
ไม่สำคัญมั่นหมาย ขันธ์ ธาตุ อายตนะ นั้น ว่าของเรา
ไม่เพลิดเพลินอย่างยิ่ง ซึ่ง ขันธ์ ธาตุ อายตนะ …
(ภาษาไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๒๐/๓๔.
ผู้ไม่สำคัญมั่นหมายแล้วไม่เกิดนันทิ (ความเพลิน)
ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุใด เป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ต้องทำสำเร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ของตนอันตามถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ; ภิกษุนั้น ย่อมรู้ยิ่งซึ่งดินโดยความเป็นดิน ; ครั้นรู้ยิ่ง (อภิญฺญา) ซึ่งดินโดยความเป็นดินแล้ว,
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ซึ่งดิน (ปฐวึ น มญฺญติ) ;
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ในดิน (ปฐวิยา น มญฺญติ) ;
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย โดยความเป็นดิน (ปฐวิโต น มญฺญติ) ;
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ว่าดินของเรา (ปฐวิมฺเมติ น มญฺญติ) ;
ย่อม ไม่เพลินอย่างยิ่งซึ่ง ดิน (ปฐวึ นาภินนฺทติ).
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะดินเป็นสิ่งที่เธอนั้นกำหนดรู้รอบ (ปริญฺญาต) แล้ว.
(ในกรณีแห่งธรรมอื่นอีก ๒๒ อย่าง คือ นํ้า ไฟ ลม ภูตสัตว์ เทพ ปชาบดี พรหม อาภัสสรพรหม สุภกิณหพรหม เวหัปผลพรหม อภิภู อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ รูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ได้ยินแล้ว สิ่งที่รู้สึกแล้วทางจมูก,ลิ้น,ผิวกาย สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว เอกภาวะ นานาภาวะ และสิ่งทั้งปวง, แต่ละอย่าง ๆ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้โดยระเบียบแห่งถ้อยคำอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งดิน จนกระทั่งถึงกรณีแห่ง นิพพาน ซึ่งจะได้บรรยายด้วยข้อความเต็มอีกครั้งหนึ่งดังต่อไปนี้ อีโมติคอน smile
ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุใด เป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ต้องทำสำเร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ของตนอันตามถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ; ภิกษุนั้น ย่อมรู้ยิ่งซึ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพาน ; ครั้นรู้ยิ่ง (อภิญญา) ซึ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว.
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ซึ่งนิพพาน (นิพฺพานํ น มญฺญติ) ;
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ในนิพพาน (นิพฺพานสฺมึ น มญฺญติ) ;
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย โดยความเป็นนิพพาน (นิพฺพานโต น มญฺญติ) ;
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ว่านิพพานของเรา (นิพฺพานมฺเมติ น มญฺญติ) ;
ย่อม ไม่เพลินอย่างยิ่งซึ่ง นิพพาน (นิพฺพานํ นาภินนฺทติ).
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่เธอนั้นกำหนดรู้รอบ (ปริญฺญาต) แล้ว.
--
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๖๔๕
(ภาษาไทย) - มู. ม. ๑๒/๖/๔
******

******
อนิจจัง >> ทุกขัง >> อนัตตา >> นั่น ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม)
นั่น ไม่ใช่เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ)
นั่น ไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) 
#ปฏิปทาอันให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสักกายะ
“ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสักกายะ มีอยู่ ดังนี้ คือ บุคคลย่อมตามเห็นด้วยดี ซึ่ง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ว่า :
นั่น ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม)
นั่น ไม่ใช่เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ)
นั่น ไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) …”
--
ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๔๙๒
(ภาษาไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๓๙๐/๘๒๑
🙏🙏🙏
****

*****
ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าสัตว์
[๓๖๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สัตว์ สัตว์ ดังนี้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร หนอแล จึงเรียกว่า สัตว์? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ดูกรราธะ เพราะเหตุที่มี ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในรูปแล เป็นผู้ข้องในรูป เป็นผู้เกี่ยวข้องในรูปนั้น ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์ 
เพราะเหตุที่มีความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในเวทนา เป็นผู้ข้องในเวทนา เป็นผู้เกี่ยวข้องในเวทนานั้น ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์ 
เพราะเหตุที่มีความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในสัญญา เป็นผู้ข้องในสัญญา เป็นผู้เกี่ยวข้องในสัญญานั้น ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์ 
เพราะเหตุที่มีความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในสังขาร เป็นผู้ข้องในสังขาร เป็นผู้เกี่ยวข้องในสังขารนั้น ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์
เพราะเหตุที่มีความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในวิญญาณ เป็นผู้ข้องในวิญญาณ เป็นผู้เกี่ยวข้อง ในวิญญาณนั้น ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์
ดูกรราธะ เด็กชายหรือเด็กหญิง เล่นอยู่ตามเรือนฝุ่นทั้งหลาย เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความกระวนกระวาย ไม่ปราศจากความทะยานอยาก ในเรือนฝุ่นเหล่านั้นอยู่เพียงใด ย่อมอาลัย ย่อมอยากเล่น ย่อมหวงแหน ย่อมยึดถือเรือนฝุ่น ทั้งหลายอยู่เพียงนั้น
ดูกรราธะ แต่ว่าในกาลใด เด็กชายหรือเด็กหญิงเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความกระวน กระวาย ปราศจากความทะยานอยากในเรือนฝุ่นเหล่านั้นแล้ว ในกาลนั้นแล เด็กชายหรือ เด็กหญิงเหล่านั้น ย่อมรื้อ ย่อมยื้อแย่ง ย่อมกำจัด ย่อมทำเรือนฝุ่นเหล่านั้น ให้เล่นไม่ได้ ด้วยมือและเท้า ฉันใด
ดูกรราธะ แม้เธอทั้งหลายก็
จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำรูปให้ เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา 
จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำเวทนาให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา 
จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำสัญญาให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา 
จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำสังขารให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา 
จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำวิญญาณให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา ฉันนั้น นั่นเทียวแล
ดูกรราธะ เพราะว่าความสิ้นไปแห่งตัณหาเป็นนิพพาน
จบ สูตรที่ ๒
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๗
สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
หน้าที่ ๑๙๑ - ๑๙๒ ข้อที่ ๓๖๗
*****
#วิราคธรรมเลิศกว่า #สังขตธรรมและอสังขตธรรม
[๒๗๐] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว 
พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว 
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
ความเลื่อมใสอันเลิศ ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
สัตว์ไม่มีเท้าก็ดี ๒ เท้าก็ดี ๔ เท้าก็ดี 
มีเท้ามากก็ดีมีรูปก็ดี ไม่มีรูปก็ดี มีสัญญาก็ดี 
ไม่มีสัญญาก็ดี มีสัญญาก็มิใช่ไม่มี
สัญญาก็มิใช่ก็ดี มีประมาณเท่าใด 
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า 
บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่า
สัตว์ประมาณเท่านั้น 
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า 
ชนเหล่านั้นชื่อว่า
เลื่อมใสในบุคคลผู้เลิศ 
ก็และผลอันเลิศ
ย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตธรรมก็ดี อสังขตธรรมก็ดี 
มีประมาณเท่าใดวิราคะ 
คือธรรมเป็นที่บรรเทาความเมา 
นำเสียซึ่งความระหาย 
ถอนขึ้นด้วยดีซึ่งอาลัย 
ตัดซึ่งวัฏฏะ 
สิ้นไปแห่งตัณหา 
สิ้นกำหนัด 
ดับ นิพพาน 
บัณฑิตกล่าวว่าเลิศ
กว่าสังขตธรรมและอสังขตธรรมเหล่านั้น 
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
ชนเหล่าใดเลื่อมใสในวิราคธรรม 
ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในธรรมอันเลิศ 
ก็ผลอันเลิศ
ย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในธรรมอันเลิศ ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตธรรมมีประมาณเท่าใด 
อริยมรรคมีองค์ ๘ 
คือสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา 
สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ 
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ 
บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าสังขตธรรมเหล่านั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
ชนเหล่าใดเลื่อมใสในธรรมคืออริยมรรค 
ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในธรรมอันเลิศ 
ก็ผลอันเลิศ
ย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในธรรมอันเลิศ ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย หมู่ก็ดี 
คณะก็ดี มีประมาณเท่าใด 
หมู่สาวกของพระตถาคต 
คือ
คู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ 
บัณฑิตกล่าวว่าเลิศ
กว่าหมู่และคณะเหล่านั้น 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระสงฆ์ 
ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในหมู่ผู้เลิศ 
ก็ผลอันเลิศ
ย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในพระสงฆ์ผู้เลิศ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
ความเลื่อมใสอันเลิศ ๓ ประการนี้แล ฯ
-
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว 
ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถา
ประพันธ์ดังนี้ว่า
เมื่อชนทั้งหลายเลื่อมใสแล้วในพระรัตนตรัยที่เลิศ 
รู้แจ้งธรรมอันเลิศ
เลื่อมใสแล้วในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ 
ซึ่งเป็นทักขิไณยบุคคลผู้ยอดเยี่ยม
เลื่อมใสแล้วในธรรมอันเลิศ
ซึ่งเป็นที่สิ้นกำหนัด
และเป็นที่สงบเป็นสุข 
เลื่อมใสแล้วในพระสงฆ์ผู้เลิศ 
ซึ่งเป็นบุญเขตอย่างยอดเยี่ยม
ถวายทานในพระรัตนตรัย ที่เลิศ 
บุญที่เลิศ
ย่อมเจริญ อายุ วรรณะ
ยศ เกียรติคุณ สุขะและพละอันเลิศย่อมเจริญ 
นักปราชญ์ถวายไทยธรรม
แก่พระรัตนตรัยที่เลิศ 
ตั้งมั่นอยู่ในธรรมอันเลิศแล้ว 
เป็นเทวดา หรือเป็นมนุษย์ก็ตาม 
เป็นผู้ถึงความเป็นผู้เลิศบันเทิงอยู่ ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว 
เพราะเหตุนั้น 
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๕
สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
หน้าที่ ๒๓๒ ข้อที่ ๒๗๐

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น