วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ศาสนาพุทธจะหมดไปจากโลก เมื่อใด พุทธวจนบรรยาย ณ ม บูรพา วิทยาเขตสระแก้ว


๔. ทรงบอกเหตุแห่งความอัตรธานของคำสอนเปรียบด้วยกลองศึก
ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว : 
กลองศึกของกษัตริย์พวกทสารหะ เรียกว่า อานกะ มีอยู่.
เมื่อกลองอานกะนี้ มีแผลแตก หรือลิ,
 พวกกษัตริย์ทสารหะได้หาเนื้อไม้อื่นทำเป็นลิ่ม 
เสริมลงในรอยแตกของกลองนั้น (ทุกคราวไป)
ภิกษุทั้งหลาย !
เมื่อเชื่อมปะเข้าหลายครั้งหลายคราวเช่นนั้น
นานเข้าก็ถึงสมัยหนึ่ง
 ซึ่งเนื้อไม้เดิมของตัวกลองหมดสิ้นไป
 เหลืออยู่แต่เนื้อไม้ที่ทำเสริมเข้าใหม่ เท่านั้น ;
ภิกษุทั้งหลย ! ฉันใดก็ฉันนั้น :
ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย,
 สุตตันตะเหล่าใด
ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึกมีความหมายซึ่ง เป็นชั้นโลกุตตระ
ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา,
 เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่.
 เธอจักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยหูฟัง จักไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง 
และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
 - ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน 
มีอักษรสละสรวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว
 เป็นคำกล่าวของสาวก, 
เมื่อมีผู้นำสูตรที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมากล่าวอยู่,
เธอจักฟังด้วยดี จักเงี่ยหูฟัง จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
 และจักสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียนไป.
- ภิกษุทั้งหลาย ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านั้น 
ที่เป็นคำของตถาคตเป็นข้อความลึก
มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา
จักมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ แล.
นิทาน. สํ. ๑๖/๓๑๑/๖๗๒-๓,
- อนุสาสนีปาฏิหาริย์ เกวัฏฏ์ ! 
อนุสาสนีปาฏิหาริย์ เป็นอย่างไร ? 
เกวัฏฏ์ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมสั่งสอนอย่างนี้ว่า
ท่านจงตรึกอย่างนี้ๆ อย่าตรึกอย่างนั้นๆ 
จงทำไว้ในใจอย่างนี้ๆ อย่าทำไว้ในใจอย่างนั้นๆ 
จงละสิ่งนี้ๆ เสีย จงเข้าถึงสิ่งนี้ๆ แล้วแลอยู่ 
นี้เราเรียกว่า
อนุสาสนีปาฏิหาริย์. 
 เกวัฏฏะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้
เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง
สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ
ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกคนควรฝึก ไม่มีใครยิ่งไปกว่า
เป็นครูของเทวดาและมนุษย์
เป็นผู้เบิกบานแล้ว จำแนกธรรมออกสอนสัตว์.
ตถาคตนั้น
ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ กับทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา
พร้อมทั้งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
สอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตาม.
ตถาคตนั้น
แสดงธรรม ไพเราะในเบื้องต้น - ท่ามกลาง - ที่สุด,
ประกาศพรหมจรรย์
พร้อมทั้งอรรถะ และพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.
คหบดีหรือบุตรคหบดี หรือผู้เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่งในภายหลังก็ดี
ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว เกิดศรัทธาในตถาคต.
เขาผู้ประกอบด้วยศรัทธา ย่อมพิจารณาเห็นว่า
 “ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี, บรรพชาเป็นโอกาสว่าง;
การที่คนอยู่ครองเรือน
จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียวเหมือนสังข์ที่เขาขัดแล้วนั้น
ไม่ทำได้โดยง่าย. ถ้ากระไร
เราจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวช
เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนเถิด”, ดังนี้.
โดยสมัยอื่นต่อมา
เขาละกองสมบัติน้อยใหญ่ และวงศ์ญาติน้อยใหญ่
ปลงผมและหนวด ออกจากเรือน
บวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว.
ภิกษุนั้น ผู้บวชแล้วอย่างนี้ สำรวมแล้ว
ด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร,
มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้ว่าเป็นโทษเล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย,
ประกอบแล้วด้วยกายกรรมวจีกรรมอันเป็นกุศล,
มีอาชีวะบริสุทธิ์, ถึงพร้อมด้วยศีล,
มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย,
ประกอบด้วยสติสัมปปัญญะ,
มีความสันโดษ. 
อริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคปลาย หน้า ๑๕๒๐
(ภาษาไทย) สี. ที. ๙/๓๐๘/๓๔๑-๓๔๒ :
🙏🙏🙏
๗. สำนึกเสมอว่าตนเองเป็นเพียงผู้เดินตามพระองค์เท่านั้น ถึงแม้จะเป็นอรหันต์ผู้เลิศทางปัญญาก็ตาม ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ได้ทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครรู้ให้มีคนรู้ ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครกล่าวให้เป็นมรรคที่กล่าวกันแล้ว ตถาคตเป็นมัคคัญญู (รู้มรรค) เป็นมัคควิทู (รู้แจ้งมรรค) เป็นมัคคโกวิโท (ฉลาดในมรรค). - ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสาวกทั้งหลายในกาลนี้ เป็นมัคคานุคา (ผู้เดินตามมรรค) เป็นผู้ตามมาในภายหลัง. ภิกษุทั้งหลาย! นี้แล เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกัน ระหว่างตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ กับภิกษุผู้ปัญญาวิมุตต์. ขนฺธ. สํ. ๑๗ /๘๑ / ๑๒๕ -
๑. พระองค์ทรงสามารถกำหนดสมาธิ เมื่อจะพูดทุกถ้อยคำ จึงไม่ผิดพลาด                   อัคคิเวสนะ ! เรานั้นหรือ, จำเดิมแต่เริ่มแสดง กระทั่งคำสุดท้ายแห่งการกล่าวเรื่องนั้นๆ ย่อมตั้งไว้ซึ่งจิตในสมาธินิมิตอันเป็นภายในโดยแท้ ให้จิตดำรงอยู่ ให้จิตตั้งมั่นอยู่ กระทำให้มีจิต เป็นเอก ดังเช่นที่คนทั้งหลายเคยได้ยินว่าเรากระทำอยู่เป็นประจำ ดังนี้.                  มหาสัจจกสูตร มู.ม. ๑๒ / ๔๖๐ / ๔๓๐

๒. แต่ละคำพูดเป็นอกาลิโก คือ ถูกต้องตรงจริงไม่จำกัดกาลเวลา                                     ภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอทั้งหลายเป็นผู้ที่เรานำไปแล้วด้วยธรรมนี้ อันเป็นธรรมที่บุคคลจะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง (สนฺทิฏฐิโก), เป็นธรรมให้ผลไม่จำกัดกาล (อกาลิโก), เป็นธรรมที่ควรเรียกกันมาดู (เอหิปสฺสิโก), ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว (โอปนยิโก), อันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน (ปจฺจตฺตํ เวทตพฺโพ วิญฺญูหิ).                                                                                       มหาตัณหาสังขยสูตร ม. ม. ๑๒/๔๘๕/๔๕๐.

๓. คำพูดที่พูดมาทั้งหมดนับแต่วันตรัสรู้นั้น สอดรับไม่ขัดแย้งกัน                               ภิกษุทั้งหลาย ! นับตั้งแต่ราตรี ที่ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จนกระทั่งถึงราตรีที่ตถาคตปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ, ตลอดเวลาระหว่างนั้น ตถาคตได้กล่าวสอน พร่ำสอน แสดงออก ซึ่งถ้อยคำใด ถ้อยคำเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเข้ากันได้โดยประการเดียวทั้งสิ้น ไม่แย้งกันเป็นประการอื่นเลย.                                                                   อิติวุ. ขุ. ๒๕ / ๓๒๑ / ๒๙๓

๕. ทรงกำชับให้ศึกษาปฏิบัติเฉพาะจากคำของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่น              ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.

- ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วน สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน จึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า “ข้อนี้เป็นอย่างไร ?   มีความหมายกี่นัย ? ” ดังนี้.

- ด้วยการทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้. ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้ปรากฏได้, ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัยเธอก็บรรเทาลงได้                                  ทุก. อํ. ๒๐/๙๒/๒๙๒

- ภิกษุทั้งหลาย! บริษัทชื่อ อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน ปฏิปุจฉาวินีตา เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณ ีนี้คือ ภิกษ ุทั้งหลายในบริษัทใด, เมื่อสุตตันตะทั้งหลาย ตถาคตภาสิตา -อันเป็นตถาคตภาษิต คมฺภีรา-อันลึกซึ้ง คมฺภีรตฺถา-มีอรรถอันลึกซึ้ง โลกุตฺตรา-เป็นโลกุตตระ สุญฺญตปฏิสํยุตฺตา-ประกอบด้วยเรื่องสุญญตา อันบุคคลนำมากล่าวอยู่, ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และไม่สำคัญว่า เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. - ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำ กล่าวของสาวก, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่ พวกเธอย่อมฟังด้วยดี เงี่ยหูฟัง ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และสำคัญไปว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. พวกเธอเล่าเรียนธรรมอันกวีแต่งใหม่นั้นแล้ว ก็ไม่สอบถามซึ่งกันและกัน ไม่ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้.

- เธอเหล่านั้น เปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยไม่ได้ ไม่หงายของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้นได้ ไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย มีอย่างต่าง ๆ ได้.

- ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน ปฏิปุจฉาวินีตา. ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทชื่อ ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด, เมื่อสุตตันตะทั้งหลาย ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำ กล่าวของสาวก อันบุคคลนำมากล่าวอยู่, ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และไม่สำ คัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. ส่วน สุตตันตะเหล่าใด อันเป็นตถาคตภาษิต อันลึกซึ้ง มีอรรถอันลึกซึ้ง เป็นโลกุตตระประกอบด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่ พวกเธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมเข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ควรศึกษาเล่าเรียน. พวกเธอเล่าเรียนธรรมที่เป็นตถาคตภาษิตนั้นแล้ว ก็สอบถามซึ่งกันและกัน ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้.

เธอเหล่านั้น เปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยได้ หงายของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้นได้ บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย มีอย่างต่าง ๆ ได้. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา.

- ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แลบริษัท ๒ จำพวกนั้ ภิกษุทั้งหลาย! บริษัทที่เลิศในบรรดาบริษัททั้งสองพวกนั้น คือบริษัทปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา (บริษัทที่อาศัยการสอบสวนทบทวนกันเอาเองเป็นเครื่องนำไป : ไม่อาศัยความเชื่อจากบุคคลภายนอกเป็นเครื่องนำไป) แล. ทุก. อํ. ๒๐ / ๙๑ / ๒๙๒ -

๖. ทรงห้ามบัญญัติเพิ่มหรือตัดทอนสิ่งที่บัญญัติไว้                                                  ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบท ที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น. มหาปรินิพพานสูตร มหา. ที. ๑๐ / ๘๙ / ๖๙

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น