วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

อรูปภพ คือ อะไร Buddhakos media สนทนาธรรมบ่ายวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ ศ...


อรูปภพ คือ อะไร
Buddhakos media สนทนาธรรมบ่ายวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ ศ  2562 อาสาฬหบูชา
พิธีถวายผ้ากฐิน ตามอริยประเพณี ในแบบพุทธวจน
วันที่ 20 ตุลาคม 2562 ณ วัดนาป่าพง
https://l.facebook.com/l.php?u=https%3A%2F%2Fkatin.watnapp.com%2Fregister%2Fregister.php%3Ffbclid%3DIwAR0qvSOfNpW85nrLnNWgkSt-qbVEMocEKXJwhayh1-IzqLJS-aT6lEPh32c&h=AT2-JuMpAumwwFAnUEN3bsSlBg8S4x6YcM8zoZcRvpIU84bRd-ooyfSq6YeleuFt8yKIZm8eSbQyOQLUaeDGYT2cTPA1FyAKmYR0g-nNs1ecEDj6VCGoqhf_u5BpT3bDoopdiRu-1Vla5e0K37edyme_5T6jDherLkCZPiM4Oy3T-aZIHB9mqPHv_U52HwAJ8ombw5C5RJV0-HppmXmu3SyZK5FHDMxnzBK3IEpe8lgF5KmVoigIJN_UfFXWMSnRLEKDwLSRZ3SPXDDaUAv1UPqUfeRcyN1V2mkn2XYBSn_ZGGGdkKDn0YL_OaYmM1RtZoVKUOjSV_Q1AFFqpmILvn2uzIhUXjByWUS4Ia8zne8jH2_E_0vs6tsUEfl_tzX-6MP6N4P5mogM-P8HYqRA9U8LZtVHz2KfvF33hG5dBKs7c5vJf4AkGvxHk6Fo2qYzL_4ROjHvmq1XGxRb4c9zbuY6GPxv3NqeZviHBr9vgfCvANmVi6FXxnf56vH7PyxGPnKk8US3DcsGI9W7pxRwlEpR3mq5TEGVX4f1p8YTERBdMzGsakDHJJZ3CkUnYAGfb_CZEEXNsw4R-a1omddUSPEoFP3U44BJuZ4Xd0PQEYyFUYDVi2Se2MEMQtwfzKHfneyMe1q_hntjmwd8vF9QSPG-GLKm1VOnfnLy8AmqZEYFwNVNIkAJehGSz-dpyCUZlw
💞💞💞
CR.คลิปตัดจากช่องยูทูป มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน
Buddhakos media สนทนาธรรมบ่ายวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ ศ 2562 อาสาฬหบูชา
ถ่ายทอดคำตถาคตโดย : พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
ณ วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง 10 ปทุมธานี
https://youtu.be/-TYpKrEwCkw
ดาวน์โหลดสือ พุทธวจน ได้ฟรีจากเวปวัด
ดาวน์โหลดไฟล์เสียง MP3 จากเวปวัดฟรี
http://watnapp.com/audio
ดาวน์โหลดหนังสือ ฟรีจากเวปวัด
http://watnapp.com/book
ต้องการหนังสือ ซีดี สื่อพุทธวจน ฟรี ท่านพระอาจารย์แจกฟรีที่วัด
สั่งซื้อ (หรือร่วมสร้างหนังสือ) ได้ที่..มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน
https://www.facebook.com/buddhakosfoundationbuddhaword/?__xts__%5B0%5D=68.ARA6GlWx3nuqT5_5cLYgLt8TKmzVmctAyydhSqZiuEUuzjRpG2aABReuEx1BvSYAw1rryLJY9d4P9dYQXU07rF0GdpsXWqsGAUqwEbayajQfdIgccN9lWUi5C-AXAczqhyby-LLjAq4gdV5hjzwN0WjaQsA7fw_wwmpvE4RA05kHw0btN8DxPC00R8CxqmMdr82kqnA0jonREp0xYgT8P9VA_bE
ที่อยู่..วัดนาป่าพง Watnapahpong
ที่อยู่: 29 หมู่ 7 ต.บึงทองหลาง, ลำลูกกา, ปทุมธานี 12150
โทรศัพท์: 086 360 5768

ภพคืออะไร
ภิกษุทั้งหลาย ! ภพ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภพทั้งหลาย ๓ อย่าง เหล่า นี้คือ
:- กามภพ รูปภพ อรูปภพ.

2 ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ภพ.
ความก่อขึ้นพร้อมแห่งภพ
ย่อมมีเพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งอุปาทาน
ความดับไม่เหลือแห่งภพ ย่อมมีเพราะความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน
มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง
เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งภพ

ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ :-
ความเห็นชอบ
ความดำริชอบ
การพูดจาชอบ
การทำการงานชอบ
การเลี้ยงชีวิตชอบ
ความพากเพียรชอบ
ความระลึกชอบ
ความตั้งใจมั่นชอบ.
ภพภูมิ หน้า ๓ (ภาษาไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๓๙/๙๑. 

เครื่องนำไปสู่ภพ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระองค์ตรัสอยู่ว่า ‘เครื่องนำไปสู่ภพ เครื่องนำไปสู่ภพ’ ดังนี้
 ก็เครื่องนำไปสู่ภพ เป็นอย่างไรเล่าพระเจ้าข้า ! 
และความดับไม่เหลือของเครื่องนำไปสู่ภพนั้น
เป็นอย่างไรเล่าพระเจ้าข้า !

ราธะ ! ฉันทะ (ความพอใจ) ก็ดี
 ราคะ (ความกำหนัด) ก็ดี
 นันทิ (ความเพลิน) ก็ดี
 ตัณหา (ความอยาก) ก็ดี
 อุปายะ (กิเลสเป็นเหตุเข้าไปสู่ภพ)
 และอุปาทาน (ความถือมั่นด้วยอำนาจกิเลส)
 อันเป็นเครื่องตั้งทับ เครื่องเข้าไปอาศัย
 และเครื่องนอนเนื่องแห่งจิตก็ดีใดๆ

ในรูป
 ในเวทนา
 ในสัญญา
 ในสังขารทั้งหลาย 
และในวิญญาณ

กิเลสเหล่านี้ นี่เราเรียกว่า ‘เครื่องนำไปสู่ภพ’
ความดับไม่เหลือของเครื่องนำไปสู่ภพ มีได้
 เพราะความดับไม่เหลือของ

กิเลส
 มีฉันทะ
ราคะ เป็นต้น เหล่านั้นเอง.
ภพภูมิ หน้า ๘ (ภาษาไทย)
ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๒/๓๖๘.
 *********** ******

ความม่ีขึ้นแห่งภพ(นัยที่๑)
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวอยู่ว่า ‘ภพ–ภพ’ ดังนี้
ภพ ย่อมมีด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า พระเจ้าข้า!

อานนท์ ! ถ้ากรรมมีกามธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้
กามภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?
หามิได้ พระเจ้าข้า !
อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ

กรรมจึงเป็นเนื้อนา
วิญญาณเป็นเมล็ดพืช
ตัณหาเป็นยาง (สำหรับหล่อเลี้ยงเชื้องอก) ของพืช

วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย
มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องผูก
ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นทราม (กามธาตุ)
การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.

อานนท์ ! ถ้ากรรมมีรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้
รูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?
หามิได้ พระเจ้าข้า !
อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ

กรรมจึงเป็นเนื้อนา
วิญญาณเป็นเมล็ดพืช
ตัณหาเป็นยางของพืช

วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย
มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องผูก
ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นกลาง (รูปธาตุ)
การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.

อานนท์ ! ถ้ากรรมมีอรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้
อรูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?
หามิได้ พระเจ้าข้า !
อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ

กรรมจึงเป็นเนื้อนา
วิญญาณเป็นเมล็ดพืช
ตัณหาเป็นยางของพืช

วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย
มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องผูก
ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นประณีต (อรูปธาตุ)
การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไปย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.

อานนท์ ! ภพ ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.
ภพภูมิ หน้า ๔ (ภาษาไทย) ติก. อํ. ๒๐/๒๑๑/๕๑๖.
********* *****

ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ 
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าบุคคลย่อมคิด (เจเตติ) ถึงสิ่งใดอยู่
ย่อมดำริ (ปกปฺเปติ) ถึงสิ่งใดอยู่
และย่อมมีจิตฝังลงไป (อนุเสติ) ในสิ่งใดอยู่

สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ
เมื่ออารมณ์ มีอยู่
ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี
เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ
เจริญงอกงามแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมมี
เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป มีอยู่
ชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย
จึงเกิดขึ้นครบถ้วน

ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าบุคคล
ย่อมไม่คิด (โน เจเตติ) ถึงสิ่งใด 
ย่อมไม่ดำริ (โน ปกปฺเปติ) ถึงสิ่งใด 
แต่เขายังมีจิตฝังลงไป (อนุเสติ) ในสิ่งใดอยู่ 

สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ
เมื่ออารมณ์มีอยู่
ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณย่อมมี
เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว
ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมมี 
เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไปมีอยู่
ชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย
ย่อมเกิดขึ้นครบถ้วน
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่ง กองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ถ้าว่าบุคคล
ย่อมไม่คิดถึงสิ่งใดด้วย 
ย่อมไม่ดำริถึงสิ่งใดด้วย 
และย่อมไม่มีจิตฝังลงไป (โน อนุเสติ) ในสิ่งใดด้วย 

ในกาลใด ในกาลนั้น
สิ่งนั้น ย่อมไม่เป็นอารมณ์
เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณได้เลย
เมื่ออารมณ์ไม่มี
ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมไม่มี
เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งขึ้นเฉพาะ ไม่เจริญงอกงามแล้ว
ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมไม่มี 
เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ไม่มี
ชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย
จึงดับสิ้น
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี
ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้แล.

ภพภูมิ หน้า ๙-๑๐ (ภาษาไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๖๓/๑๔๕. :
 **********

พี้นนาเลว..ธาตุอันทราบ.กามภพ. อกุศลกรรมบถ๑๐
#นรก #กำเนิดเดรัชฉาน #เปรตวิสัย #ทุคติใดๆ ปรากฎ..

กุศลกรรมบถ๑๐ #เทวคติ #มนุษยคติ #หรือสุคติอื่นใด #บรรดามี #ย่อมปรากฏ

------------ ทสก. อํ. ๒๔/๒๘๓-๒๘๙/๑๖๕. ********

****************************
รูปภพ.พื้นนาปานกลาง.
อารมณ์ของฌาน ๑ ๒ ๓ ๔ หรือ เจริญ เมตตา กรุณา มุติตา อุเบกขา

#เจริญพรหมวิหาร=ฌาน ๑ ๒ ๓ ๔
 (ก่อนฉัน watnapp 16 มกราคม เวลา 8:56 น.)
เมตตาเจโตวิมุตติ,= ปฐมฌาน = เข้าถึงสหายของเทวดา อายุ ๑ กัป 
กรุณาเจโตวิมุตติ,=ทุติยฌาน = เข้าถึงสหายของเทวดา อายุ ๒ กัป 
มุทิตาเจโตวิมุตติ,=ตติยฌาน = เข้าถึงสหายของเทวดา อายุ ๔ กัป 
อุเบกขาเจโตวิมุตติ =จตุตถฌาน = เข้าถึงสหายของเทวดา อายุ ๕๐๐ กัป 

-- พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๓๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค หน้าที่ ๒๗๕/๓๖๔ ข้อที่ ๕๗๔
http://etipitaka.com/read…
******

#ตายในสมาธิ #ตายในฌาน ๑ ๒ ๓ ๔

ปฐมฌาน = เข้าถึงสหายของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา อายุ ๑ กัป
ทุติยฌาน = เข้าถึงสหายของเทวดาพวกอาภัสสระ อายุ ๒ กัป
ตติยฌาน = ย่อมเข้าถึงสหายของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ อายุ ๔ กัป
จตุตถฌาน = ย่อมเข้าถึงสหายของเทวดาเหล่าเวหัปผละ อายุ ๕๐๐ กัป

-- #ตายจากเทวดา 
 -- ผู้ไม่ได้สดับ--ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง 
-ผู้ได้สดับ- ปรินิพพานในภพนั้น -- 

ฌานสูตรที่ ๑
[๑๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๔ จำพวกเป็นไฉน คือ
บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจปฐมฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยปฐมฌานนั้น ตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น น้อมใจไปในปฐมฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยปฐมฌานนั้น ไม่เสื่อมเมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย กัปหนึ่ง เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา - ปุถุชนดำรงอยู่ ในชั้นพรหมกายิกานั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นพรหมนั้นตราบเท่าสิ้นอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้นทั้งหมดให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง - ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ

- อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจทุติยฌานนั้นและถึงความปลื้มใจด้วยทุติยฌานนั้น ตั้งอยู่ในทุติยฌานนั้น น้อมใจไปในทุติยฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยทุติยฌานนั้น ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกอาภัสสระ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ กัป เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าอาภัสสระ ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระ ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ

- อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข บุคคลนั้นพอใจชอบใจตติยฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยตติยฌานนั้น ตั้งอยู่ในตติยฌานนั้นน้อมใจไปในตติยฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยตติยฌานนั้น ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๔ กัป เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้นตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาคดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมด ของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษ ผิดแผกแตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้ สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติ มีอยู่ ฯ

- อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจจตุตถฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยจตุตถฌานนั้น ตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น น้อมใจไปในจตุตถฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยจตุตถฌานนั้น ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าเวหัปผละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๕๐๐ กัป เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าเวหัปผละ ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้น ให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่

 - ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
จบสูตรที่ ๓
- พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต หน้าที่ ๑๒๕/๒๔๐ ข้อที่ ๑๒๓
-- http://etipitaka.com/read…#

ลําดับแห่งการดับของสังขาร (อนุปุพพสังขารนิโรธ) 
ภิกษุ ! ความดับแห่งสังขารโดยลําดับๆ เราได้กล่าวแล้ว ดังนี้
คือ :-

เมื่อเข้าสู่ ปฐมฌาน แล้ว วาจา ย่อมดับ ;
เมื่อเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้ว วิตก และ วิจาร ย่อมดับ ;
เมื่อเข้าสู่ ตติยฌาน แล้ว ปีติ ย่อมดับ ;
เมื่อเข้าสู่ จตุตถฌาน แล้ว อัสสาสะ และ ปัสสาสะ ย่อมดับ ;
เมื่อเข้าสู่ อากาสานัญจายตนะ แล้ว รูปสัญญา ย่อมดับ ;
เมื่อเข้าสู่ วิญญาณัญจายตนะ แล้ว อากาสานัญจายตนสัญญา ย่อมดับ ;
เมื่อเข้าสู่ อากิญจัญญายตนะ แล้ว วิญญาณัญจายตนสัญญา ย่อมดับ ;
เมื่อเข้าสู่ เนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้ว อากิญจัญญายตนสัญญา ย่อมดับ ;
เมื่อเข้าสู่ สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้ว สัญญา และ เวทนา ย่อมดับ ;
เมื่อภิกษุ สิ้นอาสวะ แล้ว ราคะ ก็ดับ โทสะ ก็ดับ โมหะ ก็ดับ.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๗๖๖.
(บาลี) สฬา. สํ. ๑๘/๒๖๘/๓๙๒.

ปฏิปทาเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ก็คือ มรรค 
 อานนท์ ! มรรคใด ปฏิปทาใด
เป็นไปเพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้า มีอยู่;
การที่บุคคลจะไม่อาศัย ซึ่งมรรคนั้น ซึ่งปฏิปทานั้น
แล้วจักรู้จักเห็นหรือว่าจักละ ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น :
นั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ;

เช่นเดียวกับการที่บุคคลไม่ถากเปือก
ไม่ถากกระพี้ ของต้นไม้ใหญ่มีแก่นยืนต้นอยู่ เสียก่อน
แล้วจักไปถากเอาแก่นนั้น :
นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้,

ฉันใดก็ฉันนั้น. ...... 
อานนท์ ! มรรค และ ปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้า นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? 
อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้
เพราะสงัดจากอุปธิ
เพราะละเสียซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลาย
เพราะความระงับเฉพาะแห่งความหยาบกระด้างทางกายโดยประการทั้งปวง
ก็สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
เข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่. ในปฐมฌานนั้น มีธรรมคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (ที่กำลังทำหน้าที่อยู่) ; เธอนั้น ตามเห็นธรรมซึ่งธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ เป็นดังผู้อื่น (ให้ยืมมา) เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน. เธอดำรงจิตด้วยธรรม (คือขันธ์ทั้งห้า) เหล่านั้น (อันประกอบด้วยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น) แล้วจึง น้อมจิตไปสู่อมตธาตุ (คือนิพพาน) ด้วยการกำหนดว่า “นั่นสงบระงับ นั่นประณีต : นั่นคือธรรมชาติเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน” ดังนี้
เขาดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณมีปฐมฌานเป็นบาทนั้น ย่อม ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ; ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่ง อาสวะ ก็เป็น โอปปาติกะ อนาคามี ผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีการไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์มีในเบื้องต่ำห้าประการ และเพราะอำนาจแห่งธัมมราคะ ธัมมนันทิ (อันเกิดจากการกำหนดจิตในอมตธาตุ) นั้น ๆ นั่นเอง.

อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น. 

อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะความเข้าไปสงบระงับเสียได้ซึ่งวิตกและวิจาร จึง เข้าถึงทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่. .... ฯลฯ .... (ข้อความตรงที่ละเปยยาลไว้นี้ มีเนื้อความเต็มเหมือนในตอนที่กล่าวถึงปฐมฌานข้างบนนั้น ทุกตัวอักษร แปลกแต่คำว่า ปฐมฌานเป็นทุติยฌานเท่านั้น แม้ข้อความที่ละเปยยาลไว้ในตอนตติยฌานและจตุตถฌาน ก็พึงทราบโดยนัยนี้ ผู้ศึกษาพึงเติมให้เต็มเอาเอง ; จนกระทั่งถึงข้อความว่า ) ....

อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น. 

อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะความจางคลายไปแห่งปิติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา
มีสติและสัมปชัญญะ และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกายชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า “เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นปรกติสุข” ดังนี้ เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่. .... ฯลฯ .... ( มีเนื้อความเต็มดุจในตอนปฐมฌาน ) ....

อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น. 

อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะละสุข เสียได้ และ เพราะละทุกข์เสียได้ เพราะ ความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อนเข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความมีสติ เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. .... ฯลฯ.... ( มีเนื้อความเต็มดุจในตอนปฐมฌาน ) ....

อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น. 

อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เสียได้ โดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะการไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา จึง เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า อากาศไม่มีที่สุด ดังนี้ แล้วแลอยู่. ในอากาสานัญจายตนะนั้น มีธรรม คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ( ที่กำลังทำหน้าที่อยู่ ) ; เธอนั้น ตามเห็นซึ่งธรรมเหล่านั้นโดยความเป็ นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ เป็นดังผู้อื่น (ให้ยืมมา) เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน เธอดำรงจิตด้วยธรรม (คือขันธ์เพียงสี่) เหล่านั้น (อันประกอบด้วยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น ) แล้วจึง น้อมจิตไปสู่อมตธาตุ (คือนิพพาน) ด้วยการกำหนดว่า “นั่นสงบระงับ นั่นประณีต : นั่นคือธรรมชาติเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน” ดังนี้. เธอดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณมีอากาสานัญจายตนะเป็นบาทนั้น

ย่อม ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ;
ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็เป็น โอปปาติกะ อนาคามี ผู้ปรินิพพานในภพนั้น
มีการไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ มีในเบื้องต่ำห้าประการ
และเพราะอำนาจแห่งธัมมราคะ ธัมมนันทิ (อันเกิดจากการกำหนดจิตในอมตธาตุ) นั้นๆ นั่นเอง.

อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น. 

อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะผ่านพ้นอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึงเข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด” แล้วแลอยู่. . . . . ฯลฯ . . . . (ข้อความตรงละเปยยาลไว้นี้ มีข้อความที่ตรัสไว้เหมือนในตอนที่ตรัสถึงเรื่องอากาสานัญจายตนะข้างบนนี้ ทุกตัวอักษร แปลกแต่เปลี่ยนจากอากาสานัญจายตนะ มาเป็นวิญญาณัญจายตนะเท่านั้น แม้ในตอนอากิญจัญญายตนะที่ละไว้ ก็พึงทราบโดยนัยนี้, จนกระทั่งถึงข้อความว่า) . . . . อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น. อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะผ่านพ้นวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึงเข้าถึง อากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อะไรๆไม่มี” ดังนี้ แล้วแลอยู่
. . . . . ฯลฯ . . . .
(มีเนื้อความเต็ม ดุจในตอนอากาสานัญจายตนะ)
. . . . อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น. 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย
หน้า ๑๔๑๑ (ไทย) ม. ม. ๑๓/๑๒๕-๑๒๗/๑๕๖-๑๕๘.

  ***วิตก วิจาร ในปฐมฌาน*** 
ผู้ฉลาดในธาตุ 
ผู้ฉลาดในอายตนะ 
ผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท

 🙏🙏🙏
ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธีสามประการ (ติวิธูปปริกฺขี) นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรม โดยความเป็น ธาตุ ; ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรม โดยความเป็น อายตนะ ; ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรม โดยความเป็น ปฏิจจสมุปบาท. ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธีสามประการ ด้วยอาการ อย่างนี้ แล.
 - ขนฺธ.สํ. ๑๗/๗๖-๘๐/๑๑๘-๑๒๔.

!!! ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ ? !!!
[๒๓๗] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็จะควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ ด้วยเหตุเท่าไร ฯ พ. ดูกรอานนท์ ธาตุนี้มี ๑๘ อย่างแล ได้แก่ ธาตุคือจักษุ ธาตุคือรูป ธาตุคือจักษุวิญญาณ ธาตุคือโสต ธาตุคือเสียง ธาตุคือโสตวิญญาณ ธาตุคือฆานะธาตุคือกลิ่น ธาตุคือฆานวิญญาณ ธาตุคือชิวหา ธาตุคือรส ธาตุคือชิวหาวิญญาณธาตุคือกาย ธาตุคือโผฏฐัพพะ ธาตุคือกายวิญญาณ ธาตุคือมโน ธาตุคือธรรมารมณ์ธาตุคือมโนวิญญาณ ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล ธาตุ ๑๘ อย่าง ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ ฯ
[๒๓๘] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่น ที่ควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ จะพึงมีไหม ฯ พ. ดูกรอานนท์ มี ธาตุนี้มี ๖ อย่าง ได้แก่ ธาตุคือดิน ธาตุคือน้ำ ธาตุคือไฟ ธาตุคือลม ธาตุคืออากาศ ธาตุคือวิญญาณ ดูกรอานนท์ เหล่านี้แลธาตุ ๖ อย่าง แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ ฯ
[๒๓๙] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่น ที่ควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุจะพึงมีอีกไหม ฯ พ. ดูกรอานนท์ มี ธาตุนี้มี ๖ อย่าง ได้แก่ ธาตุคือสุข ธาตุคือทุกข์ ธาตุคือ โสมนัส ธาตุคือโทมนัส ธาตุคืออุเบกขา ธาตุคืออวิชชา ดูกรอานนท์เหล่านี้แล ธาตุ ๖ อย่าง แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ ฯ
[๒๔๐] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่น ที่ควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุจะพึงมีอีกไหม ฯ พ. ดูกรอานนท์ มี ธาตุนี้มี ๖ อย่าง ได้แก่ ธาตุคือกาม ธาตุคือเนกขัมมะ ธาตุคือพยาบาท ธาตุคือความไม่พยาบาท ธาตุคือความเบียดเบียน ธาตุคือความไม่เบียดเบียน ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล ธาตุ ๖ อย่าง แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ ฯ
[๒๔๑] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่น ที่ควรเรียกว่าภิกษุผู้ฉลาดในธาตุจะพึงมีอีกไหม ฯ พ. ดูกรอานนท์ มี ธาตุนี้มี ๓ อย่าง ได้แก่ ธาตุคือกาม ธาตุคือรูป ธาตุคืออรูป ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล ธาตุ ๓ อย่าง แม้ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ ฯ
[๒๔๒] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่น ที่ควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุจะพึงมีอีกไหม ฯ พ. ดูกรอานนท์ มี ธาตุนี้มี ๒ อย่าง คือ สังขตธาตุ อสังขตธาตุ ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล ธาตุ ๒ อย่าง แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ ฯ
(บาลี ๑๔/๑๖๗/๒๓๗-๒๔๒)

!!! ภิกษุผู้ฉลาดในอายตนะ !!!
[๒๔๓] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็จะควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาด ในอายตนะด้วยเหตุเท่าไร ฯ พ. ดูกรอานนท์ อายตนะทั้งภายในและภายนอกนี้ มีอย่างละ ๖ แล คือ จักษุและรูป โสตและเสียง ฆานะและกลิ่น ชิวหาและรส กายและโผฏฐัพพะ มโนและธรรมารมณ์ ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล อายตนะทั้งภายใน และภายนอกอย่างละ ๖ แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุ ผู้ฉลาดในอายตนะ ฯ

!!! ภิกษุผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท !!!
[๒๔๔] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็จะควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาทด้วยเหตุเท่าไร ฯ พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า เมื่อเหตุนี้มีผลนี้จึงมี เพราะเหตุนี้เกิดขึ้น ผลนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อเหตุนี้ไม่มี ผลนี้จึงไม่มีเพราะเหตุนี้ดับ ผลนี้จึงดับ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะ สังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสอย่างนี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ แต่เพราะอวิชชานั่นแลดับด้วยวิราคะไม่มีส่วนเหลือจึงดับสังขารได้ เพราะสังขารดับจึงดับวิญญาณได้ เพราะวิญญาณดับจึงดับนามรูปได้ เพราะนามรูปดับจึงดับ สฬายตนะได้ เพราะสฬายตนะดับจึงดับผัสสะได้ เพราะผัสสะดับจึงดับเวทนาได้ เพราะเวทนาดับจึงดับตัณหาได้ เพราะตัณหาดับจึงดับอุปาทานได้ เพราะอุปาทานดับจึงดับภพได้เพราะภพดับจึงดับชาติได้ เพราะชาติดับจึงดับชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสอุปายาสได้ อย่างนี้เป็นความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ดูกรอานนท์ ด้วยเหตุเท่านี้แล จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ฯ
(บาลี. ๑๔/๑๖๙/๒๔๓-๒๔๔.)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น