วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

เห็นคนทำดีต้องสรรเสริญกุศลกรรมบถ40 เห็นคนทำชั่วต้องสังเลขธรรมธรรมะเครื่อ...


เห็นคนทำดีต้องสรรเสริญ[กุศลกรรมบถ40] เห็นคนทำชั่วต้องสังเลขธรรม[ธรรมะเครื่องขูดเกลา] ม บูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
**
CR.ช่องยูทูป วัดนาป่าพง nirdukkha ม บูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
https://www.youtube.com/watch?v=e6JquH1Uh2s&t=779s
🙏🙏🙏
**
คลิปยูทูปช่วงที่ตัด + พระสูตรใน link blog พุทธวจน
https://youtu.be/bhphIOmCT2g
***
กุศลกรรมบถ แบ่งออกเป็น ๓ ประการ คือ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม
กุศลกรรมบถทางกายกรรม มี ๓ ประการ คือ
๑. เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๓. เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามกุศล
กรรมบถทางวจีกรรม มี ๔ ประการ คือ
๑. เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๒. เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด
๓. เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ
๔. เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ
กุศลกรรมบถทางมโนกรรม มี ๓ ประการ คือ
๑. ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น
๒. ไม่มีจิตคิดพยาบาทปองร้ายผู้อื่น
๓. มีความเห็นชอบ
เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ หมายถึง การที่บุคคลใดเป็นผู้มีความเมตตากรุณา ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ อีกทั้งมีความเอ็นดูหวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวง
การเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์นั้นครอบคลุมถึงการกระทำใน ๔ ลักษณะ ดังนี้คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง
๒. ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการฆ่าสัตว์
๓. พอใจในการเว้นจากการฆ่าสัตว์
๔. กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการฆ่าสัตว์
เว้นขาดจากการลักทรัพย์
เว้นขาดจากการลักทรัพย์ หมายถึง การที่บุคคลใดเป็นผู้ไม่ถือเอาทรัพย์สิ่งของที่บุคคลอื่น ไม่ได้ให้โดยทางทุจริต
การเว้นขาดจากการลักทรัพย์นั้นครอบคลุมถึงการกระทำใน ๔ ลักษณะ ดังนี้คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ด้วยตนเอง
๒. ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการลักทรัพย์
๓. พอใจในการเว้นจากการลักทรัพย์
๔. กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการลักทรัพย์
เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม หมายถึง การที่บุคคลใดเว้นจากการล่วงเกินในสตรีที่อยู่ในความปกครองดูแลรักษาของมารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่สาว
น้องสาว ญาติ ศาสนา สตรีมีสามี สตรีที่มีคู่หมั้น
การเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามนี้ ครอบคลุมถึงการกระทำใน ๔ ลักษณะ คือ
๑. เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามด้วยตนเอง
๒. ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๓. พอใจในการเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๔. กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการประพฤติผิด ในกาม
เว้นขาดจากการพูดเท็จ
เว้นขาดจากการพูดเท็จ หมายถึง การที่บุคคลใดเว้นจากการเจตนาพูดให้ผู้ฟังเข้าใจผิดไปจากความจริง เมื่อรู้
สิ่งใดก็พูดสิ่งนั้น เมื่อไม่รู้ก็บอกว่าไม่รู้ เมื่อเห็นก็บอกว่าเห็น เมื่อไม่เห็นก็บอกว่าไม่เห็น
การเว้นขาดจากการพูดเท็จนี้ ครอบคลุมถึงการกระทำใน ๔ ลักษณะ ดังนี้คือ
๑. เว้นขาดจากการพูดเท็จด้วยตนเอง
๒. ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการพูดเท็จ
๓. พอใจในการเว้นจากการพูดเท็จ
๔. กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการพูดเท็จ
เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด
เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด หมายถึง การที่บุคลใดฟังความข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือสมานคนที่แตกร้าว หรือ ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วให้ชื่นชอบยินดี ให้เพลิดเพลินในความพร้อมเพรียง รวมถึงการกล่าวแต่คำที่ทำให้เกิด
ความพร้อมเพรียงกัน
การเว้นขาดจากการพูดส่อเสียดนี้ ครอบคลุม ถึงการกระทำใน ๔ ลักษณะ ดังนี้คือ
๑. เว้นขาดจากการพูดส่อเสียดด้วยตนเอง
๒. ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการพูดส่อเสียด
๓. พอใจในการเว้นจากการพูดส่อเสียด
๔. กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการพูดส่อเสียด
เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ
เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ หมายถึง การที่บุคคลใดกล่าววาจาที่ไม่มีโทษ ไพเราะหู ชวนให้รัก จับใจ ประกอบด้วย
คำสุภาพ เป็นที่พอใจ รักใคร่ของผู้ฟัง
การเว้นขาดจากการพูดคำหยาบนี้ ครอบคลุม ถึงการกระทำใน ๔ ลักษณะ คือ
๑. เว้นขาดจากการพูดคำหยาบด้วยตนเอง
๒. ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการพูดคำหยาบ
๓. พอใจในการเว้นจากการพูดคำหยาบ
๔. กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการพูดคำหยาบ
เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ
เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ หมายถึง การที่บุคคลใดพูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ อิงธรรม อิงวินัย พูดแต่คำเป็นหลักฐาน มีที่อ้างอิงและมีประโยชน์
การเว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อนี้ ครอบคลุม ถึงการกระทำใน ๔ ลักษณะ คือ
๑. เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อด้วยตนเอง
๒. ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
๓. พอใจในการเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
๔. กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น
ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น หมายถึง การที่บุคคลใดไม่เพ่งเล็งที่จะเอาทรัพย์สิ่งของของผู้อื่นในทาง มิชอบการไม่โลภอยากได้ของผู้อื่นนี้
ครอบคลุมถึงการกระทำใน ๔ ลักษณะ คือ
๑. ไม่อยากได้ของของผู้อื่นด้วยตนเอง
๒. ชักชวนผู้อื่นให้ไม่อยากได้ของของผู้อื่น
๓. พอใจในการไม่อยากได้ของของผู้อื่น
๔. กล่าวสรรเสริญการไม่อยากได้ของของผู้อื่น
ไม่มีจิตคิดพยาบาทปองร้ายผู้อื่น
ไม่มีจิตคิดพยาบาทปองร้ายผู้อื่น หมายถึง การที่บุคคลใดไม่มีความชั่วร้ายในใจ เป็นผู้ไม่จองเวร ไม่มีความมุ่งร้ายผู้อื่น ปรารถนาให้ผู้อื่นไม่มีทุกข์ มีแต่ความสุข
การไม่มีจิตคิดพยาบาทปองร้ายผู้อื่นนี้ ครอบคลุมถึงการกระทำใน ๔ ลักษณะ คือ
๑. มีจิตไม่คิดปองร้ายด้วยตนเอง
๒. ชักชวนผู้อื่นให้ไม่คิดปองร้าย
๓. พอใจในการไม่คิดปองร้าย
๔. กล่าวสรรเสริญการไม่คิดปองร้าย
มีความเห็นชอบ
มีความเห็นชอบ หมายถึง การที่บุคคลใดมีความเห็นไม่วิปริตว่าทานที่บุคคลให้แล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล การบูชามีผล ผลของกรรมดีกรรมชั่วมโลกนี้โลกหน้ามี มารดาบิดามีคุณ นรกสวรรค์มี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้ได้เองโดยชอบมี
การมีความเห็นชอบนี้ ครอบคลุมถึงการกระทำใน ๔ ลักษณะ คือ
๑. มีความเห็นชอบด้วยตนเอง
๒. ชักชวนผู้อื่นให้มีความเห็นชอบ
๓. พอใจในความเห็นชอบ
๔. กล่าวสรรเสริญความเห็นชอบ
---
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๔
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
หน้าที่ ๒๗๗ ข้อที่ ๑๙๘ - ๑๙๙
---
link โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read/thai/24/277/…
****
พระสูตรการขูดเกลากิเลศ
จุนทะ ! สัลเลขธรรม (ความขูดเกลา)
เป็นสิ่งที่เธอทั้งหลายพึงกระทำาในธรรมทั้งหลายเหล่านี้ กล่าวคือ : -
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้เบียดเบียน เราจักเป็นผู้ไม่เบียดเบียน
เมื่อผู้อื่นกระทำปาณาติบาต เราจักเว้นขาดจากปาณาติบาต
เมื่อผู้อื่นกระทำอทินนาทาน เราจักเว้นขาดจากอทินนาทาน
เมื่อผู้อื่นพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
เราจักเว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
เมื่อผู้อื่นมากด้วยอภิชฌา เราจักเป็นผู้ไม่มากด้วยอภิชฌา
เมื่อผู้อื่นมีจิตพยาบาท เราจักเป็นผู้ไม่มีจิตพยาบาท
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ฟุ้งซ่าน เราจักเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธ เราจักเป็นผู้ไม่มักโกรธ ผูกโกรธ
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ลบหลู่คุณ เราจักเป็นผู้ไม่ลบหลู่คุณ
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้แข่งดี เราจักเป็นผู้ไม่แข่งดี
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ริษยา เราจักเป็นผู้ไม่ริษยา
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ตระหนี่ เราจักเป็นผู้ไม่ตระหนี่
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้โอ้อวด เราจักเป็นผู้ไม่โอ้อวด
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้มีมารยา เราจักเป็นผู้ไม่มีมารยา
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้กระด้าง เราจักเป็นผู้ไม่กระด้าง
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ดูหมิ่นท่าน เราจักเป็นผู้ไม่ดูหมิ่นท่าน
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ว่ายาก เราจักเป็นผู้ว่าง่าย
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้มีมิตรชั่ว เราจักเป็นผู้มีมิตรดี
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ประมาท เราจักเป็นผู้ไม่ประมาท
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ไม่มีหิริ และโอตตัปปะ เราจักเป็นผู้มีหิริ และโอตตัปปะ
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้มีสุตะน้อย เราจักเป็นผู้มีสุตะมาก
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ขี้เกียจ เราจักเป็นผู้ปรารภความเพียร
ม. มู. ๑๒/๗๘/๑๐๖.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น