วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

คำกล่าวอาราธนาภิกขุแสดงธรรม พุทธวจน



#คำกล่าวอาราธนาภิกขุแสดงธรรม
#แสดงธรรมว่าเป็นธรรม
ย่อมได้บุญอันประเสริฐ
#ย่อมบรรเทิงในสรวงสวรรค์ตลอดกัป
๙. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคต มิได้บัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตมิได้ บัญญัติไว้
๑๐. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้
๑๑. ย่อมแสดงอนาบัติว่า เป็นอนาบัติ
๑๒. ย่อมแสดงอาบัติว่า เป็นอาบัติ
๑๓. ย่อมแสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติเบา
๑๔. ย่อมแสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติหนัก
๑๕. ย่อมแสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ
๑๖. ย่อมแสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ว่า เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
๑๗. ย่อมแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ
๑๘. ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
พวกเธอย่อมไม่ประกาศให้แตกแยกกันด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้
ย่อมไม่ แยกทำอุโบสถ
ย่อมไม่แยกทำปวารณา ย่อมไม่แยกทำสังฆกรรม
ดูกรอุบาลี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล
สงฆ์เป็นอันพร้อมเพรียงกัน ฯ
[๔๐๙] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า
ก็ภิกษุสมานสงฆ์ที่ แตกกันแล้วให้
พร้อมเพรียงกัน จะได้รับผลอย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี
ภิกษุสมานสงฆ์ที่แตกกันแล้วให้ พร้อมเพรียงกัน
ย่อมได้บุญอันประเสริฐ
#ย่อมบรรเทิงในสรวงสวรรค์ตลอดกัป
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๗
พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
หน้าที่ ๑๔๐/๒๗๙ ข้อที่ ๔๐๗-๔๐๙ ---------------
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมจากโปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read
************
*****
ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วน สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต
เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ
ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา,
เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่;
เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน
จึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า
“ข้อนี้เป็นอย่างไร ? มีความหมายกี่นัย ? ” ดังนี้.
-
ด้วยการทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้.
ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้ปรากฏได้,
ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัยเธอก็บรรเทาลงได้
ทุก. อํ. ๒๐/๙๒/๒๙๒
-

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น