*******
#ทำไมกรรมหนักฝ่ายดีที่ส่งผลในปัจจุบันทันทีพระองค์ถึงตรัสสมาธิแค่แปดระดับ .ทั้งๆ สมาธิมี เก้าระดับ..(กรรมคือ พื้นนา , พื้นนา มี แค่แปด)(สัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่มีที่เกิด..สัญญาเวทยิตนิโรธ เป็น อายตนะ แต่ไม่ได้เป็นภพ)
--
link ;; สมาธิแปดระดับ #กุศลกรรมที่ทำแล้วส่งผลในปัจจุบันทันที
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1648838172014386&set=a.1410079375890268.1073741828.100006646566764&type=1&permPage=1
--
#วิญญาณฐิติ ๗ (และ) อายตนะ ๒
ดูกรอานนท์
วิญญาณฐิติ ๗ (และ) อายตนะ ๒ เหล่านี้
วิญญาณฐิติ ๗ เป็นไฉน ?
คือ
๑. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน
ได้แก่พวกมนุษย์ และพวกเทพบางพวก
พวกวินิบาตบางพวก นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๑
๒. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน
ได้แก่พวกเทพผู้นับเนื่องในชั้นพรหม
ผู้บังเกิดด้วยปฐมฌาน
และสัตว์ผู้เกิดในอบาย ๔
นี้เป็นวิญญาณ ฐิติที่ ๒
๓. สัตว์มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน
ได้แก่พวกเทพชั้นอาภัสสร
นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๓
๔. สัตว์ที่มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน
ได้แก่พวกเทพ ชั้นสุภกิณหะ
นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๔
๕. สัตว์ที่เข้าถึงชั้น อากาสานัญจายตนะ
ด้วยมนสิการว่า "อากาศหาที่สุดมิได้"
เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆะสัญญา
เพราะไม่ใส่ใจถึง นานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง
นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๕
๖. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ
ด้วยมนสิการว่า "วิญญาณหาที่สุดมิได้"
เพราะล่วงชั้น อากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง
นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๖
๗. สัตว์ที่เข้าถึงชั้น อากิญจัญญายตนะ
ด้วยมนสิการว่า "ไม่มีอะไร"
เพราะล่วงชั้น วิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง
นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๗
ส่วนอายตนะอีก ๒
คือ อสัญญีสัตตายตนะ
และข้อที่ ๒ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ
(อายตนะอีก 2 ไม่ทรงรวมอยู่ในวิญญาณฐิติ 7)
ดูกรอานนท์
บรรดาวิญญาณฐิติทั้ง ๗ ประการนั้น
วิญญาณฐิติข้อที่ ๑
มีว่าสัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน
ได้แก่พวกมนุษย์และพวกเทพบางพวก
พวกวินิบาตบางพวก
ผู้ที่รู้ชัดวิญญาณฐิติข้อนั้น
รู้ความเกิดและความดับ
รู้คุณและโทษ แห่งวิญญาณฐิติข้อนั้น
และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติข้อนั้น
เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินวิญญาณฐิตินั้นอีกหรือ ฯ
อ.ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ
ฯลฯ (ในวิญญาณฐิติข้ออื่นๆ
ทรงตรัสถามนัยเดียวกันจนครบ 7 ข้อ)
อ.ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรอานนท์ ส่วนบรรดาอายตนะทั้ง ๒ นั้นเล่า
ข้อที่ ๑ คือ อสัญญีสัตตายตนะ
ผู้ที่รู้ชัดอสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น
รู้ความเกิดและความดับ
รู้คุณและโทษแห่งอสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น
และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากอสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น
เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินอสัญญีสัตตายตนะนั้นอีกหรือ ฯ
อ.ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ
พ. ส่วนข้อที่ ๒ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ
ผู้ที่รู้ชัด เนวสัญญานาสัญญายตนะ ข้อนั้น
รู้ความเกิดและความดับ
รู้คุณและโทษแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะข้อนั้น
และรู้อุบายเป็นเครื่องออก
ไปจากเนวสัญญานาสัญญายตนะข้อนั้น
เขายังจะควร
เพื่อเพลิดเพลินเนวสัญญานาสัญญายตนะข้อนั้นอีกหรือ ฯ
อ. ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรอานนท์
เพราะภิกษุมาทราบชัดความเกิดและความดับ
ทั้งคุณและโทษ
และอุบายเป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติ ๗
และอายตนะ ๒ เหล่านี้
ตามเป็นจริงแล้ว
ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นได้เพราะไม่ยึดมั่น
อานนท์
ภิกษุนี้เราเรียกว่า ปัญญาวิมุตติ
***********************
บางส่วนจาก "มหานิทานสูตร"
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๐
สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค
หน้าที่ ๕๐ ข้อที่ ๕๗
----
http://etipitaka.com/read/thai/10/50/?keywords=มหานิทานสูตร
---
#สัตตาวาส ๙ ที่อยู่ของสัตว์
ภิกษุทั้งหลาย ! สัตตาวาส ๙ มีอยู สัตตาวาส ๙ อยางไรเลา ?
#ทำไมกรรมหนักฝ่ายดีที่ส่งผลในปัจจุบันทันทีพระองค์ถึงตรัสสมาธิแค่แปดระดับ .ทั้งๆ สมาธิมี เก้าระดับ..(กรรมคือ พื้นนา , พื้นนา มี แค่แปด)(สัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่มีที่เกิด..สัญญาเวทยิตนิโรธ เป็น อายตนะ แต่ไม่ได้เป็นภพ)
--
link ;; สมาธิแปดระดับ #กุศลกรรมที่ทำแล้วส่งผลในปัจจุบันทันที
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1648838172014386&set=a.1410079375890268.1073741828.100006646566764&type=1&permPage=1
--
#วิญญาณฐิติ ๗ (และ) อายตนะ ๒
ดูกรอานนท์
วิญญาณฐิติ ๗ (และ) อายตนะ ๒ เหล่านี้
วิญญาณฐิติ ๗ เป็นไฉน ?
คือ
๑. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน
ได้แก่พวกมนุษย์ และพวกเทพบางพวก
พวกวินิบาตบางพวก นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๑
๒. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน
ได้แก่พวกเทพผู้นับเนื่องในชั้นพรหม
ผู้บังเกิดด้วยปฐมฌาน
และสัตว์ผู้เกิดในอบาย ๔
นี้เป็นวิญญาณ ฐิติที่ ๒
๓. สัตว์มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน
ได้แก่พวกเทพชั้นอาภัสสร
นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๓
๔. สัตว์ที่มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน
ได้แก่พวกเทพ ชั้นสุภกิณหะ
นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๔
๕. สัตว์ที่เข้าถึงชั้น อากาสานัญจายตนะ
ด้วยมนสิการว่า "อากาศหาที่สุดมิได้"
เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆะสัญญา
เพราะไม่ใส่ใจถึง นานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง
นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๕
๖. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ
ด้วยมนสิการว่า "วิญญาณหาที่สุดมิได้"
เพราะล่วงชั้น อากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง
นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๖
๗. สัตว์ที่เข้าถึงชั้น อากิญจัญญายตนะ
ด้วยมนสิการว่า "ไม่มีอะไร"
เพราะล่วงชั้น วิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง
นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๗
ส่วนอายตนะอีก ๒
คือ อสัญญีสัตตายตนะ
และข้อที่ ๒ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ
(อายตนะอีก 2 ไม่ทรงรวมอยู่ในวิญญาณฐิติ 7)
ดูกรอานนท์
บรรดาวิญญาณฐิติทั้ง ๗ ประการนั้น
วิญญาณฐิติข้อที่ ๑
มีว่าสัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน
ได้แก่พวกมนุษย์และพวกเทพบางพวก
พวกวินิบาตบางพวก
ผู้ที่รู้ชัดวิญญาณฐิติข้อนั้น
รู้ความเกิดและความดับ
รู้คุณและโทษ แห่งวิญญาณฐิติข้อนั้น
และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติข้อนั้น
เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินวิญญาณฐิตินั้นอีกหรือ ฯ
อ.ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ
ฯลฯ (ในวิญญาณฐิติข้ออื่นๆ
ทรงตรัสถามนัยเดียวกันจนครบ 7 ข้อ)
อ.ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรอานนท์ ส่วนบรรดาอายตนะทั้ง ๒ นั้นเล่า
ข้อที่ ๑ คือ อสัญญีสัตตายตนะ
ผู้ที่รู้ชัดอสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น
รู้ความเกิดและความดับ
รู้คุณและโทษแห่งอสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น
และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากอสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น
เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินอสัญญีสัตตายตนะนั้นอีกหรือ ฯ
อ.ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ
พ. ส่วนข้อที่ ๒ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ
ผู้ที่รู้ชัด เนวสัญญานาสัญญายตนะ ข้อนั้น
รู้ความเกิดและความดับ
รู้คุณและโทษแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะข้อนั้น
และรู้อุบายเป็นเครื่องออก
ไปจากเนวสัญญานาสัญญายตนะข้อนั้น
เขายังจะควร
เพื่อเพลิดเพลินเนวสัญญานาสัญญายตนะข้อนั้นอีกหรือ ฯ
อ. ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรอานนท์
เพราะภิกษุมาทราบชัดความเกิดและความดับ
ทั้งคุณและโทษ
และอุบายเป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติ ๗
และอายตนะ ๒ เหล่านี้
ตามเป็นจริงแล้ว
ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นได้เพราะไม่ยึดมั่น
อานนท์
ภิกษุนี้เราเรียกว่า ปัญญาวิมุตติ
***********************
บางส่วนจาก "มหานิทานสูตร"
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๐
สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค
หน้าที่ ๕๐ ข้อที่ ๕๗
----
http://etipitaka.com/read/thai/10/50/?keywords=มหานิทานสูตร
---
#สัตตาวาส ๙ ที่อยู่ของสัตว์
ภิกษุทั้งหลาย ! สัตตาวาส ๙ มีอยู สัตตาวาส ๙ อยางไรเลา ?
ภิกษุทั้งหลาย ! สัตวพวกหนึ่ง (สตฺตา) มีกายตางกัน มีสัญญาตางกัน เหมือนมนุษยทั้งหลาย เทวดาบางพวก และวินิบาตบางพวก นี้เปนสัตตาวาสที่ ๑
สัตวพวกหนึ่ง มีกายตางกัน มีสัญญาอยางเดียวกัน เหมือนเทวดาผูนับเนื่องในหมูพรหม ผูเกิดในปฐมภูมิ (ปมานิพฺพตฺตา) นี้เปนสัตตาวาสที่ ๒
สัตวพวกหนึ่ง มีกายอยางเดียวกัน มีสัญญาตางกัน เหมือนพวกเทพอาภัสสระ นี้เปนสัตตาวาสที่ ๓
สัตวพวกหนึ่ง มีกายอยางเดียวกัน มีสัญญาอยางเดียวกัน เหมือนพวกเทพสุภกิณหะ นี้เปนสัตตาวาสที่ ๔
สัตวพวกหนึ่ง ไมมีสัญญา ไมเสวยเวทนา เหมือนพวกเทพผูเปนอสัญญีสัตวนี้เปนสัตตาวาสที่ ๕
สัตวพวก หนึ่ง เพราะกาวลวงเสียได ซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแหงปฏิฆสัญญา เพราะไมใสใจนานัตตสัญญา จึงเขาถึงอากาสานัญจายตนะ มีการทําในใจวา “อากาศไมมีที่สิ้นสุด” ดังนี้ นี้เปนสัตตาวาส ที่ ๖
สัตวพวกหนึ่ง เพราะกาวลวงเสียได ซึ่งอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงเขาถึงวิญญาณัญจายตนะ มีการทําในใจวา “วิญญาณไมมีที่สุด” ดังนี้ นี้เปนสัตตาวาสที่ ๗
สัตวพวกหนึ่ง เพราะกาวลวงเสียได ซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเขาถึงอากิญจัญญายตนะ มีการทําในใจวา “อะไรๆ ก็ไมมี” ดังนี้ นี้เปนสัตตาวาสที่ ๘
สัตวพวก หนึ่ง เพราะกาวลวงเสียได ซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเขาถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ ดังนี้ นี้เปนสัตตาวาสที่ ๙.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล สัตตาวาส ๙.
พุทธวจน ภพภูมิ หน้า ๒๙.
(ภาษาไทย) สตฺตก. อํ. ๒๓/๓๒๓/๒๒๘
--
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ส่วนว่า อายตนะอีก ๒ ประการ กล่าวคือ
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ และ สัญญาเวทยิตนิโรธ
ซึ่งอาศัยสัญญาสมาบัติ เหล่านั้น นั้นเรากล่าวว่า เป็นสิ่งที่
ฌายีภิกษุผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ ฉลาดในการออกจาก
สมาบัติ จะพึงเข้าสมาบัติ ออกจากสมาบัติ แล้วกล่าวว่า
เป็นอะไรได้เอง โดยชอบ ดังนี้.
นวก. อํ. ๒๓/๔๓๘-๔๔๔/๒๔๐
--
#กรรมคือพื้นนา พี้นนามีแค่ แปด..
แสง ฉาก ...วิญญาณ นามรูป
กรรม เกิดจาก ผัสสะ กรรม ดับที่ ผัสสะ
--กรรม คืออะไร
พระศาสดาทรงตรัสว่า กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ
นิยามของคำว่ากรรม ที่พระศาสดาทรงบัญญัติ คือ เรากล่าวซึ่งเจตนาว่าเป็นกรรม
(ภาษาไทย) สตฺตก. อํ. ๒๓/๓๒๓/๒๒๘
--
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ส่วนว่า อายตนะอีก ๒ ประการ กล่าวคือ
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ และ สัญญาเวทยิตนิโรธ
ซึ่งอาศัยสัญญาสมาบัติ เหล่านั้น นั้นเรากล่าวว่า เป็นสิ่งที่
ฌายีภิกษุผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ ฉลาดในการออกจาก
สมาบัติ จะพึงเข้าสมาบัติ ออกจากสมาบัติ แล้วกล่าวว่า
เป็นอะไรได้เอง โดยชอบ ดังนี้.
นวก. อํ. ๒๓/๔๓๘-๔๔๔/๒๔๐
--
#กรรมคือพื้นนา พี้นนามีแค่ แปด..
แสง ฉาก ...วิญญาณ นามรูป
กรรม เกิดจาก ผัสสะ กรรม ดับที่ ผัสสะ
--กรรม คืออะไร
พระศาสดาทรงตรัสว่า กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ
นิยามของคำว่ากรรม ที่พระศาสดาทรงบัญญัติ คือ เรากล่าวซึ่งเจตนาว่าเป็นกรรม
กรรมอันบุคคลเจตนาแล้วย่อมกระทำด้วย กาย วาจา ใจ (ดังนั้นกรรมทางใด ที่กระทำโดยไม่เจตนา ย่อมไม่มี)
เหตุเป็นแดนเกิดของกรรม คือ ผัสสะ และความดับแห่งกรรม คือ การดับแห่งผัสสะ
[ผัสสะ (สัมผัส) อาศัยตาด้วย ๑ อาศัยรูปด้วย ๑ จึงเกิด จักขุวิญญาณ ๑ (เป็นต้น)
การถึงพร้อมด้วยธรรม ๓ ประการนี้ จึงเรียกว่า จักขุสัมผัส หรือ ผัสสะทางตา (เป็นต้น)]
วิญญาณ ๖ อันได้แก่
จักขุวิญญาณ(รู้แจ้งทางตา)
โสตวิญญาณ(รู้แจ้งทางหู)
ฆานะวิญญาณ(รู้แจ้งทางจมูก)
ชิวหาวิญญาณ(รู้แจ้งทางลิ้น)
กายวิญญาณ(รู้แจ้งทางสัมผัสทางกาย)
มโนวิญญาณ(รู้แจ้งทางธรรมารมณ์-เวทนา สัญญา สังขาร)
วิญญาณใดนี้ ย่อมมีที่ตั้งอาศัย
การจะบัญญัติซึ่งการมา การไป การจุติ การอุบัติ ของวิญญาณใดๆ
โดยเว้นจาก รูป(รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส), เวทนา,สัญญา,สังขาร นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้
วิญญาณ(ใด) อาศัยรูปตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้
เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์
มีรูปเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย มีนันทิ(ความเพลิน) เป็นที่เข้าไปส้องเสพ
ก็ถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ได้
(สิ่งที่วิญญาณเข้าไปตั้งอาศัย พระศาสดาทรงเรียกสิ่งนั้นว่า ภพ คือ สถานที่เกิดของวิญญาณ หรือ อารมณ์ เป็นที่ตั้งอยู่ของวิญญาณ อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร รวมเรียกภพเหล่านี้ว่า นามรูป เมื่อวิญญาณเข้าไปตั้งอาศัยในภพแล้ว กล่าวว่า ความมีภพได้เกิดขึ้น(ตอนที่วิญญาณยังไม่ได้เข้าไปตั้งอาศัย ภพ ก็มีของมันอยู่อย่างนั้น ก็เรียกว่า สถานที่เกิดของวิญญาณ เท่านั้น แต่พอวิญญาณเข้าไปตั้งอาศัยอยู่ ก็เรียกบัญญัติใหม่ว่า ความมีภพได้เกิดขึ้น)
นั้นคือวิญญาณที่ตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้มีอยู่ในที่ใดๆ
การก้าวลงแห่งนามรูป(รูป เวทนา สัญญา สังขาร)ก็มีอยู่ในที่นั้นๆ
(วิญญาณย่อมตั้งอาศัยในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเมื่อมีความน้อมไปหาภพ(ใด)แล้ว)
เมื่อการก้าวลงแห่งนามรูป มีอยู่ในที่ใด การเจริญแห่งสังขารทั้งหลายก็มีอยู่ในที่นั้น
การเจริญแห่งสังขารทั้งหลายมีอยู่ในที่ใด การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไปย่อมมี
เหตุเป็นแดนเกิดของกรรม คือ ผัสสะ และความดับแห่งกรรม คือ การดับแห่งผัสสะ
[ผัสสะ (สัมผัส) อาศัยตาด้วย ๑ อาศัยรูปด้วย ๑ จึงเกิด จักขุวิญญาณ ๑ (เป็นต้น)
การถึงพร้อมด้วยธรรม ๓ ประการนี้ จึงเรียกว่า จักขุสัมผัส หรือ ผัสสะทางตา (เป็นต้น)]
วิญญาณ ๖ อันได้แก่
จักขุวิญญาณ(รู้แจ้งทางตา)
โสตวิญญาณ(รู้แจ้งทางหู)
ฆานะวิญญาณ(รู้แจ้งทางจมูก)
ชิวหาวิญญาณ(รู้แจ้งทางลิ้น)
กายวิญญาณ(รู้แจ้งทางสัมผัสทางกาย)
มโนวิญญาณ(รู้แจ้งทางธรรมารมณ์-เวทนา สัญญา สังขาร)
วิญญาณใดนี้ ย่อมมีที่ตั้งอาศัย
การจะบัญญัติซึ่งการมา การไป การจุติ การอุบัติ ของวิญญาณใดๆ
โดยเว้นจาก รูป(รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส), เวทนา,สัญญา,สังขาร นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้
วิญญาณ(ใด) อาศัยรูปตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้
เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์
มีรูปเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย มีนันทิ(ความเพลิน) เป็นที่เข้าไปส้องเสพ
ก็ถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ได้
(สิ่งที่วิญญาณเข้าไปตั้งอาศัย พระศาสดาทรงเรียกสิ่งนั้นว่า ภพ คือ สถานที่เกิดของวิญญาณ หรือ อารมณ์ เป็นที่ตั้งอยู่ของวิญญาณ อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร รวมเรียกภพเหล่านี้ว่า นามรูป เมื่อวิญญาณเข้าไปตั้งอาศัยในภพแล้ว กล่าวว่า ความมีภพได้เกิดขึ้น(ตอนที่วิญญาณยังไม่ได้เข้าไปตั้งอาศัย ภพ ก็มีของมันอยู่อย่างนั้น ก็เรียกว่า สถานที่เกิดของวิญญาณ เท่านั้น แต่พอวิญญาณเข้าไปตั้งอาศัยอยู่ ก็เรียกบัญญัติใหม่ว่า ความมีภพได้เกิดขึ้น)
นั้นคือวิญญาณที่ตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้มีอยู่ในที่ใดๆ
การก้าวลงแห่งนามรูป(รูป เวทนา สัญญา สังขาร)ก็มีอยู่ในที่นั้นๆ
(วิญญาณย่อมตั้งอาศัยในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเมื่อมีความน้อมไปหาภพ(ใด)แล้ว)
เมื่อการก้าวลงแห่งนามรูป มีอยู่ในที่ใด การเจริญแห่งสังขารทั้งหลายก็มีอยู่ในที่นั้น
การเจริญแห่งสังขารทั้งหลายมีอยู่ในที่ใด การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไปย่อมมี
เมื่อบุคคลคิดถึงสิ่งใดอยู่(เจตนา) ดำริถึงสิ่งใดอยู่
และมีใจฝังลงไปในสิ่งใดอยู่
สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่ของวิญญาณ
เมื่อวิญญาณตั้งขึ้นเฉพาะแล้ว การก้าวลงสู่ภพย่อมมี
และมีใจฝังลงไปในสิ่งใดอยู่
สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่ของวิญญาณ
เมื่อวิญญาณตั้งขึ้นเฉพาะแล้ว การก้าวลงสู่ภพย่อมมี
พระศาสดาทรงอุปมา
เมล็ดพืช เปรียบเหมือน วิญญาณ
ผืนนา เปรียบเหมือนภพ
น้ำเปรียบเหมือนนันทิและราคะ
เมื่อเมล็ดพืชตกลงไปบนผืนนา
เปรียบเหมือนวิญญาณเข้าไปตั้งอาศัยในภพ
เมล็ดพืชย่อมถึงความเจริญงอกงามได้ด้วยน้ำ
เปรียบเหมือนวิญญาณเจริญงอกงามไพบูลย์ได้ด้วยความกำหนัดและความเพลิน
เมล็ดพืช เปรียบเหมือน วิญญาณ
ผืนนา เปรียบเหมือนภพ
น้ำเปรียบเหมือนนันทิและราคะ
เมื่อเมล็ดพืชตกลงไปบนผืนนา
เปรียบเหมือนวิญญาณเข้าไปตั้งอาศัยในภพ
เมล็ดพืชย่อมถึงความเจริญงอกงามได้ด้วยน้ำ
เปรียบเหมือนวิญญาณเจริญงอกงามไพบูลย์ได้ด้วยความกำหนัดและความเพลิน
ส่วนอีกอุปมาหนึ่ง เมล็ดพืช เปรียบเหมือนวิญญาณ
เนื้อนาเปรียบเหมือน กรรม
ยางในเมล็ดพืชเปรียบเหมือนตัณหา
เมล็ดพืชตกลงไปบนเนื้อนา
เปรียบได้กับวิญญาณตั้งอาศัยอยู่ในกรรม
เมล็ดพืชถึงความเจริญงามไพบูลย์ได้ด้วยยางในเมล็ดพืช
เปรียบเหมือนกับตัณหาเป็นเชื้อแห่งการเกิดขึ้น(ใหม่) ชื่อว่าความมีภพเกิดขึ้น
ดังนั้น กรรม อันเป็นที่ตั้งอยู่ของวิญญาณ ก็คือ ภพ อันเป็นที่ที่วิญญาณตั้งอาศัยอยู่ได้ (กรรม = ภพ)
เนื้อนาเปรียบเหมือน กรรม
ยางในเมล็ดพืชเปรียบเหมือนตัณหา
เมล็ดพืชตกลงไปบนเนื้อนา
เปรียบได้กับวิญญาณตั้งอาศัยอยู่ในกรรม
เมล็ดพืชถึงความเจริญงามไพบูลย์ได้ด้วยยางในเมล็ดพืช
เปรียบเหมือนกับตัณหาเป็นเชื้อแห่งการเกิดขึ้น(ใหม่) ชื่อว่าความมีภพเกิดขึ้น
ดังนั้น กรรม อันเป็นที่ตั้งอยู่ของวิญญาณ ก็คือ ภพ อันเป็นที่ที่วิญญาณตั้งอาศัยอยู่ได้ (กรรม = ภพ)
เช่น ตาไปเห็นรูป วิญญาณทางตาเข้าไปเกลือกกลั้วอยู่ในรูป อันเป็นวิสัยที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยตาแล้ว กล่าวว่า
วิญญาณอาศัยรูปตั้งอยู่ รูปคือภพของวิญญาณ และ การเกิดขึ้นใหม่ของภพ ชื่อว่ากรรม(ใหม่)ได้เกิดขึ้น
วิญญาณอาศัยรูปตั้งอยู่ รูปคือภพของวิญญาณ และ การเกิดขึ้นใหม่ของภพ ชื่อว่ากรรม(ใหม่)ได้เกิดขึ้น
กรรม นั้นแบ่งได้เป็น
กรรมเก่า อันได้แก่ ตา หุ จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เป็นกรรมเก่า
เป็นสิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่งได้ เป็นสิ่งที่มีปัจจัยทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น เป็นสิ่งที่มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้
กรรมใหม่ อันได้แก่ ผัสสะ เป็นเหตุเกิดของกรรมใหม่
การประจวบพร้อมด้วยองค์ ๓ นี้เรียกว่า ผัสสะ เช่น
ตา ไป เห็น รูป หากจักขุวิญญาณ(เข้าไปตั้งอาศัย) เข้าไปเกลือกกลั้วอยู่ในรูป
อันเป็นวิสัยที่จะรู้ได้ด้วยตาแล้ว ผัสสะทางตาย่อมถึงการเกิดขึ้น
กรรมเก่า อันได้แก่ ตา หุ จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เป็นกรรมเก่า
เป็นสิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่งได้ เป็นสิ่งที่มีปัจจัยทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น เป็นสิ่งที่มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้
กรรมใหม่ อันได้แก่ ผัสสะ เป็นเหตุเกิดของกรรมใหม่
การประจวบพร้อมด้วยองค์ ๓ นี้เรียกว่า ผัสสะ เช่น
ตา ไป เห็น รูป หากจักขุวิญญาณ(เข้าไปตั้งอาศัย) เข้าไปเกลือกกลั้วอยู่ในรูป
อันเป็นวิสัยที่จะรู้ได้ด้วยตาแล้ว ผัสสะทางตาย่อมถึงการเกิดขึ้น
(มีกรณีที่ ตา มอง รูป แต่ วิญญาณ( จิต หรือ มโน) ไม่ได้เข้าไปอยู่ในคลองแห่งจักขุ
ผัสสะย่อมไม่เกิด การหมายรู้ทางตาไม่มี(ขาดจักขุวิญญาณ) จึงไม่ถึงการประชุมพร้อมด้วยองค์ ๓ )
ผัสสะย่อมไม่เกิด การหมายรู้ทางตาไม่มี(ขาดจักขุวิญญาณ) จึงไม่ถึงการประชุมพร้อมด้วยองค์ ๓ )
เพราะมีผัสสะ จึงเกิดเวทนา
เพราะมีเวทนา จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหา จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทาน จึงมีภพ (กรรม)
เพราะมีภพ ชาติ ชรา มรณะ ย่อมมี
ดังนั้น การปรากฏแห่งวิญญาณ(ใด) มีใดที่ใด
ชื่อว่าการปรากฏแห่งภพ (กรรม) ชาติ ชรา มรณะ ย่อมมีในที่นั้น
เพราะมีเวทนา จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหา จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทาน จึงมีภพ (กรรม)
เพราะมีภพ ชาติ ชรา มรณะ ย่อมมี
ดังนั้น การปรากฏแห่งวิญญาณ(ใด) มีใดที่ใด
ชื่อว่าการปรากฏแห่งภพ (กรรม) ชาติ ชรา มรณะ ย่อมมีในที่นั้น
ความดับไปแห่งกรรม มีได้เพราะความดับไปแห่งผัสสะ
พิจารณาการเกิดขึ้นแห่งผัสสะอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพย่อมมีเพราะ
อาศัยการน้อมไปแห่งวิญญาณ
ด้วยอาศัยตัณหานี้ใด อันทำความเกิดใหม่ให้เป็นปกติ
เป็นไปกันกับด้วยความกำหนัด(ราคะ) เพราความเพลิน(นันทิ) มักเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์ (ภพ-กรรม)
นี้เป็นเครื่องเข้าไปตั้งอาศัย เครื่องถึงทับ เป็นอนุสัยแห่งจิต
ที่เข้าไปมีอยู่ใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร อันเป็นภพ(กรรม) ของจิต(วิญญาณ)
อาศัยการน้อมไปแห่งวิญญาณ
ด้วยอาศัยตัณหานี้ใด อันทำความเกิดใหม่ให้เป็นปกติ
เป็นไปกันกับด้วยความกำหนัด(ราคะ) เพราความเพลิน(นันทิ) มักเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์ (ภพ-กรรม)
นี้เป็นเครื่องเข้าไปตั้งอาศัย เครื่องถึงทับ เป็นอนุสัยแห่งจิต
ที่เข้าไปมีอยู่ใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร อันเป็นภพ(กรรม) ของจิต(วิญญาณ)
หากจะดับกรรม คือ ภพอันทำความเกิดใหม่
ก็ต้องดับที่ผัสสะ คือเหตุเกิดของกรรม
ก็ต้องดับที่ผัสสะ คือเหตุเกิดของกรรม
เธอย่อมกระจายเสียให้ถูกวิธี
พระศาสดาจึงทรงให้กระจายเสียซึ่งผัสสะ
ให้พิจารณาเห็นถึงองค์ประกอบทั้ง ๓ นั้น
อาศัยกันและกันในการเกิดขึ้น เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์(ดับลงไปได้) ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง
สิ่งที่อาศัยกันแล้วเกิดขึ้นเป็นผัสสะเป็นของที่ไม่เที่ยง
แล้วผัสสะจะเป็นของเที่ยงแต่ไหน
และสิ่งที่เป็นผลตามมาจากผัสสะเป็นปัจจัยก็ย่อมเป็นของไม่เที่ยง
พระศาสดาจึงทรงให้กระจายเสียซึ่งผัสสะ
ให้พิจารณาเห็นถึงองค์ประกอบทั้ง ๓ นั้น
อาศัยกันและกันในการเกิดขึ้น เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์(ดับลงไปได้) ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง
สิ่งที่อาศัยกันแล้วเกิดขึ้นเป็นผัสสะเป็นของที่ไม่เที่ยง
แล้วผัสสะจะเป็นของเที่ยงแต่ไหน
และสิ่งที่เป็นผลตามมาจากผัสสะเป็นปัจจัยก็ย่อมเป็นของไม่เที่ยง
มรรควิธี
ดังนั้นการพิจาณาสิ่งที่ประจวบกันพร้อมเป็นผัสสะ(ได้แก่ สังขารทั้งหลาย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนนั้น
จะต้องเป็นผู้ที่เห็นซึ่งอริยสัจ ๔ คือ
เห็นการเกิดขึ้น และดับไปของสังขารทั้งหลาย เช่น
เห็นความเกิดและดับของ
ในจักษุ
ในจักขุวิญญาณ
ในธรรมที่รู้ได้ด้วยจักขุวิญญาณ
ดังนั้นการพิจาณาสิ่งที่ประจวบกันพร้อมเป็นผัสสะ(ได้แก่ สังขารทั้งหลาย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนนั้น
จะต้องเป็นผู้ที่เห็นซึ่งอริยสัจ ๔ คือ
เห็นการเกิดขึ้น และดับไปของสังขารทั้งหลาย เช่น
เห็นความเกิดและดับของ
ในจักษุ
ในจักขุวิญญาณ
ในธรรมที่รู้ได้ด้วยจักขุวิญญาณ
เมื่อเห็นตรงตามที่เป็นจริงอยู่อย่างนี้แล้ว จึงพิจารณาเห็น
จักษุ
จักขุวิญญาณ
และธรรมที่รู้ได้ด้วยจักขุวิญญาณว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา
ปฏิปทานี้เป็นความดับไม่เหลือซึ่งสักกายะ(คืออุปาทานในขันธ์ทั้งหลาย)
เพราะความสิ้นไปแห่งความเพลิน จึงมีความสิ้นไปแห่งอุปาทาน
จักษุ
จักขุวิญญาณ
และธรรมที่รู้ได้ด้วยจักขุวิญญาณว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา
ปฏิปทานี้เป็นความดับไม่เหลือซึ่งสักกายะ(คืออุปาทานในขันธ์ทั้งหลาย)
เพราะความสิ้นไปแห่งความเพลิน จึงมีความสิ้นไปแห่งอุปาทาน
เมื่อเห็นด้วยปัญญา ตรงตามที่เป็นจริงอยู่อย่างนี้แล้ว
ขันธ์ ธาตุ อายตนะ มีอยู่ประมารเท่าไร
ย่อมไม่มั่นหมายซึ่ง ขันธ์ ธาตุ อายตนะ นั้น
ย่อมไม่มั่นหมายใน ขันธ์ ธาตุอายตนะนั้น
ย่อมไม่มั่นหมายโดยความเป็น ขันธ์ ธาตุ อายตนะ นั้น
และย่อมไม่มั่นหมาย ขันธ์ ธาตุ อายตนะนั้น ว่าของเรา
นี้เป็นปฏิปทาเพื่อเพิกถอนความมั่นหมายในสิ่งทั้งปวง
ขันธ์ ธาตุ อายตนะ มีอยู่ประมารเท่าไร
ย่อมไม่มั่นหมายซึ่ง ขันธ์ ธาตุ อายตนะ นั้น
ย่อมไม่มั่นหมายใน ขันธ์ ธาตุอายตนะนั้น
ย่อมไม่มั่นหมายโดยความเป็น ขันธ์ ธาตุ อายตนะ นั้น
และย่อมไม่มั่นหมาย ขันธ์ ธาตุ อายตนะนั้น ว่าของเรา
นี้เป็นปฏิปทาเพื่อเพิกถอนความมั่นหมายในสิ่งทั้งปวง
เมื่อ ราคะ ที่มีอยู่ใน รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ อันบุคคลละได้แล้ว
วิญญาณย่อมไม่มีที่ตั้งอาศัย ก็ไม่เจริญงอกงาม
ดับลงไปได้เพราะไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
เมื่อวิญญาณไม่มีอยุ่ในที่ใด การก้าวลงแห่งนามรูปย่อมดับไปในที่นั้น
ที่ใดที่ไม่มีวิญญาณและนามรูป ที่นั้นคือความดับไม่เหลือแห่งสังขารทั้งหลาย
เป็นความดับไปไม่เหลือแห่งทุกข์
จะป่วยกล่าวไปใยถึงการดับแห่งกรรม
--
สัญญาเวทยิตนิโรธ มีขันธ์ สองขันธ์ ทำงาน
https://www.facebook.com/…/6797…/permalink/902342749852492/
*******************
**************
เหตุสำเร็จความปรารถนา
วิญญาณย่อมไม่มีที่ตั้งอาศัย ก็ไม่เจริญงอกงาม
ดับลงไปได้เพราะไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
เมื่อวิญญาณไม่มีอยุ่ในที่ใด การก้าวลงแห่งนามรูปย่อมดับไปในที่นั้น
ที่ใดที่ไม่มีวิญญาณและนามรูป ที่นั้นคือความดับไม่เหลือแห่งสังขารทั้งหลาย
เป็นความดับไปไม่เหลือแห่งทุกข์
จะป่วยกล่าวไปใยถึงการดับแห่งกรรม
--
สัญญาเวทยิตนิโรธ มีขันธ์ สองขันธ์ ทำงาน
https://www.facebook.com/…/6797…/permalink/902342749852492/
*******************
**************
เหตุสำเร็จความปรารถนา
ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงเหตุสำเร็จความปรารถนาแก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังเหตุสำเร็จความปรารถนานั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า “โอหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งกษัตริย์มหาศาลเถิด” ดังนี้ก็มี เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสำเร็จในความเป็นสหายแห่งกษัตริย์มหาศาล.
ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า “โอหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพราหมณ์มหาศาลเถิด” ดังนี้ก็มี เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสำเร็จในความเป็นสหายแห่งพราหมณ์มหาศาล.
ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า “โอหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งคหบดีมหาศาลเถิด” ดังนี้ก็มี เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสำเร็จในความเป็นสหายแห่งคหบดีมหาศาล.
ภพภูมิ หน้า ๒๐๑
(ภาษาไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๑๗๒/๓๑๘-๓๒๐. :
*******************
****************
อานิสงส์สำหรับผู้ทำศีลให้บริบูรณ์
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า “โอหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งกษัตริย์มหาศาลเถิด” ดังนี้ก็มี เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสำเร็จในความเป็นสหายแห่งกษัตริย์มหาศาล.
ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า “โอหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพราหมณ์มหาศาลเถิด” ดังนี้ก็มี เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสำเร็จในความเป็นสหายแห่งพราหมณ์มหาศาล.
ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า “โอหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งคหบดีมหาศาลเถิด” ดังนี้ก็มี เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสำเร็จในความเป็นสหายแห่งคหบดีมหาศาล.
ภพภูมิ หน้า ๒๐๑
(ภาษาไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๑๗๒/๓๑๘-๓๒๐. :
*******************
****************
อานิสงส์สำหรับผู้ทำศีลให้บริบูรณ์
ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลาย จงมีศีลสมบูรณ์ มีปาติโมกข์สมบูรณ์อยู่เถิด พวกเธอทั้งหลาย จงสำรวมด้วยปาติโมกขสังวร สมบูรณ์ด้วยมรรยาทและโคจรอยู่เถิด จงเป็นผู้เห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายที่มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด.
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราพึงเป็นที่รัก ที่เจริญใจ ที่เคารพ ที่ยกย่อง ของเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกันทั้งหลาย” ดังนี้แล้ว,
เธอพึงทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย
พึงตามประกอบในธรรมเป็นเครื่องสงบแห่งจิตในภายใน เป็นผู้ไม่เหินห่างในฌาน,
เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยวิปัสสนา
และให้วัตรแห่งผู้อยู่สุญญาคารทั้งหลาย เจริญงอกงามเถิด.
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราพึงเป็นผู้มีลาภด้วยบริขารคือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารทั้งหลาย” ดังนี้ก็ดี, ...ฯลฯ...
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของทายกเหล่าใด การกระทำเหล่านั้น พึงมีผลมาก มีอานิสงส์มากแก่ทายกเหล่านั้น” ดังนี้ก็ดี, ...ฯลฯ...
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “ญาติสายโลหิตทั้งหลาย ซึ่งตายจากกันไปแล้ว มีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงเราอยู่ ข้อนั้นจะพึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก แก่เขาเหล่านั้น” ดังนี้ก็ดี, ...ฯลฯ...
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราพึงอดทนได้ซึ่งความไม่ยินดีและความยินดี, อนึ่ง ความไม่ยินดีอย่าเบียดเบียนเรา, เราพึงครอบงำย่ำยีความไม่ยินดี ซึ่งยังเกิดขึ้นแล้วอยู่เถิด” ดังนี้ก็ดี, ...ฯลฯ...
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราพึงอดทนความขลาดกลัวได้, อนึ่ง ความขลาดกลัวอย่าเบียดเบียนเรา, เราพึงครอบงำย่ำยีความขลาดกลัว ที่บังเกิดขึ้นแล้วอยู่เถิด” ดังนี้ก็ดี, ...ฯลฯ...
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราพึงได้ตามต้องการ ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ซึ่งฌานทั้งสี่ อันเป็นไปในจิตอันยิ่ง เป็นทิฏฐธรรมสุขวิหาร” ดังนี้ก็ดี, ...ฯลฯ...
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราพึงเป็นโสดาบัน เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม เป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา ผู้เที่ยงต่อพระนิพพาน มีการตรัสรู้ อยู่ข้างหน้า” ดังนี้ก็ดี, ...ฯลฯ...
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราพึงเป็นสกทาคามี เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม และเพราะความเบาบางแห่งราคะ โทสะ และโมหะ พึงมาสู่เทวโลกอีกครั้งเดียวเท่านั้น แล้วพึงทำที่สุดแห่งทุกข์ได้” ดังนี้ก็ดี, ...ฯลฯ...
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราพึงเป็นโอปปาติกะ (พระอนาคามี) เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์เบื้องต่ำห้า พึงปรินิพพานในภพนั้น ไม่กลับจากโลกนั้น เป็นธรรมดา” ดังนี้ก็ดี, ...ฯลฯ...
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราพึงแสดงอิทธิวิธีมีอย่างต่างๆ ได้” ดังนี้ก็ดี, ...ฯลฯ...
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราพึงมีทิพยโสต” ดังนี้ก็ดี, ...ฯลฯ...
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราใคร่ครวญแล้ว พึงรู้จิตของสัตว์เหล่าอื่น, ของบุคคลเหล่าอื่น ด้วยจิตของตน” ดังนี้ก็ดี, ...ฯลฯ...
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราพึงตามระลึกถึงภพที่เคยอยู่ในกาลก่อนได้หลายๆ อย่าง...” ดังนี้ก็ดี, ...ฯลฯ..
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราพึงเห็นสัตว์ทั้งหลายด้วยจักษุทิพย์ อันหมดจดเกินจักษุสามัญของมนุษย์” ดังนี้ก็ดี, ...ฯลฯ…
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมเทียวเข้าถึงแล้วแลอยู่” ดังนี้ก็ดี,
เธอพึงทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย พึงตามประกอบในธรรมเป็นเครื่องสงบแห่งจิตในภายใน เป็นผู้ไม่เหินห่างในฌาน ประกอบพร้อมแล้วด้วยวิปัสสนา และให้วัตรแห่งผู้อยู่สุญญาคารทั้งหลายเจริญงอกงามเถิด.
คำใดที่เราผู้ตถาคตกล่าวแล้วว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลาย จงมีศีลสมบูรณ์ มีปาติโมกข์สมบูรณ์อยู่เถิด เธอทั้งหลาย จงสำรวมด้วยปาติโมกขสังวร สมบูรณ์ด้วยมรรยาทและโคจรอยู่เถิด จงเป็นผู้เห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายที่มีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด” ดังนี้.
คำนั้นอันเราตถาคต อาศัยเหตุผลดังกล่าวนี้แล จึงได้กล่าวแล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราพึงเป็นที่รัก ที่เจริญใจ ที่เคารพ ที่ยกย่อง ของเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกันทั้งหลาย” ดังนี้แล้ว,
เธอพึงทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย
พึงตามประกอบในธรรมเป็นเครื่องสงบแห่งจิตในภายใน เป็นผู้ไม่เหินห่างในฌาน,
เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยวิปัสสนา
และให้วัตรแห่งผู้อยู่สุญญาคารทั้งหลาย เจริญงอกงามเถิด.
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราพึงเป็นผู้มีลาภด้วยบริขารคือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารทั้งหลาย” ดังนี้ก็ดี, ...ฯลฯ...
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของทายกเหล่าใด การกระทำเหล่านั้น พึงมีผลมาก มีอานิสงส์มากแก่ทายกเหล่านั้น” ดังนี้ก็ดี, ...ฯลฯ...
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “ญาติสายโลหิตทั้งหลาย ซึ่งตายจากกันไปแล้ว มีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงเราอยู่ ข้อนั้นจะพึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก แก่เขาเหล่านั้น” ดังนี้ก็ดี, ...ฯลฯ...
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราพึงอดทนได้ซึ่งความไม่ยินดีและความยินดี, อนึ่ง ความไม่ยินดีอย่าเบียดเบียนเรา, เราพึงครอบงำย่ำยีความไม่ยินดี ซึ่งยังเกิดขึ้นแล้วอยู่เถิด” ดังนี้ก็ดี, ...ฯลฯ...
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราพึงอดทนความขลาดกลัวได้, อนึ่ง ความขลาดกลัวอย่าเบียดเบียนเรา, เราพึงครอบงำย่ำยีความขลาดกลัว ที่บังเกิดขึ้นแล้วอยู่เถิด” ดังนี้ก็ดี, ...ฯลฯ...
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราพึงได้ตามต้องการ ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ซึ่งฌานทั้งสี่ อันเป็นไปในจิตอันยิ่ง เป็นทิฏฐธรรมสุขวิหาร” ดังนี้ก็ดี, ...ฯลฯ...
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราพึงเป็นโสดาบัน เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม เป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา ผู้เที่ยงต่อพระนิพพาน มีการตรัสรู้ อยู่ข้างหน้า” ดังนี้ก็ดี, ...ฯลฯ...
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราพึงเป็นสกทาคามี เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม และเพราะความเบาบางแห่งราคะ โทสะ และโมหะ พึงมาสู่เทวโลกอีกครั้งเดียวเท่านั้น แล้วพึงทำที่สุดแห่งทุกข์ได้” ดังนี้ก็ดี, ...ฯลฯ...
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราพึงเป็นโอปปาติกะ (พระอนาคามี) เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์เบื้องต่ำห้า พึงปรินิพพานในภพนั้น ไม่กลับจากโลกนั้น เป็นธรรมดา” ดังนี้ก็ดี, ...ฯลฯ...
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราพึงแสดงอิทธิวิธีมีอย่างต่างๆ ได้” ดังนี้ก็ดี, ...ฯลฯ...
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราพึงมีทิพยโสต” ดังนี้ก็ดี, ...ฯลฯ...
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราใคร่ครวญแล้ว พึงรู้จิตของสัตว์เหล่าอื่น, ของบุคคลเหล่าอื่น ด้วยจิตของตน” ดังนี้ก็ดี, ...ฯลฯ...
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราพึงตามระลึกถึงภพที่เคยอยู่ในกาลก่อนได้หลายๆ อย่าง...” ดังนี้ก็ดี, ...ฯลฯ..
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราพึงเห็นสัตว์ทั้งหลายด้วยจักษุทิพย์ อันหมดจดเกินจักษุสามัญของมนุษย์” ดังนี้ก็ดี, ...ฯลฯ…
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมเทียวเข้าถึงแล้วแลอยู่” ดังนี้ก็ดี,
เธอพึงทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย พึงตามประกอบในธรรมเป็นเครื่องสงบแห่งจิตในภายใน เป็นผู้ไม่เหินห่างในฌาน ประกอบพร้อมแล้วด้วยวิปัสสนา และให้วัตรแห่งผู้อยู่สุญญาคารทั้งหลายเจริญงอกงามเถิด.
คำใดที่เราผู้ตถาคตกล่าวแล้วว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลาย จงมีศีลสมบูรณ์ มีปาติโมกข์สมบูรณ์อยู่เถิด เธอทั้งหลาย จงสำรวมด้วยปาติโมกขสังวร สมบูรณ์ด้วยมรรยาทและโคจรอยู่เถิด จงเป็นผู้เห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายที่มีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด” ดังนี้.
คำนั้นอันเราตถาคต อาศัยเหตุผลดังกล่าวนี้แล จึงได้กล่าวแล้ว.
ปฐมธรรม หน้า ๑๓๕
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หน้า ๒๒๙
(ภาษาไทย) มู. ม. ๑๒/๔๓/๗๓.
*********************
******************
อากังขสูตร
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลาย จงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล สมบูรณ์ด้วยปาติโมกข์อยู่เถิด จงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจารและโคจรอยู่เถิด จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษทั้งหลายอันมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ ในสิกขาบททั้งหลายเถิด
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หน้า ๒๒๙
(ภาษาไทย) มู. ม. ๑๒/๔๓/๗๓.
*********************
******************
อากังขสูตร
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลาย จงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล สมบูรณ์ด้วยปาติโมกข์อยู่เถิด จงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจารและโคจรอยู่เถิด จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษทั้งหลายอันมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ ในสิกขาบททั้งหลายเถิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นที่รัก ที่ชอบใจที่เคารพ และที่ยกย่องของสพรหมจารีทั้งหลายไซร้ ภิกษุนั้นพึง
เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ประกอบด้วยความสงบใจในภายใน ไม่เหินห่างจากฌานประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่า เถิด
เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ประกอบด้วยความสงบใจในภายใน ไม่เหินห่างจากฌานประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่า เถิด
ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารทั้งหลาย ไซร้ ภิกษุนั้นพึง
เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ประกอบด้วยความสงบใจในภายใน ไม่เหินห่างจากฌานประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่า เถิด
เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ประกอบด้วยความสงบใจในภายใน ไม่เหินห่างจากฌานประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่า เถิด
ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ของชนเหล่าใด ขอสักการะของชนเหล่านั้นพึงมีผลมาก มีอานิสงส์มากไซร้ ภิกษุนั้นพึง
เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ประกอบด้วยความสงบใจในภายใน ไม่เหินห่างจากฌานประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่า เถิด
เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ประกอบด้วยความสงบใจในภายใน ไม่เหินห่างจากฌานประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่า เถิด
ถ้าภิกษุพึงหวังว่า ญาติสาโลหิตเหล่าใด ผู้ละไปแล้วกระทำกาละแล้วมีจิตเลื่อมใส ย่อมตามระลึกถึง ขอการระลึกถึงแห่งญาติสาโลหิตเหล่านั้นพึงมีผลมาก มีอานิสงส์มากไซร้ ภิกษุนั้นพึง
เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ประกอบด้วยความสงบใจในภายใน ไม่เหินห่างจากฌานประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่า เถิด
เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ประกอบด้วยความสงบใจในภายใน ไม่เหินห่างจากฌานประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่า เถิด
ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรบิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ไซร้ ภิกษุนั้นพึง
เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ประกอบด้วยความสงบใจในภายใน ไม่เหินห่างจากฌานประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่า เถิด
เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ประกอบด้วยความสงบใจในภายใน ไม่เหินห่างจากฌานประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่า เถิด
ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้อดทนต่อหนาว ร้อน หิว กระหาย เหลือบ ยุงลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เสือกคลาน ถ้อยคำอันหยาบช้า พึงเป็นผู้อดกลั้นต่อทุกขเวทนาอันมีในสรีระที่เกิดขึ้นแล้ว กล้าแข็ง เผ็ดร้อน อันไม่ชื่นใจไม่พอใจ อันนำชีวิตไปไซร้ ภิกษุนั้นพึง
เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ประกอบด้วยความสงบใจในภายใน ไม่เหินห่างจากฌานประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่า เถิด
เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ประกอบด้วยความสงบใจในภายใน ไม่เหินห่างจากฌานประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่า เถิด
ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ครอบงำความไม่ยินดี และความยินดี และขอความไม่ยินดีและความยินดีไม่พึงครอบงำเรา เราพึงครอบงำความไม่ยินดี และความยินดีอันเกิดขึ้นแล้วอยู่ไซร้ ภิกษุนั้นพึง
เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ประกอบด้วยความสงบใจในภายใน ไม่เหินห่างจากฌานประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่า เถิด
เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ประกอบด้วยความสงบใจในภายใน ไม่เหินห่างจากฌานประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่า เถิด
ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ครอบงำภัยและความหวาดเสียว และขออภัยและความหวาดเสียวไม่พึงครอบงำเราได้ เราพึงเป็นผู้ครอบงำภัยและความหวาดเสียวที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ไซร้ ภิกษุนั้นพึง
เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ประกอบด้วยความสงบใจในภายใน ไม่เหินห่างจากฌานประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่า เถิด
เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ประกอบด้วยความสงบใจในภายใน ไม่เหินห่างจากฌานประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่า เถิด
ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันไซร้ ภิกษุนั้นพึง
เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ประกอบด้วยความสงบใจในภายใน ไม่เหินห่างจากฌานประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่า เถิด
เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ประกอบด้วยความสงบใจในภายใน ไม่เหินห่างจากฌานประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่า เถิด
ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะไม่ได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ไซร้ ภิกษุนั้นพึง
เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ประกอบด้วยความสงบใจในภายใน ไม่เหินห่างจากฌานประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่า เถิด
เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ประกอบด้วยความสงบใจในภายใน ไม่เหินห่างจากฌานประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่า เถิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำที่เรากล่าวว่า เธอทั้งหลายจงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล สมบูรณ์ด้วยปาติโมกข์อยู่เถิด จงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่เถิด จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษทั้งหลายอันมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายเถิด ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
(ภาษาไทย) ทสก. อํ. ๒๔/๑๑๗/๗๑
************************
*******************
สิ่งที่ทุกคนปรารถนาจะได้
(ภาษาไทย) ทสก. อํ. ๒๔/๑๑๗/๗๑
************************
*******************
สิ่งที่ทุกคนปรารถนาจะได้
คหบดี ! ธรรม ๔ ประการนี้ น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก. ธรรม ๔ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ :-
ขอโภคทรัพย์จงเกิดขึ้นแก่เราโดยทางธรรม นี้เป็นธรรม ประการที่ ๑ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก. เราได้โภคทรัพย์ทั้งหลายโดยทางธรรมแล้ว
ขอยศจงเฟื่องฟูแก่เราพร้อมด้วยญาติและมิตรสหาย นี้เป็นธรรม ประการที่ ๒ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก. เราได้โภคทรัพย์ทั้งหลายโดยทางธรรมแล้ว ได้ยศพร้อมด้วยญาติและมิตรสหายแล้ว
ขอเราจงเป็นอยู่นาน จงรักษาอายุให้ยั่งยืน นี้เป็นธรรม ประการที่ ๓ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก. เราได้โภคทรัพย์ทั้งหลายโดยทางธรรมแล้ว ได้ยศพร้อมด้วยญาติและมิตรสหายแล้ว เป็นอยู่นานรักษาอายุให้ยั่งยืนแล้ว
เมื่อตายแล้ว ขอเราจงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นี้เป็นธรรม ประการที่ ๔ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก.
คหบดี ! ธรรม ๔ ประการนี้แล น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก.
คหบดี ! ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้ ธรรม ๔ ประการ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก ธรรม ๔ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ :-
สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา) ๑ สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล) ๑ จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค) ๑ ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา) ๑ .
คหบดี ! ก็ สัทธาสัมปทาเป็นอย่างไรเล่า ?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีศรัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า “เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์”. คหบดี ! นี้เรียกว่า สัทธาสัมปทา.
ก็ สีลสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต เป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน เป็นผู้เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท เป็นผู้เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท. นี้เรียกว่า สีลสัมปทา.
ก็ จาคสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ มีใจปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ มีการบริจาคอันปล่อยอยู่เป็นประจำ มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ เป็นผู้ควรแก่การขอ ยินดีในการให้ และการแบ่งปัน. นี้เรียกว่า จาคสัมปทา.
ก็ ปัญญาสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
บุคคลมีใจอันความโลภอย่างแรงกล้า คือ อภิชฌาครอบงำแล้ว ย่อมทำกิจที่ไม่ควรทำ ละเลยกิจที่ควรทำเมื่อทำกิจที่ไม่ควรทำและละเลยกิจที่ควรทำเสีย ย่อมเสื่อมจากยศและความสุข บุคคลมีใจอันพยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ อันวิจิกิจฉาครอบงำแล้ว ย่อมทำกิจที่ไม่ควรทำ ละเลยกิจที่ควรทำ เมื่อทำกิจที่ไม่ควรทำและละเลยกิจที่ควรทำเสีย ย่อมเสื่อมจากยศและความสุข.
คหบดี ! อริยสาวกนั้นแลรู้ว่า อภิชฌาวิสมโลภะ (ความโลภอย่างแรงกล้า) เป็นอุปกิเลส (โทษเครื่องเศร้าหมอง) แห่งจิต ย่อมละอภิชฌาวิสมโลภะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตเสียได้ รู้ว่า พยาบาท (คิดร้าย) ถีนมิทธะ (ความหดหู่ซึมเซา) อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านรำคาญ) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ย่อมละเสียซึ่งสิ่งที่เป็นอุปกิเลสแห่งจิตเหล่านั้น .
คหบดี ! เมื่อใดอริยสาวกรู้ว่าอภิชฌาวิสมโลภะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิตดังนี้แล้ว เมื่อนั้นย่อมละเสียได้ เมื่อใดอริยสาวกรู้ว่าพยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา เป็นอุปกิเลสแห่งจิตดังนี้แล้ว เมื่อนั้นย่อมละสิ่งเหล่านั้นเสียได้ อริยสาวกนี้เราเรียกว่า เป็นผู้มีปัญญามาก มีปัญญาหนาแน่น เป็นผู้เห็นทาง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา. นี้เรียกว่า ปัญญาสัมปทา.
คหบดี !
ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้ธรรม ๔ ประการ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก.
ฆราวาสชั้นเลิศ หน้า ๒๓
จตุกฺก. อํ. ๒๑/๖๕/๖๑.
*******************
***********
ทาน ที่จัดว่าเป็น มหาทาน
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวก ในกรณีนี้ ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต.
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกเว้นขาดจากปาณาติบาตแล้ว ย่อมชื่อว่า ให้อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลาย มากไม่มีประมาณ; ครั้นให้อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลายมากไม่มีประมาณแล้ว ย่อมเป็นผู้ มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน อันไม่มีประมาณ.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นทานชั้นปฐม เป็นมหาทาน รู้จักกันว่าเป็นของเลิศ เป็นของมีมานาน เป็นของประพฤติสืบกันมาแต่โบราณ ไม่ถูกทอดทิ้งเลย ไม่เคยถูกทอดทิ้งในอดีต ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ในปัจจุบัน และจักไม่ถูกทอดทิ้งในอนาคต อันสมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้เป็นท่อธารแห่งบุญ เป็นที่ไหลออกแห่งกุศล นำมาซึ่งสุข เป็นไปเพื่อยอดสุดอันดี มีสุขเป็นวิบาก เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุขอันพึงปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ทาน ๕ ประการนี้แล เป็นมหาทานรู้จักกันว่าเป็นของเลิศ เป็นของมีมานาน เป็นของประพฤติสืบกันมาแต่โบราณ ไม่ถูกทอดทิ้งเลย ไม่เคยถูกทอดทิ้งในอดีต ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ในปัจจุบัน และจักไม่ถูกทอดทิ้งในอนาคต อันสมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน.
ปฐมธรรม หน้า ๑๒๐
อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๑๙๑/๑๒๙.
***********************
*****************
เหตุเกิดขึ้นแห่งทาน ๘ ประการ
ปฐมธรรม หน้า ๑๒๐
อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๑๙๑/๑๒๙.
***********************
*****************
เหตุเกิดขึ้นแห่งทาน ๘ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุเกิดขึ้นแห่งทาน ๘ ประการนี้.
๘ ประการ อย่างไรเล่า ?
๘ ประการ อย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และเครื่องตามประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ย่อมหวังสิ่งนั้น เขาเห็นกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อม ถูกบำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า “โอหนอ ! เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล” เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น จิตของเขานึกน้อมไปในทางเลว ไม่เจริญยิ่งขึ้น ภายหลังแต่การตาย เพราะการทำลายแห่งกาย เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล แต่ข้อนั้นเรากล่าวว่า เป็นของผู้มีศีล ไม่ใช่ของผู้ทุศีล.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความปรารถนาแห่งใจของบุคคลผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้ เพราะจิตบริสุทธิ์.
ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ... เครื่องตามประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ย่อมหวังสิ่งนั้น เขาได้ฟังมาว่า เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า “โอหนอ ! เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา” เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น จิตของเขานึกน้อมไปในทางที่เลว ไม่เจริญยิ่งขึ้น ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา แต่ข้อนั้นเรากล่าวว่าเป็นของผู้มีศีล ไม่ใช่ของผู้ทุศีล.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความปรารถนาแห่งใจของบุคคลผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้เพราะจิตบริสุทธิ์.
ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ... เครื่องตามประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ย่อมหวังสิ่งนั้น เขาได้ฟังมาว่า เทวดาชั้นดาวดึงส์ ... เทวดาชั้นยามา ... เทวดาชั้นดุสิต ... เทวดาชั้นนิมมานรดี ...เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุขมาก เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า “โอหนอ ! เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี” เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น จิตของเขานึกน้อมไปในทางที่เลว ไม่เจริญยิ่งขึ้น ภายหลังแต่การตาย เพราะการทำลายแห่งกาย เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี แต่ข้อนั้นเรากล่าวว่าเป็นของผู้มีศีล ไม่ใช่ของผู้ทุศีล.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความปรารถนาแห่งใจของบุคคลผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้ เพราะจิตบริสุทธิ์
ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ทาน คือ ข้าวน้ำ ... เครื่องตามประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ย่อมหวังสิ่งนั้น เขาได้ฟังมาว่า เทวดาชั้นพรหมกายิกา มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า “โอหนอ ! เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหมกายิกา” เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น จิตของเขานึกน้อมไปในทางที่เลว ไม่เจริญยิ่งขึ้น ภายหลังแต่การตาย เพราะการทำลายแห่งกาย เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหมกายิกา แต่ข้อนั้นเรากล่าวว่าเป็นของผู้มีศีล ไม่ใช่ของผู้ทุศีล.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความปรารถนาแห่งใจของบุคคลผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้ เพราะจิตปราศจากราคะ.
ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุเกิดขึ้นแห่งทาน ๘ ประการนี้แล.
ภพภูมิ หน้า ๒๖๔
(ภาษาไทย) สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๘๖/๑๒๕
(ภาษาไทย) สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๘๖/๑๒๕
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น