วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2559

การเห็นการ เกิด - ดับ ของขันธ์ทั้ง ๕





#การเห็นการเกิด  -ดับ  #ของขันธ์ทั้ง  ๕


#เห็นการเกิดดับในขันธ์ทั้ง๕

...ฯลฯ...

ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็น..ความเกิด..ความดับ.

.ในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า

-

ดังนี้รูป

ดังนี้ความเกิดแห่งรูป

ดังนี้ความดับแห่งรูป

-

ดังนี้เวทนา

ดังนี้ความเกิดแห่งเวทนา

ดังนี้ความดับแห่งเวทนา

-

ดังนี้สัญญา

ดังนี้ความเกิดแห่งสัญญา

ดังนี้ความดับแห่งสัญญา

-

ดังนี้สังขาร

ดังนี้ความเกิดแห่งสังขาร

ดังนี้ความดับแห่งสังขาร

-

ดังนี้วิญญาณ

ดังนี้ความเกิดแห่งวิญญาณ

ดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ

-

นี้เป็นเหตุข้อที่ ๘ เป็นปัจจัยข้อที่ ๘

เป็นไปเพื่อความได้ปัญญา

อันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์

ที่ยังไม่ได้ เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป

เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ

เพื่อความบริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ

--

(ไทย) อุปริ. ม. ๑๑/๒๖๙/๔๔๔.

--

http://etipitaka.com/read/thai/11/269/

---

--

วิญญาณ และนาม-รูปต่างอาศัยกันละกันเกิดขึ้น

ถ้าไม่มีนาม-รูป วิญญาณก็ดับ

-

ถ้าไม่มีวิญญาณ นาม-รูปก็ดับ

-

ดังอุปมาของพระสารีบุตร เหมือนไม้ 2 กำพิงกัน

อาศัยกันจึงตั้งอยู่ได้

หากดึงกำที่เป็นวิญญาณออก กำที่เป็น นาม-รูป ก็ล้ม

-

หากดึงกำที่เป็น นาม-รูป ออก กำที่เป็นวิญญาณก็ล้ม

-

อุปมาของพระศาสดา..

-

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนเรือนยอด หรือศาลาเรือนยอด ที่ตั้งอยู่

ทางทิศเหนือหรือใต้ก็ตาม เป็นเรือนมีหน้าต่างทางทิศตะวันออก.

ครั้นดวงอาทิตย์ขึ้นมา แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์

ส่งเข้าไปทางช่องหน้าต่างแล้ว

จักตั้งอยู่ที่ส่วนไหนแห่งเรือนนั่นเล่า ?

-

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์

จักปรากฏที่ฝาเรือนข้างในด้านทิศตะวันตก พระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ท. ! ถ้าฝาเรือนทางทิศตะวันตกไม่มีเล่า

แสงแห่งดวงอาทิตย์นั้น จักปรากฏอยู่ที่ไหน ?

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น

จักปรากฏที่พื้นดิน พระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ท. ! ถ้าพื้นดินไม่มีเล่า แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น

จักปรากฏที่ไหน ?

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น

จักปรากฏในน้ำ พระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ท. ! ถ้าน้ำไม่มีเล่า แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น

จักปรากฏที่ไหนอีก?

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น

ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ปรากฏแล้ว

พระเจ้าข้า !”

--

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๖

สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

หน้าที่ ๑๐๑ ข้อที่ ๒๔๘ - ๒๔๙

---

http://etipitaka.com/read/thai/16/101/…

----

‪#‎ขันธ์๕‬

‪#‎อุปาทานขันธ์๕‬

‪#‎ที่ตั้้งแห่งอุปาทานขันธ์๕‬

‪#‎อุปาทานขันธสูตร‬

[๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ รูปูปาทานักขันธ์ ๑ เวทนูปาทานักขันธ์ ๑ สัญญูปาทานักขันธ์ ๑ สังขารูปาทานักขันธ์ ๑ วิญญาณูปาทานักขันธ์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้แล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ เพื่อละ อุปาทานักขันธ์ ๕ ประการนี้แล ฯ

(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓)

--------------------

พุทธพจน์ ‪#‎แสดงขันธ์‬ ๕ ‪#‎และอุปาทานขันธ์‬ ๕

ปัญจขันธสูตร

[๙๕] ....."ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ เธอทั้งหลายจงฟัง"

"ขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม เหล่านี้ เรียกว่า ขันธ์ ๕".....

[๙๖] ....."อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม ที่ประกอบด้วยอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน(หรือถูกอุปาทานครอบงำในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง)...เหล่านี้ เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕"....

(สํ.ข. ๑๗ / ๙๕-๙๖ /๕๘-๖๐)

--------------------------

"ภิกษุทั้งหลาย

เราจักแสดงธรรมทั้งหลายซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน

และตัวอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟัง.

"รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ คือ ธรรม(สิ่ง)อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน (ส่วน)ฉันทราคะ(ก็คือตัณหา) ในรูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ นั้นคือ อุปาทานในสิ่งนั้นๆ"

(ฉันทะราคะ คือความชอบใจจนติด หรืออยากอย่างแรงจนยึดติด กล่าวคือตัณหา จึงเป็นเหตุปัจจัยจึงมีอุปาทานครอบงำ)

(สํ.ข. ๑๗ / ๓๐๙ / ๒๐๒)

---

อ่านพระสูตรเพิ่มเติมจากโปรแกรม E-Tipitaka

http://etipitaka.com/read/thai/17/47/…

--

link ; วิญญาณ  นามรูป

http://etipitaka.com/read/thai/16/101/…

--

ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก faq

พุทธวจน faq การเห็นการเกิด-ดับ ของขันธ์ทั้ง ๕

http://faq.watnapp.com/th/practice/84-new-practice/220-01-01-0048

---

ประโยชน์ของการมี..ปัญญา..เห็น..เกิด ดับ..ของ..ขันธ์๕..เราจะรู้ด้วยปัญญาว่า..มันกะเรา..ไม่ใช่ตัวเดียวกัน..เราจะปล่อยวางไม่อาลัยอาวรณ์..เมื่อขันธ์๕ แตกสลายไป..เราก็จะหลุดพ้นจาก..การเกิด..แก่..ตาย..หลุดพ้นไป.

พุทธวจน faq “นั่นไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม), นั่นไม่ใช่เรา (เนโสหมสฺมิ), นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) ” หมายความว่าอย่างไร และมีนัยเกี่ยวกับอนัตตา และ นิพพาน อย่างไร

. http://faq.watnapp.com/.../84-new-practice/130-01-01-0039

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น