วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559

ความทุกข์มีประโยชน์หรือไม่ และการแก้ความทุกข์ที่ถูกต้องคืออย่างไร พุทธวจน

ความทุกข์มีประโยชน์หรือไม่ และการแก้ความทุกข์ที่ถูกต้องคืออย่างไร : พุทธวจน

#การปฏิบัติตามลำดับ

ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมไม่กล่าวการประสบความพอใจในอรหัตตผล

ด้วยการกระทำอันดับแรกเพียงอันดับเดียว.



ภิกษุทั้งหลาย ! ก็แต่ว่า การประสบความพอใจในอรหัตตผล ย่อมมีได้

เพราะการศึกษาโดยลำดับ เพราะการกระทำโดยลำดับ เพราะการปฏิบัติโดยลำดับ.



ภิกษุทั้งหลาย ! ก็การประสบความพอใจในอรหัตตผล  ย่อมมีได้

เพราะการศึกษาโดยลำดับ เพราะการกระทำโดยลำดับ

เพราะการปฏิบัติโดยลำดับนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?



ภิกษุทั้งหลาย !  บุรุษบุคคลในกรณีนี้ :

เป็นผู้มีศรัทธาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเข้าไปหา(สัปบุรุษ);

เมื่อเข้าไปหา ย่อมเข้าไปนั่งใกล้;

เมื่อเข้าไปนั่งใกล้ ย่อมเงี่ยโสตลงสดับ;

ผู้เงี่ยโสตลงสดับ ย่อมได้ฟังธรรม;

ครั้นฟังแล้ว ย่อมทรงจำธรรมไว้,

ย่อมใคร่ครวญพิจารณาซึ่งเนื้อความแห่งธรรม ทั้งหลายที่ตนทรงจำไว้;

เมื่อเขาใคร่ครวญพิจารณา ซึ่งเนื้อความแห่งธรรมนั้นอยู่,

ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อการเพ่งพิสูจน์;

เมื่อธรรมทนต่อการเพ่งพิสูจน์มีอยู่

ฉันทะ (ความพอใจ) ย่อมเกิด;

ผู้เกิดฉันทะแล้ว ย่อม มีอุตสาหะ;

ครั้นมีอุตสาหะแล้ว ย่อม ใช้ดุลยพินิจ (เพื่อหาความจริง);

ครั้นใช้ดุลยพินิจ (พบ) แล้ว ย่อม ตั้งตนไว้ในธรรมนั้น;

ผู้มีตนส่งไปแล้วในธรรมนั้นอยู่

ย่อม กระทำให้แจ้ง ซึ่งบรมสัจจ์ด้วยนามกาย ด้วย,

ย่อม เห็นแจ้งแทงตลอด ซึ่งบรมสัจจ์นั้นด้วยปัญญา ด้วย.







พุทธวจน ปฐมธรรม  หน้า ๒๙๓.

(ไทย) ม. ม. ๑๓/๑๘๑/๒๓๘:

*****************

*******

#ผู้ไม่ได้สดับย่อมหลงกามคุณ

ดูกรมาคัณฑิยะ กามทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้ในอดีตกาลก็มีสัมผัสเป็นทุกข์

มีความร้อนยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก ถึงในอนาคตกาลกามทั้งหลายก็มีสัมผัสเป็นทุกข์

มีความร้อนยิ่งใหญ่และมีความเร่าร้อนมาก แม้ในปัจจุบันเดี๋ยวนี้ กามทั้งหลายก็มีสัมผัสเป็นทุกข์

มีความร้อนยิ่งใหญ่และมีความเร่าร้อนมาก สัตว์เหล่านี้เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม

ถูกกามตัณหาเคี้ยวกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนเกิดขึ้นเพราะปรารภกามเผาอยู่ มีอินทรีย์อันโทษกำจัด

แล้ว กลับได้ความสำคัญผิดในกามอันมีสัมผัสเป็นทุกข์นั้นแลว่า เป็นสุขไป.



(ไทย)ม. ม. ๑๓/๒๑๔/๒๘๔

***************

**********

#ความพอใจเป็นเหตุแห่งทุกข์

 “ทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต

ทุกข์ทั้งหมดนั้น มีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ

เพราะว่า ฉันทะ (ความพอใจ) เป็นมูลเหตุแห่งทุกข์



ทุกข์ใดๆ อันจะเกิดขึ้นในอนาคต

ทุกข์ทั้งหมดนั้น ก็มีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ

เพราะว่า ฉันทะ (ความพอใจ) เป็นมูลเหตุแห่งทุกข์

และทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้น



ทุกข์ทั้งหมดนั้น ก็มีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ

เพราะว่า ฉันทะ (ความพอใจ) เป็นมูลเหตุแห่งทุกข์”.



อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...) หน้า ๓๓

(ไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๓๓๓/๖๒๗

***************

**********

#ละความเพลินจิตหลุดพ้น

สมฺมา ปสฺสํ นิพฺพินฺทติ

เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย��



นนฺทิกฺขยา ราคกฺขโย�

เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ��



ราคกฺขยา นนฺทิกฺขโย

�เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ��



นนฺทิราคกฺขยา จิตฺตํ สุวิมุตฺตนฺติ วุจฺจตีติ

�เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ��กล่าวได้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี” ดังนี้.��



มรรควิธีที่ง่ายปกหลัง

(ไทย)  สฬา. สํ. ๑๘/๑๔๖/๒๔๕-๖:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น