#ประโยชน์ของการสาธยายธรรม
๑. เพื่อความตั้งมั่นของพระสัทธรรม
(หนึ่งในเหตุห้าประการเพื่อความตั้งมั่นของพระสัทธรรม)
ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๖๑/๑๕๕.
๒. เป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ
(หนึ่งในธรรมให้ถึงวิมุตติห้าประการ)
ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๓/๒๖.
๓. เป็นอาหารของความเป็นพหูสูต
ทสก. อํ. ๒๔/๑๒๐/๗๓.
๔. เป็นองค์ประกอบของการเป็นบริษัทที่เลิศ
ทุก. อํ. ๒๐/๖๘/๒๙๒.
๕. ทำให้ไม่เป็นมลทิน
อฎฺก. อํ. ๒๓/๑๔๙/๑๐๕.
๖. เป็นบริขารของจิตเพื่อความไม่มีเวรไม่เบียดเบียน
(หนึ่งในห้าบริขารของจิต)
มู. ม. ๑๓/๕๐๐/๗๒๘.
๗. เป็นเหตุให้ละความง่วงได้
(หนึ่งในแปดวิธีละความง่วง)
สตฺตก. อํ. ๒๓/๗๓/๕๘.
--
#วิธีการสาธยายธรรมให้แจ่มแจ้งได้นาน
ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถูกเหนี่ยวรั้ง ย่อมรู้ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัด
ออกซึ่งนิวรณ์ทั้งห้า (กามราคะ, พยาบาท, ถีนมิทธะ, อุทธัจจกุกกุจจะ,
วิจิกิจฉา) ทำให้รู้เห็นประโยชน์ตามที่เป็นจริง
- มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๖๖/๖๐๓.
--
#ข้อควรระวังและวิธีป้องกันในการสาธยายธรรม
...อีกอย่างหนึ่ง, ภิกษุ ทำการสาธยายธรรม ตามที่ได้ฟัง
ได้เรียนมาโดยพิสดาร, แต่เธอไม่รู้ทั่วถึงความหมายอันยิ่งแห่งธรรมนั้นๆ
ด้วยปัญญา. ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้มากด้วยการสวด (นักสวด) ยังมิใช่
ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม)...
...เธอไม่ใช้วันทั้งวันให้เปลืองไปด้วยการเรียนธรรมนั้นๆ
ไม่เริดร้างจากการหลีกเร้น, ประกอบตามซึ่งธรรมเป็นเครื่องสงบใจ
ในภายในเนืองๆ. ภิกษุอย่างนี้แล ชื่อว่า ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม)...
ปญฺจก. อํ. ๒๒/๙๙-๑๐๐/๗๓-๗๔.
--
#บทสาธยายธรรม #ปฏิจจสมุปบาท
อิธะ ภิกขะเว อะริยะสาวะโก ปะฏิจจะ-
สะมุปปาทัญ...วะ สาธุกัง โยนิโส
มะนะสิกะโรติ
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมกระทำไว้ในใจโดยแยบคายเป็นอย่างดี
ซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั่นเทียว ดังนี้ว่า
อิมัส๎มิง สะติ อิทัง โหติ
เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี
อิมัสสุปปาทา อิทัง อุปปัชชะติ
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
อิมัส๎มิง อะสะติ อิทัง นะ โหติ
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี
อิมัส๎î๎สะ นิโรธา อิทัง นิรุชฌะติ
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป
ยะทิทัง
ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ
อะวิชชาปัจจะยา สังขารา
เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย
จึงมีสังขารทั้งหลาย
สังขาระปัจจะยา วิญญาณัง
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
วิญญาณะปัจจะยา นามะรูปัง
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
นามะรูปะปัจจะยา สะฬายะตะนัง
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
สะฬายะตะนะปัจจะยา ผัสโส
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
ผัสสะปัจจะยา เวทะนา
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เวทะนาปัจจะยา ตัณหา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
ตัณหาปัจจะยา อุปาทานัง
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
อุปาทานะปัจจะยา ภะโว
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
ภะวะปัจจะยา ชาติ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
ชาติปัจจะยา ชะรามะระณัง โสกะปะริ-
เทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา สัมภะวันติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะ-
ปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลาย
จึงเกิดขึ้นครบถ้วน
เอวะเมตัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ
สะมุทะโย โหติ
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้
อะวิชชายะเต๎ววะ อเสสะวิราคะนิโรธา
สังขาระนิโรโธ
เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ
แห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับ
แห่งสังขาร
สังขาระนิโรธา วิญญาณะนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งสังขาร
จึงมีความดับแห่งวิญญาณ
วิญญาณะนิโรธา นามะรูปะนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ
จึงมีความดับแห่งนามรูป
นามะรูปะนิโรธา สะฬายะตะนะนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งนามรูป
จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
สะฬายะตะนะนิโรธา ผัสสะนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ
จึงมีความดับแห่งผัสสะ
ผัสสะนิโรธา เวทะนานิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ
จึงมีความดับแห่งเวทนา
เวทะนานิโรธา ตัณหานิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งเวทนา
จึงมีความดับแห่งตัณหา
ตัณหานิโรธา อุปาทานะนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งตัณหา
จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
อุปาทานะนิโรธา ภะวะนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน
จึงมีความดับแห่งภพ
ภะวะนิโรธา ชาตินิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งภพ
จึงมีความดับแห่งชาติ
ชาตินิโรธา ชะรามะระณัง โสกะปะริเทวะ-
ทุกขะโทมะนัสสุปายาสา นิรุชฌันติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ
โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสะ
ทั้งหลายจึงดับสิ้น
เอวะเมตัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ
นิโรโธ โหตีติ
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีิ ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้
นิทาน. สํ. ๑๖/๘๕/๑๕๙.
--
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น