วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559

พุทธวจน พระอาจารย์โยงพระสูตร..มีสติ สัมปชัญญะ รอคอยการตาย..ถึงนิพพานได้อย่างไร :...





พระอาจารย์โยงพระสูตร..มีสติ สัมปชัญญะ รอคอยการตาย..ถึงนิพพานได้อย่างไร ::  ประมาณนาทีที่ 52.17

*********

**พึงเป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะ เมื่อรอคอยการตาย***

ภิกษุ ท. ! ภิกษุ พึงเป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะ เมื่อรอคอย การทำกาละ

นี้เป็นอนุสาสนีของเรา สำหรับพวกเธอทั้งหลาย.

-

ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เป็นผู้มีสติ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้

เป็นผู้ตามเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ

มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ

กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ ;

-

เป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ....;

เป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ....;

เป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ

มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ

กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้. อย่างนี้แล

-

ภิกษุ ท. ! เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เป็นผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้รู้ตัวรอบคอบในการก้าวไปข้างหน้า

การถอยกลับไปข้างหลัง, การแลดู การเหลียวดู,

การคู้ การเหยียด, การทรงสังฆาฏิ บาตร จีวร,

การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม,

การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ, การไป การหยุด,

การนั่ง การนอน, การหลับ การตื่น,

การพูด การนิ่ง, อย่างนี้แล

ภิกษุ ท. ! เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะ.

-

ภิกษุ ท. ! ภิกษุ พึงเป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะ เมื่อรอคอยการทำกาละ

นี้แลเป็นอนุสาสนีของเราสำหรับพวกเธอทั้งหลาย.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑หน้า ๗๘๗

(ไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๒๒๔-๒๒๕/๓๗๔-๓๗๖.

(บาลี) สฬา. สํ. ๑๘/๒๖๐-๒๖๑/๓๗๔-๓๗๖.

--

#สติปัฏฐาน๔

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ

อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไรทำให้มากแล้วอย่างไร

จึงทำสติปัฏฐานทั้งสี่ให้บริบูรณ์ได้ ?

------------------------

#หมวดกายานุปัสสนา

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด

ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,

เมื่อหายใจ ออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;

เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,

เมื่อหายใจ ออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”,

ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”,

ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า

เป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ

มีความเพียรเผากิเลส

มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าว

ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก

ว่าเป็นกายอันหนึ่ง ๆ ในกายทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้

ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ

มีความเพียรเผากิเลส

มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก

ออกเสียได้ ในสมัยนั้น.

---------------------------

#หมวดเวทนานุปัสสนา

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า

“เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า”, ว่า

“เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก”

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า”,

ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า”,

ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”,

ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย

อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส

มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าวการทำในใจเป็นอย่างดีต่อลมหายใจเข้าและ ลมหายใจออก ทั้งหลายว่า

เป็นเวทนาอันหนึ่งๆ ในเวทนาทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น

ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนา

ทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส ในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น.

----------------------------

#หมวดจิตตานุปัสสนา

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า

“เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า”,

ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า”,

ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า”,

ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า”,

ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า

เป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส

มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

-------------

ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่กล่าวอานาปานสติ

ว่าเป็นสิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว

ไม่มีสัมปชัญญะ.

-----------

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น

ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ

มีความเพียรเผากิเลส

มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้

ในสมัยนั้น.

----------------

#หมวดธัมมานุปัสสนา

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใดภิกษุย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า

“เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยง อยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”,

ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ

หายใจเข้า”,

ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ

หายใจเข้า”,

ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า

“เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”,

ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

-----------

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า

เป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ

มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ

มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้น

เป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะเป็นอย่างดีแล้ว

เพราะเธอเห็นการละอภิชฌา และโทมนัสทั้งหลายของเธอนั้นด้วยปัญญา.

-------------------------

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น

ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก ออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย! อานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าทำสติปัฏฐานทั้งสี่ให้บริบูรณ์ได้.

-------

พุทธวจน อานาปานสติ หน้า ๓๐

(ภาษาไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๑๕๖/๒๘๙

http://etipitaka.com/read?language=thai&number=156&volume=14

---

กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่หลงลืมอมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้น ไม่หลงลืม ฯ

ภิกษุทั้งหลาย !ชนเหล่าใด ไม่บริโภคกายคตาสติ

ชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมไม่บริโภคอมตะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ชนเหล่าใด บริโภคกายคตาสติ

ชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมบริโภคอมตะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ชนเหล่าใด ประมาทกายคตาสติ

ชนเหล่านั้นชื่อว่า ประมาทอมตะ.

ภิกษุทั้งหลาย !ชนเหล่าใด ไม่ประมาทกายคตาสติ

ชนเหล่านั้นชื่อว่า ไม่ประมาทอมตะ

ดังนี้ แล.

มหาวาร. สํ ๑๙/๒๒๖-๒๒๗/๗๖๔–๗๖๖. เอก. อํ. ๒๐/๕๙/๒๓๕,๒๓๙.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น