วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559

พุทธวจน ละนันทิ เครื่องมือสู่อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ




ละนันทิเครื่องมือสู่อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ


  การละนันทิ (ความเพลิน)


เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย

(สมฺมา ปสฺสํ นิพฺพินฺทติ) ;

เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ

จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ

(นนฺทิกฺขยา ราคกฺขโย) ;

เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ

จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ

(ราคกฺขยา นนฺทิกฺขโย ) ;

เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ

กล่าวได้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี” ดังนี้.

(นนฺทิราคกฺขยา จิตฺตํ สุวิมุตฺตนฺติ วุจฺจติ).



(ในกรณีแห่งอายตนะภายในที่เหลืออีก ๕ คือ โสตะ ฆานะ

ชิวหา กายะ มโน และในกรณีแห่งอายตนะ ภายนอก ๖ คือ รูป เสียง

กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณี แห่ง

จักษุ ทุกประการ.)

นันทิกขยวรรค สฬา.สํ. ๑๘ / ๑๗๙ / ๒๔๕-๖.

*************

*********

ผู้ได้ชื่อว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ

อานนท์ ! อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ (อนุตฺตรา อินฺทฺริยภาวนา) ในอริยวินัย เป็นอย่างไรเล่า ?

อานนท์ ! ในกรณีนี้ อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ – ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุเพราะเห็นรูปด้วยตา. ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า “อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้ เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง (สงฺขต) เป็นของหยาบ ๆ (โอฬาริก) เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจฺจ สมุปฺปนฺน); แต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับและประณีต, กล่าวคือ อุเบกขา” ดังนี้. (เมื่อรู้ชัดอย่างนี้) อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ - ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป, อุเบกขายังคงดำรงอยู่.

อานนท์ ! อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ - ทั้งเป็นที่ชอบใจ และไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป เร็วเหมือนการกระพริบตาของคน อุเบกขายังคงดำรงอยู่.

อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย ในกรณีแห่ง รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ.

(ในกรณีแห่ง เสียงที่รู้แจ้งด้วยโสตะ กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ รสที่รู้แจ้งด้วยชิวหา โผฎฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยผิวกาย และ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจ ทรงตรัสอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่อุปมาแห่งความเร็วในการดับแห่งอารมณ์นั้น ๆ, คือ กรณีเสียง เปรียบด้วยความเร็วแห่งการดีดนิ้วมือ, กรณีกลิ่น เปรียบด้วยความเร็วแห่งหยดน้ำตกจากใบบัว, กรณีรส เปรียบด้วยความเร็วแห่งน้ำลายที่ถ่มจากปลายลิ้นของคนแข็งแรง, กรณีโผฏฐัพพะ เปรียบด้วยความเร็วแห่งการเหยียดแขนพับแขนของคนแข็งแรง, กรณีธรรมารมณ์ เปรียบด้วยความเร็วแห่งการแห้งของหยดน้ำบนกระทะเหล็ก ที่ร้อนแดงอยู่ตลอดวัน)

อุปริ. ม. ๑๔/๕๔๒–๕๔๕/๘๕๖–๘๖๑.

*************

********

อกุศลสังกัปปะ



ดูกรนายช่างไม้ ก็ความดำริอันเป็นอกุศลเป็นไฉน? ดูกรนายช่างไม้ ความ ดำริในกาม ความดำริในพยาบาท ความดำริในการเบียดเบียน เหล่านี้เรากล่าวว่าความดำริเป็น อกุศล. ก็ความดำริเป็นอกุศลนี้ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน? แม้สมุฏฐานแห่งความดำริเป็นอกุศล เหล่านั้น เรากล่าวแล้ว. ก็ต้องกล่าวว่า มีสัญญาเป็นสมุฏฐาน. สัญญาเป็นไฉน? แม้สัญญา เล่าก็มีมาก หลายอย่าง มีประการต่างๆ สัญญาใดเป็นสัญญาในกาม เป็นสัญญาในพยาบาท เป็นสัญญาในการเบียดเบียน ความดำริเป็นอกุศลมีสัญญานี้เป็นสมุฏฐาน. ก็ความดำริเป็น อกุศลเหล่านี้ ดับลงหมดสิ้นในที่ไหน? แม้ความดับแห่งความดำริเป็นอกุศลนั้น เราก็กล่าวแล้ว. ดูกรนายช่างไม้ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ซึ่งเป็นที่ดับหมดสิ้นแห่งความดำริเป็นอกุศล. ก็ผู้ปฏิบัติ อย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความดำริเป็นอกุศล? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ยังฉันทะ ให้เกิด พยายามปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งมั่น เพื่อยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น ... เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ... เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้ เกิดขึ้น ... เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความเต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ดูกรนายช่างไม้ ผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความดำริเป็นอกุศล.



กุศลสังกัปปะ



ดูกรนายช่างไม้ ก็ความดำริเป็นกุศลเป็นไฉน? ดูกรนายช่างไม้ ความดำริ ในเนกขัมมะ ความดำริในอันไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียนเหล่านี้เราก็กล่าวว่า ความดำริเป็นกุศล. ก็ความดำริเป็นกุศลนี้ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน? แม้สมุฏฐานแห่งความดำริ เป็นกุศลนั้น เรากล่าวแล้ว. ก็ต้องกล่าวว่า มีสัญญาเป็นสมุฏฐาน. สัญญาเป็นไฉน? แม้สัญญา ก็มีมาก หลายอย่าง มีประการต่างๆ สัญญาใดเป็นสัญญาในเนกขัมมะ เป็นสัญญาในความ ไม่พยาบาท เป็นสัญญาในอันไม่เบียดเบียน ความดำริเป็นกุศลมีสัญญานี้เป็นสมุฏฐาน. ก็ความดำริเป็นกุศลเหล่านี้ดับลงหมดสิ้นในที่ไหน? แม้ความดับแห่งความดำริที่เป็นกุศลนั้น เราก็กล่าวแล้ว. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็น ธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ซึ่งเป็นที่ดับลงหมดสิ้นแห่งความดำริเป็นกุศลเหล่านี้. ก็ผู้ปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติ เพื่อความดับแห่งความดำริเป็นกุศล. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภ ความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งมั่น เพื่อยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ... เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ... เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ... เพื่อความ ตั้งมั่น เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความ เต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว. ดูกรนายช่างไม้ ผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อ ความดับแห่งความดำริเป็นกุศล.

*********

******

ภพแม้ชั่วขณะดีดนิ้วมือก็ยังน่ารังเกียจ

ภิกษุทั้งหลาย !

คูถ แม้นิดเดียว ก็เป็นของมีกลิ่นเหม็น ฉันใด,

ภิกษุทั้งหลาย !

สิ่งที่เรียกว่า ภพ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน,

แม้มีประมาณน้อยชั่วลัดนิ้วมือเดียว ก็ไม่มีคุณอะไรที่พอจะกล่าวได้.

เอก. อํ. ๒๐/๔๖/๒๐๓.

(พระสูตรต่อไป ทรงตรัสถึง มูตร น้ำลาย หนอง โลหิต ด้วยข้อความเดียวกัน)

********

*****

กายคตาสติเป็นเสาหลักเสาเขื่อนของจิต

พระพุทธเจ้า.ใช้อานาปานสติ.เป็นวิหารธรรมเครื่องอยู่

https://plus.google.com/+ChaleepornInrodBNNo312/posts/8qWceDaibFR

ตั้งไว้..ในกาย..อาศัยเป็นวิหารธรรมได้

ตั้งไว้..ในเวทนา..ในส่วนของอุเบกขา..สุข ทุกข์ รีบละ รีบทิ้ง

ตั้งไว้..ในผู้รู้..คือ ให้รู้เฉยๆ

ต้้งไว้..ในธรรม..คือ ให้เห็นอาการไม่เที่ยง จางคาย ดับไม่เหลือ สลัดคืน

วิหารธรรม ๔ อย่าง..ที่เที่ยวของจิต

--

กายคตาสติ..

-การรู้ลมหายใจ

-การรู้ตามความเคลื่อนไหวอิริยาบถ

-สติอธิษฐานการงาน

-พิจารณาอสุภะ

-การเข้าฌาน ๑,๒,๓,๔

---

[๗๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในอารมณ์

ซึ่งเป็นของบิดาตน อันเป็นโคจร

เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในอารมณ์

ซึ่งเป็นของบิดาตน อันเป็นโคจร

มารจักไม่ได้ช่อง มารจักไม่ได้อารมณ์

ก็อารมณ์อันเป็นของบิดา อันเป็นของโคจร คืออะไร?

คือสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ...

ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ...

ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คือ อารมณ์ซึ่งเป็นของบิดาตน

อันเป็นโคจรของภิกษุ.

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

หน้าที่ ๑๖๗-๑๖๘/๔๖๙ ข้อที่ ๖๙๘ - ๗๐๐

--

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น