วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การเลือกคบ..คน..คบสัตบุรุษ.จะหายตาบอด


การเลือกคบ..คน...คบสัตบุรุษ
#เมื่อใดท่านคบสัตบุรุษ เมื่อนั้นท่านจักได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ
จะหายจากลักษณะตาบอด #ต้องคบสัตบุรุษ
***มิตรแท้***
********************
๒ นัยยะ คือ
๑. อริยมรรคมีองค์ ๘
๒. มิตรสหายที่ชวนเราประพฤติมรรคแปด
**************
จะหายจากลักษณะตาบอด #ต้องคบสัตบุรุษ
******
มาคัณฑิยปริพพาชก ได้กราบทูลว่า
"ข้าพเจ้าเลื่อมใสต่อพระโคดมอย่างนี้แล้ว, ท่านพระโคดมจะสามารถ เพื่อแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า โดยประการที่ข้าพเจ้า จะลุกขึ้นจากอาสนะนี้ ในลักษณะแห่งผู้หายตาบอดได้ไหม พระเจ้าข้า?".
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า…
ดูก่อนมาคัณฑิยะ! ถ้าอย่างนั้น ท่านควรคบสัตบุรุษ.
ดูก่อนมาคัณฑิยะ! เมื่อใดท่านคบสัตบุรุษ,
เมื่อนั้นท่านจักได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ.
ดูก่อนมาคัณฑิยะ! เมื่อใด…
ท่านได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ,
เมื่อนั้น ท่านจักปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.
ดูก่อนมาคัณฑิยะ! เมื่อใด…
ท่านปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว,
เมื่อนั้น ท่านจักรู้เอง เห็นเอง โดยแท้ ว่า…
#นี้คือโรค
#นี้คือหัวฝี
#นี้คือลูกศร
--- --- ----
มาคัณฑิยสูตร ม.ม. ๑๓/๒๘๕/๒๙๑, ตรัสแก่มาคัณฑิยปริพพาชก ที่กัมมาสทัมมนิคม แคว้นกุรุ.
โรค หัวฝี ลูกศร ทั้งหลาย ในกรณีนี้,
ย่อมดับไปโดยไม่มีส่วนเหลือ
(ในลักษณะเดียวกันกับข้อที่ว่า:-)
….เพราะความดับแห่งอุปาทานของเรานั้น
จึงมีความดับแห่งภพ;
เพราะมีความดับแห่งภพ
จึงมีความดับแห่งชาติ;
เพราะมีความดับแห่งชาตินั้นแล ชรามรณะ
โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส-อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น.
….ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้", ดังนี้.
-----------------------------
#เมื่อใดท่านคบสัตบุรุษ เมื่อนั้นท่านจักได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ
-- -- -- -- -- -- -- -- --
#มาคัณฑิยสูตร
ดูกรมาคัณฑิยะ
เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดมาแต่กำเนิด เขาไม่ได้เห็นรูปดำและขาว ไม่ได้เห็นรูปสีเขียว ไม่ได้เห็นรูปสีเหลือง ไม่ได้เห็นรูปสีแดง ไม่ได้เห็นรูปสีชมพู ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและไม่เสมอ ไม่ได้เห็นรูปหมู่ดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์.
#แต่เขาได้ฟังต่อคนที่มีจักษุซึ่งกล่าวอยู่ว่า
ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงาม ไม่มีมลทินสะอาดหนอ
บุรุษตาบอดแต่กำเนิดนั้น พึงเที่ยวแสวงหาผ้าขาวผ่อง
บุรุษคนหนึ่งเอาผ้าเทียมเปื้อนเขม่ามาลวงเขานั้นว่า
บุรุษผู้เจริญ ผ้าของท่านผืนนี้ขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาด.
เขารับผ้านั้นมาห่ม
#มิตรอำมาตย์ญาติสาโลหิตของเขา ตั้งแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดให้รักษา แพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดนั้น ทำยาถอนให้อาเจียน ยาถ่ายให้ลง ยาหยอด ยาหยอดซ้ำ ยานัตถุ์ เขาอาศัยยานั้นแล้วเห็นได้ชำระตาให้ใสได้
#เขาย่อมละความรัก ด้วยสามารถความพอใจในผ้าเทียมเปื้อนเขม่าโน้นได้ พร้อมกับตาเห็น เขาพึงเบียดเบียนบุรุษที่ลวงตนนั้นโดยความเป็นศัตรู โดยความเป็นข้าศึก อนึ่ง เขาพึงสำคัญบุรุษที่ลวงตนนั้นว่าควรปลงชีวิตเสียด้วยความแค้นว่า
บุรุษผู้เจริญ เราถูกบุรุษผู้นี้เอาผ้าเทียมเปื้อนเขม่ามาลวงให้หลงว่า
บุรุษผู้เจริญ ผ้าของท่านนี้ขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาดดังนี้ มานานหนอ ฉันใด
#ดูกรมาคัณฑิยะ เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าแสดงธรรมแก่ท่านว่า
...ความไม่มีโรคนั้นคือข้อนี้
...นิพพานนั้นคือข้อนี้.
ท่านนั้นพึงรู้ ความไม่มีโรค พึงเห็นนิพพานได้
ท่านนั้นก็จะละความกำหนัด
ด้วยสามารถความพอใจในขันธ์
ที่มีอุปาทานทั้งห้าได้ พร้อมกับความเห็นเกิดขึ้น
#อนึ่งท่านพึงมีความดำริอย่างนี้ว่า
ดูกรท่านผู้เจริญ
#เราถูกจิตนี้ล่อลวงให้หลงมานานแล้วหนอ
เราเมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่รูปเท่านั้น
เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่เวทนาเท่านั้น
เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่สัญญาเท่านั้น
เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่สังขารเท่านั้น
เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่วิญญาณเท่านั้น
#เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมีแก่เรานั้น
เพราะภพนั้นเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.
[๒๙๑]
#ข้าพเจ้าเลื่อมใสต่อพระโคดมอย่างนี้แล้ว
ท่านพระโคดมย่อมทรงสามารถเพื่อแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า
โดยประการที่ข้าพเจ้าไม่เป็นคนบอด ลุกขึ้นจากอาสนะนี้ได้.
ดูกรมาคัณฑิยะ ถ้าเช่นนั้น
#ท่านควรคบสัตบุรุษ
เพราะเมื่อใดท่านคบสัตบุรุษ
เมื่อนั้นท่านจักได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ
#เมื่อท่านได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ
ท่านจักปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
#เมื่อท่านปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ท่านจักรู้เอง เห็นเองว่า โรค ฝี ลูกศร คืออันนี้
โรค ฝี ลูกศร จะดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้
#เพราะอุปาทานของเรานั้นดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสก็ดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.
......................................
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
***********
ดูกรมาคัณฑิยะ ถ้าเช่นนั้น #ท่านควรคบสัตบุรุษ
****************************
เพราะเมื่อใดท่านคบสัตบุรุษ
เมื่อนั้นท่านจักได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ
เมื่อท่านได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ
ท่านจักปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
เมื่อท่านปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ท่านจักรู้เอง เห็นเองว่า โรค ฝี ลูกศร คืออันนี้
โรค ฝี ลูกศร จะดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้
เพราะอุปาทานของเรานั้นดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสก็ดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
http://etipitaka.com/read

[๒๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยสัปบุรุษแล้ว
พึงหวังได้อานิสงส์ ๔ ประการ
อานิสงส์ ๔ ประการเป็นไฉน คือ
ย่อมเจริญด้วยศีลที่ เป็นอริยะ ๑
ย่อมเจริญด้วยสมาธิที่เป็นอริยะ ๑
ย่อมเจริญด้วยปัญญาที่เป็นอริยะ ๑
ย่อมเจริญด้วยวิมุตติที่เป็นอริยะ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลอาศัยสัปบุรุษแล้ว
พึงหวังได้อานิสงส์ ๔ ประการนี้ ฯ
จบกรรมวรรคที่ ๔
http://etipitaka.com/read...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้มีความเห็นชอบด้วยตนเอง
และชักชวนผู้อื่นในความเห็นชอบอีกด้วย
เป็นผู้มีความดำริชอบด้วยตนเอง
และชักชวนผู้อื่นในความดำริชอบอีกด้วย
เป็นผู้มีวาจาชอบด้วยตนเอง
และชักชวนผู้อื่นในวาจาชอบอีกด้วย
เป็นผู้มีการงานชอบด้วยตนเอง
และชักชวนผู้อื่นในการงานชอบอีกด้วย
เป็นผู้มีอาชีพชอบด้วยตนเอง
และชักชวนผู้อื่นในอาชีพชอบอีกด้วย
เป็นผู้มีความพยายามชอบด้วยตนเอง
และชักชวนผู้อื่นในความพยายามชอบอีกด้วย
เป็นผู้ตั้งสติชอบด้วยตนเอง
และชักชวนผู้อื่นในการตั้งสติชอบอีกด้วย
เป็นผู้ตั้งใจมั่นด้วยตนเอง
และชักชวนผู้อื่นในความตั้งใจมั่นอีกด้วย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลนี้เราเรียกว่า
สัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษ ฯ
http://etipitaka.com/read...
E-Tipitaka | Read
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read…#
***************
***มิตรแท้***
********************
๒ นัยยะ คือ
๑. อริยมรรคมีองค์ ๘
๒. มิตรสหายที่ชวนเราประพฤติมรรคแปด
#โลกใบเล็กของพุทธวจน #พุทธวจนสถาบัน "เพราะอาศัยเราผู้เป็นกัลยาณมิตร" ต้องเน้นที่ "เพราะอาศัยเรา(อรหันตสัมมาสัมพุทธ)พระองค์นั้น "ย่อมเจริญอริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘"
------------
#การได้คบคนดี เป็นสัตบุรุษจะมีคุณ คือ ได้ฟังธรรม...ฯ
เจริญธรรม ๔ ประการมีปัญญาชำแรกกิเลส
[๑๖๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเป็นเครื่องชำแรกกิเลส ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน?
คือ
การคบสัตบุรุษ ๑
การฟังสัทธรรม ๑
การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ๑
การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเป็นเครื่องชำแรกกิเลส.
---
มรรค๘ กัลยาณมิตรเป็นรุ่งอรุณแห่งอัฏฐังคิกมรรค
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อดวงอาทิตย์กำลังขึ้น
สิ่งที่มาก่อน เป็น นิมิตให้เห็นก่อน
คือการขึ้นมาแห่งอรุณ ฉันใด ;
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อมีการเกิดขึ้นแห่ง
อริยอัฏฐังคิกมรรคของภิกษุ
สิ่งที่มาก่อน เป็นนิมิตให้เห็นก่อน คือ
กัลยาณมิตตตา (ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร)
ฉันนั้นเหมือนกัน.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้คือความหวังของภิกษุ
ผู้มีกัลยาณมิตร คือ
เธอจักเจริญอริยอัฏฐังคิกมรรคได้
จักกระทำให้มากซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรคได้.
--------------------------
(บาลี) มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๖/๑๒๙.
********
*****
อริยมรรค มีองค์ ๘
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ อริยสัจ คือหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ หนทางอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนี้เอง องค์แปด คือ
ความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ)
ความดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ)
วาจาชอบ (สัมมาวาจา)
การงานชอบ (สัมมากัมมันตะ)
อาชีวะชอบ (สัมมาอาชีวะ)
ความเพียรชอบ (สัมมาวายามะ)
ความระลึกชอบ (สัมมาสติ)
ความตั้งใจมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ)
ภิกษุทั้งหลาย ! ความเห็นชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ความ รู้ในทุกข์ ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ความรู้ในหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อันใด, นี้เราเรียกว่า ความเห็นชอบ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความดำริชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริในการไม่เบียดเบียน, นี้เราเรียกว่า ความดำริชอบ.
ภิกษุทั้งหลาย ! วาจาชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! การเว้นจากการพูดเท็จ การเว้นจากการพูดยุให้แตกกัน การเว้นจากการพูดหยาบ การเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ, นี้เราเรียกว่า วาจาชอบ.
ภิกษุทั้งหลาย ! การงานชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! การเว้นจากการฆ่าสัตว์ การเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ การเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย, นี้เราเรียกว่า การงานชอบ.
ภิกษุทั้งหลาย ! อาชีวะชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกในกรณีนี้ ละการหาเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการหาเลี้ยงชีพที่ชอบ, นี้เราเรียกว่า อาชีวะชอบ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความเพียรชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุ ในกรณีนี้ ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมอันบาปทั้งหลาย ที่ยังไม่ได้บังเกิด; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการละเสียซึ่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่บังเกิดขึ้นแล้ว; ย่อม ปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ที่ยังไม่ได้บังเกิด; ย่อม ปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความยั่งยืน ความไม่เลอะเลือนความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ที่บังเกิดขึ้นแล้ว, นี้เราเรียกว่า ความเพียรชอบ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความระลึกชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ, มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม (สัมปชัญญะ) มีสติ นำความพอใจ และความไม่พอใจในโลกออกเสียได้; เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ, มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสตินำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้; เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ, มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้; เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ, มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้, นี้เราเรียกว่า ความระลึกชอบ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุ ในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงฌานที่หนึ่ง อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่ เพราะวิตกวิจารรำงับลง, เธอเข้าถึงฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่ เพราะปีติจางหายไป, เธอเป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้ มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และได้เสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมเข้าถึงฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุ ว่า “เป็นผู้เฉยอยู่ได้ มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม” แล้ว แลอยู่ เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ และเพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัส ในกาลก่อน เธอย่อมเข้าถึงฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์และไม่สุข มีแต่สติอันบริสุทธิ์เพราะ อุเบกขาแล้วแลอยู่, นี้เราเรียกว่า สัมมาสมาธิ.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจ คือ หนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.
ปฐมธรรม หน้า ๒๙๕
(ภาษาไทย) มหา. ที. ๑๐/๒๓๑/๒๙๙.
*********
******
๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)(หลังฉัน watnapp)
[๒๕๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราจักแสดงสัมมาสมาธิของพระอริยะ
อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ
แก่เธอทั้งหลาย
พวกเธอจงฟังสัมมาสมาธินั้น
จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า
ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ
-
[๒๕๓] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
#ก็สัมมาสมาธิของพระอริยะ
อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ คือ
สัมมาทิฐิ
สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ
สัมมาวายามะ
สัมมาสติ เป็นไฉน
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง
ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล
เรียกว่า
#สัมมาสมาธิของพระอริยะ
อันมีเหตุบ้าง มีองค์ประกอบบ้าง ฯ
-
[๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น
#สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ
ภิกษุรู้จักมิจฉาทิฐิว่ามิจฉาทิฐิ
รู้จักสัมมาทิฐิว่าสัมมาทิฐิ
ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ
-
[๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาทิฐิเป็นไฉน
คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้วไม่มี
โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี
มารดาไม่มี
บิดาไม่มี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี
สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี
นี้มิจฉาทิฐิ ฯ
-
[๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ
สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑
สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ
เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
-
[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ
ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่
โลกนี้มี โลกหน้ามี
มารดามี บิดามี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่
นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
-
[๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ปัญญา ปัญญินทรีย์
ปัญญาพละ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
ความเห็นชอบ
องค์แห่งมรรค ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก
มีจิตหาอาสวะมิได้
พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค
เจริญอริยมรรคอยู่นี้แล
สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ
-
ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาทิฐิ
เพื่อบรรลุสัมมาทิฐิ ความพยายามของเธอนั้น
เป็นสัมมาวายามะ ฯ
-
ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาทิฐิได้
มีสติบรรลุสัมมาทิฐิอยู่ สติของเธอนั้น
เป็นสัมมาสติ ฯ
-
ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ
สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาทิฐิของภิกษุนั้น ฯ
-
[๒๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น
สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ
ภิกษุรู้จักมิจฉาสังกัปปะว่ามิจฉาสังกัปปะ
รู้จักสัมมาสังกัปปะว่าสัมมาสังกัปปะ
ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ
-
[๒๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาสังกัปปะเป็นไฉน คือ
ความดำริในกาม ดำริในพยาบาท ดำริในความเบียดเบียน
นี้มิจฉาสังกัปปะ ฯ
-
[๒๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสัมมาสังกัปปะเป็น ๒ อย่าง คือ
สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑
สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
-
[๒๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน คือ
ความดำริในเนกขัมมะ ดำริในความไม่พยาบาท
ดำริในความไม่เบียดเบียน
นี้สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
-
[๒๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตรึก ความวิตก
ความดำริ ความแน่ว ความแน่ ความปักใจ วจีสังขาร
ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก
มีจิตหาอาสวะมิได้
พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรคเจริญอริยมรรคอยู่นี้แล
สัมมาสังกัปปะ ของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ
-
ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาสังกัปปะ
เพื่อบรรลุสัมมาสังกัปปะ
ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ
-
ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาสังกัปปะได้
มีสติบรรลุสัมมาสังกัปปะอยู่
สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ
ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ
สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาสังกัปปะ ของภิกษุนั้น ฯ
-
[๒๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น
สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ
ภิกษุรู้จักมิจฉาวาจาว่ามิจฉาวาจา
รู้จักสัมมาวาจาว่าสัมมาวาจา
ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ
-
[๒๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาวาจาเป็นไฉน
คือพูดเท็จ พูดส่อเสียด
พูดคำหยาบ เจรจาเพ้อเจ้อ นี้ มิจฉาวาจา ฯ
-
[๒๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสัมมาวาจาเป็น ๒ อย่าง คือ
สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑
สัมมาวาจาของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ
เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
-
[๒๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ
เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด
งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการเจรจาเพ้อเจ้อ
นี้ สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
-
[๒๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความงด ความเว้น
ความเว้นขาด เจตนางดเว้น จากวจีทุจริตทั้ง ๔
ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก
มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค
เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมาวาจา
ของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ
-
ภิกษุย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาวาจา
เพื่อบรรลุสัมมาวาจาอยู่
ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ
-
ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาวาจาได้
มีสติบรรลุสัมมาวาจาอยู่ สติของเธอนั้น
เป็นสัมมาสติ ฯ
ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ
สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาวาจาของภิกษุนั้น ฯ
-
[๒๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น
สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ
ภิกษุรู้จักมิจฉากัมมันตะว่า มิจฉากัมมันตะ
รู้จักสัมมากัมมันตะว่า สัมมากัมมันตะ ความรู้ของเธอนั้น
เป็นสัมมาทิฐิ ฯ
-
[๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉากัมมันตะเป็นไฉน คือ
ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร
นี้ มิจฉากัมมันตะ ฯ
-
[๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสัมมากัมมันตะเป็น ๒ อย่าง คือ
สัมมากัมมันตะที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑
สัมมากัมมันตะของพระอริยะ
ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
-
[๒๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน คือ
เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้น
จากอทินนาทาน งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร
นี้สัมมากัมมันตะที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
-
[๒๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะ
ของพระอริยะที่เป็น อนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความงด ความเว้น เจตนางดเว้น จากกายทุจริตทั้ง ๓
ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้
พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่
นี้แล สัมมากัมมันตะ
ของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ
-
ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉากัมมันตะ
เพื่อบรรลุสัมมากัมมันตะ
ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ
-
ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉากัมมันตะได้
มีสติบรรลุสัมมากัมมันตะอยู่ สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ
-
ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ
สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะสัมมาสติ
ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมากัมมันตะของภิกษุนั้น ฯ
-
[๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น
สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ
ภิกษุรู้จักมิจฉาอาชีวะว่ามิจฉาอาชีวะ
รู้จักสัมมาอาชีวะว่าสัมมาอาชีวะ
ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ
-
[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาอาชีวะเป็นไฉน คือ
การโกง การล่อลวง การตลบตะแลง
การยอมมอบตนในทางผิด การเอาลาภต่อลาภ
นี้มิจฉาอาชีวะ ฯ
-
[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสัมมาอาชีวะเป็น ๒ อย่าง คือ
สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑
สัมมาอาชีวะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคอย่าง ๑ ฯ
-
[๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมละมิจฉาอาชีวะ
เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
-
[๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความงด ความเว้น
เจตนางดเว้น จากมิจฉาอาชีวะ ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก
มีจิตหาอาสวะมิได้
พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่
นี้แล สัมมาอาชีวะของพระอริยะ
ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ
-
ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาอาชีวะ
เพื่อบรรลุสัมมาอาชีวะ ความพยายามของเธอนั้น
เป็นสัมมาวายามะ ฯ
ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาอาชีวะได้ มีสติบรรลุสัมมาอาชีวะอยู่
สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ
ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ
สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม
เป็นไปตามสัมมาอาชีวะของภิกษุนั้น ฯ
-
[๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น
สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ
เมื่อมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาอาชีวะสัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล
พระเสขะผู้ประกอบด้วยองค์ ๘
จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ ๑๐
-
[๒๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น
สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ
ผู้มีสัมมาทิฐิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาทิฐิได้
ทั้งอกุศลธรรมลามกเป็นอเนกบรรดามี
เพราะมิจฉาทิฐิเป็นปัจจัยนั้น
ก็เป็นอันผู้มีสัมมาทิฐิสลัดได้แล้ว
และกุศลธรรมเป็นอเนก
ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เพราะสัมมาทิฐิเป็นปัจจัย ฯ
-
ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสังกัปปะได้…
ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวาจาได้…
ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉากัมมันตะได้…
ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาอาชีวะได้…
ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวายามะได้…
ผู้มีสัมมาสติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสติได้…
ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสมาธิได้…
ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาญาณะได้…
ผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวิมุตติได้
ทั้งอกุศลธรรมลามก เป็นอเนกบรรดามี
เพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาวิมุตติสลัดได้แล้ว
และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล
จึงเป็นธรรมฝ่ายกุศล ๒๐ ฝ่ายอกุศล ๒๐
ชื่อ ธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ
อันเราให้เป็นไปแล้ว
สมณะ หรือ พราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม
หรือใครๆ ในโลก จะให้เป็นไปไม่ได้ ฯ
-
[๒๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์
ผู้ใดผู้หนึ่งพึงสำคัญที่จะติเตียน
คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะนี้
การกล่าวก่อนและการกล่าวตามกัน ๑๐ ประการ
อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์ผู้นั้น
ย่อมถึงฐานะน่าตำหนิในปัจจุบันเทียว
-
ถ้าใครติเตียนสัมมาทิฐิ
เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีทิฐิผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาสังกัปปะ
เขาก็ต้องบูชาสรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสังกัปปะผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาวาจา
เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีวาจาผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมากัมมันตะ
เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีการงานผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาอาชีวะ
เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีอาชีวะผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาวายามะ
เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีความพยายามผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาสติ
เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสติผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาสมาธิ
เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสมาธิผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาญาณะ
เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีญาณผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาวิมุตติ
เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีวิมุตติผิด ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง
พึงสำคัญที่จะติเตียน คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะนี้
การกล่าวก่อนและการกล่าวตามกัน ๑๐ ประการ
อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น
ย่อมถึงฐานะน่าตำหนิในปัจจุบันเทียว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้พวกอัสสะและพวกภัญญะ ชาวอุกกลชนบท
ซึ่งเป็นอเหตุกวาทะ อกิริยวาทะ นัตถิกวาทะ
ก็ยังสำคัญที่จะไม่ติเตียน
ไม่คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ
นั่นเพราะเหตุไร เพราะกลัวถูกนินทา ถูกว่าร้าย และถูกก่อความ ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
-
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
หน้าที่ ๑๔๕/๔๑๓ ข้อที่ ๒๕๒-๒๕๕
*********
*****
***มิตรสหาย***
****************
[๒๐๒] ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรผู้เป็นทิศเบื้องซ้าย
อันกุลบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ
ด้วยการให้ปัน ๑
ด้วยเจรจาถ้อยคำเป็นที่รัก ๑
ด้วยประพฤติประโยชน์ ๑
ด้วยความเป็นผู้มีตนเสมอ ๑
ด้วยไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความจริง ๑ ฯ
ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรผู้เป็นทิศเบื้องซ้าย
อันกุลบุตรบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว
ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๕ คือ
รักษามิตรผู้ประมาทแล้ว ๑
รักษาทรัพย์ของมิตรผู้ประมาทแล้ว ๑
เมื่อมิตรมีภัยเอาเป็นที่พึ่งพำนักได้ ๑
ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ ๑
นับถือตลอดถึงวงศ์ของมิตร ๑ ฯ
ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรผู้เป็นทิศเบื้องซ้าย
อันกุลบุตรบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว
ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๕ เหล่านี้
ทิศเบื้องซ้ายนั้น ชื่อว่าอันกุลบุตรปกปิดให้เกษมสำราญ
ให้ไม่มีภัยด้วยประการฉะนี้ ฯ
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
หน้าที่ ๒๕๘/๔๑๘ ข้อที่ ๒๙๖
http://etipitaka.com/read…#
******************************
***มิตรดี สหายดี***
*******************
ดูกรอานนท์ ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี
มีจิตน้อมไปในคนที่ดีนี้ เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียว
ดูกรอานนท์ นี่ภิกษุผู้มีมิตรดีพึง
ปรารถนา ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดี
จักเจริญอริยมรรคมีองค์แปด
จักกระทำซึ่งอริยมรรคมีองค์แปดให้มากได้ ฯ
[๓๘๓] ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี
มีจิตน้อมไปในคนที่ดี ย่อมเจริญอริยมรรคมีองค์แปด
ย่อมกระทำซึ่งอริยมรรคมีองค์แปดให้มากได้อย่างไร ฯ
ดูกรอานนท์ ภิกษุในศาสนานี้
...ย่อมเจริญสัมมาทิฐิ
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละคืน
...ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ ...
...ย่อมเจริญสัมมาวาจา
...ย่อมเจริญสัมมากัมมันตะ
...ย่อมเจริญสัมมาอาชีวะ
...ย่อมเจริญสัมมาวายามะ
...ย่อมเจริญสัมมาสติ
...ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ
อัน อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละคืน ฯ
ดูกรอานนท์ ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี
มีจิตน้อมไปในคนที่ดี
ย่อมเจริญ อริยมรรคมีองค์แปด
ย่อมกระทำซึ่งอริยมรรคมีองค์แปดให้มากได้ อย่างนี้แล ฯ
ดูกรอานนท์ โดยปริยายแม้นี้ พึงทราบว่า
ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดี
นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียว ฯ
ดูกรอานนท์ ด้วยว่าอาศัยเราเป็นมิตรดี
สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็น ธรรมดา ย่อมหลุดพ้นจากความเกิดได้
สัตว์ทั้งหลายผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ย่อมหลุดพ้นจากความแก่ได้
สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา ย่อมหลุดพ้น จากความเจ็บป่วยได้
สัตว์ทั้งหลายผู้มีความตายเป็นธรรมดา ย่อมหลุดพ้นจาก ความตายได้
สัตว์ทั้งหลายผู้มีความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความเสียใจ
และความคับแค้นใจเป็นธรรมดา ย่อมหลุดพ้นจากความโศก
ความร่ำไร ความทุกข์ ความเสียใจ และความคับแค้นใจได้ ฯ
ดูกรอานนท์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า
ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไป
ในคนที่ดีนี้ เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียว ฯ
[๓๘๔] ดูกรมหาบพิตร เพราะเหตุนั้นแหละ พระองค์พึงทรงสำเหนียก
อย่างนี้ว่า
เราจักเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดี
ดูกรมหาบพิตร พระองค์พึงทรงสำเหนียกอย่างนี้แล ฯ
ดูกรมหาบพิตร ธรรมอย่างหนึ่งนี้ คือ
ความไม่ประมาทในกุศลธรรม ทั้งหลาย
พระองค์ผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดี พึงทรงอาศัย อยู่เถิด ฯ
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
หน้าที่ ๑๑๐/๒๘๙ ข้อที่ ๓๘๓-๓๘๔
http://etipitaka.com/read…#
***********************
***มิตรที่แท้จริง..คือ..อริยมรรคมีองค์ ๘.. พาไปนิพพาน..***
****************************************
[๑๐] ดูกรสารีบุตร ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
ย่อมเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘
ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า?
ดูกรสารีบุตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ ฯลฯ
ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ
อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ดูกรสารีบุตร ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
ย่อมเจริญอริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘
ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.
[๑๑] ดูกรสารีบุตร ข้อว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น
นั้นพึงทราบโดยปริยายแม้นี้
ด้วยว่าเหล่าสัตว์ผู้มีชาติเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากชาติ
ผู้มีชราเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากชรา
ผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากมรณะ
ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสเป็นธรรมดา
ย่อมพ้นไปจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาส
เพราะอาศัยเราผู้เป็นกัลยาณมิตร
ดูกรสารีบุตร ข้อว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี
มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นนั้น
พึงทราบโดยปริยายนี้แล.
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
หน้าที่ ๔/๔๖๙ ข้อที่ ๑๒-๑๕
**************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น