วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559

พุทธวจน หลักการทำสมาธิ

หลักการ..ทำสมาธิ..โดย..พุทธวจน..

********

การเจริญอานาปานสติ



(ตามนัยแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร)



ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็น



กายในกายอยู่นั้น เป็นอย่างไรเล่า ?



ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือ



โคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม, ย่อมนั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ



(ขัดสมาธิ) ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า, เธอเป็นผู้มีสติ



หายใจเข้า มีสติหายใจออก (๑) เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัด



ว่าเราหายใจเข้ายาว, หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเรา



หายใจออกยาว; หรือว่า (๒) เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า



เราหายใจเข้าสั้น, หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเรา



หายใจออกสั้น, (๓) เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เรา



เป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจเข้า, เราเป็น



ผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจออก, (๔) เธอ



ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราทำกายสังขารให้รำงับ



จักหายใจเข้า, เราทำกายสังขารให้รำ งับ จักหายใจออก,



เช่นเดียวกับนายช่างกลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึง



ผู้ชำ นาญ เมื่อเขาชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่าเราชักเชือกกลึง



ยาว, เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่าเราชักเชือกกลึงสั้น,



ฉันใดก็ฉันนั้น.



ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้มีปกติพิจารณา



เห็นกาย ในกายอันเป็นภายในอยู่ บ้าง, ในกายอันเป็น



ภายนอกอยู่ บ้าง, ในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่ บ้าง;



และเป็นผู้มีปกติพิจารณา เห็นธรรม อันเป็นเหตุเกิดขึ้น



ในกายอยู่ บ้าง, เห็นธรรมเป็นเหตุเสื่อมไปในกายอยู่ บ้าง,



เห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดขึ้นและเสื่อมไปในกายอยู่ บ้าง,



ก็แหละ สติ ว่า “กายมีอยู่” ดังนี้ของเธอนั้น เป็นสติที่



เธอดำ รงไว้เพียงเพื่อความรู้ เพียงเพื่ออาศัยระลึก, ที่แท้



เธอเป็นผู้ที่ตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ และเธอไม่ยึดมั่น



อะไรๆ ในโลกนี้.



ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีปกติพิจารณา



เห็นกายในกายอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้.



มหาวาร. สํ. ๑๐/๓๒๒-๓๒๔/๒๗๔.,



มู. ม. ๑๒/๑๐๓-๑๐๕/๑๓๓.

************

********

***พึงเป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะ เมื่อรอคอยการตาย***

ภิกษุ ท. ! ภิกษุ พึงเป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะ เมื่อรอคอย การทำกาละ

นี้เป็นอนุสาสนีของเรา สำหรับพวกเธอทั้งหลาย.

-

ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เป็นผู้มีสติ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้

เป็นผู้ตามเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ

มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ

กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ ;

-

เป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ....;

เป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ....;

เป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ

มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ

กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้. อย่างนี้แล

-

ภิกษุ ท. ! เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เป็นผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้รู้ตัวรอบคอบในการก้าวไปข้างหน้า

การถอยกลับไปข้างหลัง, การแลดู การเหลียวดู,

การคู้ การเหยียด, การทรงสังฆาฏิ บาตร จีวร,

การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม,

การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ, การไป การหยุด,

การนั่ง การนอน, การหลับ การตื่น,

การพูด การนิ่ง, อย่างนี้แล

ภิกษุ ท. ! เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะ.

-

ภิกษุ ท. ! ภิกษุ พึงเป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะ เมื่อรอคอยการทำกาละ

นี้แลเป็นอนุสาสนีของเราสำหรับพวกเธอทั้งหลาย.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑หน้า ๗๘๗

(ไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๒๒๔-๒๒๕/๓๗๔-๓๗๖.

(บาลี) สฬา. สํ. ๑๘/๒๖๐-๒๖๑/๓๗๔-๓๗๖.

--

#สติปัฏฐาน๔

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ

อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไรทำให้มากแล้วอย่างไร

จึงทำสติปัฏฐานทั้งสี่ให้บริบูรณ์ได้ ?

------------------------

#หมวดกายานุปัสสนา

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด

ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,

เมื่อหายใจ ออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;

เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,

เมื่อหายใจ ออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”,

ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”,

ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า

เป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ

มีความเพียรเผากิเลส

มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าว

ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก

ว่าเป็นกายอันหนึ่ง ๆ ในกายทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้

ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ

มีความเพียรเผากิเลส

มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก

ออกเสียได้ ในสมัยนั้น.

---------------------------

#หมวดเวทนานุปัสสนา

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า

“เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า”, ว่า

“เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก”

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า”,

ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า”,

ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”,

ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย

อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส

มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าวการทำในใจเป็นอย่างดีต่อลมหายใจเข้าและ ลมหายใจออก ทั้งหลายว่า

เป็นเวทนาอันหนึ่งๆ ในเวทนาทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น

ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนา

ทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส ในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น.

----------------------------

#หมวดจิตตานุปัสสนา

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า

“เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า”,

ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า”,

ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า”,

ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า”,

ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า

เป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส

มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

-------------

ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่กล่าวอานาปานสติ

ว่าเป็นสิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว

ไม่มีสัมปชัญญะ.

-----------

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น

ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ

มีความเพียรเผากิเลส

มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้

ในสมัยนั้น.

----------------

#หมวดธัมมานุปัสสนา

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใดภิกษุย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า

“เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยง อยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”,

ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ

หายใจเข้า”,

ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ

หายใจเข้า”,

ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า

“เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”,

ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

-----------

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า

เป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ

มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ

มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้น

เป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะเป็นอย่างดีแล้ว

เพราะเธอเห็นการละอภิชฌา และโทมนัสทั้งหลายของเธอนั้นด้วยปัญญา.

-------------------------

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น

ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก ออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย! อานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าทำสติปัฏฐานทั้งสี่ให้บริบูรณ์ได้.

-------

พุทธวจน อานาปานสติ หน้า ๓๐

(ภาษาไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๑๕๖/๒๘๙

http://etipitaka.com/read?language=thai&number=156&volume=14

---

กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่หลงลืมอมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้น ไม่หลงลืม ฯ

ภิกษุทั้งหลาย !ชนเหล่าใด ไม่บริโภคกายคตาสติ

ชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมไม่บริโภคอมตะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ชนเหล่าใด บริโภคกายคตาสติ

ชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมบริโภคอมตะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ชนเหล่าใด ประมาทกายคตาสติ

ชนเหล่านั้นชื่อว่า ประมาทอมตะ.

ภิกษุทั้งหลาย !ชนเหล่าใด ไม่ประมาทกายคตาสติ

ชนเหล่านั้นชื่อว่า ไม่ประมาทอมตะ

ดังนี้ แล.

มหาวาร. สํ ๑๙/๒๒๖-๒๒๗/๗๖๔–๗๖๖. เอก. อํ. ๒๐/๕๙/๒๓๕,๒๓๙.

**********

*******

#สติอธิษฐานการงาน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

มีสติก้าวไป มีสติถอยกลับ มีสติยืนอยู่

มีสตินั่งอยู่ มีสติสำเร็จการนอน มีสติอธิษฐานการงาน

อานนท์ ! นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งอนุสสติ

เมื่อภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้

#ย่อมเป็นไปเพื่อการได้สติสัมปชัญญะ

----------

อริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคปลาย หน้า ๑๒๓๙

(ภาษาไทย) ฉกก. อํ. ๒๒/๒๙๔/๓๐๐.

-------------

*********

*****

#ผู้ได้ชื่อว่า #อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ

อานนท์ ! อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ (อนุตฺตรา อินฺทฺริยภาวนา)

ในอริยวินัย เป็นอย่างไรเล่า ?

อานนท์ ! ในกรณีนี้

อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ –

ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ

อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุเพราะเห็นรูปด้วยตา.

ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า

“อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้

เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง (สงฺขต)

เป็นของหยาบ ๆ (โอฬาริก)

เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจฺจ สมุปฺปนฺน);

แต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับและประณีต, กล่าวคือ อุเบกขา” ดังนี้.

(เมื่อรู้ชัดอย่างนี้)

อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ –

ไม่เป็นที่ชอบใจ -

ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ

อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น

ย่อมดับไป, อุเบกขายังคงดำรงอยู่.



อานนท์ ! อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ

– ไม่เป็นที่ชอบใจ

- ทั้งเป็นที่ชอบใจ และไม่เป็นที่ชอบใจ

อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น

ย่อมดับไป เร็วเหมือนการกระพริบตาของคน

อุเบกขายังคงดำรงอยู่.

อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า

#อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย

ในกรณีแห่ง รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ.



(ในกรณีแห่ง เสียงที่รู้แจ้งด้วยโสตะ

กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ รสที่รู้แจ้งด้วยชิวหา

โผฎฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยผิวกาย

และ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจ

ทรงตรัสอย่างเดียวกัน

ต่างกันแต่อุปมาแห่งความเร็วในการดับแห่งอารมณ์นั้น ๆ, คือ

กรณีเสียง เปรียบด้วยความเร็วแห่งการดีดนิ้วมือ,

กรณีกลิ่น เปรียบด้วยความเร็วแห่งหยดน้ำตกจากใบบัว,

กรณีรส เปรียบด้วยความเร็วแห่งน้ำลาย

ที่ถ่มจากปลายลิ้นของคนแข็งแรง,

กรณีโผฏฐัพพะ

เปรียบด้วยความเร็วแห่งการเหยียดแขนพับแขนของคนแข็งแรง,

กรณีธรรมารมณ์

เปรียบด้วยความเร็วแห่งการแห้งของหยดน้ำบนกระทะเหล็ก

ที่ร้อนแดงอยู่ตลอดวัน)



อุปริ. ม. ๑๔/๕๔๒–๕๔๕/๘๕๖–๘๖๑

--------------------------------

1 ความคิดเห็น:

  1. ด้วยความเคารพอย่างสูงนะครับ ผมเป็นผู้กำลังเริ่มปฏิบัติธรรม ตามหลักพุทธวจนซึ่งจะเป็นคำสอนโดยตรงจากพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
    แต่ยังมีสิ่งที่ผมยังไม่เข้าใจอยู่ครับ ในการทำอานาปานสติ หลายพระสูตร จะเริ่มจากลมหายใจออก แต่ทำไม พุทธวจน ทำไมเริ่มจาก การหายใจเข้าก่อนครับ ซึ่งพระอาจารย์ อาจมีคำอธิบายไว้แล้ว แต่ผมยังหาไม่พบครับ เจตนาผมเพียงอยากให้มีเข้าใจมากขึ้นในการปฏิบัติครับ

    ตอบลบ