วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การปฏิบัติธรรมควรเริ่มต้นอย่างไร





การปฏิบัติธรรมควรเริ่มต้นอย่างไร ::

#กุศลกรรมบถ๑๐

#เทวคติ #มนุษยคติ #หรือสุคติอื่นใด #บรรดามี #ย่อมปรากฏ

------------

จุนทะ ! ความสะอาดทางกายมี ๓ อย่าง

ความสะอาดทางวาจามี ๔ อย่าง

ความสะอาดทางใจมี ๓ อย่าง

จุนทะ ! ความสะอาดทางกายมี ๓ อย่างนั้น

เป็นอย่างไรเล่า ?

----------------

#ความสะอาดทางกาย ๓ อย่าง

๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง

๒. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย

๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม

ทั้ง ๓ นี้ จัดเป็นกายกรรม เพราะเป็นไปทางกายทวารโดยมาก

#ความสะอาดทางวาจา ๔ อย่าง

๔. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ

๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด

๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ

๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ

ทั้ง ๔ นี้ จัดเป็นวจีกรรม เพราะเป็นไปทางวจีทวารโดยมาก

#ความสะอาดทางใจ ๓ อย่าง

๘. อนภิชฌา ไม่โลภอยากได้ของเขา

๙. อพยาปาท ไม่พยาบาทปองร้ายเขา

๑๐. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม

ทั้ง ๓ นี้ จัดเป็นมโนกรรม เพราะเป็นไปทางมโนทวารโดยมาก

----------------

(๑) บุคคลบางคนในกรณีนี้ ละการทำสัตว์

มีชีวิตให้ตกล่วง เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้

วางศัสตรา มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณาเกื้อกูลแก่

สัตว์ทั้งหลายอยู่.

(๒) ละการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้

เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ ไม่ถือเอา

ทรัพย์และอุปกรณ์แห่งทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ ในบ้านก็ดี

ในป่าก็ดี ด้วยอาการแห่งขโมย.

(๓) ละกาารประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจาก

การประพฤติผิดในกาม, (คือเว้นจากการประพฤติผิด) ในหญิง

ซึ่งมารดารักษา บิดารักษา พี่น้องชาย พี่น้องหญิง หรือ

ญาติรักษา อันธรรมรักษา เป็นหญิงมีสามี หญิงอยู่ใน

สินไหม โดยที่สุดแม้หญิงอันเขาหมั้นไว้ (ด้วยการคล้อง

มาลัย) ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดจารีตในรูปแบบเหล่านั้น.

จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความสะอาดทางกาย

๓ อย่าง.จุนทะ ! ความสะอาดทางวาจา มี ๔ อย่าง นั้น

เป็นอย่าางไรเล่า ?

(๑) บุคคลบางคนในกรณีนี้ ละมุสาวาท เว้น

ขาดจากมุสาวาท ไปสู่สภาก็ดี ไปสู่บริษัทก็ดี ไปสู่

ท่ามกลางหมู่ญาติก็ดี ไปสู่ท่ามกลางศาลาประชาคมก็ดี

ไปสู่ท่ามกลางราชสกุลก็ดี อันเขานำาไปเป็นพยาน ถามว่า

“บุรุษผู้เจริญ ! ท่านรู้อย่างไร ท่านจงกล่าวไปอย่างนั้น”

ดังนี้, บุรุษนั้น เมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่าไม่รู้ เมื่อรู้ก็กล่าวว่ารู้

เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าไม่เห็น เมื่อเห็นก็กล่าวว่าเห็น,

เพราะเหตุตนเอง เพราะเหตุผู้อื่น หรือเพราะเหตุเห็นแก่

อามิสไรๆ ก็ไม่เป็น ผู้กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่.

(๒) ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากการส่อเสียด

ได้ฟังจากฝ่ายนี้แล้วไม่เก็บไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อแตกจาก

ฝ่ายนี้ หรือได้ฟังจากฝ่ายโน้นแล้วไม่เก็บมาบอกแก่ฝ่ายนี้

เพื่อแตกจากฝ่ายโน้น แต่จะสมานคนที่แตกกันแล้วให้

กลับพร้อมเพรียงกัน อุดหนุนคนที่พร้อมเพรียงกันอยู่

ให้พร้อมเพรียงกันยิ่งขึ้น เป็นคนชอบในการพร้อมเพรียง

เป็นคนยินดีในการพร้อมเพรียง เป็นคนพอใจในการ

พร้อมเพรียง กล่าวแต่วาจาที่ทำาให้พร้อมเพรียงกัน.

(๓) ละการกล่าวคำาหยาบเสีย เว้นขาดจาก

การกล่าวคำาหยาบ กล่าวแต่วาจาที่ไม่มีโทษ เสนาะโสต

ให้เกิดความรัก เป็นคำาฟูใจ เป็นคำาสุภาพที่ชาวเมือง

เขาพูดกัน เป็นที่ใคร่ที่พอใจของมหาชน กล่าวแต่วาจา

เช่นนั้นอยู่.

(๔) ละคำาพูดเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำาพูดเพ้อเจ้อ

กล่าวแต่ในเวลาอันสมควร กล่าวแต่คำาจริง เป็นประโยชน์

เป็นธรรม เป็นวินัย กล่าวแต่วาจามีที่ตั้ง มีหลักฐานที่อ้างอิง

มีเวลาจบ ประกอบด้วยประโยชน์ สมควรแก่เวลา.

จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความสะอาดทางวาจา

๔ อย่าง.

จุนทะ ! ความสะอาดทางใจ มี ๓ อย่าง เป็น

อย่างไรเล่า ?

(๑) บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ไม่มากด้วย

อภิชฌา คือเป็นผู้ไม่โลภ เพ่งเล็งวัตถุอุปกรณ์แห่งทรัพย์

ของผู้อื่น ว่า “สิ่งใดเป็นของผู้อื่น สิ่งนั้นจงเป็นของเรา”

ดังนี้.

(๒) เป็นผู้ไม่มีจิตพยาบาท มีความดำาริแห่งใจ

อันไม่ประทุษร้ายว่า “สัตว์ทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มี

ความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์ มีสุข บริหารตนอยู่เถิด” ดังนี้

เป็นต้น.

(๓) เป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีทัสสนะไม่

วิปริต ว่า “ทานที่ให้แล้ว มี (ผล), ยัญที่บูชาแล้ว มี (ผล),

การบูชาที่บูชาแล้ว มี (ผล), ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำาดี

ทำาชั่ว มี, โลกอื่น มี, มารดา มี, บิดา มี, โอปปาติกสัตว์ มี,

สมณพราหมณ์ที่ไปแล้วปฏิบัติแล้วโดยชอบ ถึงกับกระทำา

ให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาโดยชอบเอง แล้ว

ประกาศให้ผู้อื่นรู้ ก็มี” ดังนี้.

จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความสะอาดทางใจ ๓

อย่าง.

จุนทะ ! เหล่านี้แล เรียกว่า กุศลกรรมบถ ๑๐.

จุนทะ ! บุคคลประกอบด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐

ประการเหล่านี้ ลุกจากที่นอนตามเวลาแห่งตนแล้ว แม้จะ

ลูบแผ่นดิน ก็เป็นคนสะอาด, แม้จะไม่ลูบแผ่นดิน ก็เป็น

คนสะอาด; แม้จะจับโคมัยสด ก็เป็นคนสะอาด, แม้จะไม่

จับโคมัยสด ก็เป็นคนสะอาด; แม้จะจับหญ้าเขียว ก็เป็น

คนสะอาด, แม้จะไม่จับหญ้าเขียว ก็เป็นคนสะอาด; แม้

จะบำาเรอไฟ ก็เป็นคนสะอาด, แม้จะไม่บำาเรอไฟ ก็เป็น

คนสะอาด; แม้จะไหว้พระอาทิตย์ ก็เป็นคนสะอาด, แม้

จะไม่ไหว้พระอาทิตย์ ก็เป็นคนสะอาด; แม้จะลงน้ำาใน

เวลาเย็นเป็นครั้งที่สามก็เป็นคนสะอาด แม้จะไม่ลงน้ำาใน

เวลาเย็นเป็นครั้งที่สาม ก็เป็นคนสะอาด.

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?

จุนทะ ! เพราะเหตุว่า กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ

เหล่านี้ เป็นตัวความสะอาด และเป็นเครื่องกระทำ

ความสะอาด.

จุนทะ ! อนึ่ง เพราะมีการประกอบด้วย

กุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ ประการเหล่านี้ เป็นเหตุ

พวกเทพจึงปรากฏ หรือว่าสุคติใดๆ แม้อื่นอีก ย่อมมี.

ทสก. อํ. ๒๔/๒๘๓-๒๘๙/๑๖๕.

**************************************

อริยมรรค มีองค์ ๘

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ อริยสัจ

คือหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?

คือ หนทางอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนี้เอง องค์แปด

คือ

ความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ)

ความดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ)

วาจาชอบ (สัมมาวาจา)

การงานชอบ (สัมมากัมมันตะ)

อาชีวะชอบ (สัมมาอาชีวะ)

ความเพียรชอบ (สัมมาวายามะ)

ความระลึกชอบ (สัมมาสติ)

ความตั้งใจมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ)

-

ภิกษุทั้งหลาย ! ความเห็นชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ความ รู้ในทุกข์

ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์

ความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์

ความรู้ในหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อันใด,

นี้เราเรียกว่า ความเห็นชอบ.

-

ภิกษุทั้งหลาย ! ความดำริชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ความดำริในการออกจากกาม

ความดำริในการไม่พยาบาท

ความดำริในการไม่เบียดเบียน,

นี้เราเรียกว่า ความดำริชอบ.

-

ภิกษุทั้งหลาย ! วาจาชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุทั้งหลาย ! การเว้นจากการพูดเท็จ

การเว้นจากการพูดยุให้แตกกัน

การเว้นจากการพูดหยาบ

การเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ,

นี้เราเรียกว่า วาจาชอบ.

-

ภิกษุทั้งหลาย ! การงานชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุทั้งหลาย ! การเว้นจากการฆ่าสัตว์

การเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้

การเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย,

นี้เราเรียกว่า การงานชอบ.

-

ภิกษุทั้งหลาย ! อาชีวะชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกในกรณีนี้

ละการหาเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย

สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการหาเลี้ยงชีพที่ชอบ,

นี้เราเรียกว่า อาชีวะชอบ.

-

ภิกษุทั้งหลาย ! ความเพียรชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุ ในกรณีนี้

ย่อมปลูกความพอใจ

ย่อมพยายาม

ย่อมปรารภความเพียร

ย่อมประคองจิต

ย่อมตั้งจิตไว้

เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมอันบาปทั้งหลาย

ที่ยังไม่ได้บังเกิด;

-

ย่อมปลูกความพอใจ

ย่อมพยายาม

ย่อมปรารภความเพียร

ย่อมประคองจิต

ย่อมตั้งจิตไว้

เพื่อการละเสียซึ่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่บังเกิดขึ้นแล้ว;

-

ย่อม ปลูกความพอใจ

ย่อมพยายาม

ย่อมปรารภความเพียร

ย่อมประคองจิต

ย่อมตั้งจิตไว้

เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย

ที่ยังไม่ได้บังเกิด;

-

ย่อม ปลูกความพอใจ

ย่อมพยายาม

ย่อมปรารภความเพียร

ย่อมประคองจิต

ย่อมตั้งจิตไว้

เพื่อความยั่งยืน

ความไม่เลอะเลือนความงอกงามยิ่งขึ้น

ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ

แห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ที่บังเกิดขึ้นแล้ว,

นี้เราเรียกว่า ความเพียรชอบ.

-

ภิกษุทั้งหลาย ! ความระลึกชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติ

พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ,

มีความเพียรเผากิเลส

มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม (สัมปชัญญะ) มีสติ

นำความพอใจ และความไม่พอใจในโลกออกเสียได้;

เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ,

มีความเพียรเผากิเลส

มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ

นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้;

เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ,

มีความเพียรเผากิเลส

มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ

นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้;

เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ,

มีความเพียรเผากิเลส

มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ

นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้,

นี้เราเรียกว่า ความระลึกชอบ.

-

ภิกษุทั้งหลาย ! ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุ ในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย

สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย

เข้าถึงฌานที่หนึ่ง อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข

อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่

เพราะวิตกวิจารรำงับลง, เธอเข้าถึงฌานที่สอง

อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน

ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น

ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข

อันเกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่

เพราะปีติจางหายไป, เธอเป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้

มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม

และได้เสวยสุขด้วยนามกาย

ย่อมเข้าถึงฌานที่สาม

อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย

กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุ ว่า “เป็นผู้เฉยอยู่ได้

มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม” แล้ว แลอยู่

เพราะละสุขและทุกข์เสียได้

และเพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัส ในกาลก่อน

เธอย่อมเข้าถึงฌานที่สี่

อันไม่ทุกข์และไม่สุข มีแต่สติอันบริสุทธิ์เพราะ อุเบกขาแล้วแลอยู่,

นี้เราเรียกว่า สัมมาสมาธิ.

-

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจ

คือ หนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.

ปฐมธรรม หน้า ๒๙๕

(ภาษาไทย) มหา. ที. ๑๐/๒๓๑/๒๙๙.

http://etipitaka.com/read?language=thai&number=231&volume=10

--

#เจริญมรรคองค์ใด องค์หนึ่ง มรรคแปดบริบูรณ์

link ; อ่านพระสูตรเต็มๆ https://www.facebook.com/fata.chalee/posts/1605692172995653

*************

********

#กองกุศล และ #กองอุกุศล ที่แท้จริง

-----

#สติปัฏฐานสี่ #กองกุศลที่แท้จริง

[๖๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูก

ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔

เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔

สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?

...

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ...

ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ...

ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูก

ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔

เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่ สติปัฏฐาน.

--------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

---------------------------------

ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่

http://www.buddhakos.org/

http://watnapp.com/

http://media.watnapahpong.org/

http://www.buddhaoat.org/

----------

#นิวรณ์๕ #กองอกุศลที่แท้จริง

#นิวรณ์๕ #ทำปัญญาให้ถอยกำลัง

ภิกษุทั้งหลาย !

นิวรณ์เป็นเครื่องกางกั้น 5 อย่างเหล่านี้ ท่วมทับจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง มีอยู่

5 อย่าง อย่างไรเล่า ? 5 อย่าง คือ

นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ กามฉันทะ

ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง

นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ พยาบาท

ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง

นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ ถีนมิทธะ ( ง่วงเหงาซึมเซา )

ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง

นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ อุทธัจจกุกกุจจะ ( ฟุ้งซ่านรำคาญ )

ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง

นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ วิจิกิจฉา ( ลังเลสงสัย )

ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง

-----------------------------------

ภิกษุทั้งหลาย !

ภิกษุที่ไม่ละนิวรณ์อันเป็นเครื่องกางกั้นจิต 5 อย่างเหล่านี้แล้ว

จักรู้ซึ่งประโยชน์ตน

หรือประโยชน์ผู้อื่น

หรือประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

หรือจักกระทำให้แจ้ง

ซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษอันควรแก่ความเป็นอริยะ

ยิ่งกว่าธรรมดาแห่งมนุษย์

ด้วยปัญญาอันทุพพลภาพ ไร้กำลัง ดังนี้

นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้

ภิกษุทั้งหลาย !

เปรียบเหมือนแม่น้ำที่ไหลลงจากภูเขา

ไหลไปสู่ที่ไกล มีกระแสเชี่ยว

พัดพาสิ่งต่างๆ ไปได้

มีบุรุษมาเปิดช่องทั้งหลายที่เขาขุดขึ้น

ด้วยเครื่องไถ ทั้งสองฝั่งแม่น้ำนั้น

เมื่อเป็นเช่นนี้ กระแสกลางแม่น้ำนั้น

ก็ซัดส่าย ไหลผิดทาง

ไม่ไหลไปสู่ที่ไกล

ไม่มีกระแสเชี่ยว

ไม่พัดสิ่งต่างๆ ไปได้ นี้ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ภิกษุที่ไม่ละนิวรณ์อันเป็นเครื่องกางกั้นจิต 5 อย่างเหล่านี้แล้ว

จักรู้ซึ่งประโยชน์ตน

หรือประโยชน์ผู้อื่น

หรือประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

หรือจักกระทำให้แจ้ง

ซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษอันควรแก่ความเป็นอริยะ

ยิ่งกว่าธรรมดาแห่งมนุษย์

ด้วยปัญญาอันทุพพลภาพไร้กำลัง ดังนี้

นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้

ต่อไปได้ตรัสโดยปฏิปักขนัย (นัยตรงข้าม)

คือ ภิกษุละนิวรณ์แล้ว

ทำญาณวิเศษให้แจ้งได้ ด้วยปัญญา

อันมีกำลังเหมือนแม่น้ำที่เขาอุดรูรั่ว

ทั้งสองฝั่งเสียแล้วมีกระแสเชี่ยวแรงมาก ฉะนั้น

-------------------------------

- อาวรณสูตร ปญฺจก. อํ. 22/72/51.

-----------

#นิวรณ์ ๕ กองอุกศล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เมื่อจะกล่าวว่ากองอกุศล

จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงนิวรณ์ ๕

เพราะว่ากองอกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่นิวรณ์ ๕

นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน? คือ

...

กามฉันทนิวรณ์ ๑

พยาบาทนิวรณ์ ๑

ถีนมิทธนิวรณ์ ๑

อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ๑

วิจิกิจฉานิวรณ์ ๑

...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เมื่อจะกล่าวว่ากองอกุศล จะกล่าวให้ถูก

ต้องกล่าวถึงนิวรณ์ ๕ เหล่านี้

เพราะกองอกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่ นิวรณ์ ๕.

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย narutogetbird เมื่อ 2013-11-23 00:28

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เมื่อจะกล่าวว่ากองอกุศล

จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงนิวรณ์ ๕

เพราะว่ากองอกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่นิวรณ์ ๕

นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน? คือ

...

กามฉันทนิวรณ์ ๑

พยาบาทนิวรณ์ ๑

ถีนมิทธนิวรณ์ ๑

อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ๑

วิจิกิจฉานิวรณ์ ๑

...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เมื่อจะกล่าวว่ากองอกุศล จะกล่าวให้ถูก

ต้องกล่าวถึงนิวรณ์ ๕ เหล่านี้

เพราะกองอกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่ นิวรณ์ ๕.

...

[๖๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูก

ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔

เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔

สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?

...

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ...

ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ...

ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูก

ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔

เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่ สติปัฏฐาน.

--------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

-------------

#อุปมานิวรณ์

[๑๒๖] ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือน

#บุรุษจะพึงกู้หนี้ไปประกอบการงาน

การงานของเขาจะพึงสำเร็จผล

เขาจะพึงใช้หนี้ที่เป็นต้นทุนเดิมให้หมดสิ้น

และทรัพย์ที่เป็นกำไรของเขาจะพึงมีเหลืออยู่สำหรับเลี้ยงภริยา

เขาพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า

เมื่อก่อนเรากู้หนี้ไปประกอบการงาน บัดนี้

การงานของเราสำเร็จผลแล้ว

เราได้ใช้หนี้ที่เป็นต้นทุนเดิมให้หมดสิ้นแล้ว

และทรัพย์ที่เป็นกำไรของเรายังมีเหลืออยู่สำหรับเลี้ยงภริยา ดังนี้

เขาจะพึงได้

#ความปราโมทย์ #ถึงความโสมนัส

มีความไม่มีหนี้นั้นเป็นเหตุ ฉันใด.

ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงเป็น

#ผู้มีอาพาธถึงความลำบาก เจ็บหนัก

บริโภคอาหารไม่ได้ และไม่มีกำลังกาย

สมัยต่อมา เขาพึงหายจากอาพาธนั้น

บริโภคอาหารได้ และมีกำลังกาย

เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า

เมื่อก่อนเราเป็นผู้มีอาพาธถึงความลำบาก เจ็บหนัก

บริโภคอาหารไม่ได้ และไม่มีกำลังกาย บัดนี้

เราหายจากอาพาธนั้นแล้ว บริโภคอาหารได้

และมีกำลังกายเป็นปกติ ดังนี้

เขาจะพึงได้

#ความปราโมทย์ #ถึงความโสมนัส

มีความไม่มีโรคนั้น เป็นเหตุ ฉันใด.

ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึง

#ถูกจำอยู่ในเรือนจำ สมัยต่อมา

เขาพึงพ้นจากเรือนจำนั้นโดยสวัสดีไม่มีภัย

ไม่ต้องเสียทรัพย์อะไรๆ เลย เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า

เมื่อก่อนเราถูกจองจำอยู่ในเรือนจำ บัดนี้

เราพ้นจากเรือนจำนั้นโดยสวัสดีไม่มีภัยแล้ว

และเราไม่ต้องเสียทรัพย์อะไรๆ เลย ดังนี้

เขาจะพึงได้

#ความปราโมทย์ #ถึงความโสมนัส

มีการพ้นจากเรือนจำ นั้นเป็นเหตุ ฉันใด.

ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะ

#พึงเป็นทาส ไม่ได้พึ่งตัวเอง พึ่งผู้อื่น ไปไหน

ตามความพอใจไม่ได้ สมัยต่อมา

เขาพึงพ้นจากความเป็นทาสนั้น

พึ่งตัวเอง ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น

#เป็นไทยแก่ตัว ไปไหนได้ตามความพอใจ

เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า

เมื่อก่อนเราเป็นทาส

พึ่งตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น

ไปไหนตามความพอใจไม่ได้ บัดนี้

เราพ้นจากความเป็นทาสนั้นแล้ว พึ่งตัวเอง

ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เป็นไทยแก่ตัว

ไปไหนได้ตามความพอใจ ดังนี้

เขาจะพึงได้

#ความปราโมทย์ #ถึงความโสมนัส

มีความเป็นไทยแก่ตัวนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.

ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษ

#มีทรัพย์ มีโภคสมบัติ #พึงเดินทางไกลกันดาร

หาอาหารได้ยาก มีภัยเฉพาะหน้า

สมัยต่อมา เขาพึงข้ามพ้นทางกันดารนั้นได้

บรรลุถึงหมู่บ้านอันเกษมปลอดภัยโดยสวัสดี

เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า

เมื่อก่อนเรามีทรัพย์ มีโภคสมบัติ

เดินทางไกลกันดาร หาอาหารได้ยาก

มีภัยเฉพาะหน้า บัดนี้ เราข้ามพ้นทางกันดารนั้น

บรรลุถึงหมู่บ้านอันเกษม ปลอดภัยโดยสวัสดีแล้ว ดังนี้

เขาจะ

#พึงได้ความปราโมทย์ #ถึงความโสมนัส

มีภูมิสถานอันเกษมนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.

ดูกรมหาบพิตร ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการเหล่านี้

#ที่ยังละไม่ได้ในตนเหมือนหนี้

#เหมือนโรค

#เหมือนเรือนจำ

#เหมือนความเป็นทาส

#เหมือนทางไกลกันดาร

และเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการที่ละได้แล้วในตน

#เหมือนความไม่มีหนี้

#เหมือนความไม่มีโรค

#เหมือนการพ้นจากเรือนจำ

เหมือนความเป็นไทยแก่ตน

เหมือนภูมิสถานอันเกษม ฉันนั้นแล.

-------------------------

#รูปฌาน ๔

[๑๒๗] เมื่อเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ เหล่านี้

ที่ละได้แล้วในตน

ย่อมเกิดปราโมทย์

เมื่อปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ

เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ

เธอมีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข

เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น.

เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม

บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร

มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

เธอทำกายนี้แหละให้

**ชุ่มชื่น**เอิบอิ่ม**ซาบซ่าน**ด้วยปีติและสุข**เกิดแต่วิเวก

ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว

ที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง

ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือน

**พนักงานสรงสนาน

**หรือลูกมือพนักงานสรงสนานผู้ฉลาด

**จะพึงใส่จุรณ์สีตัวลงในภาชนะสำริด

**แล้วพรมด้วยน้ำ

หมักไว้

ตกเวลาเย็นก้อนจุรณ์สีตัวซึ่งยางซึมไปจับติดกันทั่วทั้งหมด

ย่อมไม่กระจายออก ฉันใด

ภิกษุก็ฉันนั้นแล

ทำกายนี้แหละให้

**ชุ่มชื่น**เอิบอิ่ม**ซาบซ่านด้วย**ปีติ**และ**สุข**เกิดแต่วิเวก

ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว

ที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง

ดูกรมหาบพิตร นี้แหละ

**สามัญผลที่เห็นประจักษ์ **ทั้งดียิ่งกว่า

ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.

[๑๒๘] ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง

ภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิต

ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตก วิจารสงบไป

ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุข

เกิดแต่สมาธิอยู่ เธอทำกายนี้แหละ

ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ

ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว

ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง.

ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือน

ห้วงน้ำลึกมีน้ำปั่นป่วน

ไม่มีทางที่น้ำจะไหลมาได้

ทั้งในด้านตะวันออก

ด้านใต้

ด้านตะวันตก

ด้านเหนือ

ทั้งฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล

แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้นแล้ว

จะพึงทำห้วงน้ำนั้นแหละให้ชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็น

ไม่มีเอกเทศไหนๆ

แห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมด

ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้องฉันใด

ภิกษุก็ฉันนั้นแล

ย่อมทำกายนี้แหละ

ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ

ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอ

ทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง

ดูกรมหาบพิตร นี้แหละ**สามัญผลที่เห็นประจักษ์**

ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.

[๑๒๙] ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง

ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุข

ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน

ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้

เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข

เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขอันปราศจากปีติ

ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว

ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร

เปรียบเหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง

หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง

หรือดอกบัวขาว บางเหล่าซึ่งเกิดในน้ำ

เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้

ดอกบัวเหล่านั้น ชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็นตลอดยอด

ตลอดเง่า ไม่มีเอกเทศไหนๆ

แห่งดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว

ทั่วทุกส่วน ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด

ภิกษุก็ฉันนั้นแล

ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ

ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว

ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละ

สามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า

ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.

[๑๓๐] ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง

ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข

เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้

มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว

ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอ

ทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง

ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงนั่ง

คลุมตัวตลอดศีรษะด้วยผ้าขาว ไม่มีเอกเทศไหนๆ

แห่งกายทุกๆ ส่วนของเขาที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้อง ฉันใด

ภิกษุก็ฉันนั้นแล

เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว

ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว

ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง

ดูกรมหาบพิตร

นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า

ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.

------

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

หน้าที่ ๖๘/๓๘๓ ข้อที่ ๑๒๔-๑๒๖

--------------

อ่่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จากโปรแกรม E-Tipitaka

http://etipitaka.com/read…

--------------

ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่

http://www.buddhakos.org/

http://watnapp.com/

http://media.watnapahpong.org/

http://www.buddhaoat.org/

------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น